ผู้จัดการรายวัน - “เจิมศักดิ์” อัด “มิ่งขวัญ” อ่อนหัดแก้ไขปัญหาข้าว นักวิชาการย้ำ พปช.โกยคะแนนเสียงออกมาตรการจำนำข้าวเอื้อประโยชน์ให้ชาวนา-โรงสีบางกลุ่ม ด้าน ธ.ก.ส.-อคส.ปัดกันวุ่น ม็อบชาวนาฮึ่ม ชี้รัฐบาลสมัครไม่จริงใจแก้ไขปัญหา 5 เดือนซื้อหนี้เกษตรกรเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ แค่ 100 ราย เตรียมลุยบรมรูปทรงม้า-กระทรวงเกษตรฯ แต่ถูกสมุนรัฐตำรวจสกัดอยู่หมัด รมว.คลังเดินหน้าชง ครม.อนุมัติรับจำนำข้าวนาปรังวันนี้
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตส.ว. กทม. กล่าวในสัมมนา “ข้าวไทยพุ่งแรง ...รุ่งโรจน์หรือหายนะชาวไทย” จัดโดย คณะกมธ.สิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา ที่รัฐสภา วานนี้ (9 มิ.ย.) ว่า สิ่งที่จะทำให้ไทยครองตลาดข้าวได้คือเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตลง ดังนั้นการแก้ไขเรื่องกลไกราคาข้าวของรัฐบาลจึงเป็นเรื่องที่ผิด โดยเฉพาะกรณีที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กระทรวงพาณิชย์ บอกให้ชาวนาเก็บข้าวไว้ 120 วัน และขายตอนราคาดีแสดงให้เห็นถึงความอ่อนหัด เนื่องจากจะมีข้าวใหม่ออกมาและทำให้ราคาตก อีกทั้งการนำข้าวในสต็อก 2.1 ล้านตัน ออกมาทำข้าวธงฟ้า ทำให้ผู้ส่งออกไม่ยอมซื้อข้าวในตลาดเพราะจะรอซื้อจากรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวตกอีก นอกจากนี้จู่ๆ ก็ให้ ธ.ก.ส.ไปรับจำนำข้าว จึงมีคำถามว่าการเข้าไปอุ้มครั้งนี้มีใครได้ประโยชน์
สำหรับแนวทางแก้ไขคือให้ ธ.ก.ส.จำนำได้มาเท่าไรให้ขายออกไปทั้งหมดทันทีเพราะหากปล่อยไปจะทำราคาตกและยังอาจสูญหายได้
พปช.เอื้อชาวนา-โรงสีบางกลุ่ม
นายนิพนธ์ พัวพงศกร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเดียวกัน ว่า ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำลง เป็นเพราะกลไกตลาดและบางประเทศชะลอการสั่งซื้อ แต่รัฐบาลไทยกลับแทรกแซงราคาข้าวด้วยการทำข้าวธงฟ้า ดึงให้ราคาข้าวลดลง ส่วนรับจำนำข้าวหากทำบ่อยครั้งจะทำให้อนาคตข้าวไทยหายนะ รัฐบาลจะกลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ ตลาดกลางจะเล็กลง กลายเป็นเกษตรกรรมระบอบสังคมนิยม
“มาตราการดังกล่าวทำให้เกษตรกรบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ เรื่องนี้พรรคพลังประชาชนได้คะแนนเสียงจากชาวนาและโรงสี ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่าย การแทรกแซงราคาข้าว เพราะงบประมาณที่ใช้ไปเป็นภาษีของประชาชน”
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า จากการวิจัยพบว่าราคาข้าวในอีก 10 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันราคายังขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาล หากต้องการแก้ความเสี่ยงของเกษตรกร ต้องแยกพื้นที่ เช่น หอมมะลิ หากปลูกเฉพาะพื้นที่จะทำให้ราคาดี และต้องประกันราคาข้าว ให้ข้อมูลดินฟ้าอากาศ ออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีที่ดินแต่กล้าพนันได้ว่า รัฐบาลไม่กล้าเสนอกฎหมายดังกล่าวเพราะนักการเมืองมีที่ดินมากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ธ.ก.ส.ลำบากใจจำนำข้าว
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า มาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นมาตรการที่ไม่ปกติ ซึ่งราคาข้าวที่เปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวอยู่ที่การเจรจาระหว่างโรงสีและผู้ส่งออก ธนาคารเป็นเพียงคนกลางเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนลำบากใจและอยู่ตรงกลาง ซึ่งการรับจำนำข้าวหากจะมีทุจริตก็มีคนเกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย คือ ชาวนา โรงสี และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ส่วนระยะยาวต้องทำการประกันภัยความเสี่ยง แต่สิ่งสำคัญที่อยากให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพคือ ช่วยเหลือชาวนาลดต้นทุน เช่น พันธุ์ข้าว ประกันภัยราคาพืชผล
