รอยเตอร์/เอเอฟพี - สื่อนอกชำแหละ "สมัคร" ถอยไม่กล้าสั่งลุยสลายการประท้วงเพราะไม่มีใครเอาด้วย ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ จุ้นบี้ทหารของไทยเคารพรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและไม่ทำรัฐประหารยึดอำนาจ
สำนักข่าวรอยเตอร์กล่าวถึงเรื่องที่นายสมัครข่มขู่ในวันเสาร์(31พ.ค.)ว่าจะใช้กำลังตำรวจสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจำนวนราว 6,500 คน ทว่าฝ่ายตำรวจไม่ได้ลงมือในเรื่องนี้ ภายหลังจากที่นายสมัครเองดูเหมือนจะเปลี่ยนใจ และหันมากล่าวหาสื่อมวลชนว่าตีความคำพูดของเขาอย่างผิดพลาด
รอยเตอร์บอกว่า ความรุนแรงที่จะต้องเกิดขึ้นจากการปราบปรามสลายการชุมนุมคราวนี้ อาจยิ่งเพิ่มความกังวลในเรื่องที่กองทัพกำลังถูกดึงให้กลับเข้าสู่การต่อสู้กันทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเกิดการปะทะกันอย่างชุลมุนระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ กับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านทักษิณ ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์(25พ.ค.)ที่แล้ว
ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่า การที่นายสมัครดูเหมือนจะเปลี่ยนยุทธวิธีอย่างรวดเร็วมากเช่นนี้ พวกนักวิเคราะห์ต่างเห็นว่า เป็นเพราะไม่ได้รับความสนับสนุนนั่นเอง
เอเอฟพีสัมภาษณ์นายฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า สิ่งที่นายสมัครพูดออกมาเมื่อวันเสาร์นั้นดูไม่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง "เขา(นายสมัคร) แสดงความโกรธเกรี้ยวมากโดยที่ไม่มีเหตุผลดีๆ รองรับอะไรเลย และเขาก็ตัดสินใจอย่างรีบร้อน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่พวกพรรคร่วมรัฐบาลของเขาก็ไม่เห็นด้วย และจึงกลายเป็นการกระตุ้นเพิ่มพลังให้แก่กลุ่มพันธมิตรฯมากขึ้นไปอีก"
สำนักข่าวแห่งนี้ยังอ้างคำพูดของ นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่กล่าวว่า ตำรวจและทหารลังเลที่จะปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วง "พวกเขา (ตำรวจทหาร) มีประสบการณ์มาในอดีตเมื่อตอนที่พวกเขารับใช้นักการเมือง พวกเขายังมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักในสายตาของประชาชน ผมเชื่อว่าพวกเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จะระมัดระวังมากที่จะไม่ใช้ความรุนแรง"
"ความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรีหมดไปแล้ว เขาไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องอาศัยโทรทัศน์มาตอบโต้" นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกตอนหนึ่ง
นอกจากนี้รอยเตอร์ยังได้รายงานถึงกรณีนายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯแวะเยือนกรุงเทพฯวานนี้ได้เข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกสิบกว่าคน นายเกตส์ ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตยคือรากฐานแห่งความสัมพันธ์ของอเมริกากับฝ่ายทหารของไทย
"มันเป็นเหตุผลประการหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ว่าทำไมรัฐมนตรี (นายเกตส์) ถึงได้มาที่นี่ ก็เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ทางทหาร (ระหว่างสหรัฐฯกับไทย) วางอยู่บนพื้นฐานแห่งการมีค่านิยมทางประชาธิปไตยร่วมกัน" รอยเตอร์อ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่แถลงสรุปกับพวกผู้สื่อข่าว โดยตั้งเงื่อนไขขอไม่ให้ระบุนามของเขา
"เขา(นายเกตส์)ไม่ได้กำลังเที่ยวรังแกคนอื่นนะ" เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้นี้กล่าว "แต่ข้อความที่ส่งออกมาคราวนี้มีความชัดเจน และพึงได้รับความเคารพ"
สำนักข่าวรอยเตอร์กล่าวถึงเรื่องที่นายสมัครข่มขู่ในวันเสาร์(31พ.ค.)ว่าจะใช้กำลังตำรวจสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจำนวนราว 6,500 คน ทว่าฝ่ายตำรวจไม่ได้ลงมือในเรื่องนี้ ภายหลังจากที่นายสมัครเองดูเหมือนจะเปลี่ยนใจ และหันมากล่าวหาสื่อมวลชนว่าตีความคำพูดของเขาอย่างผิดพลาด
รอยเตอร์บอกว่า ความรุนแรงที่จะต้องเกิดขึ้นจากการปราบปรามสลายการชุมนุมคราวนี้ อาจยิ่งเพิ่มความกังวลในเรื่องที่กองทัพกำลังถูกดึงให้กลับเข้าสู่การต่อสู้กันทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเกิดการปะทะกันอย่างชุลมุนระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ กับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านทักษิณ ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์(25พ.ค.)ที่แล้ว
ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่า การที่นายสมัครดูเหมือนจะเปลี่ยนยุทธวิธีอย่างรวดเร็วมากเช่นนี้ พวกนักวิเคราะห์ต่างเห็นว่า เป็นเพราะไม่ได้รับความสนับสนุนนั่นเอง
เอเอฟพีสัมภาษณ์นายฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า สิ่งที่นายสมัครพูดออกมาเมื่อวันเสาร์นั้นดูไม่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง "เขา(นายสมัคร) แสดงความโกรธเกรี้ยวมากโดยที่ไม่มีเหตุผลดีๆ รองรับอะไรเลย และเขาก็ตัดสินใจอย่างรีบร้อน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่พวกพรรคร่วมรัฐบาลของเขาก็ไม่เห็นด้วย และจึงกลายเป็นการกระตุ้นเพิ่มพลังให้แก่กลุ่มพันธมิตรฯมากขึ้นไปอีก"
สำนักข่าวแห่งนี้ยังอ้างคำพูดของ นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่กล่าวว่า ตำรวจและทหารลังเลที่จะปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วง "พวกเขา (ตำรวจทหาร) มีประสบการณ์มาในอดีตเมื่อตอนที่พวกเขารับใช้นักการเมือง พวกเขายังมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักในสายตาของประชาชน ผมเชื่อว่าพวกเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จะระมัดระวังมากที่จะไม่ใช้ความรุนแรง"
"ความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรีหมดไปแล้ว เขาไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องอาศัยโทรทัศน์มาตอบโต้" นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกตอนหนึ่ง
นอกจากนี้รอยเตอร์ยังได้รายงานถึงกรณีนายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯแวะเยือนกรุงเทพฯวานนี้ได้เข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกสิบกว่าคน นายเกตส์ ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตยคือรากฐานแห่งความสัมพันธ์ของอเมริกากับฝ่ายทหารของไทย
"มันเป็นเหตุผลประการหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ว่าทำไมรัฐมนตรี (นายเกตส์) ถึงได้มาที่นี่ ก็เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ทางทหาร (ระหว่างสหรัฐฯกับไทย) วางอยู่บนพื้นฐานแห่งการมีค่านิยมทางประชาธิปไตยร่วมกัน" รอยเตอร์อ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่แถลงสรุปกับพวกผู้สื่อข่าว โดยตั้งเงื่อนไขขอไม่ให้ระบุนามของเขา
"เขา(นายเกตส์)ไม่ได้กำลังเที่ยวรังแกคนอื่นนะ" เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้นี้กล่าว "แต่ข้อความที่ส่งออกมาคราวนี้มีความชัดเจน และพึงได้รับความเคารพ"