ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (13 มิ.ย.) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 73 ปี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ช่วงเช้าได้เดินทางออกจากบ้านพักตเพื่อตักบาตรทำบุญวันเกิด จากนั้นจึงเข้าทำเนียบฯ ก่อนจะไปตรวจความคืบหน้าการบูรณะปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน พระยานมาศ และเครื่องประกอบในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร โดยมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากรคอยให้การต้อนรับ ทั้งนี้การดำเนินการ เป็นที่น่าพอใจ และแล้วเสร็จครบทั้ง 100 %
ภายหลังการตรวจงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้มอบพระพิฆเนศให้นายกฯ ขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรได้มอบพระวิษณุ ให้กับนายสมัครเนื่องจากวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดอายุ 73 ปี ซึ่งนายสมัครรับไว้และยิ้มก่อนจะถามว่าราคาเกิน 3 พันบาทตามที่กฎหมายป.ป.ช.กำหนดหรือไม่ จากนั้น นายสมัครปฎิเสธที่จะตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวที่ถามว่าการชุมนุมจะเป็นอุปสรรคต่องานพิธีหรือไม่
ส่วนข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านที่ต้องการให้เปิดอภิปรายทั่วไปร่วมทั้ง 2 สภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 นั้น นายสมัครกล่าวว่า เอาไว้จะพูดชี้แจงในรายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 15 มิ.ย.นี้ให้ทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าวันคล้ายวันเกิดอยากได้อะไร นายสมัคร กล่าวว่า ไม่อยากได้อะไร เมื่อถามว่าไม่อยากให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยหรือ นายสมัคร กล่าวว่า ตนคงไม่ศักดิ์สิทธิ์ขนาดนั้น
ชัยโบ้ยรัฐยังไม่ส่งเรื่องเปิดอภิปราย
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลโดย นายกรัฐมนตรี ยังไม่ประสานมา เรื่องการยื่นขอเปิดอภิปรายทั่วไป 2 สภา ตามมาตรา 179 ยังอยู่ที่รัฐบาลแล้วจะมาให้ตนพิจารณาได้อย่างไร ถ้าหากว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้มีการอภิปรายทางสภาก็สามารถกำหนดเวลาอภิปรายให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องใช้กรอบระยะเวลาเท่าไหร่ เพราะเหลือเพียง 3 อาทิตย์ ในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ นายชัยกล่าวว่า ขณะนี้ตนอยากทราบว่า ใครทำอะไร อภิปรายเรื่องอะไร แล้วใครเป็นคนเสนอ มีคนเสนอแล้วหรือยัง ประเด็นอยู่ตรงนี้ เรื่องนี้เห็นแต่พูดกันในวงนอก ผู้อภิปรายก็ยังไม่เสนอญัตติ เมื่อยังไม่เสนอญัตติ และจะให้ตนทำยังไง
ส่วนที่รัฐบาลเตรียมขอปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 27 มิ.ย.นี้นั้น นายชัย กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบ แต่ป็นสิทธิของรัฐบาล ไม่ใช่อำนาจของคนใดคนหนึ่ง ในส่วนของสภาไม่มีปัญหาเรื่องการเปิดอภิปรายทั่วไป แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและฝ่ายค้านที่จะตกลงกัน ประธานสภาเป็นคนกลางมีหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่ระไว้
อ้างถกงบฯสำคัญกว่าปัญหาบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าทราบว่าฝ่ายค้านยื่นหนังสือขอให้อภิปรายทั่วไป ต่อนายกฯ แล้ว นายชัยกล่าวว่า ยื่นยังไง ยื่นบังคับให้รัฐบาลเปิดหรือ ถ้าเขาไม่เปิดมีสิทธิอะไรไปบังคับเขา เว้นแต่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อสภา ซึ่งฝ่ายค้านมีสิทธิทำได้ทุกวินาที แต่จะไปบังคับท่านนายกฯคงไม่ได้ ส่วนเวลาจะทันหรือไม่ตนไม่ทราบ เมื่อถามว่า หากฝ่ายค้าน ยื่นอภิปรายในต้นสัปดาห์หน้า จะพิจารณาทันหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ถ้าหากยื่นมา ต้องดูเอกสาร หลักฐานว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้อง เรามีหน้าที่แจ้งไปยังรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่าพร้อมหรือไม่ และกำหนดเวลาว่า เมื่อไหร่ อย่างไร
ตอนนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำเพื่อบ้านเมือง คือวันที่ 25-27 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด สำคัญกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าเม็ดเงินงบประมาณในการใช้จ่าย ปี 2552 ไม่ออก ความเดือดร้อนของประชาชนก็จะมากที่สุด ซึ่งสภาจะต้องยกเรื่องนี้เป็นอับดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่ท่านสวมหมวกอีก 1 ใบ เป็นส.ส.พรรคพลังประชาชน จะขอคุยกับรัฐบาลหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ตนไม่กล้าที่จะละลาบละล้วง เพราะตนไม่ได้เป็นคนใหญ่โตอะไร เป็นแค่ผู้แทนราษฏรคนหนึ่งเท่านั้น ตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นหัวโขน
