ในขณะที่ปัญหาข้าวของแพงกำลังเป็นโจทย์ให้รัฐบาลแก้ไข และยังไม่มีทีท่าว่าจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชน รัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ก็พบกับปัญหาการเมืองทั้งภายในพรรคและภายนอก โดยมีทั้งนักการเมืองและการเมืองภาคประชาชนเดินหน้ากระหน่ำเกือบจะตั้งตัวแบบไม่ติด ชนิดที่เรียกได้ว่าถึงทางตันทางการเมือง ทั้งนี้จะเห็นได้จากปัจจัยบีบคั้นดังต่อไปนี้
1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็นกิจกรรมทางการเมืองสำคัญอันดับต้น ที่พรรคพลังประชาชนหมายมั่นปั้นมือจะรีบดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลให้กลุ่มผู้เสียอำนาจทางการเมือง และส่วนหนึ่งกำลังตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทุจริตพ้นผิด ด้วยการแก้มาตรา 237 และ 309
แต่ในทันทีที่มีการยื่นญัตติแก้ไขการเมืองในสภาฯ ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์และการเมืองนอกสภาฯ ซึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกมาคัดค้านอย่างเหนียวแน่น โดยการตั้งเวทีปราศรัยให้ข้อมูลความจริง และแนวทางคัดค้าน และมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมกับพันธมิตรฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถอนรายชื่อ และทำให้ญัตติที่ว่านี้ตกไป
แต่ทว่าแนวคิดในการแก้ไขก็ยังมีอยู่ จึงเหมือนกับคงเชื้อแห่งการคัดค้านในเรื่องนี้ให้คงอยู่รอการเริ่มต้นใหม่
2. ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อ 1 นอกจากก่อให้เกิดกระแสต่อต้านในภาคประชาชนอย่างรุนแรง และกว้างขวางดังที่เป็นอยู่ ณ สะพานมัฆวานฯ ในขณะนี้แล้ว ยังก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคพลังประชาชนระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรค กับกลุ่ม ส.ส.ที่นิยมนายเนวิน ชิดชอบ ที่เรียกว่ากลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ รวมอยู่ด้วย
ดังนั้นจึงทำให้มองเห็นสถานภาพของนายสมัคร สุนทรเวช ภายในพรรคพลังประชาชนได้อย่างดีว่าง่อนแง่น และเปราะบางขนาดไหนเมื่อดูจากฐานการเมืองภายในพรรค
3. นอกจากปัจจัยการเมืองในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว นายสมัครในฐานะผู้นำรัฐบาลยังมีปัจจัยทางสังคมที่ผู้คนได้หยิบยกเอาพฤติกรรมส่วนบุคคลหรือพฤติกรรมเฉพาะตัวที่นายสมัครมีอยู่ เช่น การพูดจา และกิริยาท่าทางอันไม่เป็นมิตรกับนักข่าว เป็นต้น ขึ้นมาวิพากษ์ถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสม ถึงขั้นที่บอกได้ว่าผลการประเมินจากโพลออกมาแล้วติดลบชนิดที่เรียกได้ว่าสอบตกในตำแหน่งผู้นำประเทศ
4. นอกจากปัจจัยทางการเมือง และสังคมดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยทางกฎหมายที่บีบคั้นนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะที่เป็นจำเลยรออยู่อย่างน้อย 3 คดีในขณะนี้ และในจำนวน 3 คดีนี้ คดีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ได้ฟ้องฐานหมิ่นประมาทและศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุก 2 ปีโดยไม่มีการรอลงอาญา ถ้าเผอิญคดีนี้ผลการตัดสินของศาลอุทธรณ์ออกมายืนตามศาลชั้นต้น นายสมัคร สุนทรเวช ก็คงต้องพบกับชะตากรรม และพ้นไปจากวิถีทางการเมืองแน่นอน
5. ในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะตัดสินคดีใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และถ้าผลออกมาปรากฏว่านายยงยุทธถูกใบแดงจริงตามที่ กกต.ส่งเรื่องขึ้นไป ก็จะนำไปสู่การยุบพรรคเช่นเดียวกับพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ เมื่อเป็นเช่นนี้สถานภาพของนายสมัคร สุนทรเวช ในการเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องจบลงไปตาม
จากปัจจัยที่เป็นเหตุให้เส้นทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช ต้องประสบ พูดได้ว่า ขณะนี้รัฐบาลชุดนี้กำลังถึงทางตันด้วยสถานภาพของผู้นำรัฐบาลกำลังสั่นคลอน และใกล้จะจบลงเต็มทีแล้ว
