เอเอฟพี/รอยเตอร์ – นายกรัฐมนตรีเควิน รัดด์แห่งออสเตรเลีย ออกมาเรียกร้องให้มีการก่อตั้งกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก คล้ายคลึงกับรูปแบบของสหภาพยุโรปภายในปี 2020 และจะไปหยั่งเสียงก่อนที่ญี่ปุ่นและอินโดนีเซียในเดือนนี้ แต่นักวิชาการเห็นว่าข้อเสนอของเขาจะเป็นจริงได้ขึ้นอยู่กับว่าจีนจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
รัดด์เปิดเผยแผนการก่อตั้งประชาคมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิกเมื่อคืนวันพุธ(4) ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ต่อเอเชีย โซไซตี้ ออสเตรลาเชีย ที่ซิดนีย์ ซึ่งถือเป็นแนวคิดริเริ่มครั้งใหญ่เกี่ยวกับเอเชียของเขา นับตั้งแต่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
“ผมเชื่อว่านี่เป็นเวลาที่เราจะต้องเริ่มคิดว่า เราต้องการจะให้โครงสร้างของภูมิภาคของเราเป็นอย่างไรภายในปี 2020 นี้ เราต้องมีวิสัยทัศน์สำหรับประชาคมความร่วมมือเอเชียแปซิฟิก” รัดด์กล่าวและบอกด้วยว่าโลกควรเรียนรู้จากยุโรปที่ซึ่งการเกลียดชังเป็นศัตรํกันมานานหลายร้อยปี ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความร่วมมือกันในระดับข้ามชาติ
“ความสำคัญนั้นอยู่ที่การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือในระดับภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้ยังคงแยกกระจัดกระจายกันอยู่” รัดด์ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเกี่ยวกับแนวคิดของเขาเพิ่มเติม
“ตอนนี้ภูมิภาคนี้มีความขัดแย้งที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้มากมายอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน, ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ รวมทั้งกรณีของแคชเมียร์ ซึ่งรัฐเหล่านี้ต่างมีอาวุธนิวเคลียร์กันทั้งสิ้น”
“เราอาจจะ ยืนดูเฉย ๆและปล่อยให้ทุกสิ่งผ่านไปอย่างไร้จุดหมาย แต่เราก็สามารถพูดว่ามันมีวิธีการดีกว่าที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนี่ก็คือข้อเสนอที่ยิ่งใหญ่สำหรับอนาคตของเราเอง”
รัดด์เป็นนักการทูตมือเก่าซึ่งสามารถพูดภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่วและมีสายสัมพันธ์กับจีนค่อนข้างมาก บรรดานักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าเขาจะไม่นำเสนอแนวคิดประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกต่อที่สาธารณะ หากว่าไม่ได้รับการสนับสนุนเป็นการส่วนตัวจากผู้นำที่มีอิทธิพลหลายราย
“กุญแจสำคัญที่สุดก็คือ จีน และรองลงก็คือ อินโดนีเซีย เพราะว่าทั้งสองประเทศนี้ถือเป็นผู้มีอำนาจต่อรองสำคัญในภูมิภาคนี้” อลิสัน โบรอินอว์สกี จากศูนย์เอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว
“หากว่ารัดด์ได้รับการสนับสนุนจากจีนในเรื่องนี้ มันก็จะเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ แต่ถ้าไม่ ก็คงเป็นความเคลื่อนไหวที่บ้าบิ่นมาก”
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่าการก่อรูปประชาคมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิกน่าจะเผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านการทูตและความมั่นคง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการรวมเอาสหรัฐฯเข้ามาด้วย แต่การนำเอากลุ่มนโยบายในภูมิภาคอย่างเช่น อาเซียน เอเปก และกลุ่มประเทศสังกัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเข้ามา รวมทั้งกลุ่มย่อย ๆในระดับภูมิภาคอื่น ๆ อาจทำให้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ
“เอเชียยังคงไม่เห็นพ้องต้องกันว่าประเด็นใดควรจะมีความสำคัญสูงสุดที่จะมาหารือร่วมกัน หรือแสดงปฏิกิริยาร่วมกันเพื่อโต้ตอบกับภูมิภาคอื่น ๆของโลกที่ได้แสดงท่าทีต่อเอเชียออกมาในด้านต่าง ๆ” ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรายสเดลจากวิทยาลัยเอเชียและแปซิฟิก ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียชี้
