คตส.มีมติฟ้อง"สุริยะ-ศรีสุข-สมชัย" คดีฮั้วประมูลท่อร้อยสาย สั่งฟัน"ทักษิณ" กับลูกโอ๊ค พร้อมพวก รวมทั้งเลขาฯหญิงอ้อ-พ่อศิธา คดีปล่อยกู้แบงก์กรุงไทยให้บริษัทในเครือกฤษฎามหานครกว่า 1 หมื่นล้าน ระบุพร้อมส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วัน
วานนี้( 2 มิ.ย.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) แถลงภายหลังการประชุมใหญ่คระกรรมการ คตส.ว่า ที่ประชุมมีมติสั่งฟ้องนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาม และประธานบทม. และพล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม.รักษาการกรรมการใหญ่ผู้จัดการใหญ่ บทม.และเลขานุการคณะกรรมการ บทม. ในข้อหาทุจริตโครงการระบบจ่ายไฟ และเครือข่ายท่อร้อยสายอากาศยานสุวรรณภูมิ
นายสัก กล่าวว่า ผลการไต่สวนของ คตส.พบว่า บทม. ได้ว่าจ้างบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เพอรี่ จำกัด) และบริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ทำการออกระบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายฯ ตามสัญญาเลขที่ SBIA 5/2539 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 ผู้รับจ้างได้ออกแบบเบื้องต้น (PRELIMINARY DESIGN) และ บทม. ได้อนุมัติให้มีการรับแบบ เมื่อวันที่ 18 ส.ค.40 โดยในแบบเบื้องต้นได้ออกแบบตาม TOR กำหนด คือ ได้กำหนดให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็น PVC หรือ HDPE หุ้มด้วยคอนกรีต
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มี.ค.41 บริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ได้ถอนตัวจากการรับจ้างออกแบบโดยทำหนังสือเป็นข้อตกลงกับบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด ดังนั้น บริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบระบบและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการจ่ายไฟฟ้า และเครือข่ายท่อร้อยสายฯ แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ โดยนายมงคล แน่งน้อย นายจำเนียร ฝั่นระหันต์ วิศวกรของบริษัทผู้ออกแบบ ได้ร่วมกับนายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟลูอิดโฮดิ้ง จำกัด ตัวแทนจำหน่ายขายท่อยี่ห้อ FRE (นำเข้าจากประเทศแคนาดา) ได้ร่วมมือกันเขียนแบบร่วมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา (TENDER DOCUMENT) โดยใช้สเปกของท่อยี่ห้อ FRE ซึ่งเป็นท่อไฟเบอร์กลาสฝังตรง ไม่หุ้มคอนกรีต เป็นแบบและเป็นข้อกำหนดในการประกวดราคาจ้างเหมาโครงการระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งในการประกวดราคาได้กำหนดให้ใช้ท่อที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศไทย
ต่อมานายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ได้ก่อตั้งบริษัท ไทยคอมโพสิทจำกัด และบริษัท จี อาร์ อี คอมโพสิท จำกัด ผลิตและจำหน่ายท่อร้อยสายไฟฟ้ายี่ห้อ GRE โดยมีสเปกและคุณสมบัติเช่นเดียวกับยี่ห้อ FRE ของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นท่อยี่ห้อเดียวที่สามารถนำมาใช้ก่อสร้างในโครงการดังกล่าวได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ บทม.รู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือ ที่ ตผ 0044/9341 ลงวันที่ 10ต.ค.45 ถึง รมว.คมนาคม ให้ประกอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการประกวดราคาของบทม.ไม่เปิดกว้าง และหนังสือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3485 ลงวันที่ 10 ก.ย. 45 ถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ว่าได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่า การออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการจัดหางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว "มีลักษณะเจาะจง ไม่เปิดกว้าง" แต่ทั้งสองกลับไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กลับปล่อยให้มีการดำเนินการจนก่อให้เกิดความเสียหายกับ บทม.
