เหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันทำให้ผมนึกถึงผู้นำ และภาวะผู้นำซึ่งการวิจัยความสำเร็จ และความก้าวหน้าขององค์กรให้ความสำคัญมากในแวดวงการศึกษา ก็มีการสำรวจผลสำเร็จของโรงเรียนในประเทศพบว่าขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นสำคัญ
มีคนพูดตลกๆ ว่าผู้นำที่ยอดที่สุดคือ โมเสส เพราะเขานำชาวยิวเดินรอนแรมในทะเลทรายอยู่หลายสิบปี เพื่อหาดินแดนของพระผู้เป็นเจ้า แล้วก็มาลงเอยที่อิสราเอลซึ่งเป็นดินแดนในตะวันออกกลางเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีน้ำมัน
ผู้นำที่เด็ดขาดนั้นคือ อเล็กซานเดอร์มหาราช มีเรื่องเล่าว่าในเมืองหนึ่ง มีเชือกหนาพันหลักเอาไว้ ชาวเมืองท้าว่าใครแก้เชือกออกมาได้จะยกเมืองให้ คนทั่วสารทิศต่างพยายามแก้ปมเชือกก็ไม่สำเร็จ อเล็กซานเดอร์ผ่านมา ยกดาบฟันฉับไปที่เชือกจนขาดกระจุย ปมนี้คือ gordian knot
หลวงวิจิตรวาทการเคยเขียนว่า ผู้นำในวรรณคดีที่เรายกย่องนั้นมักอ้อนแอ้น และทำงานสบายๆ อย่างเช่น พระรามมีความได้เปรียบพวกยักษ์แยะ แถมมีลิงคอยช่วยมากมาย และมีศรพรหมมาศน์ เวลาจะรบก็ถามพิเภกให้ดูดวงก่อน ถ้าชนะแน่จึงออกรบ หรือพระอภัยมณีก็มีปี่เป่าให้คนหลับใหล ส่วนคนจีนนั้น พระเอกในนิทานอย่างซิยิ่นกุ้ย ก็แข็งแรงบึกบึน ดังนั้นผู้นำไทยเราจึงไม่ค่อยจะเอาไหน
ผู้นำไม่ได้มีอยู่อย่างโดดๆ ต้องมีผู้ตามหรือลูกน้องด้วย ที่สำคัญก็คืออยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม หรือสภาพการณ์ที่หล่อหลอมตัวผู้นำ
ที่เราพูดถึงผู้นำกันมากนี้ก็เพราะโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ผู้นำก็ไม่ต้องเก่งมาก เพราะสามารถลองผิดลองถูกได้ ไม่ว่าผู้นำจะเก่งหรือดีเพียงใด เมื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และซับซ้อนใหญ่โตเกินความสามารถที่จะแก้ไขได้ก็ต้องพ่ายแพ้ เหมือนกรณีการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก เป็นต้น
ปัจจุบันโลกเรามีการแข่งขันที่เข้มข้น มีการติดต่อกันอย่างกว้างขวาง มีการเปิดเสรีทางการค้า การเงิน และการลงทุน การเปลี่ยนแปลงนี้กดดันให้องค์กรต้องปรับตัว และทำให้ผู้นำต้องเปลี่ยนจาก “ผู้จัดการ” ไปเป็นผู้นำที่สามารถแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในองค์กรได้
ผู้นำแบบใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ และทำงานเชิงรุกไม่ใช่ประเภทชิมไปบ่นไป หรือแสดงความสามารถในการร้องเพลงโยสะลำ ผู้นำแบบเก่าทำงานประจำวัน ไม่ต้องมีวิสัยทัศน์ เน้นการวางแผน และคอยรอให้มีปัญหาแล้วค่อยแก้ไข
ผู้นำในยุคใหม่นี้ต้องสนใจเอาใจใส่ลูกน้อง ให้คุณค่าแก่การทำงานของลูกน้อง พัฒนาลูกน้อง เชื่อใจลูกน้องว่าสามารถตัดสินใจเองได้ ให้ลูกน้องริเริ่มทำในเรื่องสำคัญๆ ผู้นำต้องให้คนเข้าถึงได้ ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง มีการติดต่อพบปะพูดคุยกับลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงท้าทายความคิด และการปฏิบัติงานแบบเก่าๆ ส่งเสริมแนวทางการทำงานใหม่ๆ
ผู้นำต้องมีความโปร่งใส พูดจาคงเส้นคงวา ซื่อสัตย์สนใจในผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เปิดให้มีการวิจารณ์ ปรึกษาผู้อื่น และให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำจะต้องเด็ดขาดเมื่อถึงเวลา พร้อมที่จะเสี่ยง สื่อสารได้ดีสามารถหว่านล้อมชักจูงใจคนได้ มีความสามารถที่จะจัดการกับปัญหาที่ยากและซับซ้อนได้