“และนี่นับเป็นจุดอ่อนที่สำคัญการร่วมมือกันเพื่อจัดการกับประเด็นใหญ่ต่าง ๆของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า, การเงิน, สิ่งแวดล้อม และการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน” ดรายสเดลกล่าว
เขาบอกด้วยว่าเอเชียมีความห่างไกลกันทางการทูตซึ่งทำให้เวทีเจรจาด้านการเมืองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เขายกตัวอย่างเช่น การรวมอินเดียเข้าไปในกลุ่มประเทศประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และไม่รวมอินเดียในเอเปก ส่วนสหรัฐฯนั้นเป็นสมาชิกของเอเปกแต่ไม่รวมอยู่ในกลุ่มประเทศการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นต้น
“ผมคิดว่ารัดด์ได้หยิบยกประเด็นที่ทุกคนกำลังเริ่มคิดถึงกันขึ้นมา” ดรายเดลกล่าว
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรียาสึโอะ ฟุคุดะ แห่งญี่ปุ่นก็ได้เผยแนวคิดของเขาที่จะเชื่อมโยงเอเชีย-แปซิฟิกเข้าด้วยกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยการเพิ่มความเชื่อใจกันระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในอนาคตภูมิภาคนี้จะมีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอยู่ถึง 10 ประเทศ แต่กลับไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดแนวคิดของฟุกุดะออกมาว่าจะทำอย่างไร
“ตอนนี้ทุกคนก็อยากจะเป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดกันทั้งนั้น” เคนอิชิ ทากะยะสึ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากศูนย์ศึกษาธุรกิจแปซิฟิกซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยแห่งญี่ปุ่น
“มันก็คงจะดีหากว่ามีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน แต่คนคงไม่อยากให้ไปไกลกว่านั้นแน่นอน” เขากล่าว
ส่วนโบรอินอว์สกี้กล่าวว่าเธอประหลาดใจที่รัดด์ “หงายไพ่ใบสหรัฐฯ” ด้วยการนำเอาสหรัฐฯเข้ามาร่วมในประชาคมเอเชีย-แปซิฟิก เพราะว่าอาจทำให้ประเทศในเอเชียบางส่วนไม่พอใจ
รัดด์เปิดเผยแผนการก่อตั้งประชาคมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิกเมื่อคืนวันพุธ(4) ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ต่อเอเชีย โซไซตี้ ออสเตรลาเชีย ที่ซิดนีย์ ซึ่งถือเป็นแนวคิดริเริ่มครั้งใหญ่เกี่ยวกับเอเชียของเขา นับตั้งแต่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
“ผมเชื่อว่านี่เป็นเวลาที่เราจะต้องเริ่มคิดว่า เราต้องการจะให้โครงสร้างของภูมิภาคของเราเป็นอย่างไรภายในปี 2020 นี้ เราต้องมีวิสัยทัศน์สำหรับประชาคมความร่วมมือเอเชียแปซิฟิก” รัดด์กล่าวและบอกด้วยว่าโลกควรเรียนรู้จากยุโรปที่ซึ่งการเกลียดชังเป็นศัตรํกันมานานหลายร้อยปี ได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นความร่วมมือกันในระดับข้ามชาติ
“ความสำคัญนั้นอยู่ที่การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือในระดับภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้ยังคงแยกกระจัดกระจายกันอยู่” รัดด์ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเกี่ยวกับแนวคิดของเขาเพิ่มเติม
“ตอนนี้ภูมิภาคนี้มีความขัดแย้งที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้มากมายอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน, ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ รวมทั้งกรณีของแคชเมียร์ ซึ่งรัฐเหล่านี้ต่างมีอาวุธนิวเคลียร์กันทั้งสิ้น”
“เราอาจจะ ยืนดูเฉย ๆและปล่อยให้ทุกสิ่งผ่านไปอย่างไร้จุดหมาย แต่เราก็สามารถพูดว่ามันมีวิธีการดีกว่าที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งนี่ก็คือข้อเสนอที่ยิ่งใหญ่สำหรับอนาคตของเราเอง”
