หากจะบอกว่าวันนี้ เอเอสทีวี โทรทัศน์ระบบดาวเทียม กลายเป็น “สื่อสาธารณะ” โดยสมบูรณ์แล้วคงไม่ใช่คำพูดที่เกินเลย
ปรากฎการณ์ที่ประชาชนทั่วประเทศลุกฮือประท้วงผู้ว่าราชการจังหวัด หลังจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจเถื่อนสั่งการให้ผู้ว่าฯบีบบังคับผู้ประกอบการเคเบิ้ลท้องถิ่นตัดสัญญานการถ่ายทอด เอเอสทีวี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจน
เอเอสทีวี ซึ่งเพิ่งถือกำเนิดมา 4 ปีเศษโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้ง แต่สามารถขยายฐานของผู้ชมออกไปได้มากมาย สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี ไม่เคยเกิดขึ้นกับสื่อทีวีด้วยกันเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
เอเอสทีวี ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบัน ประชาชนตื่นตัวที่จะรับฟัง ข้อมูลข่าวสาร ที่ฟรีทีวีหรือกระทั่ง สื่อรัฐไม่ได้นำเสนอ มิหนำซ้ำ กลับยัดเยียดข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว เช่น รายการ ‘สนทนาประสาสมัคร’ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทางช่อง เอ็นบีที ทุกเช้าวันอาทิตย์
ความจริง การเป็นสื่อสาธารณะของเอเอสทีวี ที่ทำหน้าที่เปิดหูเปิดตาให้ประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอีกด้านที่ถูกปกปิดเด่นชัดมาตั้งแต่สมัยของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
ในครั้งนั้น เอเอสทีวี เสนอตัวเป็น ‘สื่อทางเลือก’ ต่อสู้กับการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของระบอบทักษิณ กระทั่งสร้างผลสะเทือนต่อรัฐบาลทักษิณอย่างรุนแรง แต่ เอเอสทีวีก็ต้องแลกกับการถูกกลุ้มรุมกลั่นแกล้งสารพัดจากอำนาจรัฐ แทบเอาตัวไม่รอดดังที่ทราบกันดี แต่ก็โชคดีที่ศาลปกครองให้ความคุ้มครอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุถึงสิทธิเสรีภาพของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
สนธิ ลิ้มทองกุล เคยกล่าวไว้ว่า “ 4 ปีของเอเอสทีวีผ่านมาอย่างทุลักทุเลที่สุด เพราะ เผชิญกับการกลั่นแกล้งไม่ให้ออกอากาศ ใช้อำนาจรัฐ ใช้อิทธิพลตามจังหวัดต่างๆบีบไม่ให้เคเบิลท้องถิ่นรับสัญญาน หรือ ว่า แกล้งส่งคลื่นมารบกวนให้ภาพล้ม ภาพสะดุดอยู่ตลอดเวลา แต่ยิ่งกลั่นแกล้งก็ยิ่งทำให้เอเอสทีวีได้รับความนิยมมากขึ้นๆตลอดเวลา”
ผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี มองว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ประชาชนรู้สึกว่า ในยุคระบอบทักษิณครอบงำประเทศรัฐบาลได้ปิดกั้นข่าวสาร ทำไมพวกเขาไม่เห็นข่าวสารบางอย่างทางฟรีทีวี หรือ สื่ออื่นๆเลย ยกเว้น เอเอสทีวี ที่รายงานอยู่ช่องเดียว
