พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ให้ จปร.7 และ ทหารทุกคนใส่เครื่องแบบออกมาชุมนุมว่าไม่ทราบ ตนไม่ได้ยุ่ง แต่คิดว่า ถ้าจะแต่งเครื่องแบบไปชุมนุมในเวลาราชการคงไม่เหมาะ ทั้งนี้ ไม่อยากพูดเรื่อง การเมือง แต่อยากจะพูดจุดมุ่งหมายในระยะยาว เพราะเราค่อนข้างจะขาดในสิ่งที่มอง ร่วมกัน ในระยะสั้นมองไม่ตรงกันก็เกิดความขัดแย้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากทหารไปนอกเครื่องแบบและนอกเวลาราชการจะไปร่วมชุมนุม ได้หรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ตอนนี้ก็มี ที่ไปนอกเครื่องแบบ และไปนอกเวลาราชการ ซึ่งเป็นสิทธิของเขา แต่ตนเชื่อว่าทหารจะไม่ไปชุมนุม ในเวลาราชการ เพราะเชื่อว่าทหารมีวินัย ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ มีการชุมนุม อย่างอารยะขัดขืนนั้น ไม่ขอวิจารณ์ เพราะนอกเหนือจากเรื่องทหาร แต่ก็อยากดูอะไรที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ทั้งนี้แต่ละกลุ่มมองไม่เหมือนกันว่าอะไรคือการสร้างสรรค์ เพราะทุกกลุ่มมองว่าเขาทำในสิ่งสร้างสรรค์ ทำให้พูดกันไม่รู้เรื่อง เพราะมองภาพระยะยาวไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก
พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ในการประชุมผู้บัญชาการทหาร ที่กองทัพเรือเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ตนบอกทางทาง ผบ.เหล่าทัพ ถึงการจัดทำโรดแมป หรือการวางแผน ยุทธศาสตร์ให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป็นการวางแผนอนาคตว่าจะเดินไปทางไหน และเดินไปอย่างไร เพื่อให้ทุกฝ่าย เช่น นักวิชาการมหาวิทยาลัย และ ทุกภาคส่วนที่เก่งๆ มาร่วมกัน ให้ทหารเขียนอย่างเดียวคงไม่เหมาะ ซึ่งมอบหมายให้ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ฯ บก.สส.ดำเนินการ
พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า หากเราเดินไปไม่มีจุดยืน หรือจุดมุ่งหมายก็จะมีปัญหาเรื่อยไป แต่ละกลุ่มแต่ละคณะ ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า บางครั้งต้องเดินไป คนละทาง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาบ้าง การมองอนาคตร่วมกัน ง่ายกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าเริ่มตรงจุดนี้ได้ ปัญหาเฉพาะหน้าก็จะหายไปการทำเช่นนี้จะทำให้บ้านเมืองเข้มแข็ง แม้จะมองว่าเป็นเพียงนามธรรม แต่คิดว่าถ้าคนไหนไม่เข้าใจ นามธรรมแปลว่าเขากำลังดูถูกสติปัญญา และแสดงว่าไม่มีความเจริญ
ส่วนจะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ เพราะปัญหาขณะนี้คือการแย่งชิงอำนาจ ทางการเมือง พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ในการเมืองต่างประเทศ เขาจะแข่งกันหาเสียง แต่เมื่อจบแล้วก็ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ เพราะเขามียุทธศาสตร์ชาติเดียวกันหมด ดังนั้นคู่แข่งกันจะรู้ว่าเข้ามาก็ต้องใช้ยุทธศาสตร์เดียวกัน ทำให้การต่อสู้เพลาลงไปมาก เพราะไม่ใช่ต่างคนต่างไป ไม่ใช่มีความเห็นที่ต่างกันมาก อยู่ชาติเดียวกันทัศนคติต่างกันมากๆ จะไปกันไม่ได้ เราจึงต้องทำถึงแม้จะช้าไป แต่ก็ยังดีกว่าสายเกินไป