นอกจากนี้ ผู้นำยังจะต้องสื่อสารวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ ชี้แจงเป้าหมายและภารกิจให้ชัดเจน มียุทธศาสตร์ที่แจ่มชัด และฉับไวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อองค์กร
โดยสรุปแล้วผู้นำจะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าผู้จัดการ ผู้จัดการนั้นเน้นการทำงานตามแผนให้บรรลุเป้าหมาย แต่ผู้นำ ชี้นำ พัฒนาวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ ผู้จัดการคอยดูแลโครงสร้างองค์กร งานบุคคล คอยควบคุมติดตามประเมินผลตามแผน แต่ผู้นำริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ สร้างแรงกระตุ้น และแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน
มีการกล่าวว่า “ผู้จัดการทำงานให้ถูก แต่ผู้นำทำสิ่งที่ถูกต้อง” ผู้จัดการมุ่งเน้นเสถียรภาพ การควบคุม และเอกภาพ ส่วนผู้นำเน้นการเปลี่ยนแปลง การให้อำนาจ การร่วมมือร่วมใจ เน้นเรื่องระยะยาว ยอมเสี่ยง มีนวัตกรรม เน้นยุทธศาสตร์มองภาพรวม ในขณะที่ผู้จัดการเน้นเรื่องระยะสั้น เลี่ยงความเสี่ยง รักษาสถานภาพเดิม เน้นระเบียบและรายละเอียด
เมื่อหันมามองผู้นำที่เป็นทางการของเราแล้ว แม้แต่คุณลักษณะของผู้จัดการก็ไม่มี อย่าหวังว่าจะมีลักษณะของผู้นำเลย
ที่หนักหน่อยก็คือ ยอมรับว่าเป็นตัวแทนของคนอื่นนี่นะซิ เปิดศัพท์รัฐศาสตร์เท่าไรก็ไม่พบคำว่า “nominee leader” ก็เลยไม่มีคำภาษาไทยที่เหมาะสม บางคนเลยเรียกว่า “ผู้นำรับจ้าง”
ผู้นำแบบนี้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เพราะการเมืองไทยเน้นการเมืองที่เงินเป็นใหญ่ ใครมีเงินก็จ้างได้หมด ไม่ว่าผู้นำหรือม็อบ.
มีคนพูดตลกๆ ว่าผู้นำที่ยอดที่สุดคือ โมเสส เพราะเขานำชาวยิวเดินรอนแรมในทะเลทรายอยู่หลายสิบปี เพื่อหาดินแดนของพระผู้เป็นเจ้า แล้วก็มาลงเอยที่อิสราเอลซึ่งเป็นดินแดนในตะวันออกกลางเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีน้ำมัน
ผู้นำที่เด็ดขาดนั้นคือ อเล็กซานเดอร์มหาราช มีเรื่องเล่าว่าในเมืองหนึ่ง มีเชือกหนาพันหลักเอาไว้ ชาวเมืองท้าว่าใครแก้เชือกออกมาได้จะยกเมืองให้ คนทั่วสารทิศต่างพยายามแก้ปมเชือกก็ไม่สำเร็จ อเล็กซานเดอร์ผ่านมา ยกดาบฟันฉับไปที่เชือกจนขาดกระจุย ปมนี้คือ gordian knot
หลวงวิจิตรวาทการเคยเขียนว่า ผู้นำในวรรณคดีที่เรายกย่องนั้นมักอ้อนแอ้น และทำงานสบายๆ อย่างเช่น พระรามมีความได้เปรียบพวกยักษ์แยะ แถมมีลิงคอยช่วยมากมาย และมีศรพรหมมาศน์ เวลาจะรบก็ถามพิเภกให้ดูดวงก่อน ถ้าชนะแน่จึงออกรบ หรือพระอภัยมณีก็มีปี่เป่าให้คนหลับใหล ส่วนคนจีนนั้น พระเอกในนิทานอย่างซิยิ่นกุ้ย ก็แข็งแรงบึกบึน ดังนั้นผู้นำไทยเราจึงไม่ค่อยจะเอาไหน
ผู้นำไม่ได้มีอยู่อย่างโดดๆ ต้องมีผู้ตามหรือลูกน้องด้วย ที่สำคัญก็คืออยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม หรือสภาพการณ์ที่หล่อหลอมตัวผู้นำ
ที่เราพูดถึงผู้นำกันมากนี้ก็เพราะโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ผู้นำก็ไม่ต้องเก่งมาก เพราะสามารถลองผิดลองถูกได้ ไม่ว่าผู้นำจะเก่งหรือดีเพียงใด เมื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และซับซ้อนใหญ่โตเกินความสามารถที่จะแก้ไขได้ก็ต้องพ่ายแพ้ เหมือนกรณีการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก เป็นต้น