“พูดง่ายๆว่าเราเป็นแกะที่มีขน ในหมู่แกะซึ่งขนไม่มีเช่นฟรีทีวีและสื่อรัฐที่เกรงกลัวอำนาจของรัฐ เพราะฉะนั้นแล้วผมคิดว่า ถึงผมจะทำเอเอสทีวีได้ไม่ตลอด หรือ ตลอดไป ประวัติศาสตร์มันจะต้องชี้ให้เห็นว่า ผมเกิดมาในยุคที่สื่อมวลชนไทยโดยเฉพาะโทรทัศน์ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ ทำเรื่องราวที่อับอายขายหน้าต่ออุดมการณ์ตัวเองมาก”
ทว่า การทำหน้าที่ของเอเอสทีวี ก็มักถูกโจมตีจากนักวิชาการสื่อมวลชนที่แอบอิงอยู่กับอำนาจรัฐว่า ไม่ “เป็นกลาง” หรือ ข้อกล่าวหาของรมว.มหาดไทย ร.ต.อ.เฉลิม ล่าสุดที่ระบุว่า เป็นสื่อที่สร้างปลุกปั่นยุยงให้สังคมแตกแยก
ในประเด็นนี้ ได้มีการถกเถียงกันมาตลอด แต่สุดท้ายคุณค่าของเอเอสทีวีต่อสังคมซึ่งได้พิสูจน์มาแล้วในการต่อสู้กับระบอบทักษิณในอดีต
พิสูจน์ให้เห็นว่า นักวิชาบางคนนั้น ยึดมั่นถือมั่นเอาทฤษฎีตะวันตกมาวิเคราะห์เอเอสทีวีมากจนเกินไป ซึ่งข้อเท็จจริงของการทำสื่อไม่จำเป็นต้องพึ่งตำราตะวันตกมากเลย เพราะเป็นแค่รูปแบบ แต่เนื้อหาไม่ได้เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับคำว่า “เป็นกลาง” ที่ไม่อาจใช้กับสื่อในยุคปัจจุบันได้ เพราะ หน้าที่ของสื่อคือผู้ที่ต้องจำแนกถูก-ผิดให้ประชาชน หรือ ต้องเลือกข้างถูก ไม่ใช่เป็นกลาง
“เหมือนกับคนที่เคยพูดว่า สื่อมวลชนคือกระจก ผมถามสักคำว่า ในสังคมที่มืดมิดคุณเอากระจกมาตั้ง คุณมองเห็นอะไรเห็นใหม? ก็ไม่เห็น ฉะนั้นในสังคมที่มืดมิด สังคมที่บอดด้วยปัญญา สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่เป็นตะเกียงนำทาง กระจกนี่ ฝรั่งมีสิทธิพูดได้ ก็เพราะว่า สังคมของเขาโปร่งใส การหาข้อมูล การขอข้อมูลกระทำได้เด็ดขาด ข้อมูลปิดปังกันไม่ได้ และ ที่สำคัญคือ ฝรั่งที่อยู่ในสังคมนั้นเป็นฝรั่งหรือคนที่มีหิริโอตตัปปะ ถ้าสื่อมวลชนลงข่าวอะไรที่เสียหาย คนพวกก็จะละอาย” สนธิ กล่าว
ขณะที่ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการสื่อสารมวลชนชื่อดัง เคยให้คำนิยามของเอเอสทีวี ว่า เป็นสื่อทีวีที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในสังคมไทย เอเอสทีวีมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ต่างไปจากสื่ออื่นๆ ทั้งในแง่เทคโนโลยีที่ส่งผ่านดาวเทียม เป็นฟรีทีวีที่ไม่เหมือนช่องอื่น และ เนื้อหาสาระ ลีลาการนำเสนอ
ด้านเนื้อหาสาระ เอเอสทีวี เป็นสื่อที่ให้สาระความจริงแก่ประชาชน การนำเสนอปัญหาของบ้านเมือง การบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งทำให้เอเอสทีวีถูกมองว่า เป็นสื่อเลือกข้าง ถ้าฝ่ายที่ไม่ชอบรัฐบาลทักษิณ หรือ นอมินีในปัจจุบันก็บอกว่า สื่ออย่างนี้คือสื่อที่ต้องการเพราะให้ความจริงแก่ประชาชน ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลหรือพรรคพลังประชาชนก็จะมองว่า แตกต่าง แตกแยก ทำให้เอเอสทีวีกลายเป็นสื่อที่คนชอบก็มาก คนชังก็มาก คนกลางๆไม่ค่อยมี
นายบุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา อาจารย์ประจำคณะวาสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ผู้ที่ติดตามปรากฏการณ์ในวงการสื่อทีวี และ เอเอสทีวีเป็นคนแรกๆ มองว่า การแสดงบทบาทของสื่อในเครือผู้จัดการ และ เอเอสทีวี มาตั้งแต่ ‘ปรากฏการณ์สนธิ’ ที่ต่อสู้กับระบอบทักษิน ในปี2548 เทียบเคียงได้กับการเปลี่ยนรที่เกิดขึ้รกับสื่อในอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังยุคสงครามเย็น ที่สื่ออเมริกันไม่บยอมยืนดูความตกต่ำที่เกิดขึ้นในสังคมแบบเมินเฉย แต่ได้ก้าวออกมาแสวงหาบทบาทใหม่เพื่อฟื้นฟูตัวเองและอเมริกาโดยรวม สื่ออเมริกันที่เชื่อในแนวความคิด วารสารศาสตร์แห่งพลเมือง(Civic Journalism) หรือ วารสารศาสาตร์เพื่อสาธารณะ(PublicJournalism) จึงพยายามสร้างความเชื่อมโยงกับชีวิตสาธารณะอย่างมีความหมายขึ้น
ปรากฎการณ์การลุกขึ้นมาของประชาชน ประท้วงขับไล่ผู้ว่าราชการที่สนองอำนาจเถื่อนของร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุง บีบบังคับเคเบิลท้องถิ่นตัดสัญญานเอเอสทีวี สังคมจึงไม่ควรมองผ่านเลยไป
เพราะนอกจากจะพิสูจน์ว่า เอเอสทีวี ที่ยืดหยัดอยู่ได้มาถึงทุกวันนี้ก็ด้วยการสนับสนุนของสาธารณะ หรือ ประชาชน แล้ว จากนี้ไป ประชาชน ที่ผ่านการติดอาวุธทางปัญญาก็พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง และ ประเทศ แบบไม่เมินเฉยอีกต่อไป.
ปรากฎการณ์ที่ประชาชนทั่วประเทศลุกฮือประท้วงผู้ว่าราชการจังหวัด หลังจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจเถื่อนสั่งการให้ผู้ว่าฯบีบบังคับผู้ประกอบการเคเบิ้ลท้องถิ่นตัดสัญญานการถ่ายทอด เอเอสทีวี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา น่าจะเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจน
เอเอสทีวี ซึ่งเพิ่งถือกำเนิดมา 4 ปีเศษโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้ง แต่สามารถขยายฐานของผู้ชมออกไปได้มากมาย สร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี ไม่เคยเกิดขึ้นกับสื่อทีวีด้วยกันเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
เอเอสทีวี ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบัน ประชาชนตื่นตัวที่จะรับฟัง ข้อมูลข่าวสาร ที่ฟรีทีวีหรือกระทั่ง สื่อรัฐไม่ได้นำเสนอ มิหนำซ้ำ กลับยัดเยียดข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว เช่น รายการ ‘สนทนาประสาสมัคร’ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทางช่อง เอ็นบีที ทุกเช้าวันอาทิตย์
ความจริง การเป็นสื่อสาธารณะของเอเอสทีวี ที่ทำหน้าที่เปิดหูเปิดตาให้ประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอีกด้านที่ถูกปกปิดเด่นชัดมาตั้งแต่สมัยของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
