ถึงวันนี้ (27 พ.ค. 2551) ย่างเข้าวันที่ 3 ของการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
“การชุมนุมครั้งนี้...พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะปักหลักเรียกร้องและกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและคณะรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบต่อความมุ่งหมายที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกความผิดของคนในระบอบทักษิณเพียงอย่างเดียว จนเกิดภัยคุกคามต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มเหลวต่อการบริหารราชการแผ่นดิน จนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง จนประชาชนเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสไปทั่วประเทศ”
แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 10/2551
-----------
สัปดาห์ก่อนนี้... ผมมีโอกาสเข้าร่วมประชุมสื่อในเอเชีย “Second 10+3 Media Cooperation Forum” ที่เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
นับเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสื่อมวลชนจาก 10 ชาติอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิบปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย บวกอีก 3 ชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจของเอเชียได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ โดยหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ พีเพิ่ล เดลี่ ของจีนเป็นผู้สนับสนุน
สิ่งที่ได้รับจากการประชุมนอกเหนือจากความสัมพันธ์ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันแล้ว การที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปีนี้ ภายใต้หัวข้อ ‘Share succeed Share News’ เพื่อการเตรียมพร้อมรายงานข่าว ‘เป่ยจิงหรือปักกิ่งเกม’ ก็เป็นความพิเศษมากกว่าครั้งแรก
ทว่า แม้จะเป็นความพิเศษที่ได้รับรู้ แต่สิ่งที่ได้มากกว่านั้นสำหรับผมก็คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ‘นอกรอบ’ ในบรรยากาศที่ไม่ต้องมีข้อจำกัดในเรื่องพิธีการ-มากมารยาทต่อกัน
ประเด็นที่เราแลกเปลี่ยน ‘ความเห็น’ กันมีอยู่สองเรื่องหลักๆ
หนึ่งคือเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก ‘วิกฤต’ ปัญหาราคาน้ำมันแพง
ภาวะข้าวยากหมากแพง เพราะราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสร้างสถิติสูงสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างถี่ยิบ และถูกมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงจะขยับไปถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ ซึ่งในใจผมคิดว่า ไม่ว่าเป็นใคร หลายๆ ชาติโดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้มีน้ำมันเป็นของตนเองต้องนำเข้าก็คงได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย
อย่างน้อยๆ ประชาชนของประเทศนั้นน่าจะถูก ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ เล่นงานอ่วมทำให้ค่าครองชีพสูงลิบ บีบคั้นจนหน้าเขียวหน้าคล้ำกันถ้วนหน้า แต่...ไม่เป็นเช่นนั้น!
เพื่อนสื่อมวลชนจากลาวประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย บอกกับผมว่า วิกฤตราคาน้ำมันคนลาวไม่เดือดร้อนมากนัก
เขาโชคดีที่โดยปกติรัฐบาลจะควบคุมราคาอยู่แล้ว เมื่อน้ำมันโลกพุ่งทะยานไม่หยุด แม้จะต้องจ่ายเพิ่มเพราะเงื่อนไขของ ‘กลไกตลาดโลก’ รัฐบาลได้ปรับราคาขายปลีกให้สูงขึ้นตาม แต่ก็จะพยายามให้นิ่ง ปรับเดือนละครั้งหรือสองเดือนครั้งเท่านั้น ไม่ได้ปรับถี่ๆ เป็นรายวันเช่นไทย
‘แม่นบ่’ เขาย้อนถามว่า ใช่หรือไม่?
ผมพยักหน้ายอมรับอย่างขมขื่น อยากจะพูด แต่ก็กล้ำกลืนไว้ด้วยกลัวว่าเขาจะไม่เข้าใจ เพราะตัวเองก็ไม่เข้าใจประเทศตัวเองเหมือนกัน
ภายใต้กติกาของโลกทุนนิยม และ ‘กลไกตลาด’ แบบอย่างที่ไทยใช้อยู่คล้ายๆ ทุกอย่างจะ ‘ลอยตัว’ แบบประชาชนทำได้อย่างเดียว คือ ‘ทำใจ’ และเหมือนๆว่า รัฐบาลไม่อาจทำอย่างไรได้กับภาวะน้ำมันแพง?
ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ค้าน้ำมันสามารถปรับราคาขายปลีกของตนโดยอิสระเสรี น้ำมันขยับ1 ดอลลาร์วันนี้ รุ่งขึ้นประกาศปรับทันที ใครใคร่ปรับขึ้น...ปรับ!
วันนี้ขึ้น 20 สตางค์ พรุ่งนี้ 50 สตางค์ มะรืนนี้ 80 สตางค์ โดยอ้างว่า “ค่าการตลาดติดลบ” อ้างว่า ขึ้นแล้วก็ยังไม่คุ้มทุน ยังขาดทุน? ก็พาลไม่เข้าใจว่า ถ้าเช่นนี้ท่านทำธุรกิจขาดทุนแล้วจะทำไปทำไม?
บริษัทน้ำมันแบกรับภาระขาดทุนอยู่เสมอ แต่กำไรพันล้าน หมื่นล้านที่แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ หมายถึงอะไร?
เป็นไปได้หรือไม่ว่า โครงสร้างราคาทั้งกระบวนการเริ่มตั้งแต่โรงกลั่น ภาษีต่างๆ ค่าการตลาดอะไรที่ประชาชนไม่เคยรับรู้ยันน้ำมันที่ออกจากหัวจ่ายสถานีจำหน่ายหรือปั๊ม มีอะไรที่ซ่อนเร้นเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการค้าที่ไม่เป็นธรรม?
ทุกอย่างเกี่ยวกับน้ำมันมีเครื่องหมายคำถามอยู่เต็มไปหมด
เทียบกับลาวแล้ว ข้ามระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันออกไปก่อน ผมมองว่า ประเด็นเป็นเรื่องของการ ‘จัดการ’ ขณะที่เขาควบคุม แทรกแซงกลไกราคาเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ส่วนรัฐบาลไทยชุดนี้เข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศ 3 เดือนเศษ ทำเป็นอย่างเดียวคือ ‘ลอยตัว’ ไปตามราคาน้ำมัน
รัฐบาลสมัคร และพลพรรคนอมินีไม่มีการ ‘จัดการ’ ต่อการลอยตัวของน้ำมันแต่อย่างใด(แม้ล่าสุด ครม.เศรษฐกิจจะมีมติออกมาตรการ แต่ก็ได้มีอะไรใหม่)
สื่อมวลชนจากลาวยังให้ข้อมูลแก่ผมอีกว่า ความต่างระหว่างราคาขายของไทยและลาวที่ห่างกันลิตรละหลายบาท ทำให้ทุกวันนี้ปริมาณรถยนต์จากฝั่งไทยข้ามไปเติมน้ำมันจากฝั่งลาวมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สอง เรื่องที่เราคุยกันเป็นเรื่องการเมือง- “รัฐบาล”
ในการประชุมโอกาสนี้ เพื่อนสื่อมวลชนจากจีน และพม่าเป็น 2 ชาติที่ได้รับการแสดงความเห็นอกเห็นใจจากเพื่อนสื่อชาติอื่นๆ กรณีเผชิญช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจาก ‘ภัยพิบัติธรรมชาติ’ ครั้งร้ายแรง ทั้งแผ่นดินไหว และพายุไซโคลนนาร์กีส นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
กระนั้น จีนแสดงออกถึงความเข้มแข็ง และแปรเปลี่ยนความสูญเสียให้เป็นพลังของคนทั้งชาติช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกันได้อย่างน่าทึ่ง
ความเป็นไปดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่า เริ่มมาจากรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี หู จิ่น เทา ที่ลงไปพื้นที่ประสบภัยบัญชาการด้วยตนเองต่อเนื่องหลายวัน
คนจีนจึงภาคภูมิใจต่อความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องร่วมชาติ ซึ่งแน่นอนว่า รัฐบาลก็ได้ใจพวกเขาไปด้วย
ขณะที่พม่า ดูเหมือนความเศร้าสลดของเพื่อนร่วมชาติของพวกเขายังต้องการการเยียวยาช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่เขาก็ไม่ได้มุ่งหวังว่า การช่วยเหลือจากนานาชาติ หรือยูเอ็นจะเป็นความหวังมากกว่ารัฐบาลทหารของพวกเขา
รัฐบาลทหารซึ่งในสายตาของโลกที่มองว่า ‘เฉยเมย’ แต่สำหรับคนพม่าจะอย่างไรก็มอบความวางใจว่าจะนำคนในชาติผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายออกไปได้ในที่สุด!
