ผู้จัดการรายวัน - ปัญหาน้ำมันแพง-เงินเฟ้อพุ่ง ผสมโรงด้วยดอกเบี้ยขาขึ้น-การเมือง กดดันตลาดหุ้นไทยทรุดฮวบ ระยะเวลาแค่ 2 สัปดาห์นักลงทุนต่างชาติทิ้งของแล้วเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ฉุดดัชนีร่วง 51 จุด มาร์เกตแคปวูบกว่า 1.8 แสนล้านบาท ด้านโบรกเกอร์ให้ความหวังสัปดาห์นี้อาจขยับบวกบ้าง หลังลงแรงติดต่อกันมานาน บวกกับคลายความกังวลจากการคาดการณ์เฟดไม่ขึ้นดอกเบี้ยปลายเดือนนี้ แต่ต้องวัดใจนักลงทุนต่างชาติจะหยุดระบายของหรือไม่
สถานการณ์ราคาน้ำมันทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น จนหลายฝ่ายต่างวิตกว่าจะก่อให้เกิดปัญหาบานปลายและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่ชะลอการลงทุน รวมถึงทยอยขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 51 เป็นต้นมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงแล้ว 51.01 จุด หรือ 6.12% โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ดัชนีปิดที่ 782.64 จุด จากเดือนพฤษภาคมที่ 833.65 จุด ส่งผลให้มาร์เกตแคปตลาดลดลง 180,495.41 ล้านบาท หรือ 2.75% อยู่ที่ 6,382,102.64 ล้านบาท จากเดือนพฤษภาคมที่ 6,562,598.05 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 18,386.49 ล้านบาท
ขณะเดียวกันท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 19,978.82 ล้านบาท ขณะที่เป็นนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,171.19 ล้านบาท และ 15,807.64 ล้านบาท ตามลำดับ
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หลังถูกกดดันจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันดิบที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ และสถานการณ์การเมืองที่ไม่ชัดเจนในประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้นักลงทุนพากันขายหุ้นออกมา โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีจะมีการรีบาวด์กลับหลังจากปรับตัวลงมาแรงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนวันศุกร์รีบาวน์กลับขึ้นมาได้เล็กน้อย หลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมขยายตัว 0.6% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาเชื้อเพลิงและอาหาร ขยายตัวขึ้น 0.2% ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ในวันที่ 24-25 มิถุนายนนี้ เฟดน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งประเด็นนี้จะช่วยให้บรรยากาศการลงทุนในระยะสั้นดีขึ้นได้
"แม้ดัชนีน่าจะรีบาวน์ แต่ยังเชื่อการรีบาวน์ว่าจะเป็นได้อย่างจำกัด เนื่องจากปัจจัยลบที่กดดันบรรยากาศการลงทุนยังไม่คลี่คลาย ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การเมือง ซึ่งน่าจะใช้เวลาสักระยะถึงจะมีบทสรุปที่ชัดเจน รวมถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาท และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้การประชุมของเฟดที่จะถึงนี้เฟดอาจยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในอนาคต"
โดยประเมินแนวรับที่ 765-775 จุด และแนวต้านที่ 790-800 จุด ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามยังคงปัจจัยเดิมๆ คือ ราคาน้ำมันดิบ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ซึ่งมีประเด็นการขอเปิดอภิปรายรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องติดตามเพิ่ม นอกเหนือจากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และท่าทีของรัฐบาล ด้านกลยุทธ์การลงทุน สำหรับนักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำทยอยซื้อในหุ้นพื้นฐานดี อาทิ กลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์ ส่วนนักลงทุนระยะสั้น แนะนำ ลงซื้อขึ้นขายไปก่อน
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้น่าจะได้รับผลดีจากดัชนีดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวบวก 165.77 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่ประกาศออกมาไม่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวไม่สูงมากนัก ทำให้แนวโน้มที่เฟดอาจจะไม่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นได้บ้าง เมื่อรวมกับน้ำหนักการเมืองที่ลดลง หลังการชุมนุมที่ยืดเยื้อและรัฐบาลเลือกที่จะไม่ให้ความสนใจมากนัก โดยหันมาให้น้ำหนักกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากกว่า
