วานนี้(13 มิ.ย.)พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในฐานะรอง โฆษก ตร.กล่าวถึงกรณีที่นายณฐพร โตประยูร ทนายความนายสุนัย นโนมัยอุดม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ออกมาระบุว่า มีนายตำรวจระดับนายพล ออกคำสั่งร้อยเวรให้ดำเนินคดีกับ นายสุนัย ว่าได้มีการพูคุยกับ พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเรื่องดังกล่าว และแนะนำให้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงตามข่าวที่ปรากฏ และในส่วนของสำนวนคดีตั้งแต่การรับเรื่อง การรวบรวมพยานหลักฐาน การออกหมายเรียก
พล.ต.ต.สุรพล กล่าวอีกว่า หมายจับเป็นอำนาจของศาลในการออกคำสั่ง ไม่ใช่อำนาจของตำรวจ โดยส่วนตัวมองว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ทำผิดระเบียบขั้นตอน แต่อาจไม่ถูกใจสังคม เพราะตำรวจอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ถูกกล่าวหา และผู้กล่าวหาซึ่งเป็นที่จับตามองของคนในสังคมจึงต้องทำตามระเบียบ ซึ่งหลักการในการออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหา เป็นขั้นตอนการกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นการพิสูจน์ความผิดตามที่ถูกกล่าวหา โดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคดี ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็สามารถออกหมายเรียกมาสอบปากคำได้
“วิธีการออกหมายเรียกที่ตำรวจทำถามว่าจำเป็นหรือไม่ มองว่าอาจไม่จำเป็น ซึ่งได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่าได้มีการรวบรวมหลักฐานจากส่วนอื่นหรือยัง ก็ได้รับการยืนยันว่าเก็บหลักฐานจากสื่อแล้วแต่ยังไม่เพียงพอจึงออกหมายเรียกนายสุนัย แต่เป็นการเรียกมาพบสอบถามข้อมูลไม่ได้ควบคุมตัว ซึ่งตำรวจก็พยายามทำตามระเบียบ”
ส่วนกรณีที่นายสุนัยได้ส่งเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อเอาผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกับพนักงานสอบสวน รอง โฆษก ตร. กล่าวว่า เรียงนี้เป็นขั้นตอนของ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาหากชี้มูลว่ามีความผิด พนักงานสอบสวนก็ถือว่ามีความผิด ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกสามารถถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออกเหมือนกรณีของ พล.ต.ต.มานิตย์ วงษ์สมบูรณ์ อดีต ผบก.น.1 ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์เรื่องการถูกโจมตีว่าเป็นรัฐตำรวจนั้นเป็นไปไม่ได้เพราะมีองค์กรตรวจสอบอยู่ตลอด ถ้าตำรวจใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็จะถูกลงโทษ
พล.ต.ต.สุรพล กล่าวอีกว่า หมายจับเป็นอำนาจของศาลในการออกคำสั่ง ไม่ใช่อำนาจของตำรวจ โดยส่วนตัวมองว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้ทำผิดระเบียบขั้นตอน แต่อาจไม่ถูกใจสังคม เพราะตำรวจอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ถูกกล่าวหา และผู้กล่าวหาซึ่งเป็นที่จับตามองของคนในสังคมจึงต้องทำตามระเบียบ ซึ่งหลักการในการออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหา เป็นขั้นตอนการกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นการพิสูจน์ความผิดตามที่ถูกกล่าวหา โดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งคดี ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็สามารถออกหมายเรียกมาสอบปากคำได้
“วิธีการออกหมายเรียกที่ตำรวจทำถามว่าจำเป็นหรือไม่ มองว่าอาจไม่จำเป็น ซึ่งได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่าได้มีการรวบรวมหลักฐานจากส่วนอื่นหรือยัง ก็ได้รับการยืนยันว่าเก็บหลักฐานจากสื่อแล้วแต่ยังไม่เพียงพอจึงออกหมายเรียกนายสุนัย แต่เป็นการเรียกมาพบสอบถามข้อมูลไม่ได้ควบคุมตัว ซึ่งตำรวจก็พยายามทำตามระเบียบ”
ส่วนกรณีที่นายสุนัยได้ส่งเรื่องนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อเอาผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกับพนักงานสอบสวน รอง โฆษก ตร. กล่าวว่า เรียงนี้เป็นขั้นตอนของ ป.ป.ช. ที่จะพิจารณาหากชี้มูลว่ามีความผิด พนักงานสอบสวนก็ถือว่ามีความผิด ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกสามารถถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออกเหมือนกรณีของ พล.ต.ต.มานิตย์ วงษ์สมบูรณ์ อดีต ผบก.น.1 ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์เรื่องการถูกโจมตีว่าเป็นรัฐตำรวจนั้นเป็นไปไม่ได้เพราะมีองค์กรตรวจสอบอยู่ตลอด ถ้าตำรวจใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็จะถูกลงโทษ