ที่รัฐสภา วานนี้ (6 มิ.ย.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา พร้อมด้วย น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี และนายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ได้นำรายชื่อ ส.ว. 29 คนยื่นต่อเรื่องต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ส่งคำร้อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช จากกรณีที่ จัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” และรายงการ “ยกโขยงหกโมงเช้า” ว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ที่ห้ามนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งในบริษัท
นายเรืองไกร กล่าวว่าในคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญไตร่สวนในประเด็น การเป็นพิธกรประจำเป็นผู้ดำเนินรายการ มีการจัดเตรียมล่วงหน้าพร้อมทั้งการเป็น พรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าในรายการ ชิมไปบ่นไป และยกขโยงหกโมงเช้า ที่ออกในโทรทัศน์ช่อง 5 ช่อง 3 ในช่วงดำรงตำแหน่งนายกฯของนายสมัครว่าจะเข้าข่ายเป็นการดำรงตำแหน่งใดให้กับบริษัท เฟซมีเดีย จำกัดที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือไม่
นอกจากนี้ยังขอให้ศาลดำเนินการเรียกเอกสารด้านนิติกรรมสัญญาเอกสารรับจ่ายทางบัญชี การหักบัญชีเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาคดามบทบัญญัติดัวย นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ของส.ว.ในการยื่นให้ประธานวุฒิสภา ตาม มาตรา 91 และมาตรา 92 ของรัฐธรรมนูญ เพราะจากการตรวจสอบพบว่าการจัดรายการดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างของบริษัท และการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ก็เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่นายกฯ และให้เกิดความชัดเจนในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
“หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายสมัครขาดรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวจริง ก็จะต้องลาออกจากตำแหน่ง และทำให้ ครม.ทั้งชุดก็ต้องหมดสภาพตามไปด้วย”
ด้านน.ส.สุมล กล่าวว่า การที่ส.ว.ทั้ง 29 คนเสนอเรื่องดังกล่าวไม่ได้คิด ต้องการเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูกับนายกฯ แต่ต้องการทำให้เกิดความโปร่งใสในตัวของนายกฯเองว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่อยากเห็นนายกฯใช้สื่อเพื่อพูดให้กับตัวเองหรือหมกหมุ่นแต่ฝ่ายเดียวไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชนที่ได้รับฟังแค่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงอยากให้กฎหมายชี้ไปเลยว่า ท่านทำถูกต้องหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับรายชื่อส.ว.ทั้ง 29 คนที่ร่วมลงชื่อในคำร้องดังกล่าว อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว สรรหา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา น.ส.รสนา โตสิกตระกูล ส.ว.กทม. นายวรวิทย์ บาลู ส.ว.ปัตตานี นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก นายชลิต แก้วจินดา ส.ว. สรรหา
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า ถูกต้องแล้วที่ ส.ว.ยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการจัดรายการของนายสมัคร ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งถือเป็นการทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพราะอย่างที่ได้เคยทักท้วงไปก่อนหน้านี้ว่าการมายื่นเรื่องผ่าน กกต.เป็นการเดินอ้อม เพราะผู้วินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ส.ว.เดินเส้นทางตรงนำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญถือว่าถูกต้องแล้ว
นายสมชัยยืนยันว่า ความเห็นทางกฎหมายของตนไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะปกป้องนายสมัคร แต่เป็นเพียงการทำหน้าที่เพื่อให้ทุกอย่างเดินไปตามกฎหมาย จึง ไม่อยากให้มองทำเพื่อปกป้องฝ่ายใด อย่างไรก็ตาม แม้ตนจะมีเห็นว่า กกต. ไม่มีอำนาจ ในการพิจารณากรณีคุณสมบัตินายกฯ แต่สำนวนการร้องเรียนดังกล่าวก็ยังต้องมีการนำเข้าที่ประชุม กกต.