ผบ.สส. กล่าวต่อไปว่า ได้มอบหมายให้ พล.ต. พิสิษฐ์ แจ้งประจักษ์ ผอ.ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ไปจัดการอยู่คงใช้เวลาไม่นาน และไม่เร่งรัด ซึ่งการดำเนินการมีขั้นตอนในการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย เมื่อทำเสร็จแล้ว จะเสนอให้รัฐบาล หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปพิจารณาเพื่อปรับใช้ ส่วนจะนำไปใช้หรือไม่ใช้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในความคิดของตนคือ สิ่งที่อยู่ในโรดแมป คือการสร้างเยาวชนเพราะปัญหาทั้งหลายเกิดจากคน ซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษา ที่มีผลมาก ทั้งนี้ ถึงยังไม่ได้คุยกับนายกฯก็ทำได้ เพราะตนมีอำนาจที่จะทำ ซึ่งเรามีศูนย์ยุทธศาสตร์เป็นหน่วยงานศึกษา
ถ้าเราวางโรดแมป มาเมื่อสิบปีที่แล้วคงไม่มีปัญหา เพราะเรื่องที่ผมพูดใช้เวลา แค่สิบกว่าปี โดยจะเริ่มมีผลใน 1-2 ปีแรก เรื่องอย่างนี้ไม่มีทางเลือก ไม่มีทางลัด ถ้าไม่ทำก็จะฟัดกันอยู่อย่างนี้ เพราะมองภาพกันคนละภาพ ตกลงกันไม่ได้ ทั้งนี้ ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วม รวมถึงผู้นำสังคมทั่วประเทศต้องมีส่วนร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่ากว่าจะเสร็จก็อาจจะเกิดการปะทะกันเละไปแล้ว พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ถ้าจะเละก็ต้องเละ เพราะไม่มีทางลัด ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตนไม่ขอพูด เพราะจะไม่ดี เป็นเรื่องการเมืองมากเกินไป คนไทยไปสนใจ เรื่องเฉพาะหน้า แต่เรื่องสำคัญ เรื่องเร่งด่วนไม่ค่อยสนใจ เช่นเรื่องการศึกษา ซึ่งต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อยิ่งต้องใช้เวลานาน ก็ต้องเริ่มเร็ว คนเราเน้นตอบสนอง เฉพาะหน้า ซึ่งเป็นลักษณะของประเทศที่ไปไกลได้ยาก คือเป็นคนที่คิดอะไรสั้นๆ เมื่อไม่ได้ทำโรดแมปมาเมื่อ 10-20 ปีที่แล้วก็ต้องทนทุกข์กับการต่อสู้กัน ทำให้เราเดินไม่ค่อยเป็น
ไม่มีโรดแมป ไม่มีเจริญ ถ้าคนในชาติต่างคนต่างเก่ง ต่างคนต่างฉลาด เรียกว่าสติปัญญาของชาติไม่มี มีแต่สติของตัวบุคคล เพราะคนเก่งๆ คิดกันไปคนละทาง ทั้งนี้ต้องมาพูดคุยและตกลงร่วมกัน ไปเมืองนอกผมพูดเรื่องนี้เขาให้การต้อนรับมาก แต่มาพูดเมืองไทยคนไม่สนใจ ทั้งที่ประเทศจะไปได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญเรื่องยุทธศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ถ้าชาติมีปัญญาน้อย ก็เหมือนคนสายตาสั้น แต่ถ้าคนสายตายาวมองยุทธศาสตร์อย่างเดียวไม่มองระยะสั้นก็จะตกหลุมได้ ชาติที่เจริญต้องมองระยะสั้นและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าประเทศไทยหมดผู้นำที่ดีใช่หรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า พูดอย่างนั้นคงไม่ได้ เพียงแต่เราจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด ถ้ามัวมองว่าคนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น เราจะไปจัดการอะไรไมได้ เพราะเราไม่มีหน้าที่ไปจัดการอะไร แต่คิดว่าก่อนที่จะมาผู้นำนั้น ฉลาดทุกคน เพียงแต่คิดไม่เหมือนกัน ถึงแม้ฉลาดแต่เวลาคิดก็มีจุดบอดเหมือนกัน ซึ่งหากเอาคนเก่งมาคิดร่วมกันจุดอ่อนจะน้อยมาก ขณะนี้ มาร่วมกันช่วยกันสร้างบ้านเมืองดีกว่า และควรทำเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การมองเห็นที่ชัดเจนว่าวาระสำคัญคืออะไรบ้าง