"สมศักดิ์" ครวญห่วงนอมินียึดที่นา
ด้าน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า แม้ราคาข้าวจะดีแต่ชาวนายังยากจนเพราะพื้นที่ทำนาส่วนใหญ่อยู่ในเขตลุ่มเจ้าพระยา และเกษตรกร 62% ต้องเช่าพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีกระแสการเข้ามาจัดตั้งบริษัทเพื่อลงทุนทำนาของนายทุนต่างชาติ โดยใช้ตัวแทนหรือนอมินีเพื่อใช้ประโยชน์จากที่นาออกมาในรูปของการประกอบธุรกิจร่วมทุนแทนที่จะซื้อที่นา โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 51 ซึ่งพื้นที่ภาคกลางน่าห่วงที่สุด
“ขณะนี้ตนทราบว่ามีกลุ่มประเทศอาหรับออกล่าอาณานิคมทางการเกษตร เพราะมองเห็นอนาคตชัดเจนว่าจะเกิดวิกฤตอาหาร” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่า มีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินในไทยผ่านนอมินีซึ่งเป็นคนไทยเพื่อทำนา เช่น อุบลราชธานี ซึ่งมีนายทุนจากไต้หวัน มาซื้อที่ดิน 2 พันไร่ และยังมีปราจีนบุรี และพะเยา
โยนงานเสี่ยงทุจริตให้ อคส.รับ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยความคืบหน้าโครงการเปิดรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาว่า ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าภาพโครงการเปิดรับจำนำข้าวเปลือก ขอความร่วมมือให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ช่วยบริหารจัดการเปิดรับจำนำข้าว ในขั้นตอนที่เสี่ยงต่อการเกิดทุจริต เช่น การออกใบประทวน การวัดความชื้น เนื่องจาก ธ.ก.ส.อ้างว่าไม่พร้อมทั้งเรื่องบุคลากร และวิธีบริหารจัดการ ขณะที่ อคส. เคยทำหน้าที่มีความพร้อมเพราะเคยเปิดรับจำนำมาก่อน
อย่างไรก็ตาม อคส. พร้อมร่วมมือบางขั้นตอนในฐานะผู้รับจ้างเท่านั้น ซึ่ง ธ.ก.ส. จะยังเป็นเจ้าภาพหลัก แต่ให้ว่าจ้าง อคส. ช่วยทำและให้ค่าตอบแทนเป็นเรื่องๆ ไป โดยไม่ต้องมีภาระผูกพัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือทุจริตในการเปิดรับจำนำ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมั่นใจว่า ธ.ก.ส.มีความพร้อม เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชาวนาเต็มที่ อีกทั้งยังใช้ประเด็นเรื่องการทุจริตมาโจมตีการทำงาน อคส. เพื่อใช้เป็นเหตุผลหนึ่ง ในการถ่ายโอนหน้าที่การเปิดรับจำนำข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ มาที่กระทรวงการคลัง
“อ.ค.ส. จะตรวจสอบรายละเอียดสัญญาขั้นตอนกิจกรรมให้ดีก่อนตอบรับงานรับจำนำ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนตามมาภายหลัง อย่างเช่นเรื่องการวัดความชื้นก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการเสียหาย และกลายเป็นเรื่องทุจริตได้ รวมถึงการรับติดต่อโรงสีจะต้องดูให้ดีว่า หากข้าวชาวนาออกมาพร้อมกันจำนวนมาก จะสามารถเปิดรับจำนำทันหรือไม่ อคส. ไม่ควรเห็นแก่ค่าจ้างที่ได้รับ แต่ต้องไปแบกภาระ หรือความรับผิดชอบเกินไป”
ม็อบชาวนาชี้แก้หนี้เกษตรกรเหลว
ในวันเดียวกันนี้ เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยจากทั่วประเทศ ทยอยเข้ากรุงเทพฯ ปักหลักชุมนุมโดยสงบบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณ 6 พันคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ส่อไปในทางมิชอบของผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
นายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ ต้องการให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ชาวนาที่เดือดร้อน และให้ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกองทุนฯ พร้อมกับจัดประชุมหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยด่วน เพราะที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟูฯ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี แทบจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ที่ผ่านมากว่า 5 เดือน กองทุนฟื้นฟูฯ ช่วยเกษตรกรได้เพียง 100 รายเท่านั้น จากเกษตรกรที่เดือดร้อนทั้งหมดกว่า 300,000 ราย หากไม่ได้รับคำตอบที่พอใจจากรัฐบาล จะนำรถอีแต๋นกว่า 100 คนเข้ากรุงเทพฯ
การชุมนุมของเครือข่ายฯ มีแกนนำสลับกันขึ้นปราศรัยเป็นระยะ โดยนายชุมพร จิตราวสาร แกนนำจากจังหวัด กล่าวว่า เครือข่ายหนี้สินฯ มาชุมนุมทวงสัญญาที่รัฐบาลเคยให้ไว้เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า จะประชุมคณะผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ในสิ้นเดือนพ.ค.นี้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้เรียกประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ชาวนาแต่อย่างใด
นอกจากนั้น เครือข่ายฯ ยังทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายสมัคร สุนทรเวช ให้เร่งแก้ปัญหา และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ส่อในทางไม่ชอบของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมทั้งให้ปลดนายเสริมศักดิ์ ชื่นเจริญ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งผู้ชุมนุมระบุว่า แต่งตั้งมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ไม่สามารถจัดการปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ ทั้งที่ได้ร้องเรียนกับทางการมาแล้ว 2 ครั้ง
หลังจากนั้น กลุ่มเครือข่ายหนี้สินฯ ประมาณ 3 พันคน เดินขบวนมายังลานพระบรมรูปทรงม้า และกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเจรจาและยื่นหนังสือแก่นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.กระทรวงเกษตรฯ เพื่อสั่งการให้สถาบันการเงินชะลอการชำระหนี้สินของเกษตรกรฯ มูลค่า 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มี ธ.ก.ส.และสหกรณ์การเกษตร เป็นเจ้าหนี้
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงบริเวณแยกพล. ม. 1 พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ได้เจรจาขอร้องแกนนำให้ปักหลักบริเวณริมฟุตบาท ถนนศรีอยุธยา ซึ่งผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือด้วยดี
ต่อมา พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับหนังสือจากนายชนินทร์ ดวงดาราตัวแทนกลุ่มเครือข่ายฯ พร้อมรับปากจะแก้ไขปัญหาให้ สร้างความพอใจแก่กลุ่มผู้ชุมนุมในระดับหนึ่ง ยอมถอยกลับไปชุมนุมต่อที่ด้านข้างธนาคารแห่งประเทศไทย และจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาล
คลังชง ครม.อนุมัติรับจำนำข้าววันนี้
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ธ.ก.ส.ว่า รัฐบาลจะรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังในระดับความชื้นไม่เกินร้อยละ 15ราคาตันละ 14,000 บาท โดยจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส.และ อคส. วิธีการเริ่มจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกใบรับรองให้กับเกษตรกรหลังจากนั้นเกษตรกรนำข้าวฝากไว้กับ อคส. ทาง อคส.จะออกใบปัจจุบันให้โดยเกษตรกรนำใบประทวนที่ได้รับมาจำนำข้าวกับ ธ.ก.ส.ตามราคาที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามในวันนี้จะนำเรื่องนี้เข้ามติคณะรัฐมนตรีเพื่อรอการอนุมัติ