อภิสิทธิ์ติงรัฐเมินช่องทางรัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ารัฐบาลไม่ควาปฏิเสธช่องทางของการทำงานในระบบรัฐสภา เพราะจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าในที่สุดกลไกของรัฐสภาไม่สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ของบ้านเมืองได้
“สถานการณ์ขณะนี้ประชาชนมีความกังวลมากต่อเรื่องราวต่าง ๆ และคงต้องตั้งคำถามว่าทำไมส.ส.จึงไม่สามารถหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาพูดคุยกันได้ ดังนั้นรัฐบาลควรแสดงท่าทีที่ชัดว่าจะอำนวยความสะดวกให้กลไกรัฐสภาได้ทำงาน ซึ่งผมมองไม่เห็นเหตุผลเรื่องเวลาไม่พอ เพราะตอนแรกมติของ ครม.จะเสนอพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมรัฐสภาในวันที่ 30 มิ.ย. ไม่มีเหตุผลว่าจะเลื่อนเข้ามาทำไม ในขณะที่มีแต่ความกังวลกันว่าเรื่องที่สภาจะต้องช่วยกันทำมีมากขึ้น และแม้ว่าสมัยประชุมวิสามัญจะสิ้นสุดลง รัฐบาลก็มีอำนาจที่จะขยายสมัยประชุม หรือเรียกประชุมอีกสมัยหนึ่งก็ยังได้ เพราะฉะนั้นอย่าเอาเรื่องเงื่อนเวลา ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงมาอ้าง จึงอยากให้ทบทวนเรื่องนี้”
ซัดปธ.สภาไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาชาติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่นายกฯ ต้องแสดงท่าทีคือส่งเรื่องไปให้สภาว่า ต้องการจะเปิดอภิปรายทั่วไป ส่วนเรื่องเวลาตนยินดีจะไปพบพูดคุย นอกจากนี้ ตนเป็นห่วงท่าทีของประธานสภาที่ไม่มีความรู้สึกทุกข์ร้อนกับวิกฤตของบ้านเมือง โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ที่ว่ายังไม่เห็นญัตติเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหารัฐธรรมนูญ ทั้งที่ความจริงทุกพรรคการเมืองได้ยื่นไปแล้ว และเป็นข่าวปรากฎต่อ สาธารณะ ดังนั้นในฐานะที่ประธานมีหน้าที่ที่จะทำให้สภาทำงานได้ และตนอยากให้รัฐบาลและสภาได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ
“ตอนแรกท่านมีทีท่าเหมือนจะเปิดสภา ผมไม่ทราบท่านไปฟังใคร ผมไม่อยากให้เกิดการหนีสภา เบี้ยวสภา เพราะในอดีตพอทำอย่างนั้นก็มีวิกฤติทุกครั้ง ตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเปิด เพราะยังไม่แถลงออกมาให้ชัด ผมอยากให้แสดง ท่าทีให้เร็วที่สุด ไม่อยากให้เป็นเรื่องที่ค้างคากันไป เรื่องเวลาอย่ามาอ้างดีกว่า ฟังไม่ขึ้น ถ้าจะไม่เปิด ก็บอกว่าไม่เปิด มีความกล้าหาญหน่อย”
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมวิสามัญนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยจะคุยกันวันนี้อีกครั้ง และคุยเกี่ยวกับเรื่องการประสานงานของรัฐบาล กับรัฐสภาด้วย
หวั่นนายกฯพูดทางรมต.ไปอีกทาง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังต่อท่าทีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่อาจจะไม่เปิดให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ แต่พรรคยังจะรอฟังความชัดเจนจากการพูดของนายกรัฐมนตรีที่จะประกาศในรายการ สนทนาประสาสมัคร ในวันอาทิตย์นี้ก่อน แต่ตนขอวิงวอนว่า หากนายกฯพูดอย่างไร ก็ขอให้หมายความว่าอย่างนั้น ไม่ใช่ว่านายกฯพูดอย่างหนึ่ง แต่พออีกวันกลับมีรัฐมนตรีพูดอีกอย่างหนึ่ง ทั้งนี้หากนายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนว่าจะไม่มีการเปิดให้อภิปรายทั่วไป พวกตนก็จะได้คิดต่อว่าจะทำอย่างไร โดยหลังจากที่ฟังนายกฯเสร็จก็คงจะประชุมกัน และประมาณวันอังคาร ที่ 17 มิ.ย. จะมีความชัดเจนในเรื่องจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่เพราะต้องประชุมผู้ที่รับผิดชอบด้วย
นายสุเทพ ยืนยันว่า แม้พรรคจะมีข้อสรุปเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือไม่ในสัปดาห์หน้า ก็ไม่ถือว่าช้าเกินไป เพราะรัฐบาลประกาศเองว่าจะเปิดสมัยประชุมวิสามัญในวันที่ 30 มิถุนายน แล้วเหตุใดจึงรีบร้อนไปร่นเข้ามาเป็นวันที่ 27 มิ.ย. และตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมวิสามัญ รัฐบาลจะเปิดสภาอีกเดือนก็ได้ ดังนั้นไม่ควรนำสิ่งที่ไม่เป็นเงื่อนไขมาเป็นเงื่อนไข และตนคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดก็คือนายกฯต้องทบทวน ซึ่งตนขอเรียกร้อให้นายกฯตัดสินใจ ในสิ่งที่ถูกต้อง คือเปิดอภิปรายเป็นการทั่วไป เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นส.ส. และส.ว.
