วานนี้ (11มิ.ย.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) จัดเสวนา"วิพากษ์ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กับผลกระทบต่อประชาชน"
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานคณะทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค สป. กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้องค์กรอิสระดูแลสื่อ มีเพียงองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสช.) โดยให้มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรดังกล่าวภายใน 180 วัน นับแต่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คือวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะนี้ผ่านมา 115 วันแล้ว พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่กำหนดวิธีการได้มาของ คณะกรรมการ กสช. นั้น อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถูกแก้ไขให้ผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์เดิม โดยเฉพาะประเด็นที่ให้อำนาจ ครม. คัดเลือก คณะกรรมการ กสช.
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว ทั้งที่ผิดหลักการ ตัดตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะให้ตัวแทนผู้ประกอบการ คณาจารย์ ผู้บริโภค เสนอชื่อผู้เป็นคณะกรรมการไปที่ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศฯ จำนวน 20 คน จากนั้น เสนอครม. คัดเลือกให้เหลือ 10 คน และให้นายกฯนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง คณะกรรมการชุดนี้มีวาระดำรงตำแหน่งถึง 6 ปี มีอำนาจล้นฟ้า ดูแลจัดสรรคลื่นทั้งหมด พิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม กำหนดค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขทุกอย่าง กำหนดค่าบริการของผู้ใช้บริการด้วย
"คณะกรรมการ กสช. ที่อำนาจล้นฟ้า ดูแลสื่อทุกชนิดมูลค่าเป็นแสนๆ ล้าน แต่ที่มากลับให้อำนาจสิทธิ์ขาดครม. แล้วความเป็นองค์กรอิสระจะอยู่ที่ไหน ครม.จะเลือกคนที่ถูกใจตัวเอง และจะมีการทำงานตามใบสั่งหรือไม่ อีกทั้งรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการเอง เช่น ทศท. กสท. อสมท. ช่อง 11 และคลื่นอื่นๆ การให้เจ้าของกิจการมาเลือกผู้กำกับดูแลกิจการไม่น่าจะเหมาะสม อาจทำให้การกำกับดูแลไม่เที่ยงธรรม ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯจะจัดทำข้อเสนอเรื่องนี้ถึงรัฐบาล" นพ.ประวิทย์กล่าว
ดร.อนุภาพ ถิรลาภ ผอ.สถาบันการบริหาร และการจัดการโทรคมนาคมไทย กล่าวว่า หากหลักการสรรหาคณะกรรมการถูกเปลี่ยนไปเช่นนี้ กสช. ก็ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอีกต่อไป และไม่ใช่แค่การแทรกแซง แต่คือการกลืนให้เป็นองค์กรของรัฐองค์กรหนึ่ง และยังเปลี่ยนหลักการให้ผู้ประกอบการกลายเป็นเสียงข้างมาก สามารถเสนอชื่อคณะกรรมการได้ถึง 14 คน คณาจารย์เสนอได้ 4 คน ผู้บริโภคได้ 2 คน ความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน สัดส่วนคณะกรรมการก็ประหลาดให้มีได้ 10 คน ทั้งยังไม่ได้ระบุว่า ประธานคณะกรรมการห้ามออกเสียง โดยทั่วไปจำนวนคณะกรรมการจะเป็นเลขคี่ จึงไม่รู้ว่ามีอะไรแอบแฝงหรือไม่
"ถ้าทำกันแบบนี้มันก็เหลวแหลกเต็มที่ แย่มากไม่มีหลักเกณฑ์ รวบอำนาจ บิดเบือน รัฐบาลก็สมควรที่จะโดนไล่ เพราะสังคมไม่มีขื่อแป คิดแค่ฉันมีเสียงข้างมาก ฉันจะเอา อยากได้อะไรก็ทำ สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมของการแก้แค้น แถม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯยังไม่มีบทลงโทษคณะกรรมการที่มีอำนาจล้นฟ้า ไม่มีการตรวจสอบ เป็นไปได้อย่างไร นี่เป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนที่สำคัญ ขนาดกกต. แค่แบ่งเขตผิด ยังติดคุกเลย ต้องตรวจสอบได้ อย่าอ้างว่าไม่อยากเขียนบทลงโทษ กลัวคนไม่มาเป็นกรรมการ ผมก็จะขอเป็นเอง เพราะทุกวันนี้เห็นแย่งกันเป็น จะเป็นจะตาย" ดร.อนุภาพกล่าว
