ก่อนจะกล่าวถึงนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ลองพิจารณาถึงความจริงที่เป็นมาก่อนหน้านี้กันเสียก่อน
1. ในช่วงรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ระบุชัดเจนว่า ที่ผ่านมา ในสมัยรัฐบาลทักษิณ มาตรการในการแก้ไขและช่วยเหลือชาวนาเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อตรงไม่สุจริต มีการปัญหาการทุจริตข้าวตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับบน ไม่ว่าจะเป็นโรงสีรับจำนำข้าวที่ร่วมโครงการ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐบาลสุรยุทธ์จึงต้องเข้ามาแบกรับภาระหนี้สินจากการรับจำนำข้าว ซึ่งมีทั้งหนี้และข้าวที่อยู่ในสต๊อก โดยมีหนี้ 30,000-40,000 ล้านบาท ข้าวในสต๊อกมีถึง 6 ล้านตัน และยืนยันว่า ต่อนี้ไป ภาครัฐจะพยายามลดการเข้าไปแทรกแซงด้านการตลาด แต่ทำเพื่อกระตุ้นให้ราคาตลาดสูงขึ้นบ้างและเกษตรกรไม่ขาดทุนเท่านั้น จะไม่ทำตลอดเวลา
2. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้สรุปบทเรียนจากการจำนำข้าว โดยเฉพาะนโยบายจำนำข้าวยุครัฐบาลทักษิณ ว่ามีความผิดพลาด เสียหาย เกิดปัญหาทุจริตเชิงนโยบายอย่างไรมาแล้ว
ระบุว่า การรับจำนำข้าวของรัฐบาลทักษิณ ตั้งแต่ปี 2545/46 จนถึงปี 2548/49 ได้ตั้งราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาด ทำให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาจำนำจำนวนมากและไม่มาไถ่ถอน โดยเฉพาะปี 2547/48 และปี 2548/49
ปี 2547/48 ปริมาณจำนำข้าวนาปีและนาปรัง รวมทั้งสิ้น 6.09 ล้านตันข้าวเปลือก มีสต๊อกคงเหลือ 5.88 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือคิดเป็น 3.23 ล้านตันข้าวสาร) รัฐบาลขาดทุน 10,478.2 ล้านบาท
ปี 2548/49 รับจำนำรวม 7.46 ล้านตันข้าวเปลือก สต๊อกคงเหลือ 6.75 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือ 3.71 ล้านตันข้าวสาร) รัฐบาลขาดทุน 7,805.1 ล้านบาท
เฉพาะ 2 ปี ขาดทุนมหาศาล 18,283.3 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมความเสียหายที่เกิดจากปัญหาข้าวปลอมปน ทั้งๆ ที่ ในอดีตนั้น การจำนำข้าวเคยขาดทุนกันปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนจากค่าดอกเบี้ย และค่าบริหารจัดการ แต่ยุครัฐบาลกลับต้องขาดทุนจากราคาด้วย
การกำหนดราคารับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดกว่า 30% ทำให้รัฐบาลมีสต๊อกข้าวจำนวนมาก และส่งผลให้การส่งออกทำได้ยากขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีการเปิดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐบาล ก็มีการใช้อำนาจให้บริษัทค้าข้าวเอกชนที่ใกล้ชิดระบอบทักษิณ เข้ามาประมูลข้าวได้ผูกขาดไปเพียงรายเดียว ชื่อว่า “บริษัทเพรสซิเด้นท์ อะกริ” ส่อว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมหาศาล
3. เมื่อปีที่แล้ว นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพิ่งจะออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลชำระคืนหนี้ที่ ธกส.ดำเนินการในโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร กว่า 60,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นภาระที่เกิดจากการรับจำนำข้าว 30,000-40,000 ล้านบาท
ธกส. ถึงขนาดประกาศว่า ต้องการให้ตั้งเป็นเงื่อนไขว่า การชำระหนี้ค่าจำนำข้าวจะต้องชำระคืนแบบปีต่อปี หรืออย่างน้อยควรจ่ายคืนไม่ต่ำกว่า 80% ของค่ารับจำนำข้าว