ส่วนการเร่งรีบปิดสมัยประชุมเป็นเพราะเริ่มมีปัญหาเสถียรภาพในรัฐบาล หรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจและมองไม่ออกถึงเหตุผลที่เลื่อนวันปิดสมัยประชุมให้เร็วขึ้น แต่หากมองในแง่ของคนที่ติดตามการเมือง ตนนึกเดาเอาว่า ใจจริงนายกฯอาจจะต้องการเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไป เพราะเป็นประโยชน์กับท่าน แต่ฝ่ายที่รุนแรงทั้งหลายอาจจะไม่ยินยอม เมื่อถามว่าขณะนี้นายกฯ อยู่ในสถานการณ์ ที่ลำบากหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนดูหน้าตาของนายกฯ แล้วตนรู้สึกว่า อยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่จะเป็นเช่นนี้อีกนานหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ เพราะไม่ใช่หมอดู
หนีอภิปรายทั่วไปเจอญัตติซักฟอก
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะอ้างเงื่อนเวลามาเป็นข้อจำกัดในการอภิปรายตามมาตรา 179 ถ้ารัฐบาลมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ และมีความจริงใจ ที่จะให้ทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาวิกฤตของชาติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็สามารถที่จะบริหารเวลา ให้ทันต่อการเปิดประชุมสมัยวิสามัญนี้ได้ แต่รัฐบาลกำลังอำพรางข้อเท็จจริงที่ประชาชนควรจะรู้ หรือกลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านมากกว่า จึงไม่กล้าที่จะเผชิญความจริง การที่จะมาบอกว่าไม่กลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านนั้น เป็นเหตุผลที่อ้างข้าง ๆ คู ๆ
นายเทพไทกล่าวว่า อย่าว่าแต่การเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาเลย แม้แต่การตั้งกรรมาธิการสามัญประจำสภา ที่เป็นปัญหาเรื้อรังจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะปัญหาอยู่ที่ตัวประธานกรรมาธิการการศึกษาเพียงคณะเดียวที่พรรคพลังประชาชนต้องการเอา คนของตัวเองมานั่งในตำแหน่งนี้ เพื่อคุ้มครอง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ ถ้ารัฐมนตรีศึกษาฯ บอกว่าไม่เคยกลัวฝ่ายค้านแล้วทำไมไม่ยอมให้คนของฝ่ายค้าน เป็นประธานกรรมาธิการการศึกษาฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นความขัดแย้งของการตั้งกรรมาธิการเพียงคณะเดียวทำให้การตั้งกรรมาธิการคณะอื่น ๆทั้งสภา ไม่สามารถที่จะกระทำได้ในสมัยประชุมที่ผ่านมา นับว่าเป็นความอัปยศของฝ่ายนิติบัญญัติ เ
“รัฐบาลหนีการตรวจสอบจากฝ่ายค้านไปไม่ได้ แม้จะหนีการเปิดอภิปราย ตามมาตรา 179 ไปได้ ก็จะต้องเจอกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ดี และขอให้จับตามองการอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณ 2552 ให้ดีก็แล้วกัน ขอร้องรัฐบาล อย่าปิดกั้นโอกาสของฝ่ายค้านไม่ควรรวบรัดและจัดผู้ประท้วงขึ้นมาก่อกวน การอภิปราย จนเสียบรรยากาศของที่ประชุมสภา”
นายศิริโชค โสภา โฆษกคณะรัฐมนตรีเงา กล่าวถึง การพิจารณายื่นญันติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านจะจัดเจนในวันอาทิตย์ที่ 15 มิ.ย.นี้ เพราะต้องดูท่าทีของนายสมัคร สุนทรเวชที่จะยอมให้เปิดอภิปรายทั่วไปร่วม 2 สภาหรือไม่
เด็กนายกฯอ้างยังไม่มีเหตุต้องอภิปราย
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองกล่าวว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 179 ระบุไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดินที่ ครม.เห็นสมควรจะฟังความเห็นของส.ส.และส.ว. นายกฯจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ ในกรณีเช่นนี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้ การที่ฝ่ายค้านทำหนังสือขอให้ นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 179 ดังกล่าว ซึ่งบีบให้นายกฯเปิดอภิปราย ซึ่งฝ่ายค้าน คงเข้าใจสาระสำคัญในเนื้อหาของมาตรา 179 ผิด
