เอเอฟพี - ผู้นำประเทศมหาอำนาจของโลก แสดงความกังวลหลังราคาน้ำมันดิบพุ่งทำสถิติวันเดียวกว่า 10 เหรียญ พร้อมโยนความผิดกันเป็นทอดๆ แต่ไม่มีใครแสดงความรับผิดชอบ และไม่มีวี่แววว่าจะมีมาตรการแก้ไขเป็นรูปธรรมออกมา
ฟรานซิส เพอร์ริน บรรณาธิการบริหารนิตยสารรายเดือน อาหรับ ออยล์ แอนด์ แก๊ส กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลของหลายประเทศกำลังถูกประชาชนกดดันให้ทำอะไรสักอย่าง แต่ปัญหาคือโอกาสต่างๆ ถูกปิดกั้นหมดแล้ว ดังนั้น ทางออกของรัฐบาลคือการหาแพะรับบาป
วันศุกร์ที่ผ่านมา (6) ราคาน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก ที่แพงขึ้นห้าเท่านับจากปี 2003 ทำสถิติใหม่ด้วยการพุ่งขึ้นวันเดียว 10.75 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 138.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แล้วต่อมาในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หลังตลาดปิดก็ยังไต่ขึ้นทำนิวไฮสำหรับการซื้อขายระหว่างวัน ณ 139.12 ดอลลาร์
ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ของดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันในวันศุกร์ที่ 138.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะลดลงเล็กน้อยตอนปิดมาอยู่ที่ 137.69 ดอลลาร์ ซึ่งก็เป็นนิวไฮสำหรับราคาปิดอยู่ดี และสูงขึ้นจากปิดวันก่อน 10.15 ดอลลาร์
ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการทำนิวไฮครั้งนี้คือการอ่อนตัวของดอลลาร์เมื่อเทียบยูโร รวมถึงการที่รองนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ชาอูล โมฟาซ ขู่โจมตีอิหร่าน
มาวันเสาร์ (7) สหรัฐฯ และสี่ประเทศมหาอำนาจเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันระหว่างหารือกันที่เมืองเอโอโมริ ฮับอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
แซม บ็อดแมน รัฐมนตรีพลังงานกล่าวว่าช็อกกับราคาน้ำมัน ขณะที่อะกิรา อะมาริ รัฐมนตรีพลังงานญี่ปุ่น เจ้าภาพการประชุม สำทับว่าการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มอร์แกน สแตนลีย์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท คาดหมายว่า ราคาน้ำมันจะขึ้นไปถึงระดับ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในวันที่ 4 กรกฎาคม อันเป็นวันชาติอเมริกัน
ในการประชุมดังกล่าว ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำกล่าวโทษว่า มาตรการประคองราคาน้ำมันในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อแบ่งเบาภาระคนจน ทำให้ดีมานด์น้ำมันยังคงพุ่งกระฉูดและหนุนให้ราคาทะยานติดจรวด
จีนและอินเดียยอมรับว่าการยกเลิกมาตรการอุดหนุนเป็นสิ่งที่ดี แต่ปฏิเสธที่จะดำเนินการในทันที เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีดมิตทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ก็ได้ไปพูดในกรุงมอสโก กล่าวหาว่าสาเหตุทั้งหมดเนื่องมาจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นต้นตอของวิกฤตการเงินที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้
สอดรับกับโจเซฟ สติกลิซ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบล ที่กล่าวหาว่าการทำสงครามในอิรักเป็นตัวกระตุ้นวิกฤตการณ์น้ำมันในปัจจุบัน และวิกฤตซับไพรม์ก็เป็นผลพวงของสงครามและราคาน้ำมัน เช่นเดียวกับวิกฤตอาหารอันเนื่องมาจากการบูมของเชื้อเพลิงชีวภาพ จึงเป็นผลจากวิกฤตราคาน้ำมันเช่นเดียวกัน
ด้านสหรัฐฯ นั้นมักโยนความผิดให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่ไม่ยอมผลิตน้ำมันเพิ่ม ขณะที่โอเปกโยนบาปต่อให้นักเก็งกำไร และปัญหาศักยภาพการกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯไม่เพียงพอ ตลอดจนถึงความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์
การประชุมระหว่างสหรัฐฯกับ 4 ชาติสำคัญของเอเชีย เป็นการนำร่องก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) เมื่อวานนี้(8) อันประกอบด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐฯ โดยที่มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันด้วยเช่นกัน แล้วหลังจากนั้นก็ยังมีการหารือระหว่าง จี 8 กับจีน,อินเดีย,เกาหลีใต้ อีก (ญี่ปุ่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจี 8 อยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตาม เพอร์รินคาดว่า คงไม่มีมาตรการรูปธรรมใดๆ คลอดออกมาจากการประชุมนี้ หรือแม้กระทั่งการประชุมระหว่างจอร์จ ดับเบิลยู บุช กับยุโรปในการทัวร์อำลาตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ในวันนี้ (9)
กระนั้น นักวิเคราะห์เชื่อว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เนื่องจากปรากฏสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มรับสภาพไม่ได้
สำหรับเพอร์รินนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศอย่างจีนและอินเดียกำลังจะยุติมาตรการพยุงราคาน้ำมัน สะท้อนว่ามาตรการดังกล่าวเริ่มถึงระดับที่รับไม่ได้เช่นกันสำหรับงบประมาณของประเทศเหล่านี้ และหากมีการยกเลิกมาตรการนี้จริง ดีมานด์น้ำมันก็จะลดตามลงอย่างฉับพลัน ฉุดให้ราคาน้ำมันดิบดิ่งตัวลง