ปัจจุบันโลกเรามีการแข่งขันที่เข้มข้น มีการติดต่อกันอย่างกว้างขวาง มีการเปิดเสรีทางการค้า การเงิน และการลงทุน การเปลี่ยนแปลงนี้กดดันให้องค์กรต้องปรับตัว และทำให้ผู้นำต้องเปลี่ยนจาก “ผู้จัดการ” ไปเป็นผู้นำที่สามารถแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในองค์กรได้
ผู้นำแบบใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ และทำงานเชิงรุกไม่ใช่ประเภทชิมไปบ่นไป หรือแสดงความสามารถในการร้องเพลงโยสะลำ ผู้นำแบบเก่าทำงานประจำวัน ไม่ต้องมีวิสัยทัศน์ เน้นการวางแผน และคอยรอให้มีปัญหาแล้วค่อยแก้ไข
ผู้นำในยุคใหม่นี้ต้องสนใจเอาใจใส่ลูกน้อง ให้คุณค่าแก่การทำงานของลูกน้อง พัฒนาลูกน้อง เชื่อใจลูกน้องว่าสามารถตัดสินใจเองได้ ให้ลูกน้องริเริ่มทำในเรื่องสำคัญๆ ผู้นำต้องให้คนเข้าถึงได้ ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง มีการติดต่อพบปะพูดคุยกับลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงท้าทายความคิด และการปฏิบัติงานแบบเก่าๆ ส่งเสริมแนวทางการทำงานใหม่ๆ
ผู้นำต้องมีความโปร่งใส พูดจาคงเส้นคงวา ซื่อสัตย์สนใจในผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เปิดให้มีการวิจารณ์ ปรึกษาผู้อื่น และให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำจะต้องเด็ดขาดเมื่อถึงเวลา พร้อมที่จะเสี่ยง สื่อสารได้ดีสามารถหว่านล้อมชักจูงใจคนได้ มีความสามารถที่จะจัดการกับปัญหาที่ยากและซับซ้อนได้
นอกจากนี้ ผู้นำยังจะต้องสื่อสารวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ ชี้แจงเป้าหมายและภารกิจให้ชัดเจน มียุทธศาสตร์ที่แจ่มชัด และฉับไวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อองค์กร
โดยสรุปแล้วผู้นำจะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าผู้จัดการ ผู้จัดการนั้นเน้นการทำงานตามแผนให้บรรลุเป้าหมาย แต่ผู้นำ ชี้นำ พัฒนาวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ ผู้จัดการคอยดูแลโครงสร้างองค์กร งานบุคคล คอยควบคุมติดตามประเมินผลตามแผน แต่ผู้นำริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ สร้างแรงกระตุ้น และแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน
มีการกล่าวว่า “ผู้จัดการทำงานให้ถูก แต่ผู้นำทำสิ่งที่ถูกต้อง” ผู้จัดการมุ่งเน้นเสถียรภาพ การควบคุม และเอกภาพ ส่วนผู้นำเน้นการเปลี่ยนแปลง การให้อำนาจ การร่วมมือร่วมใจ เน้นเรื่องระยะยาว ยอมเสี่ยง มีนวัตกรรม เน้นยุทธศาสตร์มองภาพรวม ในขณะที่ผู้จัดการเน้นเรื่องระยะสั้น เลี่ยงความเสี่ยง รักษาสถานภาพเดิม เน้นระเบียบและรายละเอียด
เมื่อหันมามองผู้นำที่เป็นทางการของเราแล้ว แม้แต่คุณลักษณะของผู้จัดการก็ไม่มี อย่าหวังว่าจะมีลักษณะของผู้นำเลย
ที่หนักหน่อยก็คือ ยอมรับว่าเป็นตัวแทนของคนอื่นนี่นะซิ เปิดศัพท์รัฐศาสตร์เท่าไรก็ไม่พบคำว่า “nominee leader” ก็เลยไม่มีคำภาษาไทยที่เหมาะสม บางคนเลยเรียกว่า “ผู้นำรับจ้าง”
ผู้นำแบบนี้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เพราะการเมืองไทยเน้นการเมืองที่เงินเป็นใหญ่ ใครมีเงินก็จ้างได้หมด ไม่ว่าผู้นำหรือม็อบ.