“การที่นายกรฯจะขอเปิดสภาเพื่อให้ส.ส.และส.ว.อภิปรายนั้น ต้องเห็นว่า เกิด ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินก่อนและ ครม. ต้องเห็นสมควรด้วย โดยนายกฯจะต้องเรียกประชุม ครม.วันนี้ไม่ใช้ฝ่ายค้านมาขอเปิดแล้วนายกฯไม่ยอม แต่เวลานี้นายกฯเห็นว่ายังไม่เกิดปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินถึงขนาดที่จะต้องแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภา แต่เชื่อว่า การกระทำของฝ่ายค้านต้องการบีบรัฐบาลหวังซ้ำเติมสถานการณ์ความวุ่นวายและทำให้สังคมเข้าใจเนื้อหามาตรา 179 ในทางที่ผิดหากใครไม่รู้เนื้อหาก็คงจะเข้าใจเช่นนั้น ฝ่ายค้านเข้าใจบทบาทตัวเองผิด มาตรา 179 เป็นสิทธิของคณะรัฐมนตรี ที่แสดงความเห็นให้กับนายกรัฐมนตรีให้เห็นว่ามีปัญหา แต่ตอนนี้รัฐบาลไม่มีปัญหาในการบริหารประเทศ”
นายคณวัฒน์ กล่าวว่า ทการเปิดสภาสมัยวิสามัญเจตนาเปิดเพื่อพิจารณา กฎหมายสำคัญพิจารณางบประมาณ คงจะแทรกเรื่องอื่นเข้าไปลำบากเวลาไม่อำนวย อย่างไรก็ตามหากฝ่ายค้านจะแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็สามารถส่งหนังสือแสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะได้ หรืออาจจะแสดงความเห็นผ่านสื่อมา รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังเสมอ แต่ฝ่ายค้านอย่าเข้าใจเนื้อหาของรัฐธรรมนูญผิด หรือแกล้งเข้าใจผิดเพื่อบีบรัฐบาล ที่ผ่านมาตนไม่ได้ออกมาพูด แต่คราวนี้เห็นว่าฝ่ายค้านเล่นการเมืองเกินไป ตนในฐานะเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ก็ขอทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้และทำความเข้าใจฝ่ายค้านด้วย
พปช.เล่นเล่ห์อยากให้อภิปรายทั่วไป
นายสุนัย จุลพงศธร และนายจตุพร พรหมพันธุ์ คณะทำงานศูนย์ติดตามและวิเคราะห์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชน ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายสุนัย แถลงว่าการยื่นญัตติของพรรคประชาธิปัตย์นั้นน่าสนใจโดยเฉพาะการเช่ารถเมล์ของ ขสมก.มูลค่า 1 แสนล้านบาทนั้นมีมูลค่าสูงมาก ประชาชนฟังแล้วอาจตกใจ แต่เรื่องนี้ พรรคประชาธิปัตย์คงสงสัย เปรียบเหมือนในช่วงรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งสตช.เช่ารถมูลค่าสูง ถึง 1 หมื่นล้านบาท แต่กรณีนั้นรถเช่าเพื่อนำมาใช้ภายใน สตช. แต่กรณีนี้เป็นการทำ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้ใช้บริการ
ส่วนกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เสียงข้างน้อยอภิปรายรัฐบาลไปก็ทำอะไรไม่ได้นั้น ตนไม่อยากให้ดูถูกส.ส. เพราะหากเรื่องนี้มีเงื่อนงำจริงตนก็จะไม่ยกมือวางใจให้ด้วยเช่นกัน
คิดไกลปชป.จ้องปิดทางยุบสภา
นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวว่า การยื่นขออภิปรายรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทั้งๆที่พรรครู้ว่าจะลงมติหรือไม่ก็มีค่าเท่ากัน เรื่องนี้พรรคนั้นไม่มีอะไรเสีย แต่มันคือการสะสมการโค่นรัฐบาล ตนเชื่อว่าพรรคนั้นออกไปให้เหตุผลว่า ไม่สามารถยื่นอภิปรายทันในสมัยประชุมวิสามัญนี้ และจะเปิดประชุมสมัยนิติบัญญัติในช่วงเดือนส.ค.ที่ไม่สามารถอภิปรายได้ แต่เชื่อว่าพรรคนั้นจะยื่นญัตตินี้คาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯยุบสภา เว้นแต่นายกฯลาออก สถานเดียว เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์คงจะยื่นญัตติคาไว้เพื่อให้เกิดสนิมขึ้นกับเนื้อในตน คือไปยั่วยุพรรคร่ว่มรัฐบาลให้ถอนตัว
ส่วนกรณีที่ส.ว.แต่งตั้งยื่นญัตติอภิปรายฯรัฐบาลนั้นก็ขอให้คงไว้แต่จะทันการบรรจุญัตติหรือไม่นั้นไม่ทราบเพราะสมัยประชุมนี้เหลือสองสัปดาห์เท่านั้น เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้เกิดกลุ่มงูเห่าเช่นในอดีต
ภายหลังการตรวจงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้มอบพระพิฆเนศให้นายกฯ ขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรได้มอบพระวิษณุ ให้กับนายสมัครเนื่องจากวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดอายุ 73 ปี ซึ่งนายสมัครรับไว้และยิ้มก่อนจะถามว่าราคาเกิน 3 พันบาทตามที่กฎหมายป.ป.ช.กำหนดหรือไม่ จากนั้น นายสมัครปฎิเสธที่จะตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวที่ถามว่าการชุมนุมจะเป็นอุปสรรคต่องานพิธีหรือไม่
