นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจมาหารือในที่ประชุม แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยสมาชิก ได้หยิบยกกรณีปัญหาที่จะนำไปสู่การอภิปราย 2-3 ประเด็นในการบริหารงานของ2-3 กระทรวง รวมถึงตัวนายกรัฐมนตรี นาย สมัคร สุนทรเวช ด้วย แต่การตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อมูล หลักฐานว่าจะมีน้ำหนักเพียงพอที่จะสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้หรือไม่ โดยจะมีการตัดสินใจอีกครั้งในวันที่ 11-12 มิ.ย. นี้ โดยจะนำข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งหมดมาพิจารณาว่ามีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ที่จะอภิปรายไม่ได้วางใจ เพราะหากจะมีการยื่นอภิปรายนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นเรื่องที่ร้ายแรงจริงๆ ไม่ใช่จะเป็นเฉพาะเรื่องการบริหารบ้านเมืองเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหากจะมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจมีการคำนวณเวลาว่าจะสามารถเปิดอภิปรายได้ภายในวันที่ 28-29 มิ.ย. หลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 เนื่องจากเป็นญัตติด่วนสามารถอภิปรายได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าพร้อมจะชี้แจงได้เมื่อไหร่ แต่จะทิ้งช่วงสมัยประชุมไม่ได้ นอกจากนี้รัฐมนตรีจะชิงลาออกหรือยุบสภาหนีไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องขยายเวลาสมัยประชุมเพราะยังมีเวลาเหลือเพียงพอ
นายสาทิตย์กล่าวว่านอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติร่างหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้มีการใช้ มาตรา 179 เปิดประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกทั้งสองสภาได้อภิปรายถึงปัญหาทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจะมีการนัดประชุมนัดพิเศษวิปฝ่ายค้าน ในช่วงเช้าวันที่ 11 มิ.ย. เพื่อยกคำร่างและส่งให้นายกรัฐมนตรีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรัฐมนตรีที่พรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูล คือ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.พาณิชย์ ส่วนตัวนายกฯ ส่วนใหญ่เห็นต้องกันว่าควรอภิปรายในประเด็นวุฒิภาวะความเป็นผู้นำที่ทำความเสียหายให้กับประเทศ โดยในส่วนของข้อมูลที่มีอยู่ในมือฝ่ายค้านตอนนี้ มีทั้งที่เกี่ยวข้องการทุจริต และการบริหารงานโดยมิชอบทำให้ประเทศชาติเสียหาย และการโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม
นาย ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ 61 ส.ว.เข้าชื่อยื่นขอเปิดอภิปรายรัฐบาลว่า รัฐบาลจะนำไปหารือกันว่าญัตติของส.ว. เป็นอย่างไร และมีประเด็นใดบ้างเพื่อจะซักซ้อมว่าพร้อมจะไปชี้แจงญัตติเมื่อไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่าหนักใจหรือไม่ที่สภาสูงชิงยื่นญัตติก่อนฝ่ายค้าน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า พอจะทราบว่าปัญหาทางการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งตนอยากฝากว่าได้ดูญัตติแล้วคล้ายกับเป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกลายๆ และมีข้อสังเกตว่า ตามปกติแล้ว ส.ว.เป็นกลางทางการเมือง ไม่สังกัดพรรคใดซึ่งการใช้สิทธิ์ตาม เจตนารมณ์ ความมุ่งหมายก็หมายความว่าก็ไปพูดจาเรื่องปัญหาของแผ่นดิน เอาปัญหาที่สำคัญของประเทศไปพูดกันในสภาฯเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ แต่เมื่อดูญัตติคล้ายกับไม่ไว้วางใจรัฐบาลแต่ก็ไม่เป็นไร