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.คิดอัตราดอกเบี้ยกับรัฐบาลแบบเอ็มอาร์อาร์ ลบหนึ่ง โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6.5 หากมีการไถ่ถอนรัฐบาลให้อัตราดอกเบี้ยกับเกษตรกรที่ร้อยละ 3 โดยจะใช้งบประมาณในการรับจำนำทั้งสิ้น 35,000 ล้านบาท
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตส.ว. กทม. กล่าวในสัมมนา “ข้าวไทยพุ่งแรง ...รุ่งโรจน์หรือหายนะชาวไทย” จัดโดย คณะกมธ.สิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา ที่รัฐสภา วานนี้ (9 มิ.ย.) ว่า สิ่งที่จะทำให้ไทยครองตลาดข้าวได้คือเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตลง ดังนั้นการแก้ไขเรื่องกลไกราคาข้าวของรัฐบาลจึงเป็นเรื่องที่ผิด โดยเฉพาะกรณีที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กระทรวงพาณิชย์ บอกให้ชาวนาเก็บข้าวไว้ 120 วัน และขายตอนราคาดีแสดงให้เห็นถึงความอ่อนหัด เนื่องจากจะมีข้าวใหม่ออกมาและทำให้ราคาตก อีกทั้งการนำข้าวในสต็อก 2.1 ล้านตัน ออกมาทำข้าวธงฟ้า ทำให้ผู้ส่งออกไม่ยอมซื้อข้าวในตลาดเพราะจะรอซื้อจากรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวตกอีก นอกจากนี้จู่ๆ ก็ให้ ธ.ก.ส.ไปรับจำนำข้าว จึงมีคำถามว่าการเข้าไปอุ้มครั้งนี้มีใครได้ประโยชน์
สำหรับแนวทางแก้ไขคือให้ ธ.ก.ส.จำนำได้มาเท่าไรให้ขายออกไปทั้งหมดทันทีเพราะหากปล่อยไปจะทำราคาตกและยังอาจสูญหายได้
พปช.เอื้อชาวนา-โรงสีบางกลุ่ม
นายนิพนธ์ พัวพงศกร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเดียวกัน ว่า ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำลง เป็นเพราะกลไกตลาดและบางประเทศชะลอการสั่งซื้อ แต่รัฐบาลไทยกลับแทรกแซงราคาข้าวด้วยการทำข้าวธงฟ้า ดึงให้ราคาข้าวลดลง ส่วนรับจำนำข้าวหากทำบ่อยครั้งจะทำให้อนาคตข้าวไทยหายนะ รัฐบาลจะกลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ ตลาดกลางจะเล็กลง กลายเป็นเกษตรกรรมระบอบสังคมนิยม
“มาตราการดังกล่าวทำให้เกษตรกรบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ เรื่องนี้พรรคพลังประชาชนได้คะแนนเสียงจากชาวนาและโรงสี ตนขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่าย การแทรกแซงราคาข้าว เพราะงบประมาณที่ใช้ไปเป็นภาษีของประชาชน”
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า จากการวิจัยพบว่าราคาข้าวในอีก 10 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันราคายังขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของรัฐบาล หากต้องการแก้ความเสี่ยงของเกษตรกร ต้องแยกพื้นที่ เช่น หอมมะลิ หากปลูกเฉพาะพื้นที่จะทำให้ราคาดี และต้องประกันราคาข้าว ให้ข้อมูลดินฟ้าอากาศ ออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีที่ดินแต่กล้าพนันได้ว่า รัฐบาลไม่กล้าเสนอกฎหมายดังกล่าวเพราะนักการเมืองมีที่ดินมากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ธ.ก.ส.ลำบากใจจำนำข้าว
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า มาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นมาตรการที่ไม่ปกติ ซึ่งราคาข้าวที่เปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวอยู่ที่การเจรจาระหว่างโรงสีและผู้ส่งออก ธนาคารเป็นเพียงคนกลางเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนลำบากใจและอยู่ตรงกลาง ซึ่งการรับจำนำข้าวหากจะมีทุจริตก็มีคนเกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย คือ ชาวนา โรงสี และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ส่วนระยะยาวต้องทำการประกันภัยความเสี่ยง แต่สิ่งสำคัญที่อยากให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพคือ ช่วยเหลือชาวนาลดต้นทุน เช่น พันธุ์ข้าว ประกันภัยราคาพืชผล
"สมศักดิ์" ครวญห่วงนอมินียึดที่นา
