ผู้จัดการรายวัน-กรมสรรพสามิตรับรายได้วูบช่วงเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง “สิรินุช พิศลยบุตร” อธิบดีคนใหม่ปาดเหงื่อลุ้นบอลยูโร 2008 หนุนยอดจัดเก็บภาษีเหล้าเบียร์เข้าเป้าหลังพบสัญญาณมาเร็วกว่าปกติก่อนเทศกาลเข้า พรรษา ด้านภาษีบุหรี่หลุดเป้าแล้วกว่า 2.2 พันล้านโดนมาตรการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเต็มๆ เตรียมถกคลังขอปรับเป้าภาษีปี 52 ใหม่
นางสิรินุช พิศลยบุตร อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มของราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้ประชาชนลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเห็นได้ชัด โดยจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยของกรมสรรพสามิต เช่น สุรา ยาสูบ เบียร์ ที่อัตราการจัดเก็บภาษีจากสินค้าเหล่านี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่ต่ำกว่าป้าหมายอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มการจัดเก็บดังกล่าวสวนทางกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าประชาชนเริ่มลดการใช้น้ำมันลง และหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าที่ประหยัดและสามารถกำหนดเวลาการเดินทางที่แน่นอนได้ โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมายอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา เบียร์และน้ำมันต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 1.6 พันล้านบาทและต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เกือบ 2 พันล้านบาท
ส่วนในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2551 แม้ว่าส่วนใหญ่ยังจัดเก็บได้สูงกว่าปีก่อน แต่ภาษียาสูบกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 2.2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการณรงค์ลดการบริโภคของกระทรวงสาธารณสุขและกฎหมายงดสูบบุหรี่ในร้านอาหารและสถานที่สาธารณะที่เริ่มเห็นผล ส่วนภาษีเบียร์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าประมาณ 1.1 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีก
“ตอนนี้กรมสรรพสามิตต้องมาลุ้นว่าในเทศกาลแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะช่วยให้ยอดจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นได้แค่ไหน เพราะผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ก็เข้ามาสนับสนุนการถ่ายทอด ซึ่งภาวะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ถดถอยลงผิดจากปีที่ผ่านมาเพราะยอดเก็บภาษีเหล้า เบียร์ที่ลดนั้นส่วนใหญ่จะลดลงในช่วงเข้าพรรษาเป็นส่วนใหญ่แต่ปีนี้มาเร็วมาก” นางสิรินุชกล่าว
ในขณะที่ภาษีน้ำมันก็มีแนวโน้มจะลดลงทั้งจากการลดการใช้และการลดภาษี แต่จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมากทำให้รายได้ยังสูงกว่าเป้าหมายอยู่บ้างแต่เมื่อพิจารณาอัตราการใช้น้ำมันที่แท้จริงแล้วมีการเพิ่มขึ้นเพียง 1% เท่านั้น ส่วนภาษีรถยนต์ก็น่าจะได้ผลกระทบจากการลดภาษี อี 20 ที่มีผลต้นปีทำให้ปีนี้รายได้อาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อยและในปีงบประมาณ 2552 อาจจะขอกระทรวงการคลังทบทวนเป้าหมายใหม่
ทั้งนี้จากการศึกษาของกรมสรรพสามิตที่ผ่านมามีแนวคิดว่าเพื่อให้การจัดเก็บภาษีสรรสามิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันควรมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตขึ้นใหม่ โดยเฉพาะการเก็บภาษีไวน์ที่นำเข้ามานั้นที่ผ่านมาพบว่ามีการแจ้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงมากทำให้ราคาที่ขายปลีกไวน์ในไทยต่ำกว่าประเทศอื่น
ซึ่งทางกรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาว่าจะมีช่องทางให้เก็บภาษีตามปริมาณและมูลค่าเช่นเดียวกันกับการเก็บภาษีสุราหรือไม่เพื่อความเป็นธรรม โดยหากมีราคาสูงก็เก็บภาษีตามมูลค่ามากกว่าจะเก็บในแง่ของปริมาณ นอกจากนั้นในอนาคตก็มีโอกาสที่จะจัดเก็บภาษีใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แต่กรมสรรพสามิตจะเน้นไปที่ภาษีหลัก 6 อันดับแรกจาก 14 ตัว คือ สุรา เบียร์ บุหรี่ น้ำมัน รถยนต์และเครื่องดื่ม ซึ่งอาจจะเพิ่มภาษีเครื่องปรับอากาศเข้ามาเป็นรายได้อันดับที่ 7 ของกรมก็ได้
ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 – พฤษภาคม 2551)รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,033,845 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 31,487ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรและกรมศุลกากรที่สูงกว่า ประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า
โดยกรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 194,980 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,791 ล้านบาท หรือ 0.9% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว1.0% แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5,298 ล้านบาท หรือ 2.8%) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี เมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่โดยการขยายเขตการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะส่งผลให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งภาษีเบียร์ก็จัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันยังจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นางสิรินุช พิศลยบุตร อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มของราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้ประชาชนลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเห็นได้ชัด โดยจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยของกรมสรรพสามิต เช่น สุรา ยาสูบ เบียร์ ที่อัตราการจัดเก็บภาษีจากสินค้าเหล่านี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่ต่ำกว่าป้าหมายอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มการจัดเก็บดังกล่าวสวนทางกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าประชาชนเริ่มลดการใช้น้ำมันลง และหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าที่ประหยัดและสามารถกำหนดเวลาการเดินทางที่แน่นอนได้ โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมายอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา เบียร์และน้ำมันต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 1.6 พันล้านบาทและต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้เกือบ 2 พันล้านบาท
ส่วนในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2551 แม้ว่าส่วนใหญ่ยังจัดเก็บได้สูงกว่าปีก่อน แต่ภาษียาสูบกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 2.2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการณรงค์ลดการบริโภคของกระทรวงสาธารณสุขและกฎหมายงดสูบบุหรี่ในร้านอาหารและสถานที่สาธารณะที่เริ่มเห็นผล ส่วนภาษีเบียร์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าประมาณ 1.1 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีก
“ตอนนี้กรมสรรพสามิตต้องมาลุ้นว่าในเทศกาลแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะช่วยให้ยอดจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นได้แค่ไหน เพราะผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ก็เข้ามาสนับสนุนการถ่ายทอด ซึ่งภาวะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ถดถอยลงผิดจากปีที่ผ่านมาเพราะยอดเก็บภาษีเหล้า เบียร์ที่ลดนั้นส่วนใหญ่จะลดลงในช่วงเข้าพรรษาเป็นส่วนใหญ่แต่ปีนี้มาเร็วมาก” นางสิรินุชกล่าว
ในขณะที่ภาษีน้ำมันก็มีแนวโน้มจะลดลงทั้งจากการลดการใช้และการลดภาษี แต่จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมากทำให้รายได้ยังสูงกว่าเป้าหมายอยู่บ้างแต่เมื่อพิจารณาอัตราการใช้น้ำมันที่แท้จริงแล้วมีการเพิ่มขึ้นเพียง 1% เท่านั้น ส่วนภาษีรถยนต์ก็น่าจะได้ผลกระทบจากการลดภาษี อี 20 ที่มีผลต้นปีทำให้ปีนี้รายได้อาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อยและในปีงบประมาณ 2552 อาจจะขอกระทรวงการคลังทบทวนเป้าหมายใหม่
ทั้งนี้จากการศึกษาของกรมสรรพสามิตที่ผ่านมามีแนวคิดว่าเพื่อให้การจัดเก็บภาษีสรรสามิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันควรมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตขึ้นใหม่ โดยเฉพาะการเก็บภาษีไวน์ที่นำเข้ามานั้นที่ผ่านมาพบว่ามีการแจ้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงมากทำให้ราคาที่ขายปลีกไวน์ในไทยต่ำกว่าประเทศอื่น
ซึ่งทางกรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาว่าจะมีช่องทางให้เก็บภาษีตามปริมาณและมูลค่าเช่นเดียวกันกับการเก็บภาษีสุราหรือไม่เพื่อความเป็นธรรม โดยหากมีราคาสูงก็เก็บภาษีตามมูลค่ามากกว่าจะเก็บในแง่ของปริมาณ นอกจากนั้นในอนาคตก็มีโอกาสที่จะจัดเก็บภาษีใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แต่กรมสรรพสามิตจะเน้นไปที่ภาษีหลัก 6 อันดับแรกจาก 14 ตัว คือ สุรา เบียร์ บุหรี่ น้ำมัน รถยนต์และเครื่องดื่ม ซึ่งอาจจะเพิ่มภาษีเครื่องปรับอากาศเข้ามาเป็นรายได้อันดับที่ 7 ของกรมก็ได้
ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 – พฤษภาคม 2551)รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,033,845 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 31,487ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรและกรมศุลกากรที่สูงกว่า ประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรขาเข้า
โดยกรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 194,980 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,791 ล้านบาท หรือ 0.9% (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว1.0% แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5,298 ล้านบาท หรือ 2.8%) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นอัตราภาษี เมื่อปลายปีงบประมาณที่แล้ว ตลอดจนการรณรงค์ในการเลิกสูบบุหรี่โดยการขยายเขตการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะส่งผลให้การบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งภาษีเบียร์ก็จัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันยังจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้