สำหรับสถานการณ์ขณะนี้นั้น ถ้าสองฝ่ายคุยด้วยเหตุผล และเป็นห่วงบ้านเมือง อย่างจริงใจ พูดอะไรก็จะรู้เรื่องกันหมด โรดแมปที่ดีก็คือทุกคนทีความสุข ความเข้าใจ และมีส่วนร่วม และคนที่โต้แย้งด้วยเหตุด้วยผล เมื่อถามว่า จะเชิญแกนนำพันธมิตรฯ มาร่วมหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ก็ได้ แต่กลัวว่าจะไม่มา เพราะเขาไม่ว่าง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุม ผบ.เหล่าทัพเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. มีการแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์การเมืองกันนิดหน่อย เพราะถือเป็นภาระที่เราจะต้องสดับตรับฟัง และติดตามสถานการณ์ ทั้งนี้โดยทั่วไปเป็นอำนาจของตำรวจ ซึ่งรัฐบาล ต้องใช้ตำรวจในการรักษาความสงบภายในประเทศ ยกเว้นที่เป็นภาวะวิกฤติ ที่ตำรวจทำไม่ได้ ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การใช้ทหาร จะต้องมีการสั่งการที่ถูกต้องตามระเบียบที่มีอยู่
ส่วนการที่กลุ่มพันธมิตรฯประกาศใช้มาตรการอารยะขัดขืนจะเกิดความวุ่นวาย หรือไม่นั้น พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่อาจจะมี แต่เรื่องการประท้วง เราไม่ใช่แม่แบบ ส่วนมากจะตามมาจากที่อื่นๆ ฉะนั้นก็จะทำในลักษณะตามกันไปตามกันมา หรือเลียนแบบกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางออกควรเป็นอย่างไร ที่ไม่ให้กลุ่มม็อบชุมนุมกันแบบขยาย วงกว้าง เพื่อไม่ให้เกิคดวามรุนแรง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาการเมือง ดังนั้นจะต้องใช้วิธีทางการเมือง เช่น ทางสภา หรือทางต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่ว่ากลุ่มที่สนามหลวง เป็นกลุ่มที่สนับสนุน หรือกลุ่มที่ราชดำเนิน เป็นกลุ่มต่อต้าน ดังนั้นกลุ่มสนับสนุนต้องคำนึงถึงผู้ที่จะเดือดร้อน และความเสียหายของประเทศชาติที่จะเกิดชึ้น ดังนั้นการแก้ไข ควรแก้วิธีทางการเมือง
ส่วนกรณีที่ผบ.สส. เสนอจัดทำโรดแมปเพื่อพัฒนาประเทศนั้น ตนมองว่า เราต้องแก้ไขปัญหาขัดข้องตรงนี้ก่อน ส่วนเรื่องที่ ผบ.สส. บอกไว้ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งจะต้องทำจุดที่มีความขัดข้องมากที่สุดเสียก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งสำคัญจะต้องเอาตัวอย่างของสหรัฐฯ เมื่อนายโอบามา มีเสียงสนับสนุนชนะ นางฮิลลารี่ คลินตัน ก็มีการแสดงความยินดีสนับสนุนต่างๆ นั่นคือระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งขณะนี้เรายังตามอยู่ประมาณ 120 ปี เพราะทางสหรัฐเริ่มมา 200 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เชื่อว่าประเทศไทย จะสามารถทำได้ ถ้าเราจัดตั้งไม่ว่าจะเป็นโรดแมป หรือการให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น