"สัปดาห์นี้น่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่ราคาหุ้นบางตัวลงมาต่ำกว่าพื้นฐาน โดยมีแนวรับที่ 775 จุด และแนวต้านที่ 800 จุด ซึ่งหากผ่านได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 820 จุด ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สัปดาห์นี้จะเป็นตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากออกมาไม่แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ ตลาดหุ้นจะตอบสนองในเชิงบวก รวมถึงทิศทางราคาน้ำมันดิบ และการเมืองในประเทศ"
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยซื้อสะสม รอลุ้นดัชนีเทนนิคเคิ้ลรีบาวน์ ในหุ้นขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มแบงก์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาลงมาแรง
***วัดใจต่างชาติหยุดหรือขาย
ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีปิดที่ 782.64 จุด ลดลง 8.16 จุด หรือ 1.03% โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 782 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนมกราคมต้นปี ดัชนีทำจุดต่ำสุดที่ 728 จุด และเป็นจังหวะที่ต่างชาติเริ่มซื้อสะสมสุทธิกลับ หากนับจากบริเวณ 728 จุด จนกระทั่งดัชนีปรับขึ้นไปที่บริเวณ 886 จุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 51 การซื้อสะสมสุทธิกลับของนักลงทุนต่างชาติคิดเป็นเงินประมาณ 39,000 ล้านบาท และด้วยเงินนี้จนกระทั่งปัจจุบันเมื่อดัชนีปรับตัวลงมาที่ 782 จุด ต่างชาติได้ขายสะสมสุทธิกลับเป็นเงินประมาณ 33,000 ล้านบาทแล้ว คงเหลืออีกประมาณ 6,000 ล้านบาท หากต่างชาติมีท่าทีขายมากกว่านี้ อย่างมีนัยสำคัญคาดว่าจะเป็นผลลบต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้ หากต่างชาติเริ่มหยุดขายเมื่อขายสะสมสุทธิใกล้เคียง 39,000 ล้านบาท คาดว่าดัชนีมีโอกาสรีบาวน์กลับในช่วงสั้นๆ เกิดขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ หรืออย่างน้อยแรงขายน่าจะเบาบางลง แต่อาจจะมีแรงขายในลักษณะ Selective Sell ออกมาเป็นบางตัวได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ระยะสั้นๆ ลงไม่ซื้อ
สถานการณ์ราคาน้ำมันทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น จนหลายฝ่ายต่างวิตกว่าจะก่อให้เกิดปัญหาบานปลายและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่ชะลอการลงทุน รวมถึงทยอยขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 51 เป็นต้นมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงแล้ว 51.01 จุด หรือ 6.12% โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ดัชนีปิดที่ 782.64 จุด จากเดือนพฤษภาคมที่ 833.65 จุด ส่งผลให้มาร์เกตแคปตลาดลดลง 180,495.41 ล้านบาท หรือ 2.75% อยู่ที่ 6,382,102.64 ล้านบาท จากเดือนพฤษภาคมที่ 6,562,598.05 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 18,386.49 ล้านบาท
ขณะเดียวกันท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 19,978.82 ล้านบาท ขณะที่เป็นนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,171.19 ล้านบาท และ 15,807.64 ล้านบาท ตามลำดับ
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หลังถูกกดดันจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันดิบที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ และสถานการณ์การเมืองที่ไม่ชัดเจนในประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้นักลงทุนพากันขายหุ้นออกมา โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีจะมีการรีบาวด์กลับหลังจากปรับตัวลงมาแรงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนวันศุกร์รีบาวน์กลับขึ้นมาได้เล็กน้อย หลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมขยายตัว 0.6% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาเชื้อเพลิงและอาหาร ขยายตัวขึ้น 0.2% ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ในวันที่ 24-25 มิถุนายนนี้ เฟดน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งประเด็นนี้จะช่วยให้บรรยากาศการลงทุนในระยะสั้นดีขึ้นได้