4. ควรตระหนักถึงความจริงว่า ราคาข้าวเปลือกในประเทศของเราเป็นไปตามราคาข้าวสารที่ส่งออกในตลาดโลก
พูดง่ายๆ ว่า ราคาข้าวในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาขายในตลาดโลก
ราคาส่งออก ณ ท่าเรือของไทยเรา เมื่อนำมาหักค่าขนส่ง ค่าโลจิสติกส์ ค่าเก็บรักษา ค่าสีข้าว ฯลฯ เพื่อนำข้าวจากชาวนามาถึงจุดส่งออก ณ ท่าเรือ ออกไปแล้ว ก็จะได้ราคาข้าวเปลือกในประเทศของเรา ในแต่ละพื้นที่
จะเห็นว่า ในเมื่อค่าขนส่งจากแต่ละภูมิภาคมาถึงจุดส่งออกแตกต่างกัน มากน้อยไม่เท่ากัน ฉะนั้น ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมราคาข้าวในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค จะแตกต่างกันตามไปด้วย
ไม่ต้องกล่าวถึงว่า ข้าวที่มีคุณภาพต่างกัน ย่อมมีราคาแตกต่างกัน เช่น มีความชื้นต่างกัน เป็นต้น
เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จะเห็นว่า หากราคาส่งออกข้าวดี ราคาที่ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ก็จะดีตาม เพราะถ้าราคาในประเทศไม่ยกตัวสูงตามราคาตลาดโลก ผู้ส่งออกก็จะหวังรวยด้วยการซื้อข้าวในประเทศที่ราคาต่ำส่งออกไปขายราคาแพงยังตลาดโลก และในที่สุด การแย่งกันซื้อข้าวก็จะทำให้ข้าวเปลือกในประเทศมีราคาแพงขึ้นอยู่ดี
หรือถ้าปีใด ราคาข้าวส่งออกต่างประเทศตกต่ำ ราคาภายในประเทศก็ต้องตกต่ำตาม มิเช่นนั้น ผู้ส่งออกก็จะหยุดส่งออก เพราะไม่มีใครซื้อแพง-ขายถูกได้
การจะช่วยเหลือชาวนาไทยในสภาวะราคาส่งออกข้าวตกต่ำ ก็คือ ต้องทำให้ราคาข้าวที่ผู้ส่งออกได้รับสูงขึ้น จะให้เงินอุดหนุนทุกตันที่ส่งออกได้ เพื่อให้ผู้ส่งออกแย่งกันไปซื้อข้าวจากชาวนา หรือจะเขียนเช็คแจกเงินชาวนาโดยตรง ก็จะดีกว่าโครงการแทรกแซงราคาโดยการให้หน่วยงานของรัฐไปซื้อ-ขายข้าว เพราะนอกจากชาวนาไม่ได้ผลประโยชน์เต็มๆ แล้ว ยังมีคนทุจริตหากินกับงบประมาณแผ่นดินได้ด้วย
ปีนี้ เมื่อสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกมีราคาดี รัฐบาลน่าจะกำกับดูแลส่งเสริมให้กลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่โกงกัน ไม่เอาเปรียบกัน เพราะเมื่อราคาข้าวส่งออกสูงขึ้น ชาวนาก็ได้ราคาดีขึ้น โดยหยุดแทรกแซง หยุดหากินกับนโยบายที่พยายามแทรกแซงราคาเหมือนเช่นรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเคยทำมาก่อน
5. ไม่นานมานี้ ผมได้เขียนบทความเตือนรัฐบาลพลังประชาชนไปแล้ว ในช่วงที่ราคาข้าวกำลังไต่ระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระบุว่า
“..ขณะนี้ รัฐบาลสมัครกำลังได้รับประโยชน์ทางการเมืองจากสภาวะข้าวราคาดี โดยไม่ต้องทำอะไร เรียกว่า “ส้มหล่น” ใส่มือ “มิ่งขวัญ” ก็ว่าได้
บทพิสูจน์ที่แท้จริง อยู่ที่ว่า จะมีฝีมือในการรีบระบายข้าวที่รัฐบาลทักษิณเคยทำผิดพลาดไว้อย่างไร และจะเร่งวางโครงสร้างการดำเนินนโยบายข้าวไว้ในยามที่ราคาข้าวตกต่ำลงอย่างไร
อย่าลืมว่า ข้าวสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ภายใน 120 วัน เมื่อราคาข้าวดี ชาวนาทั่วโลกก็จะเร่งปลูกเร่งเก็บเกี่ยว อีกไม่นาน ปริมาณข้าวก็จะเพิ่มมากขึ้น ราคาข้าวก็คงไม่ยกตัวสูงไปกว่านี้
อย่าได้ริ ส่งเสริมยั่วยุให้ชาวนาเก็บข้าวไว้เก็งกำไรอย่างสุ่มเสี่ยง โดยบอกว่า ราคาจะสูงกว่านี้อีก 3 เท่าตัว เหมือนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พูดอย่างไม่รับผิดชอบ
ถ้าชาวนาทำตาม เล่นเก็งกำไร ยอมเสี่ยง แล้วราคาข้าวไม่สูง 3 เท่าตัว เมื่อนั้น “มิ่งขวัญ” จะยังอยู่รับผิดชอบกับความเสียหาย การเสียโอกาส และความผิดหวังของชาวนาหรือไม่ ? อย่างไร ?