ในครั้งนั้น เอเอสทีวี เสนอตัวเป็น ‘สื่อทางเลือก’ ต่อสู้กับการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของระบอบทักษิณ กระทั่งสร้างผลสะเทือนต่อรัฐบาลทักษิณอย่างรุนแรง แต่ เอเอสทีวีก็ต้องแลกกับการถูกกลุ้มรุมกลั่นแกล้งสารพัดจากอำนาจรัฐ แทบเอาตัวไม่รอดดังที่ทราบกันดี แต่ก็โชคดีที่ศาลปกครองให้ความคุ้มครอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุถึงสิทธิเสรีภาพของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
สนธิ ลิ้มทองกุล เคยกล่าวไว้ว่า “ 4 ปีของเอเอสทีวีผ่านมาอย่างทุลักทุเลที่สุด เพราะ เผชิญกับการกลั่นแกล้งไม่ให้ออกอากาศ ใช้อำนาจรัฐ ใช้อิทธิพลตามจังหวัดต่างๆบีบไม่ให้เคเบิลท้องถิ่นรับสัญญาน หรือ ว่า แกล้งส่งคลื่นมารบกวนให้ภาพล้ม ภาพสะดุดอยู่ตลอดเวลา แต่ยิ่งกลั่นแกล้งก็ยิ่งทำให้เอเอสทีวีได้รับความนิยมมากขึ้นๆตลอดเวลา”
ผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี มองว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ประชาชนรู้สึกว่า ในยุคระบอบทักษิณครอบงำประเทศรัฐบาลได้ปิดกั้นข่าวสาร ทำไมพวกเขาไม่เห็นข่าวสารบางอย่างทางฟรีทีวี หรือ สื่ออื่นๆเลย ยกเว้น เอเอสทีวี ที่รายงานอยู่ช่องเดียว
“พูดง่ายๆว่าเราเป็นแกะที่มีขน ในหมู่แกะซึ่งขนไม่มีเช่นฟรีทีวีและสื่อรัฐที่เกรงกลัวอำนาจของรัฐ เพราะฉะนั้นแล้วผมคิดว่า ถึงผมจะทำเอเอสทีวีได้ไม่ตลอด หรือ ตลอดไป ประวัติศาสตร์มันจะต้องชี้ให้เห็นว่า ผมเกิดมาในยุคที่สื่อมวลชนไทยโดยเฉพาะโทรทัศน์ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ ทำเรื่องราวที่อับอายขายหน้าต่ออุดมการณ์ตัวเองมาก”
ทว่า การทำหน้าที่ของเอเอสทีวี ก็มักถูกโจมตีจากนักวิชาการสื่อมวลชนที่แอบอิงอยู่กับอำนาจรัฐว่า ไม่ “เป็นกลาง” หรือ ข้อกล่าวหาของรมว.มหาดไทย ร.ต.อ.เฉลิม ล่าสุดที่ระบุว่า เป็นสื่อที่สร้างปลุกปั่นยุยงให้สังคมแตกแยก
ในประเด็นนี้ ได้มีการถกเถียงกันมาตลอด แต่สุดท้ายคุณค่าของเอเอสทีวีต่อสังคมซึ่งได้พิสูจน์มาแล้วในการต่อสู้กับระบอบทักษิณในอดีต
พิสูจน์ให้เห็นว่า นักวิชาบางคนนั้น ยึดมั่นถือมั่นเอาทฤษฎีตะวันตกมาวิเคราะห์เอเอสทีวีมากจนเกินไป ซึ่งข้อเท็จจริงของการทำสื่อไม่จำเป็นต้องพึ่งตำราตะวันตกมากเลย เพราะเป็นแค่รูปแบบ แต่เนื้อหาไม่ได้เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับคำว่า “เป็นกลาง” ที่ไม่อาจใช้กับสื่อในยุคปัจจุบันได้ เพราะ หน้าที่ของสื่อคือผู้ที่ต้องจำแนกถูก-ผิดให้ประชาชน หรือ ต้องเลือกข้างถูก ไม่ใช่เป็นกลาง