เหลียวกลับมามองรัฐบาลไทย...
เพื่อนสื่อหลายคนแสดงความเห็นต่อการเมืองไทย รัฐบาลไทยโดยมีข้อมูลไม่ต่างจากสื่อไทย นั่นแสดงว่า โลกโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกัน ทำให้พวกเขารับทราบความเคลื่อนไหวของประเทศไทยไม่ต่างจากคนไทย ซึ่งอาจจะมากกว่าคนไทยบางส่วนเพราะด้วยฐานะความเป็นสื่อ
เพื่อนสื่อลาวเช่นเดิม บอกว่า เขารู้จักรัฐบาลนอมินีชุดนี้ดี ‘บ่อยากเว้าหลาย’
เช่นกันกับอีกหลายชาติ พวกเขาส่ายหน้าแทนความเห็น
เพื่อนสื่อชาวกัมพูชา เมื่อทราบว่า ผมคือคนไทย เขาก็ไม่มีความเห็นยืดยาว หัวเราะร่วนก่อนจะบอกว่า
‘ไทยแลนด์ ที่มีนายกฯ สมัครที่ดีแต่ทะเลาะกับสื่อ พ่นคำหยาบคายให้ชาวบ้านฟังนะรึ พวกคุณทนกันได้อย่างไร’
นั่นสิ!
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
“การชุมนุมครั้งนี้...พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะปักหลักเรียกร้องและกดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและคณะรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบต่อความมุ่งหมายที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกความผิดของคนในระบอบทักษิณเพียงอย่างเดียว จนเกิดภัยคุกคามต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มเหลวต่อการบริหารราชการแผ่นดิน จนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง จนประชาชนเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสไปทั่วประเทศ”
แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 10/2551
-----------
สัปดาห์ก่อนนี้... ผมมีโอกาสเข้าร่วมประชุมสื่อในเอเชีย “Second 10+3 Media Cooperation Forum” ที่เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
นับเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสื่อมวลชนจาก 10 ชาติอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิบปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย บวกอีก 3 ชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจของเอเชียได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ โดยหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ พีเพิ่ล เดลี่ ของจีนเป็นผู้สนับสนุน
สิ่งที่ได้รับจากการประชุมนอกเหนือจากความสัมพันธ์ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันแล้ว การที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปีนี้ ภายใต้หัวข้อ ‘Share succeed Share News’ เพื่อการเตรียมพร้อมรายงานข่าว ‘เป่ยจิงหรือปักกิ่งเกม’ ก็เป็นความพิเศษมากกว่าครั้งแรก
ทว่า แม้จะเป็นความพิเศษที่ได้รับรู้ แต่สิ่งที่ได้มากกว่านั้นสำหรับผมก็คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ‘นอกรอบ’ ในบรรยากาศที่ไม่ต้องมีข้อจำกัดในเรื่องพิธีการ-มากมารยาทต่อกัน
ประเด็นที่เราแลกเปลี่ยน ‘ความเห็น’ กันมีอยู่สองเรื่องหลักๆ
หนึ่งคือเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก ‘วิกฤต’ ปัญหาราคาน้ำมันแพง
ภาวะข้าวยากหมากแพง เพราะราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสร้างสถิติสูงสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างถี่ยิบ และถูกมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงจะขยับไปถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ ซึ่งในใจผมคิดว่า ไม่ว่าเป็นใคร หลายๆ ชาติโดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้มีน้ำมันเป็นของตนเองต้องนำเข้าก็คงได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย
อย่างน้อยๆ ประชาชนของประเทศนั้นน่าจะถูก ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ เล่นงานอ่วมทำให้ค่าครองชีพสูงลิบ บีบคั้นจนหน้าเขียวหน้าคล้ำกันถ้วนหน้า แต่...ไม่เป็นเช่นนั้น!