ส่วนว่าจะจบอย่างไร และด้วยวิธีไหนนั้นก็คงจะต้องรอดูกันต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามองดูการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็พอจะอนุมานได้ว่าจะจบลงด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธีดังต่อไปนี้
1. ยุบสภาฯ การยุบสภาฯและมีการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกทางการเมืองที่ฝ่ายบริหารเลือกใช้ในโอกาสที่เอื้ออำนวยให้ตนเองได้รับเลือกเข้ามาใหม่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาการเมืองอันเนื่องมาจากฝ่ายบริหารขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติ และดำเนินต่อไปไม่ได้ จึงต้องยุบสภาฯ คืนอำนาจให้แก่ประชาชนตัดสินอนาคตทางการเมืองของประเทศ
แต่วิธีนี้ถ้าดูอย่างรอบคอบแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ไม่น่าจะใช้ได้โดยชอบธรรมตามครรลองแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่าใด เพราะความขัดแย้งระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช กับฝ่ายนิติบัญญัติมิใช่เป็นความขัดแย้งในแง่ของการปกครอง แต่ขัดแย้งในประเด็นการเมืองภายในพรรคที่ประชาชนมิได้มีส่วนได้เสียแต่ประการใด ตรงกันข้ามเป็นความขัดแย้งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลสูญเสียประโยชน์ที่ควรมีควรได้อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 309 เพื่อฟอกความผิดให้กับกลุ่มอำนาจเก่าที่สมาชิกสภาผู้แทนฯ ส่วนใหญ่รวมถึงตัวนายสมัครด้วยมิได้ประโยชน์ และที่สำคัญถ้ามีการแก้ไขจริงประชาชนโดยรวมเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ด้วยซ้ำไปจากการที่คนผิดไม่ต้องรับผิด ทั้งๆ ที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ประเทศชาติโดยรวม
ยิ่งกว่านี้ ถ้ามีการยุบสภาฯ และรีบเลือกตั้งโดยที่เหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง เช่น การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงอยู่ การเลือกตั้งใหม่ก็ได้นักการเมืองเดิมๆ และเข้ามาก่อกรรมทำเข็ญประชาชนแบบเดิมนั่นเอง จึงถือได้ว่าการยุบสภาฯ มิได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสภาพความเป็นนายกฯ เนื่องจากมีความผิดตามที่ศาลตัดสินคดีต่างๆ ที่รออยู่ก็จะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง โดยที่พรรคการเมือง 5 พรรคถอนตัวและจับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล โดยมีเสียงเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะบริหารประเทศได้แต่อยู่ได้อย่างราบรื่นยาก
ดังนั้น การยุบสภาฯ ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็เกิดขึ้นได้
แต่ถ้ามีการยุบสภาฯ โดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลดูแลการเลือกตั้ง ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอาจน้อยลง และเปิดโอกาสให้การเมืองโปร่งใสสะอาดยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้มากกว่าที่พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลดูแลการเลือกตั้ง ที่พูดเช่นนี้อนุมานได้จากการเลือกตั้งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะบอกได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์คุมการเลือกตั้งจะมีการทำผิดกฎหมายน้อยลง แต่นั่นเป็นเพียงการคาดการณ์โดยอาศัยพฤติกรรมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์เทียบกับพรรคพลังประชาชน รวมทั้งที่พรรคนี้อยู่ในรูปของพรรคไทยรักไทยด้วย
