แกรมมี่ ยิ้มสู้ปัญญากวนใจ จากผลพวงม๊อบและกระแสดิจิตอลมาแรง อวดกลยุทธ์ Subsidize Model มาแรง กู้สถานการณ์ธุรกิจเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหตุลูกค้าหันมาโฟกัสการตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์ เน้นความเป็นเอ็กซ์คูลซีฟมากขึ้น มั่นใจปั๊มรายได้เล็กๆให้แกรมมี่อีก 600 ล้านบาท โตจากปีก่อน 20%
นางสาวบุษษา ดาวเรือง กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส (สายงานสร้างสรรค์) และประธานบริหารความเสี่ยง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางการทำตลาดของลูกค้าในหลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงิน พบว่า มีแนวโน้มหันมาใช้กลยุทธ์ มิวสิกมาร์เก็ตติ้งมาใช้กับการตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์ ที่มีความเป็นเอ็กซ์คูลซีฟมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันการแข่งขันของธุรกิจมีสูงมาก เพียงทำตลาดแบบอะโบพ เดอะ ไลน์ ผ่านสื่อต่างๆ คงไม่เพียงพออีกต่อไป
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางบริษัทฯมีการตั้งทีมขึ้นมาดูแลในส่วนของการทำธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Subsidize Model ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบการเป็นพันธมิตร และได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า บี ทู บี(Business to Business) ในลักษณะเป็นโปรเจ็กต์ๆไป ซึ่งได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ จนต้องมีการจัดตั้งทีมขึ้นมาดูแลในส่วนนี้อย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ ซีเอสเอ็ม หรือ Corporate Strategic Marketing โดยปีที่ผ่านมาสร้างรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท (ไม่รวมกับบีทูบี ของเอ็กแซกท์ และ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย)
ล่าสุดปีนี้ บริษัทฯคาดว่า จะสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ ซับซิไดซ์ โมเดล ให้มีการเติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 20% หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท โดยปีนี้ทางซีเอสเอ็ม จะชูคอนเซปต์ Money Can't buy คือ การสร้างสรรค์คอนเท้นต์แบบเอ็กซ์คูลซีฟให้ลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน โดยกลยุทธ์ ซับซิไดซ์ โมเดลนี้ จะออกมาในรูปแบบของ ดิจิตอล, ซีดี และวีซีเพลง หรือ ฟิสิกส์คอล อัลบั้ม, คอนเสิร์ต, พรีเซนเตอร์, โชว์บิซ, โรด ทัวร์, อีเว้นต์ และเทเลอร์ เมด
โดยในปีที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย เช่น ยามาฮ่า, เอ็ม150, เพียวริคุ, เอไอเอส, ทรู, ไอ โมบาย, ไทยพาณิชย์, อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต และสิงห์
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า ธุรกิจบีทูบีนี้ ถือเป็นกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ทำให้บริษัทฯสามารถบริหารจัดการคอนเท้นต์ โดยเฉพาะศิลปินและนักแสดงในสังกัด มาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม จากเดิมจะมีผลงานแค่งานเพลงหรืองานแสดง นอกจากนี้ยังมองว่าเป็นช่องทางที่เสริมให้แกรมมี่ จะยังคงอยู่ได้ในธุรกิจเพลงอยู่ได้ ถึงแม้ว่ากระแสดิจิตอลมาแรง หรือจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น การชุมนุม ในช่วงนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับคอนเท้นต์เพลง โดยรวมแล้ว ถือว่ายังคอนเท้นต์หลักที่สร้างรายได้ให้บริษัท คิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมด ถึงแม้ว่ายอดขายซีดีเพลงหรือฟิสิกส์คอลบางกลุ่ม เช่น เพลงสำหรับเจาะกลุ่มวัยรุ่นจะลดลง แต่สำหรับบางกลุ่มเพลงอย่างลูกทุ่ง รวมถึงซีดีและวีซีดีคอนเสิร์ตยังคงได้รับความสนใจจากกลุ่มแฟนเพลงพันธุ์แท้อย่างเหนียวแน่น จึงทำให้ภาพรวมยอดขายซีดีและวีซีดียังคงสัดส่วนเดิมอยู่