ส่วนข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านที่ต้องการให้เปิดอภิปรายทั่วไปร่วมทั้ง 2 สภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 นั้น นายสมัครกล่าวว่า เอาไว้จะพูดชี้แจงในรายการ สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 15 มิ.ย.นี้ให้ทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าวันคล้ายวันเกิดอยากได้อะไร นายสมัคร กล่าวว่า ไม่อยากได้อะไร เมื่อถามว่าไม่อยากให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยหรือ นายสมัคร กล่าวว่า ตนคงไม่ศักดิ์สิทธิ์ขนาดนั้น
ชัยโบ้ยรัฐยังไม่ส่งเรื่องเปิดอภิปราย
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลโดย นายกรัฐมนตรี ยังไม่ประสานมา เรื่องการยื่นขอเปิดอภิปรายทั่วไป 2 สภา ตามมาตรา 179 ยังอยู่ที่รัฐบาลแล้วจะมาให้ตนพิจารณาได้อย่างไร ถ้าหากว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้มีการอภิปรายทางสภาก็สามารถกำหนดเวลาอภิปรายให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องใช้กรอบระยะเวลาเท่าไหร่ เพราะเหลือเพียง 3 อาทิตย์ ในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ นายชัยกล่าวว่า ขณะนี้ตนอยากทราบว่า ใครทำอะไร อภิปรายเรื่องอะไร แล้วใครเป็นคนเสนอ มีคนเสนอแล้วหรือยัง ประเด็นอยู่ตรงนี้ เรื่องนี้เห็นแต่พูดกันในวงนอก ผู้อภิปรายก็ยังไม่เสนอญัตติ เมื่อยังไม่เสนอญัตติ และจะให้ตนทำยังไง
ส่วนที่รัฐบาลเตรียมขอปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 27 มิ.ย.นี้นั้น นายชัย กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบ แต่ป็นสิทธิของรัฐบาล ไม่ใช่อำนาจของคนใดคนหนึ่ง ในส่วนของสภาไม่มีปัญหาเรื่องการเปิดอภิปรายทั่วไป แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและฝ่ายค้านที่จะตกลงกัน ประธานสภาเป็นคนกลางมีหน้าที่ปฎิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่ระไว้
อ้างถกงบฯสำคัญกว่าปัญหาบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าทราบว่าฝ่ายค้านยื่นหนังสือขอให้อภิปรายทั่วไป ต่อนายกฯ แล้ว นายชัยกล่าวว่า ยื่นยังไง ยื่นบังคับให้รัฐบาลเปิดหรือ ถ้าเขาไม่เปิดมีสิทธิอะไรไปบังคับเขา เว้นแต่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อสภา ซึ่งฝ่ายค้านมีสิทธิทำได้ทุกวินาที แต่จะไปบังคับท่านนายกฯคงไม่ได้ ส่วนเวลาจะทันหรือไม่ตนไม่ทราบ เมื่อถามว่า หากฝ่ายค้าน ยื่นอภิปรายในต้นสัปดาห์หน้า จะพิจารณาทันหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ถ้าหากยื่นมา ต้องดูเอกสาร หลักฐานว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้อง เรามีหน้าที่แจ้งไปยังรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่าพร้อมหรือไม่ และกำหนดเวลาว่า เมื่อไหร่ อย่างไร
ตอนนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำเพื่อบ้านเมือง คือวันที่ 25-27 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด สำคัญกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าเม็ดเงินงบประมาณในการใช้จ่าย ปี 2552 ไม่ออก ความเดือดร้อนของประชาชนก็จะมากที่สุด ซึ่งสภาจะต้องยกเรื่องนี้เป็นอับดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่ท่านสวมหมวกอีก 1 ใบ เป็นส.ส.พรรคพลังประชาชน จะขอคุยกับรัฐบาลหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ตนไม่กล้าที่จะละลาบละล้วง เพราะตนไม่ได้เป็นคนใหญ่โตอะไร เป็นแค่ผู้แทนราษฏรคนหนึ่งเท่านั้น ตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นหัวโขน
อภิสิทธิ์ติงรัฐเมินช่องทางรัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ารัฐบาลไม่ควาปฏิเสธช่องทางของการทำงานในระบบรัฐสภา เพราะจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าในที่สุดกลไกของรัฐสภาไม่สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ของบ้านเมืองได้