ฟรานซิส เพอร์ริน บรรณาธิการบริหารนิตยสารรายเดือน อาหรับ ออยล์ แอนด์ แก๊ส กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลของหลายประเทศกำลังถูกประชาชนกดดันให้ทำอะไรสักอย่าง แต่ปัญหาคือโอกาสต่างๆ ถูกปิดกั้นหมดแล้ว ดังนั้น ทางออกของรัฐบาลคือการหาแพะรับบาป
วันศุกร์ที่ผ่านมา (6) ราคาน้ำมันดิบไลต์สวีตครูดของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก ที่แพงขึ้นห้าเท่านับจากปี 2003 ทำสถิติใหม่ด้วยการพุ่งขึ้นวันเดียว 10.75 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 138.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แล้วต่อมาในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หลังตลาดปิดก็ยังไต่ขึ้นทำนิวไฮสำหรับการซื้อขายระหว่างวัน ณ 139.12 ดอลลาร์
ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ของดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันในวันศุกร์ที่ 138.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะลดลงเล็กน้อยตอนปิดมาอยู่ที่ 137.69 ดอลลาร์ ซึ่งก็เป็นนิวไฮสำหรับราคาปิดอยู่ดี และสูงขึ้นจากปิดวันก่อน 10.15 ดอลลาร์
ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการทำนิวไฮครั้งนี้คือการอ่อนตัวของดอลลาร์เมื่อเทียบยูโร รวมถึงการที่รองนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ชาอูล โมฟาซ ขู่โจมตีอิหร่าน
มาวันเสาร์ (7) สหรัฐฯ และสี่ประเทศมหาอำนาจเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันระหว่างหารือกันที่เมืองเอโอโมริ ฮับอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
แซม บ็อดแมน รัฐมนตรีพลังงานกล่าวว่าช็อกกับราคาน้ำมัน ขณะที่อะกิรา อะมาริ รัฐมนตรีพลังงานญี่ปุ่น เจ้าภาพการประชุม สำทับว่าการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มอร์แกน สแตนลีย์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท คาดหมายว่า ราคาน้ำมันจะขึ้นไปถึงระดับ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในวันที่ 4 กรกฎาคม อันเป็นวันชาติอเมริกัน
ในการประชุมดังกล่าว ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำกล่าวโทษว่า มาตรการประคองราคาน้ำมันในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อแบ่งเบาภาระคนจน ทำให้ดีมานด์น้ำมันยังคงพุ่งกระฉูดและหนุนให้ราคาทะยานติดจรวด
จีนและอินเดียยอมรับว่าการยกเลิกมาตรการอุดหนุนเป็นสิ่งที่ดี แต่ปฏิเสธที่จะดำเนินการในทันที เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีดมิตทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ก็ได้ไปพูดในกรุงมอสโก กล่าวหาว่าสาเหตุทั้งหมดเนื่องมาจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นต้นตอของวิกฤตการเงินที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้
สอดรับกับโจเซฟ สติกลิซ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบล ที่กล่าวหาว่าการทำสงครามในอิรักเป็นตัวกระตุ้นวิกฤตการณ์น้ำมันในปัจจุบัน และวิกฤตซับไพรม์ก็เป็นผลพวงของสงครามและราคาน้ำมัน เช่นเดียวกับวิกฤตอาหารอันเนื่องมาจากการบูมของเชื้อเพลิงชีวภาพ จึงเป็นผลจากวิกฤตราคาน้ำมันเช่นเดียวกัน
ด้านสหรัฐฯ นั้นมักโยนความผิดให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่ไม่ยอมผลิตน้ำมันเพิ่ม ขณะที่โอเปกโยนบาปต่อให้นักเก็งกำไร และปัญหาศักยภาพการกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯไม่เพียงพอ ตลอดจนถึงความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์
การประชุมระหว่างสหรัฐฯกับ 4 ชาติสำคัญของเอเชีย เป็นการนำร่องก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) เมื่อวานนี้(8) อันประกอบด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐฯ โดยที่มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันด้วยเช่นกัน แล้วหลังจากนั้นก็ยังมีการหารือระหว่าง จี 8 กับจีน,อินเดีย,เกาหลีใต้ อีก (ญี่ปุ่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจี 8 อยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตาม เพอร์รินคาดว่า คงไม่มีมาตรการรูปธรรมใดๆ คลอดออกมาจากการประชุมนี้ หรือแม้กระทั่งการประชุมระหว่างจอร์จ ดับเบิลยู บุช กับยุโรปในการทัวร์อำลาตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ในวันนี้ (9)
กระนั้น นักวิเคราะห์เชื่อว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เนื่องจากปรากฏสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มรับสภาพไม่ได้
สำหรับเพอร์รินนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศอย่างจีนและอินเดียกำลังจะยุติมาตรการพยุงราคาน้ำมัน สะท้อนว่ามาตรการดังกล่าวเริ่มถึงระดับที่รับไม่ได้เช่นกันสำหรับงบประมาณของประเทศเหล่านี้ และหากมีการยกเลิกมาตรการนี้จริง ดีมานด์น้ำมันก็จะลดตามลงอย่างฉับพลัน ฉุดให้ราคาน้ำมันดิบดิ่งตัวลง