เพื่อนสื่อมวลชนจากลาวประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย บอกกับผมว่า วิกฤตราคาน้ำมันคนลาวไม่เดือดร้อนมากนัก
เขาโชคดีที่โดยปกติรัฐบาลจะควบคุมราคาอยู่แล้ว เมื่อน้ำมันโลกพุ่งทะยานไม่หยุด แม้จะต้องจ่ายเพิ่มเพราะเงื่อนไขของ ‘กลไกตลาดโลก’ รัฐบาลได้ปรับราคาขายปลีกให้สูงขึ้นตาม แต่ก็จะพยายามให้นิ่ง ปรับเดือนละครั้งหรือสองเดือนครั้งเท่านั้น ไม่ได้ปรับถี่ๆ เป็นรายวันเช่นไทย
‘แม่นบ่’ เขาย้อนถามว่า ใช่หรือไม่?
ผมพยักหน้ายอมรับอย่างขมขื่น อยากจะพูด แต่ก็กล้ำกลืนไว้ด้วยกลัวว่าเขาจะไม่เข้าใจ เพราะตัวเองก็ไม่เข้าใจประเทศตัวเองเหมือนกัน
ภายใต้กติกาของโลกทุนนิยม และ ‘กลไกตลาด’ แบบอย่างที่ไทยใช้อยู่คล้ายๆ ทุกอย่างจะ ‘ลอยตัว’ แบบประชาชนทำได้อย่างเดียว คือ ‘ทำใจ’ และเหมือนๆว่า รัฐบาลไม่อาจทำอย่างไรได้กับภาวะน้ำมันแพง?
ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ค้าน้ำมันสามารถปรับราคาขายปลีกของตนโดยอิสระเสรี น้ำมันขยับ1 ดอลลาร์วันนี้ รุ่งขึ้นประกาศปรับทันที ใครใคร่ปรับขึ้น...ปรับ!
วันนี้ขึ้น 20 สตางค์ พรุ่งนี้ 50 สตางค์ มะรืนนี้ 80 สตางค์ โดยอ้างว่า “ค่าการตลาดติดลบ” อ้างว่า ขึ้นแล้วก็ยังไม่คุ้มทุน ยังขาดทุน? ก็พาลไม่เข้าใจว่า ถ้าเช่นนี้ท่านทำธุรกิจขาดทุนแล้วจะทำไปทำไม?
บริษัทน้ำมันแบกรับภาระขาดทุนอยู่เสมอ แต่กำไรพันล้าน หมื่นล้านที่แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ หมายถึงอะไร?
เป็นไปได้หรือไม่ว่า โครงสร้างราคาทั้งกระบวนการเริ่มตั้งแต่โรงกลั่น ภาษีต่างๆ ค่าการตลาดอะไรที่ประชาชนไม่เคยรับรู้ยันน้ำมันที่ออกจากหัวจ่ายสถานีจำหน่ายหรือปั๊ม มีอะไรที่ซ่อนเร้นเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการค้าที่ไม่เป็นธรรม?
