เอเอฟพี – ผู้นำนานาชาตินัดหารือในโรม เพื่อหาทางออกวิกฤติอาหารที่กำลังสร้างความเดือดร้อนและเป็นต้นเหตุของจลาจลวุ่นวายทั่วโลก
บันคีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะเปิดการประชุมที่จะมีขึ้นตั้งแต่วันอังคาร(3)ถึงวันพฤหัสบดี(5) ที่สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ด้วยการเปิดแผนปฏิบัติการต่อสู้วิกฤตอาหาร ซึ่งร่างขึ้นโดยทีมรับมือวิกฤตที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากองค์กรต่างๆ ของยูเอ็น รวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก
เดือนที่ผ่านมา ฌาคส์ ดิอูฟ ผู้อำนวยการใหญ่เอฟเอโอ กล่าวว่าความวุ่นวายจากวิกฤตอาหารที่ระเบิดขึ้นในอียิปต์ เฮติ แคเมอรูน โกตดิวัวร์ มอริเตเนีย เอธิโอเปีย มาดากัสการ์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้ทำให้การประชุมเอฟเอโอที่ตระเตรียมกันมานานคราวนี้ กลายเป็นการประชุมฉุกเฉินโดยปริยาย
ดิอูฟยังเตือนว่า ปัญหาการขาดแคลนอาหารอาจทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในบางประเทศ และเรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบอาหารระหว่างประเทศ ทั้งยังสำทับว่า การที่ผู้นำนานาชาติเพิกเฉยต่อคำเตือนของเอฟเอโอกำลังนำไปสู่ ‘หายนะที่คาดหมายได้’
อย่างไรก็ดี นายใหญ่เอฟเอโอไม่ได้เรียกร้องให้ระงับโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ฌอง ซีเกลอร์อดีตผู้เชี่ยวชาญอิสระของยูเอ็น เรียกว่า ‘อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ’
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลกครั้งนี้ จะหารือกันถึงทางออกระยะสั้น รวมถึงยุทธศาสตร์ใหม่ในการจัดการผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีมากขึ้น และภาคเกษตรกรรมที่กำลังประสบปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก
เออร์เว เลอเฌอเน ผู้จัดการประชุมสุดยอด กล่าวว่าการประชุมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำปัญหาด้านอาหาร กลับคืนสู่วาระการประชุมระดับสูงระหว่างประเทศอีกครั้ง
เอฟเอโอเรียกร้องความช่วยเหลือฉุกเฉินมูลค่า 1,200-1,700 ล้านดอลลาร์ เพื่อแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยแก่ประเทศที่ต้องการภายในปีนี้และปีหน้า อย่างไรก็ดี จะไม่มีการเรียกร้องเงินบริจาคในการประชุมที่โรมนัดนี้
อนึ่ง ผู้นำบราซิล ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา อียิปต์ และอิหร่าน ต่างยืนยันจะไปร่วมการประชุม นอกจากนั้น ยังคาดหมายว่านายกรัฐมนตรีสเปนและญี่ปุ่น จะเข้าร่วมหารือกับตัวแทนจาก 193 ชาติสมาชิกของเอฟเอโอด้วย เช่นเดียวกับโรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก และโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ
โฆเซ มาเรีย ซัมป์ซี รองผู้อำนวยการเอฟเอโอ กล่าวว่าจากรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาอาหารและการเกษตรในสายตาประชาคมโลกเป็นอย่างดี และว่านี่ถือเป็นโอกาสในการหารือระดับทวิภาคี โดยเฉพาะระหว่างประเทศที่ประสบวิกฤตรุนแรงที่สุด กับประเทศที่ถูกกล่าวหาว่าดำเนินนโยบายที่ทำให้สถานการณ์ปัญหาโลกรุนแรงขึ้น
จากข้อมูลของธนาคารโลก ราคาอาหารแพงขึ้นเกือบสามเท่าในรอบสามปีที่ผ่านมา โดยมีการโทษกันว่าสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ข้อจำกัดทางการค้า ความต้องการเนื้อสัตว์ในเอเชีย ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ และต้นทุนการขนส่งที่พุ่งสูง
เซลลิกระบุว่าประชากรทั่วโลก 2,000 ล้านคนกำลังลำบากกับราคาอาหาร และอีก 100 ล้านคนในประเทศยากจนอาจยิ่งจนลงจากวิกฤตนี้
ซัมมิตเอฟเอโอครั้งนี้ยังเกิดขึ้นขณะที่ปฏิบัติการขององค์กรแห่งนี้ถูกโจมตีหนัก และท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างดิอูฟกับอับดุลไร วัด ประธานาธิบดีเซเนกัล หลังจากฝ่ายหลังเรียกร้องให้ยุบเอฟเอโอเนื่องจากล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤตอาหารโลก
ขณะเดียวกัน องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มเกษตรกรนับสิบกลุ่ม ก็ได้ประกาศจะจัดการประชุมคู่ขนานกับซัมมิตเอฟเอโอ
บันคีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะเปิดการประชุมที่จะมีขึ้นตั้งแต่วันอังคาร(3)ถึงวันพฤหัสบดี(5) ที่สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ด้วยการเปิดแผนปฏิบัติการต่อสู้วิกฤตอาหาร ซึ่งร่างขึ้นโดยทีมรับมือวิกฤตที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากองค์กรต่างๆ ของยูเอ็น รวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก
เดือนที่ผ่านมา ฌาคส์ ดิอูฟ ผู้อำนวยการใหญ่เอฟเอโอ กล่าวว่าความวุ่นวายจากวิกฤตอาหารที่ระเบิดขึ้นในอียิปต์ เฮติ แคเมอรูน โกตดิวัวร์ มอริเตเนีย เอธิโอเปีย มาดากัสการ์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้ทำให้การประชุมเอฟเอโอที่ตระเตรียมกันมานานคราวนี้ กลายเป็นการประชุมฉุกเฉินโดยปริยาย
ดิอูฟยังเตือนว่า ปัญหาการขาดแคลนอาหารอาจทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในบางประเทศ และเรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบอาหารระหว่างประเทศ ทั้งยังสำทับว่า การที่ผู้นำนานาชาติเพิกเฉยต่อคำเตือนของเอฟเอโอกำลังนำไปสู่ ‘หายนะที่คาดหมายได้’
อย่างไรก็ดี นายใหญ่เอฟเอโอไม่ได้เรียกร้องให้ระงับโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ฌอง ซีเกลอร์อดีตผู้เชี่ยวชาญอิสระของยูเอ็น เรียกว่า ‘อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ’
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลกครั้งนี้ จะหารือกันถึงทางออกระยะสั้น รวมถึงยุทธศาสตร์ใหม่ในการจัดการผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีมากขึ้น และภาคเกษตรกรรมที่กำลังประสบปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก
เออร์เว เลอเฌอเน ผู้จัดการประชุมสุดยอด กล่าวว่าการประชุมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำปัญหาด้านอาหาร กลับคืนสู่วาระการประชุมระดับสูงระหว่างประเทศอีกครั้ง
เอฟเอโอเรียกร้องความช่วยเหลือฉุกเฉินมูลค่า 1,200-1,700 ล้านดอลลาร์ เพื่อแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยแก่ประเทศที่ต้องการภายในปีนี้และปีหน้า อย่างไรก็ดี จะไม่มีการเรียกร้องเงินบริจาคในการประชุมที่โรมนัดนี้
อนึ่ง ผู้นำบราซิล ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา อียิปต์ และอิหร่าน ต่างยืนยันจะไปร่วมการประชุม นอกจากนั้น ยังคาดหมายว่านายกรัฐมนตรีสเปนและญี่ปุ่น จะเข้าร่วมหารือกับตัวแทนจาก 193 ชาติสมาชิกของเอฟเอโอด้วย เช่นเดียวกับโรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก และโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ
โฆเซ มาเรีย ซัมป์ซี รองผู้อำนวยการเอฟเอโอ กล่าวว่าจากรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาอาหารและการเกษตรในสายตาประชาคมโลกเป็นอย่างดี และว่านี่ถือเป็นโอกาสในการหารือระดับทวิภาคี โดยเฉพาะระหว่างประเทศที่ประสบวิกฤตรุนแรงที่สุด กับประเทศที่ถูกกล่าวหาว่าดำเนินนโยบายที่ทำให้สถานการณ์ปัญหาโลกรุนแรงขึ้น
จากข้อมูลของธนาคารโลก ราคาอาหารแพงขึ้นเกือบสามเท่าในรอบสามปีที่ผ่านมา โดยมีการโทษกันว่าสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ข้อจำกัดทางการค้า ความต้องการเนื้อสัตว์ในเอเชีย ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ และต้นทุนการขนส่งที่พุ่งสูง
เซลลิกระบุว่าประชากรทั่วโลก 2,000 ล้านคนกำลังลำบากกับราคาอาหาร และอีก 100 ล้านคนในประเทศยากจนอาจยิ่งจนลงจากวิกฤตนี้
ซัมมิตเอฟเอโอครั้งนี้ยังเกิดขึ้นขณะที่ปฏิบัติการขององค์กรแห่งนี้ถูกโจมตีหนัก และท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างดิอูฟกับอับดุลไร วัด ประธานาธิบดีเซเนกัล หลังจากฝ่ายหลังเรียกร้องให้ยุบเอฟเอโอเนื่องจากล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤตอาหารโลก
ขณะเดียวกัน องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มเกษตรกรนับสิบกลุ่ม ก็ได้ประกาศจะจัดการประชุมคู่ขนานกับซัมมิตเอฟเอโอ