นายสัก กล่าวว่า ผลการพิจารณาคดีของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้พิจารณาแล้วมีมติ เห็นชอบร่วมกันว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3941 ลงวันที่ 10 ต.ค. 45แต่ไม่ได้ดำเนินการสั่งการใดๆ จนล่วงเลยวันเปิดซองและวันพิจารณาการประกวดราคา ทำให้ทางราชการเสียหาย
ดังนั้น การกระทำของรมว.คมนาคม จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม.ในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ0004/3485 ลงวันที่ 10 ก.ย. 45 แจ้งว่าการออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการจัดหางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว "มีลักษณะเจาะจง ไม่เปิดกว้าง" ซึ่งก็คือการล็อกสเปก กลับละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคา ในโครงการนี้
นายสัก กล่าวว่า การกระทำของนายศรีสุข ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม. จึงมีมูลความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 147 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วน พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม. รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม.และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ บทม. ในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติและพิจารณาเกี่ยวกับการออกแบบและ เสนอราคาการประมูลในโครงการนี้ รับรู้ข้อเท็จจริงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ไม่ปรับเปลี่ยนราคากลาง และโดยไม่เลื่อนกำหนดวันเปิดซองประกวดราคา จากวันที่ 29 ต.ค. 45 ออกไปก่อน จึงถือว่าเป็นการกำหนดเงื่อนไขอันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการเสนอราคา อย่างเป็นธรรมโดยทุจริต ทั้งมีลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม
"การกระทำของรองประธานกรรมการ บทม.,รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ บทม. มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 และ 11 และพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83
สำหรับในส่วนของคณะกรรมการตรวจการจ้างออกแบบนั้น นายสัก กล่าวว่า ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบท่อมาโดยตลอด แต่มีมติตรวจรับแบบจึงมีมูลความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 และ 11 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83 ประกอบด้วย นายจรัล พลเสน ในฐานะประธานกรรมการตรวจการจ้างงานออกแบบและจัดทำเอกสารประกวดราคา นายเพิ่มศักดิ์ พัฒนพงษ์ นายอดิเทพ นาคะวิสุทธิ์
ยกเว้น เรืออากาศเอก สมหมาย ฉัตรเท เรืออากาศโท ประสิทธิพร เรืองฉาย นายวิสิฏฐ์ บาลี และนายอมฤต ทองสิริประภา ซึ่งร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างออกแบบแต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง เรื่องการเปลี่ยนแปลงชนิดของท่อจาก PVC หุ้มคอนกรีตเป็นท่อชนิด FRE. ฝังตรงมาก่อน จึงให้ ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนคณะกรรมการกำหนดราคากลาง คตส.เห็นควรให้ดำเนินคดีเฉพาะประธานกรรมการกำหนดราคากลาง เนื่องจากทราบข้อเท็จจริง ว่าการเปลี่ยนแปลงวัสดุมีผลกระทบถึงราคากลางที่เปลี่ยนแปลงไปรวม 2 ครั้ง เป็นราคาลดลงถึงเกือบ 80,000,000 บาท แต่ไม่เคยแจ้งหรือสั่งการให้มีการทบทวนราคากลางดังกล่าวแต่อย่างใด
การกระทำ ของประธานกรรมการกำหนดราคากลาง มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 และ 11 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ตาม มาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วนการกระทำของคณะกำหนดราคากลางคนอื่นประกอบด้วย นายสุรจิต สุรพลชัย นายสุรธัส สุธรรมมนัส และนางสุชาดา ซ่อนเจริญ พยานหลักฐานที่ปรากฏยังไม่เพียงพอรับฟังว่ามีมูลความผิดทางอาญา จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
โฆษกคตส. ยังกล่าวอีกว่า กลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายท่อ และผู้ทำการแทน ประกอบด้วย นายประสงค์ เพิ่มอารยวงศ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษษัทฟลูอิด โฮลดิ้งจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยคอมโพสิทจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัท จีอาร์อี คอมโพสิทจำกัด และบริษัทประกอบด้วย บริษัท ฟลูอิด โฮลดิ้ง บริษัท จีอาร์อี คอมโพสิท จำกัด ในฐานะเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้ายี่ห้อ จีอาร์อี นั้นจะมีมูลความผิดอาญาฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตาม มาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86