อะไรทำให้เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลโดยการสลับขั้วจะเกิดขึ้น?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้ามองย้อนไปดูข้างหลังก็จะพบว่ามีความเป็นไปได้สูงในยุคที่พรรคพลังประชาชนแตกแยก และอ่อนด้อยลงในทางการเมือง และในขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งขึ้นภายใต้การนำของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการเป็นพี่เลี้ยงของนายชวน หลีกภัย ทำให้การเมืองของพรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งขึ้นกว่ายุคที่ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นผู้นำพรรค
อีกประการหนึ่ง ถ้าหัวหน้าพรรคพลังประชาชนประสบชะตากรรมทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยคำสั่งของศาลหรือจะด้วยการพ่ายเกมการเมืองภายในพรรคพลังประชาชนจนถึงขั้นต้องลาออก และพรรคนี้เลือกคนภายในพรรคขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาล ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็พูดได้ว่า ยากที่จะเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะเกิดขึ้น โอกาสและความชอบธรรมที่ 5 พรรคการเมืองจะเข้าร่วมรัฐบาลเหมือนยุคที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ คงเกิดขึ้นได้ยาก
ถ้ามองดูคนใดพอจะเป็นผู้นำในพรรคพลังประชาชนแล้ว ยังมองไม่เห็นว่าใครพอที่จะมีบารมี และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับจากคนการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนนอกพรรคพลังประชาชน แม้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.ภายในพรรคค่อนข้างมากกว่าคนอื่น แต่ก็ยากที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากปวงชน ด้วยเหตุที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอำนาจเก่า และทำให้เกิดความแคลงใจว่าจะเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกลุ่มอำนาจเก่ายิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับนายสมัคร สุนทรเวช และนี่เองคือความยากที่พรรคพลังประชาชนจะหาผู้สืบทอดทางการเมืองในตำแหน่งผู้นำพรรค และผู้นำรัฐบาลให้รอดพ้นจากกระแสต้านจากนอกสภาฯ
ด้วยเหตุนี้จึงค่อนข้างจะคาดเดาได้ชัดเลยว่ามีโอกาสยุบสภาฯ หรือไม่ก็เปลี่ยนขั้วจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าที่จะผ่าทางตันทางการเมืองด้วยวิธีอื่น ผู้เขียนเห็นว่ารัฐบาลผสมต่างขั้วน่าจะเป็นทางเบี่ยงทางการเมืองมากที่สุด.
1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็นกิจกรรมทางการเมืองสำคัญอันดับต้น ที่พรรคพลังประชาชนหมายมั่นปั้นมือจะรีบดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลให้กลุ่มผู้เสียอำนาจทางการเมือง และส่วนหนึ่งกำลังตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทุจริตพ้นผิด ด้วยการแก้มาตรา 237 และ 309
แต่ในทันทีที่มีการยื่นญัตติแก้ไขการเมืองในสภาฯ ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์และการเมืองนอกสภาฯ ซึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกมาคัดค้านอย่างเหนียวแน่น โดยการตั้งเวทีปราศรัยให้ข้อมูลความจริง และแนวทางคัดค้าน และมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมกับพันธมิตรฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถอนรายชื่อ และทำให้ญัตติที่ว่านี้ตกไป
แต่ทว่าแนวคิดในการแก้ไขก็ยังมีอยู่ จึงเหมือนกับคงเชื้อแห่งการคัดค้านในเรื่องนี้ให้คงอยู่รอการเริ่มต้นใหม่
2. ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อ 1 นอกจากก่อให้เกิดกระแสต่อต้านในภาคประชาชนอย่างรุนแรง และกว้างขวางดังที่เป็นอยู่ ณ สะพานมัฆวานฯ ในขณะนี้แล้ว ยังก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคพลังประชาชนระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรค กับกลุ่ม ส.ส.ที่นิยมนายเนวิน ชิดชอบ ที่เรียกว่ากลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ รวมอยู่ด้วย
ดังนั้นจึงทำให้มองเห็นสถานภาพของนายสมัคร สุนทรเวช ภายในพรรคพลังประชาชนได้อย่างดีว่าง่อนแง่น และเปราะบางขนาดไหนเมื่อดูจากฐานการเมืองภายในพรรค
3. นอกจากปัจจัยการเมืองในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว นายสมัครในฐานะผู้นำรัฐบาลยังมีปัจจัยทางสังคมที่ผู้คนได้หยิบยกเอาพฤติกรรมส่วนบุคคลหรือพฤติกรรมเฉพาะตัวที่นายสมัครมีอยู่ เช่น การพูดจา และกิริยาท่าทางอันไม่เป็นมิตรกับนักข่าว เป็นต้น ขึ้นมาวิพากษ์ถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสม ถึงขั้นที่บอกได้ว่าผลการประเมินจากโพลออกมาแล้วติดลบชนิดที่เรียกได้ว่าสอบตกในตำแหน่งผู้นำประเทศ
4. นอกจากปัจจัยทางการเมือง และสังคมดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยทางกฎหมายที่บีบคั้นนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะที่เป็นจำเลยรออยู่อย่างน้อย 3 คดีในขณะนี้ และในจำนวน 3 คดีนี้ คดีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ได้ฟ้องฐานหมิ่นประมาทและศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุก 2 ปีโดยไม่มีการรอลงอาญา ถ้าเผอิญคดีนี้ผลการตัดสินของศาลอุทธรณ์ออกมายืนตามศาลชั้นต้น นายสมัคร สุนทรเวช ก็คงต้องพบกับชะตากรรม และพ้นไปจากวิถีทางการเมืองแน่นอน
5. ในวันที่ 8 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะตัดสินคดีใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และถ้าผลออกมาปรากฏว่านายยงยุทธถูกใบแดงจริงตามที่ กกต.ส่งเรื่องขึ้นไป ก็จะนำไปสู่การยุบพรรคเช่นเดียวกับพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ เมื่อเป็นเช่นนี้สถานภาพของนายสมัคร สุนทรเวช ในการเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องจบลงไปตาม
จากปัจจัยที่เป็นเหตุให้เส้นทางการเมืองของนายสมัคร สุนทรเวช ต้องประสบ พูดได้ว่า ขณะนี้รัฐบาลชุดนี้กำลังถึงทางตันด้วยสถานภาพของผู้นำรัฐบาลกำลังสั่นคลอน และใกล้จะจบลงเต็มทีแล้ว
ส่วนว่าจะจบอย่างไร และด้วยวิธีไหนนั้นก็คงจะต้องรอดูกันต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามองดูการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็พอจะอนุมานได้ว่าจะจบลงด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธีดังต่อไปนี้
1. ยุบสภาฯ การยุบสภาฯและมีการเลือกตั้งใหม่เป็นทางออกทางการเมืองที่ฝ่ายบริหารเลือกใช้ในโอกาสที่เอื้ออำนวยให้ตนเองได้รับเลือกเข้ามาใหม่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาการเมืองอันเนื่องมาจากฝ่ายบริหารขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติ และดำเนินต่อไปไม่ได้ จึงต้องยุบสภาฯ คืนอำนาจให้แก่ประชาชนตัดสินอนาคตทางการเมืองของประเทศ
แต่วิธีนี้ถ้าดูอย่างรอบคอบแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ไม่น่าจะใช้ได้โดยชอบธรรมตามครรลองแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่าใด เพราะความขัดแย้งระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช กับฝ่ายนิติบัญญัติมิใช่เป็นความขัดแย้งในแง่ของการปกครอง แต่ขัดแย้งในประเด็นการเมืองภายในพรรคที่ประชาชนมิได้มีส่วนได้เสียแต่ประการใด ตรงกันข้ามเป็นความขัดแย้งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลสูญเสียประโยชน์ที่ควรมีควรได้อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 309 เพื่อฟอกความผิดให้กับกลุ่มอำนาจเก่าที่สมาชิกสภาผู้แทนฯ ส่วนใหญ่รวมถึงตัวนายสมัครด้วยมิได้ประโยชน์ และที่สำคัญถ้ามีการแก้ไขจริงประชาชนโดยรวมเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ด้วยซ้ำไปจากการที่คนผิดไม่ต้องรับผิด ทั้งๆ ที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ประเทศชาติโดยรวม