ดร.อนุภาพ กล่าวอีกว่า ผู้ที่จะคัดเลือกคณะกรรมการ กสช. ควรเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการสื่อสาร คือองค์กรภาคประชาชน อาทิ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เพราะทำงานกับคนทุกกลุ่มชน คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ด้านการสื่อสาร และเชี่ยวชาญสาขาใดสาขาหนึ่ง อาทิ กฎหมาย เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเงิน และส่งรายชื่อให้วุฒิสภาซึ่งเป็นตัวแทนทางอ้อมของประชาชนคัดเลือก เพื่อให้ถ่วงดุลกัน ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนของผู้ประกอบการ เพราะไม่จำเป็นต้องให้พวกเขามาสะท้อนผลประโยชน์ตัวเอง ไม่มีเหตุผลที่ต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของธุรกิจ ตัวแทนผู้บริโภคไม่ทำให้ธุรกิจเจ๊งแน่ๆ เนื่องจากถ้าให้เหลือน้อยราย หรือมีการผูกขาด ผู้บริโภคจะเป็นผู้เสียประโยชน์
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมาย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี 2543 กล่าวว่า การทำเช่นนี้คือคือกลอุบาย ที่ตัดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนออกไป แล้วคืนอำนาจให้นักการเมือง ไม่มีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบคุณสมบัติ ทุกอย่างถูกตัดตอน
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ อุปนายกสมาคมคนตาบอด กล่าวว่า กฎหมายถูกเปลี่ยนแปลง ข้อกำหนดที่รัฐต้องจัดสรรสื่อ 20% .ให้ประชาชนใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะหายไป ตัวอย่างเช่น วิทยุชุมชน ก็เอาเชือกมาผูกคอประชาชน ให้สิทธิกับ อบต. ในการตรวจสอบควบคุม วิทยุชุมชนจะกลายเป็นวิทยุของอบต. ซึ่งผิดแจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.เดิม ประชาชนไม่ได้รับในสิ่งที่ควรได้ ที่สำคัญกฎหมายที่ออกมาในปัจจุบัน จะให้ความสำคัญกับผู้พิการ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงควรทำให้สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาทิ จัดสรรคลื่นให้ผู้พิการ คนชรา ได้ใช้ประโยชน์
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานคณะทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค สป. กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้องค์กรอิสระดูแลสื่อ มีเพียงองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสช.) โดยให้มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรดังกล่าวภายใน 180 วัน นับแต่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คือวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะนี้ผ่านมา 115 วันแล้ว พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่กำหนดวิธีการได้มาของ คณะกรรมการ กสช. นั้น อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งถูกแก้ไขให้ผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์เดิม โดยเฉพาะประเด็นที่ให้อำนาจ ครม. คัดเลือก คณะกรรมการ กสช.
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว ทั้งที่ผิดหลักการ ตัดตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะให้ตัวแทนผู้ประกอบการ คณาจารย์ ผู้บริโภค เสนอชื่อผู้เป็นคณะกรรมการไปที่ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศฯ จำนวน 20 คน จากนั้น เสนอครม. คัดเลือกให้เหลือ 10 คน และให้นายกฯนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง คณะกรรมการชุดนี้มีวาระดำรงตำแหน่งถึง 6 ปี มีอำนาจล้นฟ้า ดูแลจัดสรรคลื่นทั้งหมด พิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม กำหนดค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขทุกอย่าง กำหนดค่าบริการของผู้ใช้บริการด้วย