นายกฯคงพร้อมชี้แจง ส่วนที่ส.ว.ระบุว่าจะอภิปรายวันเดียวนั้นคงไม่เพียงพอ สุดแล้วแต่ แต่ผมมีข้อสังเกตง่ายๆว่า ไม่ใช่เรื่องไม่ไว้วางใจ แต่ญัตติเขียนเหมือนกับไม่ไว้วางใจ ยิ่งมาเจอคำสัมภาษณ์ของผู้เสนอญัตติบางคนก็ยิ่งชัดเจนว่าเจตนารมณ์ ที่ยื่นมานั้นคืออะไร
ส่วนการเคลื่อนไหวของส.ว.สอดคล้องกับกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่าให้สื่อกับประชาชนดูเอง เมื่อว่าการที่ส.ว.ใช้เวทีของสภาฯในการอภิปราย คิดว่าเวทีนอกสภาฯควรจะยุติหรือไม่ นายชูศักดิ์กล่าวว่า ความจริงควรจะต้องยุตินานแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะชุมนุมเพราะปัญหาของประเทศก็กำลังแก้ไขอยู่รัฐบาลไม่ควรวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างนี้ แต่เหตุการณ์ต่างมีมากมาย ซึ่งตนเคยพูดแล้วว่าควรนำมาเป็นอุทาหรณ์ ส่วนการยื่นญัตติของส.ว.จะกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของรัฐบาลหรือไม่นั้นก็ไม่เป็นไรรัฐบาลพร้อมและยินดีชี้แจง อย่างน้อยที่สุดจะได้มีโอกาสพูดในสภาฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลตั้งใจที่จะให้เปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญนานแค่ไหน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ความตั้งใจของรัฐบาลคือการพิจารณาเรื่องงบประมาณและกฎหมายที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญซึ่งคงใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือน และเมื่อพิจารณาเรื่องงบประมาณเสร็จก็ควรจะจบ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึง เตรียมรับมือการอภิปรายไม่ไว้วางใจทั่วไปว่า ต้องดูว่าเขาจะอภิปรายอะไรจะอภิปรายนายกรัฐมนตรีหรืออภิปรายใคร ท่านก็ไปเตรียมข้อมูลไม่มีปัญหา เรื่องการอภิปรายเป็นเรื่องที่ดีและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญดูแลรัฐบาลในรัฐสภา อันนี้ถูกต้องที่สุด การไปอยู่ตามถนน แล้วทำให้คนเดือดร้อนอันนี้ไม่น่าจะเป็นระบบที่ถูกต้อง
นายสมชาย กล่าวว่ารัฐบาลจะเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายชี้แจงด้วยตัวเอง เมื่ออภิปรายแล้วสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ ส.ส.รัฐบาลด้วยเห็นว่า ไม่ดีไม่ถูกไม่ควร ยกมือว่ากันไปเลยนั่นแหระคือวิถีทางที่เราควรจะทำ
อย่างไรก็ตามหากจะมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจมีการคำนวณเวลาว่าจะสามารถเปิดอภิปรายได้ภายในวันที่ 28-29 มิ.ย. หลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 เนื่องจากเป็นญัตติด่วนสามารถอภิปรายได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าพร้อมจะชี้แจงได้เมื่อไหร่ แต่จะทิ้งช่วงสมัยประชุมไม่ได้ นอกจากนี้รัฐมนตรีจะชิงลาออกหรือยุบสภาหนีไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องขยายเวลาสมัยประชุมเพราะยังมีเวลาเหลือเพียงพอ
นายสาทิตย์กล่าวว่านอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติร่างหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้มีการใช้ มาตรา 179 เปิดประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกทั้งสองสภาได้อภิปรายถึงปัญหาทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจะมีการนัดประชุมนัดพิเศษวิปฝ่ายค้าน ในช่วงเช้าวันที่ 11 มิ.ย. เพื่อยกคำร่างและส่งให้นายกรัฐมนตรีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรัฐมนตรีที่พรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูล คือ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม และ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.พาณิชย์ ส่วนตัวนายกฯ ส่วนใหญ่เห็นต้องกันว่าควรอภิปรายในประเด็นวุฒิภาวะความเป็นผู้นำที่ทำความเสียหายให้กับประเทศ โดยในส่วนของข้อมูลที่มีอยู่ในมือฝ่ายค้านตอนนี้ มีทั้งที่เกี่ยวข้องการทุจริต และการบริหารงานโดยมิชอบทำให้ประเทศชาติเสียหาย และการโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม
นาย ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ 61 ส.ว.เข้าชื่อยื่นขอเปิดอภิปรายรัฐบาลว่า รัฐบาลจะนำไปหารือกันว่าญัตติของส.ว. เป็นอย่างไร และมีประเด็นใดบ้างเพื่อจะซักซ้อมว่าพร้อมจะไปชี้แจงญัตติเมื่อไหร่
ผู้สื่อข่าวถามว่าหนักใจหรือไม่ที่สภาสูงชิงยื่นญัตติก่อนฝ่ายค้าน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า พอจะทราบว่าปัญหาทางการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งตนอยากฝากว่าได้ดูญัตติแล้วคล้ายกับเป็นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกลายๆ และมีข้อสังเกตว่า ตามปกติแล้ว ส.ว.เป็นกลางทางการเมือง ไม่สังกัดพรรคใดซึ่งการใช้สิทธิ์ตาม เจตนารมณ์ ความมุ่งหมายก็หมายความว่าก็ไปพูดจาเรื่องปัญหาของแผ่นดิน เอาปัญหาที่สำคัญของประเทศไปพูดกันในสภาฯเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ แต่เมื่อดูญัตติคล้ายกับไม่ไว้วางใจรัฐบาลแต่ก็ไม่เป็นไร
นายกฯคงพร้อมชี้แจง ส่วนที่ส.ว.ระบุว่าจะอภิปรายวันเดียวนั้นคงไม่เพียงพอ สุดแล้วแต่ แต่ผมมีข้อสังเกตง่ายๆว่า ไม่ใช่เรื่องไม่ไว้วางใจ แต่ญัตติเขียนเหมือนกับไม่ไว้วางใจ ยิ่งมาเจอคำสัมภาษณ์ของผู้เสนอญัตติบางคนก็ยิ่งชัดเจนว่าเจตนารมณ์ ที่ยื่นมานั้นคืออะไร
ส่วนการเคลื่อนไหวของส.ว.สอดคล้องกับกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่าให้สื่อกับประชาชนดูเอง เมื่อว่าการที่ส.ว.ใช้เวทีของสภาฯในการอภิปราย คิดว่าเวทีนอกสภาฯควรจะยุติหรือไม่ นายชูศักดิ์กล่าวว่า ความจริงควรจะต้องยุตินานแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะชุมนุมเพราะปัญหาของประเทศก็กำลังแก้ไขอยู่รัฐบาลไม่ควรวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างนี้ แต่เหตุการณ์ต่างมีมากมาย ซึ่งตนเคยพูดแล้วว่าควรนำมาเป็นอุทาหรณ์ ส่วนการยื่นญัตติของส.ว.จะกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของรัฐบาลหรือไม่นั้นก็ไม่เป็นไรรัฐบาลพร้อมและยินดีชี้แจง อย่างน้อยที่สุดจะได้มีโอกาสพูดในสภาฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลตั้งใจที่จะให้เปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญนานแค่ไหน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ความตั้งใจของรัฐบาลคือการพิจารณาเรื่องงบประมาณและกฎหมายที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญซึ่งคงใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือน และเมื่อพิจารณาเรื่องงบประมาณเสร็จก็ควรจะจบ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึง เตรียมรับมือการอภิปรายไม่ไว้วางใจทั่วไปว่า ต้องดูว่าเขาจะอภิปรายอะไรจะอภิปรายนายกรัฐมนตรีหรืออภิปรายใคร ท่านก็ไปเตรียมข้อมูลไม่มีปัญหา เรื่องการอภิปรายเป็นเรื่องที่ดีและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญดูแลรัฐบาลในรัฐสภา อันนี้ถูกต้องที่สุด การไปอยู่ตามถนน แล้วทำให้คนเดือดร้อนอันนี้ไม่น่าจะเป็นระบบที่ถูกต้อง
นายสมชาย กล่าวว่ารัฐบาลจะเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายชี้แจงด้วยตัวเอง เมื่ออภิปรายแล้วสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ ส.ส.รัฐบาลด้วยเห็นว่า ไม่ดีไม่ถูกไม่ควร ยกมือว่ากันไปเลยนั่นแหระคือวิถีทางที่เราควรจะทำ