ด้าน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า แม้ราคาข้าวจะดีแต่ชาวนายังยากจนเพราะพื้นที่ทำนาส่วนใหญ่อยู่ในเขตลุ่มเจ้าพระยา และเกษตรกร 62% ต้องเช่าพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีกระแสการเข้ามาจัดตั้งบริษัทเพื่อลงทุนทำนาของนายทุนต่างชาติ โดยใช้ตัวแทนหรือนอมินีเพื่อใช้ประโยชน์จากที่นาออกมาในรูปของการประกอบธุรกิจร่วมทุนแทนที่จะซื้อที่นา โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 51 ซึ่งพื้นที่ภาคกลางน่าห่วงที่สุด
“ขณะนี้ตนทราบว่ามีกลุ่มประเทศอาหรับออกล่าอาณานิคมทางการเกษตร เพราะมองเห็นอนาคตชัดเจนว่าจะเกิดวิกฤตอาหาร” นายสมศักดิ์ กล่าว
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่า มีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินในไทยผ่านนอมินีซึ่งเป็นคนไทยเพื่อทำนา เช่น อุบลราชธานี ซึ่งมีนายทุนจากไต้หวัน มาซื้อที่ดิน 2 พันไร่ และยังมีปราจีนบุรี และพะเยา
โยนงานเสี่ยงทุจริตให้ อคส.รับ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยความคืบหน้าโครงการเปิดรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาว่า ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าภาพโครงการเปิดรับจำนำข้าวเปลือก ขอความร่วมมือให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ช่วยบริหารจัดการเปิดรับจำนำข้าว ในขั้นตอนที่เสี่ยงต่อการเกิดทุจริต เช่น การออกใบประทวน การวัดความชื้น เนื่องจาก ธ.ก.ส.อ้างว่าไม่พร้อมทั้งเรื่องบุคลากร และวิธีบริหารจัดการ ขณะที่ อคส. เคยทำหน้าที่มีความพร้อมเพราะเคยเปิดรับจำนำมาก่อน
อย่างไรก็ตาม อคส. พร้อมร่วมมือบางขั้นตอนในฐานะผู้รับจ้างเท่านั้น ซึ่ง ธ.ก.ส. จะยังเป็นเจ้าภาพหลัก แต่ให้ว่าจ้าง อคส. ช่วยทำและให้ค่าตอบแทนเป็นเรื่องๆ ไป โดยไม่ต้องมีภาระผูกพัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือทุจริตในการเปิดรับจำนำ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมั่นใจว่า ธ.ก.ส.มีความพร้อม เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชาวนาเต็มที่ อีกทั้งยังใช้ประเด็นเรื่องการทุจริตมาโจมตีการทำงาน อคส. เพื่อใช้เป็นเหตุผลหนึ่ง ในการถ่ายโอนหน้าที่การเปิดรับจำนำข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ มาที่กระทรวงการคลัง
“อ.ค.ส. จะตรวจสอบรายละเอียดสัญญาขั้นตอนกิจกรรมให้ดีก่อนตอบรับงานรับจำนำ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนตามมาภายหลัง อย่างเช่นเรื่องการวัดความชื้นก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการเสียหาย และกลายเป็นเรื่องทุจริตได้ รวมถึงการรับติดต่อโรงสีจะต้องดูให้ดีว่า หากข้าวชาวนาออกมาพร้อมกันจำนวนมาก จะสามารถเปิดรับจำนำทันหรือไม่ อคส. ไม่ควรเห็นแก่ค่าจ้างที่ได้รับ แต่ต้องไปแบกภาระ หรือความรับผิดชอบเกินไป”
ม็อบชาวนาชี้แก้หนี้เกษตรกรเหลว
ในวันเดียวกันนี้ เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยจากทั่วประเทศ ทยอยเข้ากรุงเทพฯ ปักหลักชุมนุมโดยสงบบริเวณหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณ 6 พันคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ส่อไปในทางมิชอบของผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
นายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ เปิดเผยว่า เครือข่ายฯ ต้องการให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่ชาวนาที่เดือดร้อน และให้ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกองทุนฯ พร้อมกับจัดประชุมหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยด่วน เพราะที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟูฯ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี แทบจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ที่ผ่านมากว่า 5 เดือน กองทุนฟื้นฟูฯ ช่วยเกษตรกรได้เพียง 100 รายเท่านั้น จากเกษตรกรที่เดือดร้อนทั้งหมดกว่า 300,000 ราย หากไม่ได้รับคำตอบที่พอใจจากรัฐบาล จะนำรถอีแต๋นกว่า 100 คนเข้ากรุงเทพฯ