ซึ่งประชาชนจะต้องไม่ถูกซื้อเสียง ต้องคิดและเลือกด้วยตัวของตัวเอง เมื่อไม่มีการซื้อเสียง ทุกคนจะใช้วิจารณาญาณในการเลือกใคร ที่จะมาเป็นก็จะได้ผู้แทนที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากทหารไปนอกเครื่องแบบและนอกเวลาราชการจะไปร่วมชุมนุม ได้หรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ตอนนี้ก็มี ที่ไปนอกเครื่องแบบ และไปนอกเวลาราชการ ซึ่งเป็นสิทธิของเขา แต่ตนเชื่อว่าทหารจะไม่ไปชุมนุม ในเวลาราชการ เพราะเชื่อว่าทหารมีวินัย ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ มีการชุมนุม อย่างอารยะขัดขืนนั้น ไม่ขอวิจารณ์ เพราะนอกเหนือจากเรื่องทหาร แต่ก็อยากดูอะไรที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ทั้งนี้แต่ละกลุ่มมองไม่เหมือนกันว่าอะไรคือการสร้างสรรค์ เพราะทุกกลุ่มมองว่าเขาทำในสิ่งสร้างสรรค์ ทำให้พูดกันไม่รู้เรื่อง เพราะมองภาพระยะยาวไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก
พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ในการประชุมผู้บัญชาการทหาร ที่กองทัพเรือเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ตนบอกทางทาง ผบ.เหล่าทัพ ถึงการจัดทำโรดแมป หรือการวางแผน ยุทธศาสตร์ให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป็นการวางแผนอนาคตว่าจะเดินไปทางไหน และเดินไปอย่างไร เพื่อให้ทุกฝ่าย เช่น นักวิชาการมหาวิทยาลัย และ ทุกภาคส่วนที่เก่งๆ มาร่วมกัน ให้ทหารเขียนอย่างเดียวคงไม่เหมาะ ซึ่งมอบหมายให้ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ฯ บก.สส.ดำเนินการ
พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า หากเราเดินไปไม่มีจุดยืน หรือจุดมุ่งหมายก็จะมีปัญหาเรื่อยไป แต่ละกลุ่มแต่ละคณะ ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า บางครั้งต้องเดินไป คนละทาง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาบ้าง การมองอนาคตร่วมกัน ง่ายกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าเริ่มตรงจุดนี้ได้ ปัญหาเฉพาะหน้าก็จะหายไปการทำเช่นนี้จะทำให้บ้านเมืองเข้มแข็ง แม้จะมองว่าเป็นเพียงนามธรรม แต่คิดว่าถ้าคนไหนไม่เข้าใจ นามธรรมแปลว่าเขากำลังดูถูกสติปัญญา และแสดงว่าไม่มีความเจริญ
ส่วนจะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ เพราะปัญหาขณะนี้คือการแย่งชิงอำนาจ ทางการเมือง พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ในการเมืองต่างประเทศ เขาจะแข่งกันหาเสียง แต่เมื่อจบแล้วก็ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ เพราะเขามียุทธศาสตร์ชาติเดียวกันหมด ดังนั้นคู่แข่งกันจะรู้ว่าเข้ามาก็ต้องใช้ยุทธศาสตร์เดียวกัน ทำให้การต่อสู้เพลาลงไปมาก เพราะไม่ใช่ต่างคนต่างไป ไม่ใช่มีความเห็นที่ต่างกันมาก อยู่ชาติเดียวกันทัศนคติต่างกันมากๆ จะไปกันไม่ได้ เราจึงต้องทำถึงแม้จะช้าไป แต่ก็ยังดีกว่าสายเกินไป