“เหมือนกับคนที่เคยพูดว่า สื่อมวลชนคือกระจก ผมถามสักคำว่า ในสังคมที่มืดมิดคุณเอากระจกมาตั้ง คุณมองเห็นอะไรเห็นใหม? ก็ไม่เห็น ฉะนั้นในสังคมที่มืดมิด สังคมที่บอดด้วยปัญญา สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่เป็นตะเกียงนำทาง กระจกนี่ ฝรั่งมีสิทธิพูดได้ ก็เพราะว่า สังคมของเขาโปร่งใส การหาข้อมูล การขอข้อมูลกระทำได้เด็ดขาด ข้อมูลปิดปังกันไม่ได้ และ ที่สำคัญคือ ฝรั่งที่อยู่ในสังคมนั้นเป็นฝรั่งหรือคนที่มีหิริโอตตัปปะ ถ้าสื่อมวลชนลงข่าวอะไรที่เสียหาย คนพวกก็จะละอาย” สนธิ กล่าว
ขณะที่ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการสื่อสารมวลชนชื่อดัง เคยให้คำนิยามของเอเอสทีวี ว่า เป็นสื่อทีวีที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในสังคมไทย เอเอสทีวีมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ต่างไปจากสื่ออื่นๆ ทั้งในแง่เทคโนโลยีที่ส่งผ่านดาวเทียม เป็นฟรีทีวีที่ไม่เหมือนช่องอื่น และ เนื้อหาสาระ ลีลาการนำเสนอ
ด้านเนื้อหาสาระ เอเอสทีวี เป็นสื่อที่ให้สาระความจริงแก่ประชาชน การนำเสนอปัญหาของบ้านเมือง การบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งทำให้เอเอสทีวีถูกมองว่า เป็นสื่อเลือกข้าง ถ้าฝ่ายที่ไม่ชอบรัฐบาลทักษิณ หรือ นอมินีในปัจจุบันก็บอกว่า สื่ออย่างนี้คือสื่อที่ต้องการเพราะให้ความจริงแก่ประชาชน ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลหรือพรรคพลังประชาชนก็จะมองว่า แตกต่าง แตกแยก ทำให้เอเอสทีวีกลายเป็นสื่อที่คนชอบก็มาก คนชังก็มาก คนกลางๆไม่ค่อยมี
นายบุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา อาจารย์ประจำคณะวาสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ผู้ที่ติดตามปรากฏการณ์ในวงการสื่อทีวี และ เอเอสทีวีเป็นคนแรกๆ มองว่า การแสดงบทบาทของสื่อในเครือผู้จัดการ และ เอเอสทีวี มาตั้งแต่ ‘ปรากฏการณ์สนธิ’ ที่ต่อสู้กับระบอบทักษิน ในปี2548 เทียบเคียงได้กับการเปลี่ยนรที่เกิดขึ้รกับสื่อในอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังยุคสงครามเย็น ที่สื่ออเมริกันไม่บยอมยืนดูความตกต่ำที่เกิดขึ้นในสังคมแบบเมินเฉย แต่ได้ก้าวออกมาแสวงหาบทบาทใหม่เพื่อฟื้นฟูตัวเองและอเมริกาโดยรวม สื่ออเมริกันที่เชื่อในแนวความคิด วารสารศาสตร์แห่งพลเมือง(Civic Journalism) หรือ วารสารศาสาตร์เพื่อสาธารณะ(PublicJournalism) จึงพยายามสร้างความเชื่อมโยงกับชีวิตสาธารณะอย่างมีความหมายขึ้น
ปรากฎการณ์การลุกขึ้นมาของประชาชน ประท้วงขับไล่ผู้ว่าราชการที่สนองอำนาจเถื่อนของร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุง บีบบังคับเคเบิลท้องถิ่นตัดสัญญานเอเอสทีวี สังคมจึงไม่ควรมองผ่านเลยไป
เพราะนอกจากจะพิสูจน์ว่า เอเอสทีวี ที่ยืดหยัดอยู่ได้มาถึงทุกวันนี้ก็ด้วยการสนับสนุนของสาธารณะ หรือ ประชาชน แล้ว จากนี้ไป ประชาชน ที่ผ่านการติดอาวุธทางปัญญาก็พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง และ ประเทศ แบบไม่เมินเฉยอีกต่อไป.