ราคาของคุณสมัครที่สังคมนี้ต้องจ่ายให้คุ้มค่า คุ้มราคา หรือไม่ อย่างไร ?
“ผมเอง (พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น-ผู้เขียน) ก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้พวกเขา (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-ผู้เขียน)ต้องการอะไรกันแน่ ตอนนี้ทำได้เพียงแต่ขอร้องขอให้แต่ละคนลดทิฐิลงมาบ้าง ขอให้ยึดหลักธรรมมะเดินทางสายกลาง...ตำรวจคงไม่สามารถเข้าไปช่วยในการแก้ไขปัญหาของพวกท่านได้...” ผู้จัดการ 4 มิถุนายน 2551
“ปิดถนนคนเดือดร้อนกี่ร้อยกี่พันคน แต่รัฐบาลคอร์รัปชัน ขายประเทศ กอบโกย ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องเสียหายกันทุกคน เสียหายไปจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน .. คุณจะเอาแบบไหนก็เลือกเอาครับ” ความเห็นที่ 28 จากข่าวข้างต้น
การที่ประชาชนชาวไทยได้รัฐบาลคุณสมัครชุดนี้มามีต้นทุนสูงมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับราคาที่สังคมต้องจ่ายให้หรือไม่? สมควรจะประเมินให้น้ำหนักกับต้นทุนใดมากกว่ากันระหว่างรถติดกับรัฐบาล? และหากปล่อยเอาไว้จะก่อให้เกิดผลเสียแก่ประเทศมากน้อยเพียงใด? ในฐานะเจ้าของประเทศและผู้จ่ายค่าจ้าง ท่านจะคิดอย่างไร? ประเด็นเหล่านี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาว่า ราคาของคุณสมัครที่สังคมนี้ต้องจ่ายให้ในฐานะผู้บริหารประเทศว่าคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างไร ?
ก่อนจะเข้าบริหารประเทศ นายสมัคร สุนทรเวชได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โดยมีการกล่าวถึงปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ส่งแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อโลกและในประเทศไทย และได้กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีแรกจำนวน 19 ข้อ และนโยบายที่จะดำเนินการในช่วง 4 ปี อีก 7 นโยบาย นี่คือทิศทางที่รัฐบาลในฐานะผู้บริหารกำลังบอกกับเจ้าของประเทศว่าจะเข้ามาบริหารจัดการประเทศอย่างไร
หากพิจารณาถึงนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีแรกจำนวน 19 นโยบาย (1.1-1.19) นั้น จะประกอบไปด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมที่ได้ดำเนินการมาในรัฐบาลชุดก่อนหน้า เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (1.5) โครงการ SML(1.6) โครงการธนาคารประชาชน (1.7) โครงการสินเชื่อ SME (1.8) โครงการหนึ่งตำบาลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (1.9) การพักหนี้เกษตรกร (1.10) และ/หรือโครงการบ้านเอื้ออาทร (1.13) เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ล้วนมีประวัติความเป็นมาและประสบการณ์ในอดีตที่อาจสรุปในสาระสำคัญได้ว่า “ขาดความโปร่งใส” ในการดำเนินการ มี “ต้นทุนสูง” และได้ผลประโยชน์ตกต่อประเทศในด้านการขจัดความยากจน “ต่ำ”
เนื่องจากเป็นโครงการเหวี่ยงแหที่มิได้จำแนกว่าใครคือคนจนที่เป็นเป้าหมายที่จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือโดยตรง ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ภายหลังจากที่ผ่านพ้นรัฐบาลทักษิณมาในเรื่องการ “ขาดความโปร่งใส” อาจเห็นได้ชัดเจนขึ้นจากหลายๆ โครงการดังกล่าวมาข้างต้นที่กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนหาผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ทั้งที่ผ่าน คตส. เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่มีการทุจริตสร้างผู้ซื้อเทียมขึ้นมาเพื่อให้สามารถดำเนินการสร้างบ้านในราคาแพงกว่าความเป็นจริงได้ และในปัจจุบันก็มีบ้านเหลือจำนวนมากจะทำต่อไปทำไม และที่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ กำลังดำเนินการ เช่น กรณีของธนาคาร SME ที่มีการทุจริตจนทำให้มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก เป็นต้น
หรือในกรณีของ “ต้นทุนสูง” ตัวอย่างง่ายๆ ที่ชัดเจนก็คือ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่สร้างภาพว่าเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างงานและอาชีพ ใช้เงินงบประมาณกว่า 80,000 ล้านบาทและกำลังถูกต่อยอดเป็นโครงการ SMLนั้นโดยพยายามที่จะเพิ่มเงินเข้าไป หากจะโต้เถียงว่าเป็นโครงการที่ดีก็ลองทดสอบดูอย่างง่ายๆ ว่า สามารถเรียกหนี้คืนได้หรือไม่โดยการไม่ต่ออายุการกู้ยืมให้กับผู้กู้รายเดิมที่กู้ยืมมานาน ในบางคนอาจกู้ยืมมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการโดยมีการต่ออายุการกู้ไปเรื่อยๆ เป็นการให้โอกาสผู้อื่นบ้าง ก็จะเห็นผลทันตาว่าเป็นอย่างไร รัฐบาลยังพยายามที่จะสานต่อโครงการที่ไร้ประสิทธิภาพเหล่านี้ต่อไปอีกทำไม?