ผบ.สส. กล่าวต่อไปว่า ได้มอบหมายให้ พล.ต. พิสิษฐ์ แจ้งประจักษ์ ผอ.ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ไปจัดการอยู่คงใช้เวลาไม่นาน และไม่เร่งรัด ซึ่งการดำเนินการมีขั้นตอนในการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย เมื่อทำเสร็จแล้ว จะเสนอให้รัฐบาล หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปพิจารณาเพื่อปรับใช้ ส่วนจะนำไปใช้หรือไม่ใช้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในความคิดของตนคือ สิ่งที่อยู่ในโรดแมป คือการสร้างเยาวชนเพราะปัญหาทั้งหลายเกิดจากคน ซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษา ที่มีผลมาก ทั้งนี้ ถึงยังไม่ได้คุยกับนายกฯก็ทำได้ เพราะตนมีอำนาจที่จะทำ ซึ่งเรามีศูนย์ยุทธศาสตร์เป็นหน่วยงานศึกษา
ถ้าเราวางโรดแมป มาเมื่อสิบปีที่แล้วคงไม่มีปัญหา เพราะเรื่องที่ผมพูดใช้เวลา แค่สิบกว่าปี โดยจะเริ่มมีผลใน 1-2 ปีแรก เรื่องอย่างนี้ไม่มีทางเลือก ไม่มีทางลัด ถ้าไม่ทำก็จะฟัดกันอยู่อย่างนี้ เพราะมองภาพกันคนละภาพ ตกลงกันไม่ได้ ทั้งนี้ ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วม รวมถึงผู้นำสังคมทั่วประเทศต้องมีส่วนร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่ากว่าจะเสร็จก็อาจจะเกิดการปะทะกันเละไปแล้ว พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ถ้าจะเละก็ต้องเละ เพราะไม่มีทางลัด ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตนไม่ขอพูด เพราะจะไม่ดี เป็นเรื่องการเมืองมากเกินไป คนไทยไปสนใจ เรื่องเฉพาะหน้า แต่เรื่องสำคัญ เรื่องเร่งด่วนไม่ค่อยสนใจ เช่นเรื่องการศึกษา ซึ่งต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อยิ่งต้องใช้เวลานาน ก็ต้องเริ่มเร็ว คนเราเน้นตอบสนอง เฉพาะหน้า ซึ่งเป็นลักษณะของประเทศที่ไปไกลได้ยาก คือเป็นคนที่คิดอะไรสั้นๆ เมื่อไม่ได้ทำโรดแมปมาเมื่อ 10-20 ปีที่แล้วก็ต้องทนทุกข์กับการต่อสู้กัน ทำให้เราเดินไม่ค่อยเป็น
ไม่มีโรดแมป ไม่มีเจริญ ถ้าคนในชาติต่างคนต่างเก่ง ต่างคนต่างฉลาด เรียกว่าสติปัญญาของชาติไม่มี มีแต่สติของตัวบุคคล เพราะคนเก่งๆ คิดกันไปคนละทาง ทั้งนี้ต้องมาพูดคุยและตกลงร่วมกัน ไปเมืองนอกผมพูดเรื่องนี้เขาให้การต้อนรับมาก แต่มาพูดเมืองไทยคนไม่สนใจ ทั้งที่ประเทศจะไปได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญเรื่องยุทธศาสตร์ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ถ้าชาติมีปัญญาน้อย ก็เหมือนคนสายตาสั้น แต่ถ้าคนสายตายาวมองยุทธศาสตร์อย่างเดียวไม่มองระยะสั้นก็จะตกหลุมได้ ชาติที่เจริญต้องมองระยะสั้นและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าประเทศไทยหมดผู้นำที่ดีใช่หรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า พูดอย่างนั้นคงไม่ได้ เพียงแต่เราจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด ถ้ามัวมองว่าคนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น เราจะไปจัดการอะไรไมได้ เพราะเราไม่มีหน้าที่ไปจัดการอะไร แต่คิดว่าก่อนที่จะมาผู้นำนั้น ฉลาดทุกคน เพียงแต่คิดไม่เหมือนกัน ถึงแม้ฉลาดแต่เวลาคิดก็มีจุดบอดเหมือนกัน ซึ่งหากเอาคนเก่งมาคิดร่วมกันจุดอ่อนจะน้อยมาก ขณะนี้ มาร่วมกันช่วยกันสร้างบ้านเมืองดีกว่า และควรทำเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การมองเห็นที่ชัดเจนว่าวาระสำคัญคืออะไรบ้าง