รัดด์เป็นนักการทูตมือเก่าซึ่งสามารถพูดภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่วและมีสายสัมพันธ์กับจีนค่อนข้างมาก บรรดานักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าเขาจะไม่นำเสนอแนวคิดประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกต่อที่สาธารณะ หากว่าไม่ได้รับการสนับสนุนเป็นการส่วนตัวจากผู้นำที่มีอิทธิพลหลายราย
“กุญแจสำคัญที่สุดก็คือ จีน และรองลงก็คือ อินโดนีเซีย เพราะว่าทั้งสองประเทศนี้ถือเป็นผู้มีอำนาจต่อรองสำคัญในภูมิภาคนี้” อลิสัน โบรอินอว์สกี จากศูนย์เอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว
“หากว่ารัดด์ได้รับการสนับสนุนจากจีนในเรื่องนี้ มันก็จะเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ แต่ถ้าไม่ ก็คงเป็นความเคลื่อนไหวที่บ้าบิ่นมาก”
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่าการก่อรูปประชาคมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิกน่าจะเผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านการทูตและความมั่นคง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการรวมเอาสหรัฐฯเข้ามาด้วย แต่การนำเอากลุ่มนโยบายในภูมิภาคอย่างเช่น อาเซียน เอเปก และกลุ่มประเทศสังกัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเข้ามา รวมทั้งกลุ่มย่อย ๆในระดับภูมิภาคอื่น ๆ อาจทำให้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ
“เอเชียยังคงไม่เห็นพ้องต้องกันว่าประเด็นใดควรจะมีความสำคัญสูงสุดที่จะมาหารือร่วมกัน หรือแสดงปฏิกิริยาร่วมกันเพื่อโต้ตอบกับภูมิภาคอื่น ๆของโลกที่ได้แสดงท่าทีต่อเอเชียออกมาในด้านต่าง ๆ” ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรายสเดลจากวิทยาลัยเอเชียและแปซิฟิก ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียชี้
“และนี่นับเป็นจุดอ่อนที่สำคัญการร่วมมือกันเพื่อจัดการกับประเด็นใหญ่ต่าง ๆของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า, การเงิน, สิ่งแวดล้อม และการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน” ดรายสเดลกล่าว
เขาบอกด้วยว่าเอเชียมีความห่างไกลกันทางการทูตซึ่งทำให้เวทีเจรจาด้านการเมืองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เขายกตัวอย่างเช่น การรวมอินเดียเข้าไปในกลุ่มประเทศประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และไม่รวมอินเดียในเอเปก ส่วนสหรัฐฯนั้นเป็นสมาชิกของเอเปกแต่ไม่รวมอยู่ในกลุ่มประเทศการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นต้น
“ผมคิดว่ารัดด์ได้หยิบยกประเด็นที่ทุกคนกำลังเริ่มคิดถึงกันขึ้นมา” ดรายเดลกล่าว
เมื่อเดือนที่แล้ว นายกรัฐมนตรียาสึโอะ ฟุคุดะ แห่งญี่ปุ่นก็ได้เผยแนวคิดของเขาที่จะเชื่อมโยงเอเชีย-แปซิฟิกเข้าด้วยกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ด้วยการเพิ่มความเชื่อใจกันระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในอนาคตภูมิภาคนี้จะมีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอยู่ถึง 10 ประเทศ แต่กลับไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดแนวคิดของฟุกุดะออกมาว่าจะทำอย่างไร
“ตอนนี้ทุกคนก็อยากจะเป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดกันทั้งนั้น” เคนอิชิ ทากะยะสึ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากศูนย์ศึกษาธุรกิจแปซิฟิกซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยแห่งญี่ปุ่น
“มันก็คงจะดีหากว่ามีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน แต่คนคงไม่อยากให้ไปไกลกว่านั้นแน่นอน” เขากล่าว
ส่วนโบรอินอว์สกี้กล่าวว่าเธอประหลาดใจที่รัดด์ “หงายไพ่ใบสหรัฐฯ” ด้วยการนำเอาสหรัฐฯเข้ามาร่วมในประชาคมเอเชีย-แปซิฟิก เพราะว่าอาจทำให้ประเทศในเอเชียบางส่วนไม่พอใจ