“สถานการณ์ขณะนี้ประชาชนมีความกังวลมากต่อเรื่องราวต่าง ๆ และคงต้องตั้งคำถามว่าทำไมส.ส.จึงไม่สามารถหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาพูดคุยกันได้ ดังนั้นรัฐบาลควรแสดงท่าทีที่ชัดว่าจะอำนวยความสะดวกให้กลไกรัฐสภาได้ทำงาน ซึ่งผมมองไม่เห็นเหตุผลเรื่องเวลาไม่พอ เพราะตอนแรกมติของ ครม.จะเสนอพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมรัฐสภาในวันที่ 30 มิ.ย. ไม่มีเหตุผลว่าจะเลื่อนเข้ามาทำไม ในขณะที่มีแต่ความกังวลกันว่าเรื่องที่สภาจะต้องช่วยกันทำมีมากขึ้น และแม้ว่าสมัยประชุมวิสามัญจะสิ้นสุดลง รัฐบาลก็มีอำนาจที่จะขยายสมัยประชุม หรือเรียกประชุมอีกสมัยหนึ่งก็ยังได้ เพราะฉะนั้นอย่าเอาเรื่องเงื่อนเวลา ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงมาอ้าง จึงอยากให้ทบทวนเรื่องนี้”
ซัดปธ.สภาไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาชาติ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่นายกฯ ต้องแสดงท่าทีคือส่งเรื่องไปให้สภาว่า ต้องการจะเปิดอภิปรายทั่วไป ส่วนเรื่องเวลาตนยินดีจะไปพบพูดคุย นอกจากนี้ ตนเป็นห่วงท่าทีของประธานสภาที่ไม่มีความรู้สึกทุกข์ร้อนกับวิกฤตของบ้านเมือง โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ที่ว่ายังไม่เห็นญัตติเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหารัฐธรรมนูญ ทั้งที่ความจริงทุกพรรคการเมืองได้ยื่นไปแล้ว และเป็นข่าวปรากฎต่อ สาธารณะ ดังนั้นในฐานะที่ประธานมีหน้าที่ที่จะทำให้สภาทำงานได้ และตนอยากให้รัฐบาลและสภาได้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ
“ตอนแรกท่านมีทีท่าเหมือนจะเปิดสภา ผมไม่ทราบท่านไปฟังใคร ผมไม่อยากให้เกิดการหนีสภา เบี้ยวสภา เพราะในอดีตพอทำอย่างนั้นก็มีวิกฤติทุกครั้ง ตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเปิด เพราะยังไม่แถลงออกมาให้ชัด ผมอยากให้แสดง ท่าทีให้เร็วที่สุด ไม่อยากให้เป็นเรื่องที่ค้างคากันไป เรื่องเวลาอย่ามาอ้างดีกว่า ฟังไม่ขึ้น ถ้าจะไม่เปิด ก็บอกว่าไม่เปิด มีความกล้าหาญหน่อย”
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในสมัยประชุมวิสามัญนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยจะคุยกันวันนี้อีกครั้ง และคุยเกี่ยวกับเรื่องการประสานงานของรัฐบาล กับรัฐสภาด้วย
หวั่นนายกฯพูดทางรมต.ไปอีกทาง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังต่อท่าทีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่อาจจะไม่เปิดให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ แต่พรรคยังจะรอฟังความชัดเจนจากการพูดของนายกรัฐมนตรีที่จะประกาศในรายการ สนทนาประสาสมัคร ในวันอาทิตย์นี้ก่อน แต่ตนขอวิงวอนว่า หากนายกฯพูดอย่างไร ก็ขอให้หมายความว่าอย่างนั้น ไม่ใช่ว่านายกฯพูดอย่างหนึ่ง แต่พออีกวันกลับมีรัฐมนตรีพูดอีกอย่างหนึ่ง ทั้งนี้หากนายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนว่าจะไม่มีการเปิดให้อภิปรายทั่วไป พวกตนก็จะได้คิดต่อว่าจะทำอย่างไร โดยหลังจากที่ฟังนายกฯเสร็จก็คงจะประชุมกัน และประมาณวันอังคาร ที่ 17 มิ.ย. จะมีความชัดเจนในเรื่องจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่เพราะต้องประชุมผู้ที่รับผิดชอบด้วย
นายสุเทพ ยืนยันว่า แม้พรรคจะมีข้อสรุปเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือไม่ในสัปดาห์หน้า ก็ไม่ถือว่าช้าเกินไป เพราะรัฐบาลประกาศเองว่าจะเปิดสมัยประชุมวิสามัญในวันที่ 30 มิถุนายน แล้วเหตุใดจึงรีบร้อนไปร่นเข้ามาเป็นวันที่ 27 มิ.ย. และตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมวิสามัญ รัฐบาลจะเปิดสภาอีกเดือนก็ได้ ดังนั้นไม่ควรนำสิ่งที่ไม่เป็นเงื่อนไขมาเป็นเงื่อนไข และตนคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดก็คือนายกฯต้องทบทวน ซึ่งตนขอเรียกร้อให้นายกฯตัดสินใจ ในสิ่งที่ถูกต้อง คือเปิดอภิปรายเป็นการทั่วไป เพื่อเป็นการรับฟังความเห็นส.ส. และส.ว.