ในส่วนของนโยบายที่ไม่เร่งด่วนอีก 7 นโยบายที่จะดำเนินการภายใน 4 ปีนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 11 มีนาคม 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เสนอ โดยมีวงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยมีความต้องการวงเงินรวม 4 ปี เท่ากับ 12,264,297.3 ล้านบาท และประมาณการวงเงินรายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 6,642,100.0 ล้านบาท สิ่งที่น่าสนใจก็คือรัฐบาลจะไปหาเงินส่วนที่ขาดจำนวนประมาณ 6 ล้านล้านบาทมาจากแหล่งใด? จะโดยขึ้นภาษี? หรือการสร้างหนี้สาธารณะเป็นภาระผูกพันไปภายหน้า?
ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มีจำนวน 3.4 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้ประชาชาติที่วัดโดย GDP ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการขึ้นภาษีหรือก่อหนี้สาธารณะ ประชาชนก็จะต้องรับภาระหนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 86,500 บาทต่อคนในเงินส่วนที่ขาด 6 ล้านล้านบาทตลอดอายุ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ ที่สำคัญที่สุดก็คือการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวจะเชื่อได้อย่างไรว่าจะมีผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกับประเทศชาติ?
จากประสบการณ์และข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาของผู้บริหารรัฐบาลทักษิณก่อนหน้านี้ซึ่งบางส่วนก็มาเป็นผู้บริหารชุดนี้ และบางส่วนก็ส่งตัวแทนมาบริหารแทน จะเห็นได้ว่าในช่วงที่รัฐบาลทักษิณอยู่ในตำแหน่งและดำเนินนโยบายที่เรียกว่าประชานิยมนั้น สัดส่วนคนยากจนสุดเทียบกับคนรวยสุดมีแนวโน้มลดลงในช่วงแรกระหว่างปี 2545 – 2548 โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 13.2 – 12.1เท่า (คนจน 132 คนต่อคนรวย 10 คน) แต่เมื่อไม่ได้เพิ่มเงินลงไป สัดส่วนดังกล่าวก็เพิ่มค่าสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยจากอดีต 20 ปีที่ผ่านมา (ค่าต่ำสุด 11.9 เท่า สูงสุด 15.0 เท่า) กล่าวคือมีค่าเพิ่มเป็น 15.9 เท่าในปี 2549 (คนจน 159 คนต่อคนรวย 10 คน) และอาจกล่าวได้ว่าสูงที่สุดในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านโยบายประชานิยมที่ได้ดำเนินการมาเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน และไม่แก้ไขปัญหาของคนส่วนรวมของประเทศ เพราะเมื่อหยุดการเพิ่มเงิน (หรือแจกเงิน) โดยมีการชะลอการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ หลังจากที่ได้ทำมาแล้วอย่างหนักในช่วงปี2545 – 2548 สัดส่วนคนจนต่อคนรวยดังกล่าวก็เพิ่มกลับขึ้นมาทันตาเห็น (อัมมาร สยามวาลา และ สมชัย จิตสุชน, จะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร, เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำปี 2550, มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุน (capital) มีความหมายแตกต่างไปจาก ต้นทุน (cost) เพราะทุนอาจหมายถึงสิ่งที่ใช้แล้วไม่หมดไปในครั้งเดียว เช่น บ้าน ที่ดิน เครื่องจักร ความรู้ หรือแม้แต่ความดีงาม ในขณะที่ต้นทุนอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์มีการคิดมาจากหลักการของค่าเสียโอกาสหรือ opportunity cost ที่หมายถึงประโยชน์สูงสุดที่พึงได้รับจากทางเลือกนั้น