ถ้าชาวนา ให้ “มิ่งขวัญ” กินข้าวเปล่าคลุกน้ำลายตนเอง เป็นเวลา 12 เดือน จะยอมไหม ?”
น่าเจ็บใจ... ขณะนี้ เป็นอย่างไร รัฐบาลได้ระบายข้าวสต็อกของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เสียหายแค่ไหน และมีใครรับผิดชอบต่อชาวนาอย่างจริงใจบ้างไหม
เมื่อต้นปี รัฐบาลมีข้าวสารเก็บอยู่ในสต็อก 2,100,000 ตัน นายสมัครกับนายมิ่งขวัญได้ออกมาประกาศว่า ข้าวจำนวนดังกล่าว จะเก็บไว้ ไม่นำออกมาขายอย่างแน่นอน
การประกาศเช่นนี้ของผู้บริหารประเทศ ทำให้พ่อค้าข้าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่า ปริมาณข้าวจะหายไปจากระบบการค้าจำนวน 2,100,000 ตัน ทุกคนจึงซื้อข้าว และจะซื้อข้าวไปตามสถานการณ์ที่เชื่อว่ารัฐบาลไทยจะไม่นำข้าวในสต็อกจำนวนดังกล่าวออกมาขายเข้าสู่ระบบ
แต่แล้ว รัฐบาลสมัครก็กลับนำเอาข้าวออกมาขายในรูปข้าวธงฟ้า แม้ในปริมาณเพียง 1,000 ตันเท่านั้น แต่เป็นการส่งสัญญาณให้กับตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศว่า คำพูดของรัฐบาลไทยเชื่อถือไม่ได้ เกิดความไม่แน่ใจว่าปริมาณข้าวอีกจำนวน 2 ล้านตันเศษ ที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลไทย จะถูกขายออกมาสู่ระบบอีกเมื่อใด เท่าใด อย่างนี้ แล้วจะมีเอกชนรายใดซื้อข้าวเก็บใส่สต็อกเอาไว้ขายภายหน้า พ่อค้าก็หยุดซื้อ ผู้ซื้อข้าวต่างประเทศก็ลังเล และหยุดซื้อข้าวจากผู้ส่งออกไทย เล็งที่จะซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยแทน ราคาข้าวเลปือกในประเทศไทยก็เลยตกลงไปอีก
ซ้ำร้าย.. เมื่อราคาข้าวชะลอตัว ชาวนาออกมาประท้วง รัฐบาลนายสมัครก็ประกาศดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว เอาหน้า-หาเสียง ผลาญเงินประชาชน โดยแทบไม่ต่างจากวิธีการของรัฐบาลทักษิณที่เคยก่อให้เกิดความเสียหายเอาไว้
ล่าสุด รัฐบาลของนายสมัครระบุว่า “จะรับจำนำข้าว ในราคา 14,000 บาทต่อตัน โดยจะทำทั่วประเทศทั้งหมด ในจำนวนข้าวนาปรังที่กำลังจะออกได้คำนวณปริมาณไว้หมดแล้ว 2 ล้าน 5 แสนตัน ได้คำนวณดูทางหนีทีไล่เสร็จหมดเรียบร้อย รัฐบาลจะขอดำเนินการ โดย ธ.ก.ส.จะออกไปรับจำนำทั้งหมด”
บทเรียนมีอยู่แล้ว ความเสียหายเดิมยังไม่แก้ไขด้วยซ้ำ บริษัทค้าข้าวเจ้าเดิมก็ยังติดหนี้ธนาคารอยู่ นักการเมืองกลุ่มเดิมก็ยังลอยนวลอยู่ ยังไม่ได้รับกรรมเลยด้วยซ้ำ
ทำไมหนอ... ทำไมประเทศของเราถึงได้มีเวรกรรมเยี่ยงนี้
1. ในช่วงรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ระบุชัดเจนว่า ที่ผ่านมา ในสมัยรัฐบาลทักษิณ มาตรการในการแก้ไขและช่วยเหลือชาวนาเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อตรงไม่สุจริต มีการปัญหาการทุจริตข้าวตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับบน ไม่ว่าจะเป็นโรงสีรับจำนำข้าวที่ร่วมโครงการ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐบาลสุรยุทธ์จึงต้องเข้ามาแบกรับภาระหนี้สินจากการรับจำนำข้าว ซึ่งมีทั้งหนี้และข้าวที่อยู่ในสต๊อก โดยมีหนี้ 30,000-40,000 ล้านบาท ข้าวในสต๊อกมีถึง 6 ล้านตัน และยืนยันว่า ต่อนี้ไป ภาครัฐจะพยายามลดการเข้าไปแทรกแซงด้านการตลาด แต่ทำเพื่อกระตุ้นให้ราคาตลาดสูงขึ้นบ้างและเกษตรกรไม่ขาดทุนเท่านั้น จะไม่ทำตลอดเวลา
2. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้สรุปบทเรียนจากการจำนำข้าว โดยเฉพาะนโยบายจำนำข้าวยุครัฐบาลทักษิณ ว่ามีความผิดพลาด เสียหาย เกิดปัญหาทุจริตเชิงนโยบายอย่างไรมาแล้ว
ระบุว่า การรับจำนำข้าวของรัฐบาลทักษิณ ตั้งแต่ปี 2545/46 จนถึงปี 2548/49 ได้ตั้งราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาด ทำให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาจำนำจำนวนมากและไม่มาไถ่ถอน โดยเฉพาะปี 2547/48 และปี 2548/49
ปี 2547/48 ปริมาณจำนำข้าวนาปีและนาปรัง รวมทั้งสิ้น 6.09 ล้านตันข้าวเปลือก มีสต๊อกคงเหลือ 5.88 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือคิดเป็น 3.23 ล้านตันข้าวสาร) รัฐบาลขาดทุน 10,478.2 ล้านบาท
ปี 2548/49 รับจำนำรวม 7.46 ล้านตันข้าวเปลือก สต๊อกคงเหลือ 6.75 ล้านตันข้าวเปลือก (หรือ 3.71 ล้านตันข้าวสาร) รัฐบาลขาดทุน 7,805.1 ล้านบาท
เฉพาะ 2 ปี ขาดทุนมหาศาล 18,283.3 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมความเสียหายที่เกิดจากปัญหาข้าวปลอมปน ทั้งๆ ที่ ในอดีตนั้น การจำนำข้าวเคยขาดทุนกันปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนจากค่าดอกเบี้ย และค่าบริหารจัดการ แต่ยุครัฐบาลกลับต้องขาดทุนจากราคาด้วย
การกำหนดราคารับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดกว่า 30% ทำให้รัฐบาลมีสต๊อกข้าวจำนวนมาก และส่งผลให้การส่งออกทำได้ยากขึ้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีการเปิดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐบาล ก็มีการใช้อำนาจให้บริษัทค้าข้าวเอกชนที่ใกล้ชิดระบอบทักษิณ เข้ามาประมูลข้าวได้ผูกขาดไปเพียงรายเดียว ชื่อว่า “บริษัทเพรสซิเด้นท์ อะกริ” ส่อว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมหาศาล
3. เมื่อปีที่แล้ว นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพิ่งจะออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลชำระคืนหนี้ที่ ธกส.ดำเนินการในโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร กว่า 60,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นภาระที่เกิดจากการรับจำนำข้าว 30,000-40,000 ล้านบาท
ธกส. ถึงขนาดประกาศว่า ต้องการให้ตั้งเป็นเงื่อนไขว่า การชำระหนี้ค่าจำนำข้าวจะต้องชำระคืนแบบปีต่อปี หรืออย่างน้อยควรจ่ายคืนไม่ต่ำกว่า 80% ของค่ารับจำนำข้าว
4. ควรตระหนักถึงความจริงว่า ราคาข้าวเปลือกในประเทศของเราเป็นไปตามราคาข้าวสารที่ส่งออกในตลาดโลก
พูดง่ายๆ ว่า ราคาข้าวในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาขายในตลาดโลก
ราคาส่งออก ณ ท่าเรือของไทยเรา เมื่อนำมาหักค่าขนส่ง ค่าโลจิสติกส์ ค่าเก็บรักษา ค่าสีข้าว ฯลฯ เพื่อนำข้าวจากชาวนามาถึงจุดส่งออก ณ ท่าเรือ ออกไปแล้ว ก็จะได้ราคาข้าวเปลือกในประเทศของเรา ในแต่ละพื้นที่