ส่วนการเร่งรีบปิดสมัยประชุมเป็นเพราะเริ่มมีปัญหาเสถียรภาพในรัฐบาล หรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจและมองไม่ออกถึงเหตุผลที่เลื่อนวันปิดสมัยประชุมให้เร็วขึ้น แต่หากมองในแง่ของคนที่ติดตามการเมือง ตนนึกเดาเอาว่า ใจจริงนายกฯอาจจะต้องการเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไป เพราะเป็นประโยชน์กับท่าน แต่ฝ่ายที่รุนแรงทั้งหลายอาจจะไม่ยินยอม เมื่อถามว่าขณะนี้นายกฯ อยู่ในสถานการณ์ ที่ลำบากหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนดูหน้าตาของนายกฯ แล้วตนรู้สึกว่า อยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่จะเป็นเช่นนี้อีกนานหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ เพราะไม่ใช่หมอดู
หนีอภิปรายทั่วไปเจอญัตติซักฟอก
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะอ้างเงื่อนเวลามาเป็นข้อจำกัดในการอภิปรายตามมาตรา 179 ถ้ารัฐบาลมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ และมีความจริงใจ ที่จะให้ทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาวิกฤตของชาติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็สามารถที่จะบริหารเวลา ให้ทันต่อการเปิดประชุมสมัยวิสามัญนี้ได้ แต่รัฐบาลกำลังอำพรางข้อเท็จจริงที่ประชาชนควรจะรู้ หรือกลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านมากกว่า จึงไม่กล้าที่จะเผชิญความจริง การที่จะมาบอกว่าไม่กลัวการอภิปรายของฝ่ายค้านนั้น เป็นเหตุผลที่อ้างข้าง ๆ คู ๆ
นายเทพไทกล่าวว่า อย่าว่าแต่การเปิดอภิปรายทั่วไปในสภาเลย แม้แต่การตั้งกรรมาธิการสามัญประจำสภา ที่เป็นปัญหาเรื้อรังจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะปัญหาอยู่ที่ตัวประธานกรรมาธิการการศึกษาเพียงคณะเดียวที่พรรคพลังประชาชนต้องการเอา คนของตัวเองมานั่งในตำแหน่งนี้ เพื่อคุ้มครอง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.ศึกษาธิการ ถ้ารัฐมนตรีศึกษาฯ บอกว่าไม่เคยกลัวฝ่ายค้านแล้วทำไมไม่ยอมให้คนของฝ่ายค้าน เป็นประธานกรรมาธิการการศึกษาฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นความขัดแย้งของการตั้งกรรมาธิการเพียงคณะเดียวทำให้การตั้งกรรมาธิการคณะอื่น ๆทั้งสภา ไม่สามารถที่จะกระทำได้ในสมัยประชุมที่ผ่านมา นับว่าเป็นความอัปยศของฝ่ายนิติบัญญัติ เ
“รัฐบาลหนีการตรวจสอบจากฝ่ายค้านไปไม่ได้ แม้จะหนีการเปิดอภิปราย ตามมาตรา 179 ไปได้ ก็จะต้องเจอกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ดี และขอให้จับตามองการอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณ 2552 ให้ดีก็แล้วกัน ขอร้องรัฐบาล อย่าปิดกั้นโอกาสของฝ่ายค้านไม่ควรรวบรัดและจัดผู้ประท้วงขึ้นมาก่อกวน การอภิปราย จนเสียบรรยากาศของที่ประชุมสภา”
นายศิริโชค โสภา โฆษกคณะรัฐมนตรีเงา กล่าวถึง การพิจารณายื่นญันติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านจะจัดเจนในวันอาทิตย์ที่ 15 มิ.ย.นี้ เพราะต้องดูท่าทีของนายสมัคร สุนทรเวชที่จะยอมให้เปิดอภิปรายทั่วไปร่วม 2 สภาหรือไม่
เด็กนายกฯอ้างยังไม่มีเหตุต้องอภิปราย
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองกล่าวว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 179 ระบุไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดินที่ ครม.เห็นสมควรจะฟังความเห็นของส.ส.และส.ว. นายกฯจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ ในกรณีเช่นนี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้ การที่ฝ่ายค้านทำหนังสือขอให้ นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 179 ดังกล่าว ซึ่งบีบให้นายกฯเปิดอภิปราย ซึ่งฝ่ายค้าน คงเข้าใจสาระสำคัญในเนื้อหาของมาตรา 179 ผิด