“เรื่องนายสมัคร ยังไงต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุม กกต. ว่าจะลงมติกันอย่างไร โดย กกต.แต่ละคนก็มีความเห็นทางกฎหมายที่ต่างกันออกไป และเรื่องนี้ถ้า กกต.เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็ไม่มีปัญหา เพราะถ้ามีมติให้เข้าป่าก็ต้องเข้าป่า ผมเป็นเสียงข้างน้อยไม่มีผลอะไร แต่ที่ทักท้วงเพราะอยากให้ทำตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ไม่ได้เข้าข้างใคร และก็บังคับใครไม่ได้ คนเห็นแตกต่างกันได้แล้วแต่สติปัญญาแต่ละคน”
นายเรืองไกร กล่าวว่าในคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญไตร่สวนในประเด็น การเป็นพิธกรประจำเป็นผู้ดำเนินรายการ มีการจัดเตรียมล่วงหน้าพร้อมทั้งการเป็น พรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าในรายการ ชิมไปบ่นไป และยกขโยงหกโมงเช้า ที่ออกในโทรทัศน์ช่อง 5 ช่อง 3 ในช่วงดำรงตำแหน่งนายกฯของนายสมัครว่าจะเข้าข่ายเป็นการดำรงตำแหน่งใดให้กับบริษัท เฟซมีเดีย จำกัดที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือไม่
นอกจากนี้ยังขอให้ศาลดำเนินการเรียกเอกสารด้านนิติกรรมสัญญาเอกสารรับจ่ายทางบัญชี การหักบัญชีเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาคดามบทบัญญัติดัวย นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเอกสิทธิ์ของส.ว.ในการยื่นให้ประธานวุฒิสภา ตาม มาตรา 91 และมาตรา 92 ของรัฐธรรมนูญ เพราะจากการตรวจสอบพบว่าการจัดรายการดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างของบริษัท และการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ก็เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่นายกฯ และให้เกิดความชัดเจนในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
“หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายสมัครขาดรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวจริง ก็จะต้องลาออกจากตำแหน่ง และทำให้ ครม.ทั้งชุดก็ต้องหมดสภาพตามไปด้วย”
ด้านน.ส.สุมล กล่าวว่า การที่ส.ว.ทั้ง 29 คนเสนอเรื่องดังกล่าวไม่ได้คิด ต้องการเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูกับนายกฯ แต่ต้องการทำให้เกิดความโปร่งใสในตัวของนายกฯเองว่าทำผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่อยากเห็นนายกฯใช้สื่อเพื่อพูดให้กับตัวเองหรือหมกหมุ่นแต่ฝ่ายเดียวไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชนที่ได้รับฟังแค่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงอยากให้กฎหมายชี้ไปเลยว่า ท่านทำถูกต้องหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับรายชื่อส.ว.ทั้ง 29 คนที่ร่วมลงชื่อในคำร้องดังกล่าว อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว สรรหา นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา น.ส.รสนา โตสิกตระกูล ส.ว.กทม. นายวรวิทย์ บาลู ส.ว.ปัตตานี นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก นายชลิต แก้วจินดา ส.ว. สรรหา
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า ถูกต้องแล้วที่ ส.ว.ยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการจัดรายการของนายสมัคร ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งถือเป็นการทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพราะอย่างที่ได้เคยทักท้วงไปก่อนหน้านี้ว่าการมายื่นเรื่องผ่าน กกต.เป็นการเดินอ้อม เพราะผู้วินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ส.ว.เดินเส้นทางตรงนำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญถือว่าถูกต้องแล้ว
นายสมชัยยืนยันว่า ความเห็นทางกฎหมายของตนไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะปกป้องนายสมัคร แต่เป็นเพียงการทำหน้าที่เพื่อให้ทุกอย่างเดินไปตามกฎหมาย จึง ไม่อยากให้มองทำเพื่อปกป้องฝ่ายใด อย่างไรก็ตาม แม้ตนจะมีเห็นว่า กกต. ไม่มีอำนาจ ในการพิจารณากรณีคุณสมบัตินายกฯ แต่สำนวนการร้องเรียนดังกล่าวก็ยังต้องมีการนำเข้าที่ประชุม กกต.
“เรื่องนายสมัคร ยังไงต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุม กกต. ว่าจะลงมติกันอย่างไร โดย กกต.แต่ละคนก็มีความเห็นทางกฎหมายที่ต่างกันออกไป และเรื่องนี้ถ้า กกต.เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ผมก็ไม่มีปัญหา เพราะถ้ามีมติให้เข้าป่าก็ต้องเข้าป่า ผมเป็นเสียงข้างน้อยไม่มีผลอะไร แต่ที่ทักท้วงเพราะอยากให้ทำตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ไม่ได้เข้าข้างใคร และก็บังคับใครไม่ได้ คนเห็นแตกต่างกันได้แล้วแต่สติปัญญาแต่ละคน”