จะเห็นว่า ในเมื่อค่าขนส่งจากแต่ละภูมิภาคมาถึงจุดส่งออกแตกต่างกัน มากน้อยไม่เท่ากัน ฉะนั้น ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมราคาข้าวในแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาค จะแตกต่างกันตามไปด้วย
ไม่ต้องกล่าวถึงว่า ข้าวที่มีคุณภาพต่างกัน ย่อมมีราคาแตกต่างกัน เช่น มีความชื้นต่างกัน เป็นต้น
เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จะเห็นว่า หากราคาส่งออกข้าวดี ราคาที่ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ก็จะดีตาม เพราะถ้าราคาในประเทศไม่ยกตัวสูงตามราคาตลาดโลก ผู้ส่งออกก็จะหวังรวยด้วยการซื้อข้าวในประเทศที่ราคาต่ำส่งออกไปขายราคาแพงยังตลาดโลก และในที่สุด การแย่งกันซื้อข้าวก็จะทำให้ข้าวเปลือกในประเทศมีราคาแพงขึ้นอยู่ดี
หรือถ้าปีใด ราคาข้าวส่งออกต่างประเทศตกต่ำ ราคาภายในประเทศก็ต้องตกต่ำตาม มิเช่นนั้น ผู้ส่งออกก็จะหยุดส่งออก เพราะไม่มีใครซื้อแพง-ขายถูกได้
การจะช่วยเหลือชาวนาไทยในสภาวะราคาส่งออกข้าวตกต่ำ ก็คือ ต้องทำให้ราคาข้าวที่ผู้ส่งออกได้รับสูงขึ้น จะให้เงินอุดหนุนทุกตันที่ส่งออกได้ เพื่อให้ผู้ส่งออกแย่งกันไปซื้อข้าวจากชาวนา หรือจะเขียนเช็คแจกเงินชาวนาโดยตรง ก็จะดีกว่าโครงการแทรกแซงราคาโดยการให้หน่วยงานของรัฐไปซื้อ-ขายข้าว เพราะนอกจากชาวนาไม่ได้ผลประโยชน์เต็มๆ แล้ว ยังมีคนทุจริตหากินกับงบประมาณแผ่นดินได้ด้วย
ปีนี้ เมื่อสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกมีราคาดี รัฐบาลน่าจะกำกับดูแลส่งเสริมให้กลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่โกงกัน ไม่เอาเปรียบกัน เพราะเมื่อราคาข้าวส่งออกสูงขึ้น ชาวนาก็ได้ราคาดีขึ้น โดยหยุดแทรกแซง หยุดหากินกับนโยบายที่พยายามแทรกแซงราคาเหมือนเช่นรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเคยทำมาก่อน
5. ไม่นานมานี้ ผมได้เขียนบทความเตือนรัฐบาลพลังประชาชนไปแล้ว ในช่วงที่ราคาข้าวกำลังไต่ระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระบุว่า
“..ขณะนี้ รัฐบาลสมัครกำลังได้รับประโยชน์ทางการเมืองจากสภาวะข้าวราคาดี โดยไม่ต้องทำอะไร เรียกว่า “ส้มหล่น” ใส่มือ “มิ่งขวัญ” ก็ว่าได้
บทพิสูจน์ที่แท้จริง อยู่ที่ว่า จะมีฝีมือในการรีบระบายข้าวที่รัฐบาลทักษิณเคยทำผิดพลาดไว้อย่างไร และจะเร่งวางโครงสร้างการดำเนินนโยบายข้าวไว้ในยามที่ราคาข้าวตกต่ำลงอย่างไร
อย่าลืมว่า ข้าวสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ภายใน 120 วัน เมื่อราคาข้าวดี ชาวนาทั่วโลกก็จะเร่งปลูกเร่งเก็บเกี่ยว อีกไม่นาน ปริมาณข้าวก็จะเพิ่มมากขึ้น ราคาข้าวก็คงไม่ยกตัวสูงไปกว่านี้
อย่าได้ริ ส่งเสริมยั่วยุให้ชาวนาเก็บข้าวไว้เก็งกำไรอย่างสุ่มเสี่ยง โดยบอกว่า ราคาจะสูงกว่านี้อีก 3 เท่าตัว เหมือนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พูดอย่างไม่รับผิดชอบ
ถ้าชาวนาทำตาม เล่นเก็งกำไร ยอมเสี่ยง แล้วราคาข้าวไม่สูง 3 เท่าตัว เมื่อนั้น “มิ่งขวัญ” จะยังอยู่รับผิดชอบกับความเสียหาย การเสียโอกาส และความผิดหวังของชาวนาหรือไม่ ? อย่างไร ?