ฉะนั้นต้นทุนในการให้นักการเมืองมาทำงานจึงมิได้หมายความเฉพาะเงินเดือนค่าจ้างที่จ่ายให้กับนักการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายรวมไปถึงผลกระทบภายนอก (externalities) ที่นักการเมืองนั้นได้ทำต่อประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งหากเป็นผลกระทบภายนอกในด้านบวก (ดี) เช่น การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเท็จ ค่าจ้างนักการเมืองเข้ามาเป็นตัวแทนก็ย่อมคุ้มค่าคุ้มต้นทุนเพราะประเทศมีตำแหน่งทางการเมืองจำกัด นายกรัฐมนตรีก็มีเพียงคนเดียว รัฐมนตรีก็มีเพียง 30 กว่าท่าน และการได้มาก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะมีกระบวนการสลับซับซ้อน
หากได้นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถน้อยและไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มิพักถึงจะมีการทุจริตด้วยหรือไม่ แค่นี้ก็เป็นผลกระทบภายนอกด้านลบ (เลว) และเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศเป็นอย่างมากแล้ว
เพราะหากเปรียบประเทศเราเป็นเรือที่มีทิศทางมุ่งไปสู่หินโสโครกและกัปตันเรือ (นายกฯ) ไม่มีประสบการณ์เดินเรือเป็นที่ประจักษ์ ขณะที่ลูกเรือ (รัฐมนตรี) ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นลูกเรือชุดที่ผ่านประสบการณ์ทำเรืออับปางมาแล้วในอดีตที่ผ่านมา ประชาชนในฐานะนายจ้างหากต้องลงเรือลำนี้ควรจะเปลี่ยนกัปตันและลูกเรือเสียก่อนดีไหม เวลา 3 นาทีในเรือดังกล่าวก็ถือว่ามากแล้วไม่ต้องคิดเปรียบเทียบไปถึงรัฐบาลคุณสมัครที่ทำงานมาเพียง 3 เดือนเศษว่ามีความเหมือนมากน้อยเท่าใด
หากพิจารณาด้วยเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ในยุคที่คุณสมัครครองเมือง ต้นทุนของประเทศในการได้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดูจะสูงไม่คุ้มค่าจ้างที่ได้จ่ายให้ไป เพราะประเทศไม่ควรที่จะได้ นายกรัฐมนตรีพูดเท็จเป็นอาจิณ เอาเวลาวันหยุดไปรับงานส่วนตัว มิได้ใส่ใจกับการบริหารราชการแผ่นดิน ลำพังคิดแต่เพียงการแก้รัฐธรรมนูญและการเอาชนะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ท่านจะมีเวลาเหลือสำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ที่กล่าวมานี้ยังมิได้กล่าวถึงต้นทุนที่ชัดแจ้ง (explicit costs) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นก่อนหน้านี้ว่าภายใน 4 ปีประชาชนชาวไทยจะมีภาระหนี้เพิ่มกว่า 86,500 บาทต่อคนโดยที่ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าผลประโยชน์จากเงินลงทุนจะคุ้มค่ากับภาระหนี้ที่มีอยู่หรือไม่
ต้นทุนของประเทศในการให้คุณสมัครอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดูจะไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจริงๆ หากไม่อยากถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวถ่วงของประเทศในการพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้า หากมีใจที่คิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติสักนิด การเปิดทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าก็จะเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงที่ท่านสามารถทำได้ไม่ยากนักในบั้นปลายของชีวิต
ท่านพอจะประเมินได้แล้วหรือไม่ว่าต้นทุนฝ่ายใดมากกว่ากัน.