สำหรับกลุ่มผู้ออกแบบประกอบด้วย นายมงคล แน่งน้อย ผู้จัดการโครงการของบริษัทอิเลคโทรวัตต์ คอนเซ้าติ้ง เซอร์วิสเซสประเทศไทยจำกัด หรือบริษัท เพอรี่อินฟรา จำกัด และบริษัทอิเลคโทรวัตต์ในฐานะผู้ออกแบบจ้างเหมาก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสาย พบว่ามีการกระทำในลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่น และให้ประโยชน์กับบริษัทผู้จำหน่ายท่อตามข้อ 6 จึงมีความผิดอาญา ฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83และมาตรา 86
ในส่วนของนายจำเนียร ฝั่นระหันต์ ในฐานะผู้รับผิดชอบร่วมออกแบบระบบท่อร้อยสายไฟฟ้าฯ พยานหลักฐานตามที่ปรากฏยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า มีเจตนาทุจริต หรือร่วมรู้เห็น จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
**เชือดแม้วคดีปล่อยกู้กฤษฎามหานคร
นายสัก กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติดำเนินการสั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาในคดีการอนุมัติเงินกู้ของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ให้แก่บริษัทในเครือกฤษฎามหานครจำนวน 6 กลุ่ม 31 ราย ประกอบด้วย กลุ่มนักการเมืองกับพวก มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย นางกาญจนภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายวันชัย หงษ์เหิน และนายมานพ ทิวารี (บิดา น.ต.ศิธา ทิวารี)
กลุ่มคณะกรรมการบริหารธนาคาร ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ์ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ และกรรมการบริหารนายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา กรรมการบริหาร
กลุ่มคณะกรรมการสินเชื่อ ประกอบด้วย นายพงศธร ศิริโยธิน ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส คณะกรรมการสินเชื่อ นายนรินทร์ ดรุนัยธร นางนงนุช เทียรไพฑูรย์ นายโสมนัส ชุติมา นายสุวิทย์ อุดมทรัพย์ นายวันชัย ธนิตตริราภรณ์ นายบุญเลิศ ศรีเจริญ
ส่วนกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย นายประพันธ์พงศ์ ปราโมทย์กุล ตำแหน่งหัวหน้าส่วนปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางกุลวดี สุวรรณวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางสุวรัตน์ ธรรมรัตนนพคุณ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติหน้าที่บริหารงานธุรกิจสัมพันธ์ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นายประวิทย์ อดีตโต ผู้อำนวยการธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางศิริวรรณ ชินอิสระยศ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายไพโรจน์ รัตนโสภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายอาวุโส และผู้บริหารสายงานสินเชื่อภาคเหนือ และนครหลวงตะวันตก
กลุ่มนิติบุคล ประกอบด้วย บริษัทอาร์เค โปรเฟสชั่นนัลจำกัด และบริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียลพาร์คจำกัด โดยนายบัญชา ยินดี นายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา บริษัท กฤษฎามหานครจำกัด โดยนางปรานอม แสงสุวรรณเมฆา นายธเนศวร สิงคาลวณิช นายรัชฎา กฤษฎาธานนท์ บริษัทโบนัส บอนด์ จำกัด โดยนายชุมพร เกิดไพบูลย์รัตน์ บริษัทแกรนคอมพิวเตอร์แอนด์ คอมมูนิเวชั่น โดยนายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา และสุดท้ายกลุ่มผู้แทนนิติบุคคลเป็นการส่วนตัวประกอบด้วย นายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา นายบัญชา ยินดี นายวิชัย กฤษฎาธานนท์ ตำแหน่งผู้ถือหุ้นแลผู้บริหารของกลุ่มบมจ. กฤษฎามหานคร นายรัชฎา กฤษฎาธานนท์ และนายไมตรี เหลืองนิมิตรมาก
นายสัก กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดมีความผิดฐานร่วมกันและสนับสนุนในการกระทำผิด อันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฎิบัติ หรือ ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายกับธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้นและประชาชนข้อหาปฎิบัติ หรือละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้น และประชาชนผู้ฝากเงิน และเป็นการให้ความช่วยเหลือ ให้ความสะดวกในการกระทำผิดอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กร หรือในหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาตรา 8 มาตรา11 พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 มาตรา 46 นว พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 มาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 ,313 314 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 85 ,91 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 ,157,352,353,354 ประกอบมาตรา 83,84,86