ถ้าชาวนา ให้ “มิ่งขวัญ” กินข้าวเปล่าคลุกน้ำลายตนเอง เป็นเวลา 12 เดือน จะยอมไหม ?”
น่าเจ็บใจ... ขณะนี้ เป็นอย่างไร รัฐบาลได้ระบายข้าวสต็อกของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เสียหายแค่ไหน และมีใครรับผิดชอบต่อชาวนาอย่างจริงใจบ้างไหม
เมื่อต้นปี รัฐบาลมีข้าวสารเก็บอยู่ในสต็อก 2,100,000 ตัน นายสมัครกับนายมิ่งขวัญได้ออกมาประกาศว่า ข้าวจำนวนดังกล่าว จะเก็บไว้ ไม่นำออกมาขายอย่างแน่นอน
การประกาศเช่นนี้ของผู้บริหารประเทศ ทำให้พ่อค้าข้าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชื่อว่า ปริมาณข้าวจะหายไปจากระบบการค้าจำนวน 2,100,000 ตัน ทุกคนจึงซื้อข้าว และจะซื้อข้าวไปตามสถานการณ์ที่เชื่อว่ารัฐบาลไทยจะไม่นำข้าวในสต็อกจำนวนดังกล่าวออกมาขายเข้าสู่ระบบ
แต่แล้ว รัฐบาลสมัครก็กลับนำเอาข้าวออกมาขายในรูปข้าวธงฟ้า แม้ในปริมาณเพียง 1,000 ตันเท่านั้น แต่เป็นการส่งสัญญาณให้กับตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศว่า คำพูดของรัฐบาลไทยเชื่อถือไม่ได้ เกิดความไม่แน่ใจว่าปริมาณข้าวอีกจำนวน 2 ล้านตันเศษ ที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลไทย จะถูกขายออกมาสู่ระบบอีกเมื่อใด เท่าใด อย่างนี้ แล้วจะมีเอกชนรายใดซื้อข้าวเก็บใส่สต็อกเอาไว้ขายภายหน้า พ่อค้าก็หยุดซื้อ ผู้ซื้อข้าวต่างประเทศก็ลังเล และหยุดซื้อข้าวจากผู้ส่งออกไทย เล็งที่จะซื้อข้าวจากรัฐบาลไทยแทน ราคาข้าวเลปือกในประเทศไทยก็เลยตกลงไปอีก
ซ้ำร้าย.. เมื่อราคาข้าวชะลอตัว ชาวนาออกมาประท้วง รัฐบาลนายสมัครก็ประกาศดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว เอาหน้า-หาเสียง ผลาญเงินประชาชน โดยแทบไม่ต่างจากวิธีการของรัฐบาลทักษิณที่เคยก่อให้เกิดความเสียหายเอาไว้
ล่าสุด รัฐบาลของนายสมัครระบุว่า “จะรับจำนำข้าว ในราคา 14,000 บาทต่อตัน โดยจะทำทั่วประเทศทั้งหมด ในจำนวนข้าวนาปรังที่กำลังจะออกได้คำนวณปริมาณไว้หมดแล้ว 2 ล้าน 5 แสนตัน ได้คำนวณดูทางหนีทีไล่เสร็จหมดเรียบร้อย รัฐบาลจะขอดำเนินการ โดย ธ.ก.ส.จะออกไปรับจำนำทั้งหมด”
บทเรียนมีอยู่แล้ว ความเสียหายเดิมยังไม่แก้ไขด้วยซ้ำ บริษัทค้าข้าวเจ้าเดิมก็ยังติดหนี้ธนาคารอยู่ นักการเมืองกลุ่มเดิมก็ยังลอยนวลอยู่ ยังไม่ได้รับกรรมเลยด้วยซ้ำ
ทำไมหนอ... ทำไมประเทศของเราถึงได้มีเวรกรรมเยี่ยงนี้