"แม้ดัชนีน่าจะรีบาวน์ แต่ยังเชื่อการรีบาวน์ว่าจะเป็นได้อย่างจำกัด เนื่องจากปัจจัยลบที่กดดันบรรยากาศการลงทุนยังไม่คลี่คลาย ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การเมือง ซึ่งน่าจะใช้เวลาสักระยะถึงจะมีบทสรุปที่ชัดเจน รวมถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาท และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้การประชุมของเฟดที่จะถึงนี้เฟดอาจยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในอนาคต"
โดยประเมินแนวรับที่ 765-775 จุด และแนวต้านที่ 790-800 จุด ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามยังคงปัจจัยเดิมๆ คือ ราคาน้ำมันดิบ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ซึ่งมีประเด็นการขอเปิดอภิปรายรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องติดตามเพิ่ม นอกเหนือจากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และท่าทีของรัฐบาล ด้านกลยุทธ์การลงทุน สำหรับนักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำทยอยซื้อในหุ้นพื้นฐานดี อาทิ กลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์ ส่วนนักลงทุนระยะสั้น แนะนำ ลงซื้อขึ้นขายไปก่อน
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้น่าจะได้รับผลดีจากดัชนีดาวน์โจนส์ที่ปรับตัวบวก 165.77 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่ประกาศออกมาไม่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวไม่สูงมากนัก ทำให้แนวโน้มที่เฟดอาจจะไม่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นได้บ้าง เมื่อรวมกับน้ำหนักการเมืองที่ลดลง หลังการชุมนุมที่ยืดเยื้อและรัฐบาลเลือกที่จะไม่ให้ความสนใจมากนัก โดยหันมาให้น้ำหนักกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากกว่า
"สัปดาห์นี้น่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่ราคาหุ้นบางตัวลงมาต่ำกว่าพื้นฐาน โดยมีแนวรับที่ 775 จุด และแนวต้านที่ 800 จุด ซึ่งหากผ่านได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 820 จุด ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สัปดาห์นี้จะเป็นตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากออกมาไม่แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ ตลาดหุ้นจะตอบสนองในเชิงบวก รวมถึงทิศทางราคาน้ำมันดิบ และการเมืองในประเทศ"
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยซื้อสะสม รอลุ้นดัชนีเทนนิคเคิ้ลรีบาวน์ ในหุ้นขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มแบงก์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาลงมาแรง
***วัดใจต่างชาติหยุดหรือขาย
ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีปิดที่ 782.64 จุด ลดลง 8.16 จุด หรือ 1.03% โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 782 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนมกราคมต้นปี ดัชนีทำจุดต่ำสุดที่ 728 จุด และเป็นจังหวะที่ต่างชาติเริ่มซื้อสะสมสุทธิกลับ หากนับจากบริเวณ 728 จุด จนกระทั่งดัชนีปรับขึ้นไปที่บริเวณ 886 จุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 51 การซื้อสะสมสุทธิกลับของนักลงทุนต่างชาติคิดเป็นเงินประมาณ 39,000 ล้านบาท และด้วยเงินนี้จนกระทั่งปัจจุบันเมื่อดัชนีปรับตัวลงมาที่ 782 จุด ต่างชาติได้ขายสะสมสุทธิกลับเป็นเงินประมาณ 33,000 ล้านบาทแล้ว คงเหลืออีกประมาณ 6,000 ล้านบาท หากต่างชาติมีท่าทีขายมากกว่านี้ อย่างมีนัยสำคัญคาดว่าจะเป็นผลลบต่อแนวโน้มตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้ หากต่างชาติเริ่มหยุดขายเมื่อขายสะสมสุทธิใกล้เคียง 39,000 ล้านบาท คาดว่าดัชนีมีโอกาสรีบาวน์กลับในช่วงสั้นๆ เกิดขึ้นได้ในสัปดาห์นี้ หรืออย่างน้อยแรงขายน่าจะเบาบางลง แต่อาจจะมีแรงขายในลักษณะ Selective Sell ออกมาเป็นบางตัวได้ สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ระยะสั้นๆ ลงไม่ซื้อ