**ลูกโอ๊ค-พ่อศิธาเจอข้อหารับของโจร
นายสัก กล่าวว่า ในส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบด้วย นายพานทองแท้ นางกาญจนภา นายวันชัย และนายมานพ จะถูกแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ฐานรับของโจร แม้ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด แต่ได้รับเงินที่ได้จากการกระทำความผิดฐานยักยอก โดย คตส.จะแยกส่งสำนวนดำเนินคดีไปที่ ศาลอาญา ซึ่งทั้ง 4 คน จะต้องคืนเงินทั้งหมด หลังจากศาลอาญาพิพากษาคดีจนถึงที่สิ้นสุด
ส่วนคุณหญิงพจมาน ชินวัตร คตส. มีมติไม่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่าไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
นายสัก ยังกล่าวอีกว่า การอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐให้กับบริษัทในเครือกฤษฎามหานคร และเป็นบริษัทที่มีสถานะเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และถูกจัดอันดับความเชื่อให้อยู่ใน อันดับที่ 5 คือ ไม่สามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ได้ แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงสถานะการจัดลำดับความน่าเชื่อถือให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 คือ มีความเชื่อที่พอยอมรับได้ โดยการอนุมัติสินเชื่อในลักษณะดังกล่าวไม่คุ้มค่ากับการปล่อยเงินกู้ จนทำให้เกิดความเสียหายกับธนาคารกรุงไทย ประกอบด้วยการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนอล วงเงิน 500 ล้านบาท โดยพบว่า ไม่ได้นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ แต่กลับมีการโอนให้กับผุ้บริหารของ บริษัทกฤษฎามหานคร และพวกนอกจากนี้ยังมีการ อนุมัติสินเชื่อ รีไฟแนนซ์ บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี 9,900 ล้านบาท และการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทแกรนด์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 1,185 ล้านบาท ถือเป็นการกระการโดยทุจริตเพื่อฟื้นฟูกิจการบริษัทในเครือ กฤษฎามหานคร รวมความเสียหายทั้งสิ้น 11,585 ล้านบาท
นายสักกล่าวว่า ทั้ง 2 คดี คตส.จะสรุปสำนวนสั่งใหอัยการสูงสุดได้ภายใน 14 วัน หลังจากมีมติ และในวันศุกร์ที่ 6 มิ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานร่วม คตส.กับ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสำนวนและการรับช่วงต่อในคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของ คตส.ทั้งหมดก่อนที่จะหมดวาระในวันที่ 30 มิ.ย. นี้
วานนี้( 2 มิ.ย.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) แถลงภายหลังการประชุมใหญ่คระกรรมการ คตส.ว่า ที่ประชุมมีมติสั่งฟ้องนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตปลัดกระทรวงคมนาม และประธานบทม. และพล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม.รักษาการกรรมการใหญ่ผู้จัดการใหญ่ บทม.และเลขานุการคณะกรรมการ บทม. ในข้อหาทุจริตโครงการระบบจ่ายไฟ และเครือข่ายท่อร้อยสายอากาศยานสุวรรณภูมิ
นายสัก กล่าวว่า ผลการไต่สวนของ คตส.พบว่า บทม. ได้ว่าจ้างบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เพอรี่ จำกัด) และบริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ทำการออกระบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายฯ ตามสัญญาเลขที่ SBIA 5/2539 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 ผู้รับจ้างได้ออกแบบเบื้องต้น (PRELIMINARY DESIGN) และ บทม. ได้อนุมัติให้มีการรับแบบ เมื่อวันที่ 18 ส.ค.40 โดยในแบบเบื้องต้นได้ออกแบบตาม TOR กำหนด คือ ได้กำหนดให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็น PVC หรือ HDPE หุ้มด้วยคอนกรีต
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มี.ค.41 บริษัท เฟลโลว์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ได้ถอนตัวจากการรับจ้างออกแบบโดยทำหนังสือเป็นข้อตกลงกับบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซล จำกัด ดังนั้น บริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบระบบและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการจ่ายไฟฟ้า และเครือข่ายท่อร้อยสายฯ แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาบริษัท อีเล็คโทรวัตต์ฯ โดยนายมงคล แน่งน้อย นายจำเนียร ฝั่นระหันต์ วิศวกรของบริษัทผู้ออกแบบ ได้ร่วมกับนายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟลูอิดโฮดิ้ง จำกัด ตัวแทนจำหน่ายขายท่อยี่ห้อ FRE (นำเข้าจากประเทศแคนาดา) ได้ร่วมมือกันเขียนแบบร่วมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา (TENDER DOCUMENT) โดยใช้สเปกของท่อยี่ห้อ FRE ซึ่งเป็นท่อไฟเบอร์กลาสฝังตรง ไม่หุ้มคอนกรีต เป็นแบบและเป็นข้อกำหนดในการประกวดราคาจ้างเหมาโครงการระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งในการประกวดราคาได้กำหนดให้ใช้ท่อที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศไทย
ต่อมานายประสงค์ เพิ่มอริยวงศ์ ได้ก่อตั้งบริษัท ไทยคอมโพสิทจำกัด และบริษัท จี อาร์ อี คอมโพสิท จำกัด ผลิตและจำหน่ายท่อร้อยสายไฟฟ้ายี่ห้อ GRE โดยมีสเปกและคุณสมบัติเช่นเดียวกับยี่ห้อ FRE ของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นท่อยี่ห้อเดียวที่สามารถนำมาใช้ก่อสร้างในโครงการดังกล่าวได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ บทม.รู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือ ที่ ตผ 0044/9341 ลงวันที่ 10ต.ค.45 ถึง รมว.คมนาคม ให้ประกอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการประกวดราคาของบทม.ไม่เปิดกว้าง และหนังสือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3485 ลงวันที่ 10 ก.ย. 45 ถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ว่าได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่า การออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการจัดหางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว "มีลักษณะเจาะจง ไม่เปิดกว้าง" แต่ทั้งสองกลับไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กลับปล่อยให้มีการดำเนินการจนก่อให้เกิดความเสียหายกับ บทม.
นายสัก กล่าวว่า ผลการพิจารณาคดีของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้พิจารณาแล้วมีมติ เห็นชอบร่วมกันว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/3941 ลงวันที่ 10 ต.ค. 45แต่ไม่ได้ดำเนินการสั่งการใดๆ จนล่วงเลยวันเปิดซองและวันพิจารณาการประกวดราคา ทำให้ทางราชการเสียหาย
ดังนั้น การกระทำของรมว.คมนาคม จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม.ในขณะนั้น ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ0004/3485 ลงวันที่ 10 ก.ย. 45 แจ้งว่าการออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการจัดหางานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายดังกล่าว "มีลักษณะเจาะจง ไม่เปิดกว้าง" ซึ่งก็คือการล็อกสเปก กลับละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคา ในโครงการนี้
นายสัก กล่าวว่า การกระทำของนายศรีสุข ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการ บทม. จึงมีมูลความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 147 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วน พล.อ.สมชัย สมประสงค์ รองประธานกรรมการ บทม. รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม.และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ บทม. ในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติและพิจารณาเกี่ยวกับการออกแบบและ เสนอราคาการประมูลในโครงการนี้ รับรู้ข้อเท็จจริงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ไม่ปรับเปลี่ยนราคากลาง และโดยไม่เลื่อนกำหนดวันเปิดซองประกวดราคา จากวันที่ 29 ต.ค. 45 ออกไปก่อน จึงถือว่าเป็นการกำหนดเงื่อนไขอันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการเสนอราคา อย่างเป็นธรรมโดยทุจริต ทั้งมีลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม
"การกระทำของรองประธานกรรมการ บทม.,รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ บทม. มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 และ 11 และพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83
สำหรับในส่วนของคณะกรรมการตรวจการจ้างออกแบบนั้น นายสัก กล่าวว่า ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบท่อมาโดยตลอด แต่มีมติตรวจรับแบบจึงมีมูลความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 และ 11 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83 ประกอบด้วย นายจรัล พลเสน ในฐานะประธานกรรมการตรวจการจ้างงานออกแบบและจัดทำเอกสารประกวดราคา นายเพิ่มศักดิ์ พัฒนพงษ์ นายอดิเทพ นาคะวิสุทธิ์