นางสาวบุษษา ดาวเรือง กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส (สายงานสร้างสรรค์) และประธานบริหารความเสี่ยง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางการทำตลาดของลูกค้าในหลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงิน พบว่า มีแนวโน้มหันมาใช้กลยุทธ์ มิวสิกมาร์เก็ตติ้งมาใช้กับการตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์ ที่มีความเป็นเอ็กซ์คูลซีฟมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันการแข่งขันของธุรกิจมีสูงมาก เพียงทำตลาดแบบอะโบพ เดอะ ไลน์ ผ่านสื่อต่างๆ คงไม่เพียงพออีกต่อไป
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางบริษัทฯมีการตั้งทีมขึ้นมาดูแลในส่วนของการทำธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Subsidize Model ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบการเป็นพันธมิตร และได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า บี ทู บี(Business to Business) ในลักษณะเป็นโปรเจ็กต์ๆไป ซึ่งได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ จนต้องมีการจัดตั้งทีมขึ้นมาดูแลในส่วนนี้อย่างจริงจัง ภายใต้ชื่อ ซีเอสเอ็ม หรือ Corporate Strategic Marketing โดยปีที่ผ่านมาสร้างรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท (ไม่รวมกับบีทูบี ของเอ็กแซกท์ และ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย)
ล่าสุดปีนี้ บริษัทฯคาดว่า จะสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ ซับซิไดซ์ โมเดล ให้มีการเติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 20% หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 600 ล้านบาท โดยปีนี้ทางซีเอสเอ็ม จะชูคอนเซปต์ Money Can't buy คือ การสร้างสรรค์คอนเท้นต์แบบเอ็กซ์คูลซีฟให้ลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน โดยกลยุทธ์ ซับซิไดซ์ โมเดลนี้ จะออกมาในรูปแบบของ ดิจิตอล, ซีดี และวีซีเพลง หรือ ฟิสิกส์คอล อัลบั้ม, คอนเสิร์ต, พรีเซนเตอร์, โชว์บิซ, โรด ทัวร์, อีเว้นต์ และเทเลอร์ เมด
โดยในปีที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย เช่น ยามาฮ่า, เอ็ม150, เพียวริคุ, เอไอเอส, ทรู, ไอ โมบาย, ไทยพาณิชย์, อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต และสิงห์
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า ธุรกิจบีทูบีนี้ ถือเป็นกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ทำให้บริษัทฯสามารถบริหารจัดการคอนเท้นต์ โดยเฉพาะศิลปินและนักแสดงในสังกัด มาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่ม จากเดิมจะมีผลงานแค่งานเพลงหรืองานแสดง นอกจากนี้ยังมองว่าเป็นช่องทางที่เสริมให้แกรมมี่ จะยังคงอยู่ได้ในธุรกิจเพลงอยู่ได้ ถึงแม้ว่ากระแสดิจิตอลมาแรง หรือจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น การชุมนุม ในช่วงนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับคอนเท้นต์เพลง โดยรวมแล้ว ถือว่ายังคอนเท้นต์หลักที่สร้างรายได้ให้บริษัท คิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมด ถึงแม้ว่ายอดขายซีดีเพลงหรือฟิสิกส์คอลบางกลุ่ม เช่น เพลงสำหรับเจาะกลุ่มวัยรุ่นจะลดลง แต่สำหรับบางกลุ่มเพลงอย่างลูกทุ่ง รวมถึงซีดีและวีซีดีคอนเสิร์ตยังคงได้รับความสนใจจากกลุ่มแฟนเพลงพันธุ์แท้อย่างเหนียวแน่น จึงทำให้ภาพรวมยอดขายซีดีและวีซีดียังคงสัดส่วนเดิมอยู่