“ผมเอง (พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น-ผู้เขียน) ก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้พวกเขา (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-ผู้เขียน)ต้องการอะไรกันแน่ ตอนนี้ทำได้เพียงแต่ขอร้องขอให้แต่ละคนลดทิฐิลงมาบ้าง ขอให้ยึดหลักธรรมมะเดินทางสายกลาง...ตำรวจคงไม่สามารถเข้าไปช่วยในการแก้ไขปัญหาของพวกท่านได้...” ผู้จัดการ 4 มิถุนายน 2551
“ปิดถนนคนเดือดร้อนกี่ร้อยกี่พันคน แต่รัฐบาลคอร์รัปชัน ขายประเทศ กอบโกย ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องเสียหายกันทุกคน เสียหายไปจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน .. คุณจะเอาแบบไหนก็เลือกเอาครับ” ความเห็นที่ 28 จากข่าวข้างต้น
การที่ประชาชนชาวไทยได้รัฐบาลคุณสมัครชุดนี้มามีต้นทุนสูงมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับราคาที่สังคมต้องจ่ายให้หรือไม่? สมควรจะประเมินให้น้ำหนักกับต้นทุนใดมากกว่ากันระหว่างรถติดกับรัฐบาล? และหากปล่อยเอาไว้จะก่อให้เกิดผลเสียแก่ประเทศมากน้อยเพียงใด? ในฐานะเจ้าของประเทศและผู้จ่ายค่าจ้าง ท่านจะคิดอย่างไร? ประเด็นเหล่านี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาว่า ราคาของคุณสมัครที่สังคมนี้ต้องจ่ายให้ในฐานะผู้บริหารประเทศว่าคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างไร ?
ก่อนจะเข้าบริหารประเทศ นายสมัคร สุนทรเวชได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โดยมีการกล่าวถึงปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ส่งแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อโลกและในประเทศไทย และได้กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีแรกจำนวน 19 ข้อ และนโยบายที่จะดำเนินการในช่วง 4 ปี อีก 7 นโยบาย นี่คือทิศทางที่รัฐบาลในฐานะผู้บริหารกำลังบอกกับเจ้าของประเทศว่าจะเข้ามาบริหารจัดการประเทศอย่างไร
หากพิจารณาถึงนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีแรกจำนวน 19 นโยบาย (1.1-1.19) นั้น จะประกอบไปด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมที่ได้ดำเนินการมาในรัฐบาลชุดก่อนหน้า เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (1.5) โครงการ SML(1.6) โครงการธนาคารประชาชน (1.7) โครงการสินเชื่อ SME (1.8) โครงการหนึ่งตำบาลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (1.9) การพักหนี้เกษตรกร (1.10) และ/หรือโครงการบ้านเอื้ออาทร (1.13) เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ล้วนมีประวัติความเป็นมาและประสบการณ์ในอดีตที่อาจสรุปในสาระสำคัญได้ว่า “ขาดความโปร่งใส” ในการดำเนินการ มี “ต้นทุนสูง” และได้ผลประโยชน์ตกต่อประเทศในด้านการขจัดความยากจน “ต่ำ”
เนื่องจากเป็นโครงการเหวี่ยงแหที่มิได้จำแนกว่าใครคือคนจนที่เป็นเป้าหมายที่จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือโดยตรง ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ภายหลังจากที่ผ่านพ้นรัฐบาลทักษิณมาในเรื่องการ “ขาดความโปร่งใส” อาจเห็นได้ชัดเจนขึ้นจากหลายๆ โครงการดังกล่าวมาข้างต้นที่กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนหาผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ทั้งที่ผ่าน คตส. เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่มีการทุจริตสร้างผู้ซื้อเทียมขึ้นมาเพื่อให้สามารถดำเนินการสร้างบ้านในราคาแพงกว่าความเป็นจริงได้ และในปัจจุบันก็มีบ้านเหลือจำนวนมากจะทำต่อไปทำไม และที่หน่วยงานของรัฐอื่นๆ กำลังดำเนินการ เช่น กรณีของธนาคาร SME ที่มีการทุจริตจนทำให้มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก เป็นต้น
หรือในกรณีของ “ต้นทุนสูง” ตัวอย่างง่ายๆ ที่ชัดเจนก็คือ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่สร้างภาพว่าเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างงานและอาชีพ ใช้เงินงบประมาณกว่า 80,000 ล้านบาทและกำลังถูกต่อยอดเป็นโครงการ SMLนั้นโดยพยายามที่จะเพิ่มเงินเข้าไป หากจะโต้เถียงว่าเป็นโครงการที่ดีก็ลองทดสอบดูอย่างง่ายๆ ว่า สามารถเรียกหนี้คืนได้หรือไม่โดยการไม่ต่ออายุการกู้ยืมให้กับผู้กู้รายเดิมที่กู้ยืมมานาน ในบางคนอาจกู้ยืมมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการโดยมีการต่ออายุการกู้ไปเรื่อยๆ เป็นการให้โอกาสผู้อื่นบ้าง ก็จะเห็นผลทันตาว่าเป็นอย่างไร รัฐบาลยังพยายามที่จะสานต่อโครงการที่ไร้ประสิทธิภาพเหล่านี้ต่อไปอีกทำไม?