ยกเว้น เรืออากาศเอก สมหมาย ฉัตรเท เรืออากาศโท ประสิทธิพร เรืองฉาย นายวิสิฏฐ์ บาลี และนายอมฤต ทองสิริประภา ซึ่งร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างออกแบบแต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง เรื่องการเปลี่ยนแปลงชนิดของท่อจาก PVC หุ้มคอนกรีตเป็นท่อชนิด FRE. ฝังตรงมาก่อน จึงให้ ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนคณะกรรมการกำหนดราคากลาง คตส.เห็นควรให้ดำเนินคดีเฉพาะประธานกรรมการกำหนดราคากลาง เนื่องจากทราบข้อเท็จจริง ว่าการเปลี่ยนแปลงวัสดุมีผลกระทบถึงราคากลางที่เปลี่ยนแปลงไปรวม 2 ครั้ง เป็นราคาลดลงถึงเกือบ 80,000,000 บาท แต่ไม่เคยแจ้งหรือสั่งการให้มีการทบทวนราคากลางดังกล่าวแต่อย่างใด
การกระทำ ของประธานกรรมการกำหนดราคากลาง มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหาพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 และ 11 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ตาม มาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 และมาตรา 83
ส่วนการกระทำของคณะกำหนดราคากลางคนอื่นประกอบด้วย นายสุรจิต สุรพลชัย นายสุรธัส สุธรรมมนัส และนางสุชาดา ซ่อนเจริญ พยานหลักฐานที่ปรากฏยังไม่เพียงพอรับฟังว่ามีมูลความผิดทางอาญา จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
โฆษกคตส. ยังกล่าวอีกว่า กลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายท่อ และผู้ทำการแทน ประกอบด้วย นายประสงค์ เพิ่มอารยวงศ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษษัทฟลูอิด โฮลดิ้งจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยคอมโพสิทจำกัด กรรมการผู้จัดการบริษัท จีอาร์อี คอมโพสิทจำกัด และบริษัทประกอบด้วย บริษัท ฟลูอิด โฮลดิ้ง บริษัท จีอาร์อี คอมโพสิท จำกัด ในฐานะเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้ายี่ห้อ จีอาร์อี นั้นจะมีมูลความผิดอาญาฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตาม มาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86
สำหรับกลุ่มผู้ออกแบบประกอบด้วย นายมงคล แน่งน้อย ผู้จัดการโครงการของบริษัทอิเลคโทรวัตต์ คอนเซ้าติ้ง เซอร์วิสเซสประเทศไทยจำกัด หรือบริษัท เพอรี่อินฟรา จำกัด และบริษัทอิเลคโทรวัตต์ในฐานะผู้ออกแบบจ้างเหมาก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสาย พบว่ามีการกระทำในลักษณะเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่น และให้ประโยชน์กับบริษัทผู้จำหน่ายท่อตามข้อ 6 จึงมีความผิดอาญา ฐานร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 5 มาตรา 7มาตรา 10 และมาตรา 11 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา 157 มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83และมาตรา 86
ในส่วนของนายจำเนียร ฝั่นระหันต์ ในฐานะผู้รับผิดชอบร่วมออกแบบระบบท่อร้อยสายไฟฟ้าฯ พยานหลักฐานตามที่ปรากฏยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า มีเจตนาทุจริต หรือร่วมรู้เห็น จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
**เชือดแม้วคดีปล่อยกู้กฤษฎามหานคร
นายสัก กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติดำเนินการสั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาในคดีการอนุมัติเงินกู้ของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ให้แก่บริษัทในเครือกฤษฎามหานครจำนวน 6 กลุ่ม 31 ราย ประกอบด้วย กลุ่มนักการเมืองกับพวก มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย นางกาญจนภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ชินวัตร นายวันชัย หงษ์เหิน และนายมานพ ทิวารี (บิดา น.ต.ศิธา ทิวารี)
กลุ่มคณะกรรมการบริหารธนาคาร ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ์ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ และกรรมการบริหารนายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา กรรมการบริหาร
กลุ่มคณะกรรมการสินเชื่อ ประกอบด้วย นายพงศธร ศิริโยธิน ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส คณะกรรมการสินเชื่อ นายนรินทร์ ดรุนัยธร นางนงนุช เทียรไพฑูรย์ นายโสมนัส ชุติมา นายสุวิทย์ อุดมทรัพย์ นายวันชัย ธนิตตริราภรณ์ นายบุญเลิศ ศรีเจริญ
ส่วนกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย นายประพันธ์พงศ์ ปราโมทย์กุล ตำแหน่งหัวหน้าส่วนปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหารธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางกุลวดี สุวรรณวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางสุวรัตน์ ธรรมรัตนนพคุณ รองผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติหน้าที่บริหารงานธุรกิจสัมพันธ์ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นายประวิทย์ อดีตโต ผู้อำนวยการธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นางศิริวรรณ ชินอิสระยศ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนายไพโรจน์ รัตนโสภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายอาวุโส และผู้บริหารสายงานสินเชื่อภาคเหนือ และนครหลวงตะวันตก