การชุมนุมของเครือข่ายฯ มีแกนนำสลับกันขึ้นปราศรัยเป็นระยะ โดยนายชุมพร จิตราวสาร แกนนำจากจังหวัด กล่าวว่า เครือข่ายหนี้สินฯ มาชุมนุมทวงสัญญาที่รัฐบาลเคยให้ไว้เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า จะประชุมคณะผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ในสิ้นเดือนพ.ค.นี้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้เรียกประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ชาวนาแต่อย่างใด
นอกจากนั้น เครือข่ายฯ ยังทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายสมัคร สุนทรเวช ให้เร่งแก้ปัญหา และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ส่อในทางไม่ชอบของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมทั้งให้ปลดนายเสริมศักดิ์ ชื่นเจริญ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งผู้ชุมนุมระบุว่า แต่งตั้งมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ไม่สามารถจัดการปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ ทั้งที่ได้ร้องเรียนกับทางการมาแล้ว 2 ครั้ง
หลังจากนั้น กลุ่มเครือข่ายหนี้สินฯ ประมาณ 3 พันคน เดินขบวนมายังลานพระบรมรูปทรงม้า และกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเจรจาและยื่นหนังสือแก่นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.กระทรวงเกษตรฯ เพื่อสั่งการให้สถาบันการเงินชะลอการชำระหนี้สินของเกษตรกรฯ มูลค่า 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มี ธ.ก.ส.และสหกรณ์การเกษตร เป็นเจ้าหนี้
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ผู้ชุมนุมเดินทางมาถึงบริเวณแยกพล. ม. 1 พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ได้เจรจาขอร้องแกนนำให้ปักหลักบริเวณริมฟุตบาท ถนนศรีอยุธยา ซึ่งผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือด้วยดี
ต่อมา พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับหนังสือจากนายชนินทร์ ดวงดาราตัวแทนกลุ่มเครือข่ายฯ พร้อมรับปากจะแก้ไขปัญหาให้ สร้างความพอใจแก่กลุ่มผู้ชุมนุมในระดับหนึ่ง ยอมถอยกลับไปชุมนุมต่อที่ด้านข้างธนาคารแห่งประเทศไทย และจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาล
คลังชง ครม.อนุมัติรับจำนำข้าววันนี้
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการ ธ.ก.ส.ว่า รัฐบาลจะรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังในระดับความชื้นไม่เกินร้อยละ 15ราคาตันละ 14,000 บาท โดยจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส.และ อคส. วิธีการเริ่มจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกใบรับรองให้กับเกษตรกรหลังจากนั้นเกษตรกรนำข้าวฝากไว้กับ อคส. ทาง อคส.จะออกใบปัจจุบันให้โดยเกษตรกรนำใบประทวนที่ได้รับมาจำนำข้าวกับ ธ.ก.ส.ตามราคาที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามในวันนี้จะนำเรื่องนี้เข้ามติคณะรัฐมนตรีเพื่อรอการอนุมัติ
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.คิดอัตราดอกเบี้ยกับรัฐบาลแบบเอ็มอาร์อาร์ ลบหนึ่ง โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6.5 หากมีการไถ่ถอนรัฐบาลให้อัตราดอกเบี้ยกับเกษตรกรที่ร้อยละ 3 โดยจะใช้งบประมาณในการรับจำนำทั้งสิ้น 35,000 ล้านบาท