“การที่นายกรฯจะขอเปิดสภาเพื่อให้ส.ส.และส.ว.อภิปรายนั้น ต้องเห็นว่า เกิด ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินก่อนและ ครม. ต้องเห็นสมควรด้วย โดยนายกฯจะต้องเรียกประชุม ครม.วันนี้ไม่ใช้ฝ่ายค้านมาขอเปิดแล้วนายกฯไม่ยอม แต่เวลานี้นายกฯเห็นว่ายังไม่เกิดปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดินถึงขนาดที่จะต้องแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภา แต่เชื่อว่า การกระทำของฝ่ายค้านต้องการบีบรัฐบาลหวังซ้ำเติมสถานการณ์ความวุ่นวายและทำให้สังคมเข้าใจเนื้อหามาตรา 179 ในทางที่ผิดหากใครไม่รู้เนื้อหาก็คงจะเข้าใจเช่นนั้น ฝ่ายค้านเข้าใจบทบาทตัวเองผิด มาตรา 179 เป็นสิทธิของคณะรัฐมนตรี ที่แสดงความเห็นให้กับนายกรัฐมนตรีให้เห็นว่ามีปัญหา แต่ตอนนี้รัฐบาลไม่มีปัญหาในการบริหารประเทศ”
นายคณวัฒน์ กล่าวว่า ทการเปิดสภาสมัยวิสามัญเจตนาเปิดเพื่อพิจารณา กฎหมายสำคัญพิจารณางบประมาณ คงจะแทรกเรื่องอื่นเข้าไปลำบากเวลาไม่อำนวย อย่างไรก็ตามหากฝ่ายค้านจะแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็สามารถส่งหนังสือแสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะได้ หรืออาจจะแสดงความเห็นผ่านสื่อมา รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังเสมอ แต่ฝ่ายค้านอย่าเข้าใจเนื้อหาของรัฐธรรมนูญผิด หรือแกล้งเข้าใจผิดเพื่อบีบรัฐบาล ที่ผ่านมาตนไม่ได้ออกมาพูด แต่คราวนี้เห็นว่าฝ่ายค้านเล่นการเมืองเกินไป ตนในฐานะเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ก็ขอทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้และทำความเข้าใจฝ่ายค้านด้วย
พปช.เล่นเล่ห์อยากให้อภิปรายทั่วไป
นายสุนัย จุลพงศธร และนายจตุพร พรหมพันธุ์ คณะทำงานศูนย์ติดตามและวิเคราะห์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชน ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายสุนัย แถลงว่าการยื่นญัตติของพรรคประชาธิปัตย์นั้นน่าสนใจโดยเฉพาะการเช่ารถเมล์ของ ขสมก.มูลค่า 1 แสนล้านบาทนั้นมีมูลค่าสูงมาก ประชาชนฟังแล้วอาจตกใจ แต่เรื่องนี้ พรรคประชาธิปัตย์คงสงสัย เปรียบเหมือนในช่วงรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งสตช.เช่ารถมูลค่าสูง ถึง 1 หมื่นล้านบาท แต่กรณีนั้นรถเช่าเพื่อนำมาใช้ภายใน สตช. แต่กรณีนี้เป็นการทำ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้ใช้บริการ
ส่วนกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เสียงข้างน้อยอภิปรายรัฐบาลไปก็ทำอะไรไม่ได้นั้น ตนไม่อยากให้ดูถูกส.ส. เพราะหากเรื่องนี้มีเงื่อนงำจริงตนก็จะไม่ยกมือวางใจให้ด้วยเช่นกัน
คิดไกลปชป.จ้องปิดทางยุบสภา
นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวว่า การยื่นขออภิปรายรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทั้งๆที่พรรครู้ว่าจะลงมติหรือไม่ก็มีค่าเท่ากัน เรื่องนี้พรรคนั้นไม่มีอะไรเสีย แต่มันคือการสะสมการโค่นรัฐบาล ตนเชื่อว่าพรรคนั้นออกไปให้เหตุผลว่า ไม่สามารถยื่นอภิปรายทันในสมัยประชุมวิสามัญนี้ และจะเปิดประชุมสมัยนิติบัญญัติในช่วงเดือนส.ค.ที่ไม่สามารถอภิปรายได้ แต่เชื่อว่าพรรคนั้นจะยื่นญัตตินี้คาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯยุบสภา เว้นแต่นายกฯลาออก สถานเดียว เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์คงจะยื่นญัตติคาไว้เพื่อให้เกิดสนิมขึ้นกับเนื้อในตน คือไปยั่วยุพรรคร่ว่มรัฐบาลให้ถอนตัว
ส่วนกรณีที่ส.ว.แต่งตั้งยื่นญัตติอภิปรายฯรัฐบาลนั้นก็ขอให้คงไว้แต่จะทันการบรรจุญัตติหรือไม่นั้นไม่ทราบเพราะสมัยประชุมนี้เหลือสองสัปดาห์เท่านั้น เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้เกิดกลุ่มงูเห่าเช่นในอดีต