"คณะกรรมการ กสช. ที่อำนาจล้นฟ้า ดูแลสื่อทุกชนิดมูลค่าเป็นแสนๆ ล้าน แต่ที่มากลับให้อำนาจสิทธิ์ขาดครม. แล้วความเป็นองค์กรอิสระจะอยู่ที่ไหน ครม.จะเลือกคนที่ถูกใจตัวเอง และจะมีการทำงานตามใบสั่งหรือไม่ อีกทั้งรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการเอง เช่น ทศท. กสท. อสมท. ช่อง 11 และคลื่นอื่นๆ การให้เจ้าของกิจการมาเลือกผู้กำกับดูแลกิจการไม่น่าจะเหมาะสม อาจทำให้การกำกับดูแลไม่เที่ยงธรรม ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯจะจัดทำข้อเสนอเรื่องนี้ถึงรัฐบาล" นพ.ประวิทย์กล่าว
ดร.อนุภาพ ถิรลาภ ผอ.สถาบันการบริหาร และการจัดการโทรคมนาคมไทย กล่าวว่า หากหลักการสรรหาคณะกรรมการถูกเปลี่ยนไปเช่นนี้ กสช. ก็ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอีกต่อไป และไม่ใช่แค่การแทรกแซง แต่คือการกลืนให้เป็นองค์กรของรัฐองค์กรหนึ่ง และยังเปลี่ยนหลักการให้ผู้ประกอบการกลายเป็นเสียงข้างมาก สามารถเสนอชื่อคณะกรรมการได้ถึง 14 คน คณาจารย์เสนอได้ 4 คน ผู้บริโภคได้ 2 คน ความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน สัดส่วนคณะกรรมการก็ประหลาดให้มีได้ 10 คน ทั้งยังไม่ได้ระบุว่า ประธานคณะกรรมการห้ามออกเสียง โดยทั่วไปจำนวนคณะกรรมการจะเป็นเลขคี่ จึงไม่รู้ว่ามีอะไรแอบแฝงหรือไม่
"ถ้าทำกันแบบนี้มันก็เหลวแหลกเต็มที่ แย่มากไม่มีหลักเกณฑ์ รวบอำนาจ บิดเบือน รัฐบาลก็สมควรที่จะโดนไล่ เพราะสังคมไม่มีขื่อแป คิดแค่ฉันมีเสียงข้างมาก ฉันจะเอา อยากได้อะไรก็ทำ สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมของการแก้แค้น แถม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯยังไม่มีบทลงโทษคณะกรรมการที่มีอำนาจล้นฟ้า ไม่มีการตรวจสอบ เป็นไปได้อย่างไร นี่เป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนที่สำคัญ ขนาดกกต. แค่แบ่งเขตผิด ยังติดคุกเลย ต้องตรวจสอบได้ อย่าอ้างว่าไม่อยากเขียนบทลงโทษ กลัวคนไม่มาเป็นกรรมการ ผมก็จะขอเป็นเอง เพราะทุกวันนี้เห็นแย่งกันเป็น จะเป็นจะตาย" ดร.อนุภาพกล่าว
ดร.อนุภาพ กล่าวอีกว่า ผู้ที่จะคัดเลือกคณะกรรมการ กสช. ควรเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการสื่อสาร คือองค์กรภาคประชาชน อาทิ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เพราะทำงานกับคนทุกกลุ่มชน คัดเลือกผู้ที่มีความรู้ด้านการสื่อสาร และเชี่ยวชาญสาขาใดสาขาหนึ่ง อาทิ กฎหมาย เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเงิน และส่งรายชื่อให้วุฒิสภาซึ่งเป็นตัวแทนทางอ้อมของประชาชนคัดเลือก เพื่อให้ถ่วงดุลกัน ไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนของผู้ประกอบการ เพราะไม่จำเป็นต้องให้พวกเขามาสะท้อนผลประโยชน์ตัวเอง ไม่มีเหตุผลที่ต้องคุ้มครองผลประโยชน์ของธุรกิจ ตัวแทนผู้บริโภคไม่ทำให้ธุรกิจเจ๊งแน่ๆ เนื่องจากถ้าให้เหลือน้อยราย หรือมีการผูกขาด ผู้บริโภคจะเป็นผู้เสียประโยชน์
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมาย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี 2543 กล่าวว่า การทำเช่นนี้คือคือกลอุบาย ที่ตัดสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนออกไป แล้วคืนอำนาจให้นักการเมือง ไม่มีการตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบคุณสมบัติ ทุกอย่างถูกตัดตอน
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ อุปนายกสมาคมคนตาบอด กล่าวว่า กฎหมายถูกเปลี่ยนแปลง ข้อกำหนดที่รัฐต้องจัดสรรสื่อ 20% .ให้ประชาชนใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะหายไป ตัวอย่างเช่น วิทยุชุมชน ก็เอาเชือกมาผูกคอประชาชน ให้สิทธิกับ อบต. ในการตรวจสอบควบคุม วิทยุชุมชนจะกลายเป็นวิทยุของอบต. ซึ่งผิดแจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.เดิม ประชาชนไม่ได้รับในสิ่งที่ควรได้ ที่สำคัญกฎหมายที่ออกมาในปัจจุบัน จะให้ความสำคัญกับผู้พิการ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงควรทำให้สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาทิ จัดสรรคลื่นให้ผู้พิการ คนชรา ได้ใช้ประโยชน์