กลุ่มนิติบุคล ประกอบด้วย บริษัทอาร์เค โปรเฟสชั่นนัลจำกัด และบริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียลพาร์คจำกัด โดยนายบัญชา ยินดี นายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา บริษัท กฤษฎามหานครจำกัด โดยนางปรานอม แสงสุวรรณเมฆา นายธเนศวร สิงคาลวณิช นายรัชฎา กฤษฎาธานนท์ บริษัทโบนัส บอนด์ จำกัด โดยนายชุมพร เกิดไพบูลย์รัตน์ บริษัทแกรนคอมพิวเตอร์แอนด์ คอมมูนิเวชั่น โดยนายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา และสุดท้ายกลุ่มผู้แทนนิติบุคคลเป็นการส่วนตัวประกอบด้วย นายสุบิน แสงสุวรรณเมฆา นายบัญชา ยินดี นายวิชัย กฤษฎาธานนท์ ตำแหน่งผู้ถือหุ้นแลผู้บริหารของกลุ่มบมจ. กฤษฎามหานคร นายรัชฎา กฤษฎาธานนท์ และนายไมตรี เหลืองนิมิตรมาก
นายสัก กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดมีความผิดฐานร่วมกันและสนับสนุนในการกระทำผิด อันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฎิบัติ หรือ ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายกับธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้นและประชาชนข้อหาปฎิบัติ หรือละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้น และประชาชนผู้ฝากเงิน และเป็นการให้ความช่วยเหลือ ให้ความสะดวกในการกระทำผิดอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กร หรือในหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาตรา 8 มาตรา11 พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 มาตรา 46 นว พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 มาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 ,313 314 พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 85 ,91 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 ,157,352,353,354 ประกอบมาตรา 83,84,86
**ลูกโอ๊ค-พ่อศิธาเจอข้อหารับของโจร
นายสัก กล่าวว่า ในส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบด้วย นายพานทองแท้ นางกาญจนภา นายวันชัย และนายมานพ จะถูกแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ฐานรับของโจร แม้ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด แต่ได้รับเงินที่ได้จากการกระทำความผิดฐานยักยอก โดย คตส.จะแยกส่งสำนวนดำเนินคดีไปที่ ศาลอาญา ซึ่งทั้ง 4 คน จะต้องคืนเงินทั้งหมด หลังจากศาลอาญาพิพากษาคดีจนถึงที่สิ้นสุด
ส่วนคุณหญิงพจมาน ชินวัตร คตส. มีมติไม่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่าไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
นายสัก ยังกล่าวอีกว่า การอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐให้กับบริษัทในเครือกฤษฎามหานคร และเป็นบริษัทที่มีสถานะเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และถูกจัดอันดับความเชื่อให้อยู่ใน อันดับที่ 5 คือ ไม่สามารถอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้ได้ แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงสถานะการจัดลำดับความน่าเชื่อถือให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 คือ มีความเชื่อที่พอยอมรับได้ โดยการอนุมัติสินเชื่อในลักษณะดังกล่าวไม่คุ้มค่ากับการปล่อยเงินกู้ จนทำให้เกิดความเสียหายกับธนาคารกรุงไทย ประกอบด้วยการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนอล วงเงิน 500 ล้านบาท โดยพบว่า ไม่ได้นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ แต่กลับมีการโอนให้กับผุ้บริหารของ บริษัทกฤษฎามหานคร และพวกนอกจากนี้ยังมีการ อนุมัติสินเชื่อ รีไฟแนนซ์ บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี 9,900 ล้านบาท และการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทแกรนด์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 1,185 ล้านบาท ถือเป็นการกระการโดยทุจริตเพื่อฟื้นฟูกิจการบริษัทในเครือ กฤษฎามหานคร รวมความเสียหายทั้งสิ้น 11,585 ล้านบาท
นายสักกล่าวว่า ทั้ง 2 คดี คตส.จะสรุปสำนวนสั่งใหอัยการสูงสุดได้ภายใน 14 วัน หลังจากมีมติ และในวันศุกร์ที่ 6 มิ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานร่วม คตส.กับ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสำนวนและการรับช่วงต่อในคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของ คตส.ทั้งหมดก่อนที่จะหมดวาระในวันที่ 30 มิ.ย. นี้