ทุกอย่างเกี่ยวกับน้ำมันมีเครื่องหมายคำถามอยู่เต็มไปหมด
เทียบกับลาวแล้ว ข้ามระบบเศรษฐกิจที่ต่างกันออกไปก่อน ผมมองว่า ประเด็นเป็นเรื่องของการ ‘จัดการ’ ขณะที่เขาควบคุม แทรกแซงกลไกราคาเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ส่วนรัฐบาลไทยชุดนี้เข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศ 3 เดือนเศษ ทำเป็นอย่างเดียวคือ ‘ลอยตัว’ ไปตามราคาน้ำมัน
รัฐบาลสมัคร และพลพรรคนอมินีไม่มีการ ‘จัดการ’ ต่อการลอยตัวของน้ำมันแต่อย่างใด(แม้ล่าสุด ครม.เศรษฐกิจจะมีมติออกมาตรการ แต่ก็ได้มีอะไรใหม่)
สื่อมวลชนจากลาวยังให้ข้อมูลแก่ผมอีกว่า ความต่างระหว่างราคาขายของไทยและลาวที่ห่างกันลิตรละหลายบาท ทำให้ทุกวันนี้ปริมาณรถยนต์จากฝั่งไทยข้ามไปเติมน้ำมันจากฝั่งลาวมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สอง เรื่องที่เราคุยกันเป็นเรื่องการเมือง- “รัฐบาล”
ในการประชุมโอกาสนี้ เพื่อนสื่อมวลชนจากจีน และพม่าเป็น 2 ชาติที่ได้รับการแสดงความเห็นอกเห็นใจจากเพื่อนสื่อชาติอื่นๆ กรณีเผชิญช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจาก ‘ภัยพิบัติธรรมชาติ’ ครั้งร้ายแรง ทั้งแผ่นดินไหว และพายุไซโคลนนาร์กีส นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
กระนั้น จีนแสดงออกถึงความเข้มแข็ง และแปรเปลี่ยนความสูญเสียให้เป็นพลังของคนทั้งชาติช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกันได้อย่างน่าทึ่ง
ความเป็นไปดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่า เริ่มมาจากรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี หู จิ่น เทา ที่ลงไปพื้นที่ประสบภัยบัญชาการด้วยตนเองต่อเนื่องหลายวัน
คนจีนจึงภาคภูมิใจต่อความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องร่วมชาติ ซึ่งแน่นอนว่า รัฐบาลก็ได้ใจพวกเขาไปด้วย
ขณะที่พม่า ดูเหมือนความเศร้าสลดของเพื่อนร่วมชาติของพวกเขายังต้องการการเยียวยาช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่เขาก็ไม่ได้มุ่งหวังว่า การช่วยเหลือจากนานาชาติ หรือยูเอ็นจะเป็นความหวังมากกว่ารัฐบาลทหารของพวกเขา
รัฐบาลทหารซึ่งในสายตาของโลกที่มองว่า ‘เฉยเมย’ แต่สำหรับคนพม่าจะอย่างไรก็มอบความวางใจว่าจะนำคนในชาติผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายออกไปได้ในที่สุด!
เหลียวกลับมามองรัฐบาลไทย...
เพื่อนสื่อหลายคนแสดงความเห็นต่อการเมืองไทย รัฐบาลไทยโดยมีข้อมูลไม่ต่างจากสื่อไทย นั่นแสดงว่า โลกโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกัน ทำให้พวกเขารับทราบความเคลื่อนไหวของประเทศไทยไม่ต่างจากคนไทย ซึ่งอาจจะมากกว่าคนไทยบางส่วนเพราะด้วยฐานะความเป็นสื่อ
เพื่อนสื่อลาวเช่นเดิม บอกว่า เขารู้จักรัฐบาลนอมินีชุดนี้ดี ‘บ่อยากเว้าหลาย’
เช่นกันกับอีกหลายชาติ พวกเขาส่ายหน้าแทนความเห็น
เพื่อนสื่อชาวกัมพูชา เมื่อทราบว่า ผมคือคนไทย เขาก็ไม่มีความเห็นยืดยาว หัวเราะร่วนก่อนจะบอกว่า
‘ไทยแลนด์ ที่มีนายกฯ สมัครที่ดีแต่ทะเลาะกับสื่อ พ่นคำหยาบคายให้ชาวบ้านฟังนะรึ พวกคุณทนกันได้อย่างไร’
นั่นสิ!
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th