ในส่วนของนโยบายที่ไม่เร่งด่วนอีก 7 นโยบายที่จะดำเนินการภายใน 4 ปีนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 11 มีนาคม 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ประธานคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 เสนอ โดยมีวงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยมีความต้องการวงเงินรวม 4 ปี เท่ากับ 12,264,297.3 ล้านบาท และประมาณการวงเงินรายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 6,642,100.0 ล้านบาท สิ่งที่น่าสนใจก็คือรัฐบาลจะไปหาเงินส่วนที่ขาดจำนวนประมาณ 6 ล้านล้านบาทมาจากแหล่งใด? จะโดยขึ้นภาษี? หรือการสร้างหนี้สาธารณะเป็นภาระผูกพันไปภายหน้า?
ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มีจำนวน 3.4 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้ประชาชาติที่วัดโดย GDP ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการขึ้นภาษีหรือก่อหนี้สาธารณะ ประชาชนก็จะต้องรับภาระหนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 86,500 บาทต่อคนในเงินส่วนที่ขาด 6 ล้านล้านบาทตลอดอายุ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ ที่สำคัญที่สุดก็คือการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวจะเชื่อได้อย่างไรว่าจะมีผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกับประเทศชาติ?
จากประสบการณ์และข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาของผู้บริหารรัฐบาลทักษิณก่อนหน้านี้ซึ่งบางส่วนก็มาเป็นผู้บริหารชุดนี้ และบางส่วนก็ส่งตัวแทนมาบริหารแทน จะเห็นได้ว่าในช่วงที่รัฐบาลทักษิณอยู่ในตำแหน่งและดำเนินนโยบายที่เรียกว่าประชานิยมนั้น สัดส่วนคนยากจนสุดเทียบกับคนรวยสุดมีแนวโน้มลดลงในช่วงแรกระหว่างปี 2545 – 2548 โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 13.2 – 12.1เท่า (คนจน 132 คนต่อคนรวย 10 คน) แต่เมื่อไม่ได้เพิ่มเงินลงไป สัดส่วนดังกล่าวก็เพิ่มค่าสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยจากอดีต 20 ปีที่ผ่านมา (ค่าต่ำสุด 11.9 เท่า สูงสุด 15.0 เท่า) กล่าวคือมีค่าเพิ่มเป็น 15.9 เท่าในปี 2549 (คนจน 159 คนต่อคนรวย 10 คน) และอาจกล่าวได้ว่าสูงที่สุดในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านโยบายประชานิยมที่ได้ดำเนินการมาเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน และไม่แก้ไขปัญหาของคนส่วนรวมของประเทศ เพราะเมื่อหยุดการเพิ่มเงิน (หรือแจกเงิน) โดยมีการชะลอการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ หลังจากที่ได้ทำมาแล้วอย่างหนักในช่วงปี2545 – 2548 สัดส่วนคนจนต่อคนรวยดังกล่าวก็เพิ่มกลับขึ้นมาทันตาเห็น (อัมมาร สยามวาลา และ สมชัย จิตสุชน, จะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร, เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจำปี 2550, มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุน (capital) มีความหมายแตกต่างไปจาก ต้นทุน (cost) เพราะทุนอาจหมายถึงสิ่งที่ใช้แล้วไม่หมดไปในครั้งเดียว เช่น บ้าน ที่ดิน เครื่องจักร ความรู้ หรือแม้แต่ความดีงาม ในขณะที่ต้นทุนอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์มีการคิดมาจากหลักการของค่าเสียโอกาสหรือ opportunity cost ที่หมายถึงประโยชน์สูงสุดที่พึงได้รับจากทางเลือกนั้น