สำหรับสถานการณ์ขณะนี้นั้น ถ้าสองฝ่ายคุยด้วยเหตุผล และเป็นห่วงบ้านเมือง อย่างจริงใจ พูดอะไรก็จะรู้เรื่องกันหมด โรดแมปที่ดีก็คือทุกคนทีความสุข ความเข้าใจ และมีส่วนร่วม และคนที่โต้แย้งด้วยเหตุด้วยผล เมื่อถามว่า จะเชิญแกนนำพันธมิตรฯ มาร่วมหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ก็ได้ แต่กลัวว่าจะไม่มา เพราะเขาไม่ว่าง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ. ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุม ผบ.เหล่าทัพเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. มีการแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์การเมืองกันนิดหน่อย เพราะถือเป็นภาระที่เราจะต้องสดับตรับฟัง และติดตามสถานการณ์ ทั้งนี้โดยทั่วไปเป็นอำนาจของตำรวจ ซึ่งรัฐบาล ต้องใช้ตำรวจในการรักษาความสงบภายในประเทศ ยกเว้นที่เป็นภาวะวิกฤติ ที่ตำรวจทำไม่ได้ ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การใช้ทหาร จะต้องมีการสั่งการที่ถูกต้องตามระเบียบที่มีอยู่
ส่วนการที่กลุ่มพันธมิตรฯประกาศใช้มาตรการอารยะขัดขืนจะเกิดความวุ่นวาย หรือไม่นั้น พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่อาจจะมี แต่เรื่องการประท้วง เราไม่ใช่แม่แบบ ส่วนมากจะตามมาจากที่อื่นๆ ฉะนั้นก็จะทำในลักษณะตามกันไปตามกันมา หรือเลียนแบบกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางออกควรเป็นอย่างไร ที่ไม่ให้กลุ่มม็อบชุมนุมกันแบบขยาย วงกว้าง เพื่อไม่ให้เกิคดวามรุนแรง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาการเมือง ดังนั้นจะต้องใช้วิธีทางการเมือง เช่น ทางสภา หรือทางต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่ว่ากลุ่มที่สนามหลวง เป็นกลุ่มที่สนับสนุน หรือกลุ่มที่ราชดำเนิน เป็นกลุ่มต่อต้าน ดังนั้นกลุ่มสนับสนุนต้องคำนึงถึงผู้ที่จะเดือดร้อน และความเสียหายของประเทศชาติที่จะเกิดชึ้น ดังนั้นการแก้ไข ควรแก้วิธีทางการเมือง
ส่วนกรณีที่ผบ.สส. เสนอจัดทำโรดแมปเพื่อพัฒนาประเทศนั้น ตนมองว่า เราต้องแก้ไขปัญหาขัดข้องตรงนี้ก่อน ส่วนเรื่องที่ ผบ.สส. บอกไว้ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งจะต้องทำจุดที่มีความขัดข้องมากที่สุดเสียก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งสำคัญจะต้องเอาตัวอย่างของสหรัฐฯ เมื่อนายโอบามา มีเสียงสนับสนุนชนะ นางฮิลลารี่ คลินตัน ก็มีการแสดงความยินดีสนับสนุนต่างๆ นั่นคือระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งขณะนี้เรายังตามอยู่ประมาณ 120 ปี เพราะทางสหรัฐเริ่มมา 200 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เชื่อว่าประเทศไทย จะสามารถทำได้ ถ้าเราจัดตั้งไม่ว่าจะเป็นโรดแมป หรือการให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น ซึ่งประชาชนจะต้องไม่ถูกซื้อเสียง ต้องคิดและเลือกด้วยตัวของตัวเอง เมื่อไม่มีการซื้อเสียง ทุกคนจะใช้วิจารณาญาณในการเลือกใคร ที่จะมาเป็นก็จะได้ผู้แทนที่ดี