ยิ่งกว่านี้ ถ้ามีการยุบสภาฯ และรีบเลือกตั้งโดยที่เหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง เช่น การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงอยู่ การเลือกตั้งใหม่ก็ได้นักการเมืองเดิมๆ และเข้ามาก่อกรรมทำเข็ญประชาชนแบบเดิมนั่นเอง จึงถือได้ว่าการยุบสภาฯ มิได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสภาพความเป็นนายกฯ เนื่องจากมีความผิดตามที่ศาลตัดสินคดีต่างๆ ที่รออยู่ก็จะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง โดยที่พรรคการเมือง 5 พรรคถอนตัวและจับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล โดยมีเสียงเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะบริหารประเทศได้แต่อยู่ได้อย่างราบรื่นยาก
ดังนั้น การยุบสภาฯ ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็เกิดขึ้นได้
แต่ถ้ามีการยุบสภาฯ โดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลดูแลการเลือกตั้ง ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอาจน้อยลง และเปิดโอกาสให้การเมืองโปร่งใสสะอาดยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้มากกว่าที่พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลดูแลการเลือกตั้ง ที่พูดเช่นนี้อนุมานได้จากการเลือกตั้งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะบอกได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์คุมการเลือกตั้งจะมีการทำผิดกฎหมายน้อยลง แต่นั่นเป็นเพียงการคาดการณ์โดยอาศัยพฤติกรรมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์เทียบกับพรรคพลังประชาชน รวมทั้งที่พรรคนี้อยู่ในรูปของพรรคไทยรักไทยด้วย
อะไรทำให้เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลโดยการสลับขั้วจะเกิดขึ้น?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้ามองย้อนไปดูข้างหลังก็จะพบว่ามีความเป็นไปได้สูงในยุคที่พรรคพลังประชาชนแตกแยก และอ่อนด้อยลงในทางการเมือง และในขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งขึ้นภายใต้การนำของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการเป็นพี่เลี้ยงของนายชวน หลีกภัย ทำให้การเมืองของพรรคประชาธิปัตย์แข็งแกร่งขึ้นกว่ายุคที่ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นผู้นำพรรค
อีกประการหนึ่ง ถ้าหัวหน้าพรรคพลังประชาชนประสบชะตากรรมทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยคำสั่งของศาลหรือจะด้วยการพ่ายเกมการเมืองภายในพรรคพลังประชาชนจนถึงขั้นต้องลาออก และพรรคนี้เลือกคนภายในพรรคขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาล ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็พูดได้ว่า ยากที่จะเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะเกิดขึ้น โอกาสและความชอบธรรมที่ 5 พรรคการเมืองจะเข้าร่วมรัฐบาลเหมือนยุคที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ คงเกิดขึ้นได้ยาก
ถ้ามองดูคนใดพอจะเป็นผู้นำในพรรคพลังประชาชนแล้ว ยังมองไม่เห็นว่าใครพอที่จะมีบารมี และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับจากคนการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนนอกพรรคพลังประชาชน แม้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มีเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.ภายในพรรคค่อนข้างมากกว่าคนอื่น แต่ก็ยากที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากปวงชน ด้วยเหตุที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอำนาจเก่า และทำให้เกิดความแคลงใจว่าจะเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกลุ่มอำนาจเก่ายิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับนายสมัคร สุนทรเวช และนี่เองคือความยากที่พรรคพลังประชาชนจะหาผู้สืบทอดทางการเมืองในตำแหน่งผู้นำพรรค และผู้นำรัฐบาลให้รอดพ้นจากกระแสต้านจากนอกสภาฯ
ด้วยเหตุนี้จึงค่อนข้างจะคาดเดาได้ชัดเลยว่ามีโอกาสยุบสภาฯ หรือไม่ก็เปลี่ยนขั้วจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าที่จะผ่าทางตันทางการเมืองด้วยวิธีอื่น ผู้เขียนเห็นว่ารัฐบาลผสมต่างขั้วน่าจะเป็นทางเบี่ยงทางการเมืองมากที่สุด.