ฉะนั้นต้นทุนในการให้นักการเมืองมาทำงานจึงมิได้หมายความเฉพาะเงินเดือนค่าจ้างที่จ่ายให้กับนักการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายรวมไปถึงผลกระทบภายนอก (externalities) ที่นักการเมืองนั้นได้ทำต่อประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งหากเป็นผลกระทบภายนอกในด้านบวก (ดี) เช่น การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเท็จ ค่าจ้างนักการเมืองเข้ามาเป็นตัวแทนก็ย่อมคุ้มค่าคุ้มต้นทุนเพราะประเทศมีตำแหน่งทางการเมืองจำกัด นายกรัฐมนตรีก็มีเพียงคนเดียว รัฐมนตรีก็มีเพียง 30 กว่าท่าน และการได้มาก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะมีกระบวนการสลับซับซ้อน
หากได้นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถน้อยและไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มิพักถึงจะมีการทุจริตด้วยหรือไม่ แค่นี้ก็เป็นผลกระทบภายนอกด้านลบ (เลว) และเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศเป็นอย่างมากแล้ว
เพราะหากเปรียบประเทศเราเป็นเรือที่มีทิศทางมุ่งไปสู่หินโสโครกและกัปตันเรือ (นายกฯ) ไม่มีประสบการณ์เดินเรือเป็นที่ประจักษ์ ขณะที่ลูกเรือ (รัฐมนตรี) ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเป็นลูกเรือชุดที่ผ่านประสบการณ์ทำเรืออับปางมาแล้วในอดีตที่ผ่านมา ประชาชนในฐานะนายจ้างหากต้องลงเรือลำนี้ควรจะเปลี่ยนกัปตันและลูกเรือเสียก่อนดีไหม เวลา 3 นาทีในเรือดังกล่าวก็ถือว่ามากแล้วไม่ต้องคิดเปรียบเทียบไปถึงรัฐบาลคุณสมัครที่ทำงานมาเพียง 3 เดือนเศษว่ามีความเหมือนมากน้อยเท่าใด
หากพิจารณาด้วยเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ในยุคที่คุณสมัครครองเมือง ต้นทุนของประเทศในการได้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดูจะสูงไม่คุ้มค่าจ้างที่ได้จ่ายให้ไป เพราะประเทศไม่ควรที่จะได้ นายกรัฐมนตรีพูดเท็จเป็นอาจิณ เอาเวลาวันหยุดไปรับงานส่วนตัว มิได้ใส่ใจกับการบริหารราชการแผ่นดิน ลำพังคิดแต่เพียงการแก้รัฐธรรมนูญและการเอาชนะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ท่านจะมีเวลาเหลือสำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ที่กล่าวมานี้ยังมิได้กล่าวถึงต้นทุนที่ชัดแจ้ง (explicit costs) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นก่อนหน้านี้ว่าภายใน 4 ปีประชาชนชาวไทยจะมีภาระหนี้เพิ่มกว่า 86,500 บาทต่อคนโดยที่ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าผลประโยชน์จากเงินลงทุนจะคุ้มค่ากับภาระหนี้ที่มีอยู่หรือไม่
ต้นทุนของประเทศในการให้คุณสมัครอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดูจะไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจริงๆ หากไม่อยากถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวถ่วงของประเทศในการพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้า หากมีใจที่คิดถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติสักนิด การเปิดทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าก็จะเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงที่ท่านสามารถทำได้ไม่ยากนักในบั้นปลายของชีวิต
ท่านพอจะประเมินได้แล้วหรือไม่ว่าต้นทุนฝ่ายใดมากกว่ากัน.