เอเอฟพี – รัฐบาลเอเชียพบปรากฏการณ์รักต้องเลือก ระหว่างการปกป้องคนจนกับปกป้องงบประมาณ หลายประเทศถูกบีบให้ลดการอุดหนุนน้ำมันลง ขณะที่ราคาพลังงานทั่วโลกทะยานไปเล่นกันที่หลัก 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไต้หวันตัดสินใจลดการอุดหนุนลงทั้งที่กลัวว่าจะทำให้เกิดการจลาจล เพราะสำหรับคนยากคนจนแล้ว น้ำมันไม่ใช่ปัญหาหนักใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นวิกฤตราคาอาหาร
แม้แต่ยักษ์ใหญ่อินเดียที่สัปดาห์ที่ผ่านมายังพอใจที่จะเห็นบริษัทน้ำมันของรัฐขาดทุนวันละหลายล้านดอลลาร์จากการขายน้ำมันลดราคา แต่วันศุกร์ที่แล้ว (23) บริษัทเหล่านั้นก็ไม่สามารถอั้นอยู่
ส่วนจีนยังปฏิเสธแข็งขันถึงข่าวลือว่ารัฐบาลอาจเปลี่ยนระบบการตั้งราคากลางเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อก่อนถึงมหกรรมกีฬาโอลิมปิก
อูเบน ปาราเซอเลส นักเศรษฐศาสตร์ของรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ชี้ว่าประเทศที่อุดหนุนราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในเอเชีย จะถูกกดดันให้เลิกมาตรการอุดหนุน แต่ประเทศที่ไม่ได้ใช้นโยบายนี้ ก็คงหนีไม่พ้นถูกบีบเช่นกัน ให้ทำอะไรสักอย่างเพื่อผู้มีรายได้ต่ำ
ภาวะน้ำมันแพงหมายความว่า ผู้บริโภคเอเชียกำลังตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากรัฐบาลในปัจจุบันอยู่ในฐานะขาดแคลนเงินสด จึงต้องผ่อนการควบคุมราคาสินค้าเพื่อจะได้บรรเทาภาวะขาดดุล และมีเม็ดเงินที่จะไปอัดฉีดให้กับโครงการด้านสุขภาพ การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับประเทศอย่างอินโดนีเซีย สมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่เคยเป็นหนึ่งในชาติที่มีราคาน้ำมันในประเทศถูกที่สุดของโลก แต่วันเวลาเหล่านั้นกำลังจะจบลงในไม่ช้า
เพราะเมื่อวันเสาร์ (24) จาการ์ตาเพิ่งขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 33.3% เป็นลิตรละ 6,000 รูเปียห์ (65 เซนต์) ท่ามกลางการคัดค้านทั่วไปเนื่องจากใกล้กำหนดเลือกตั้งใหญ่เดือนเมษายนปีหน้า แต่ก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่เผชิญปัญหาอากาศเป็นพิษในจาการ์ตา ทว่า ในทางกลับกัน อาจทำให้เกิดการประท้วงในหมู่นักศึกษาและกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง
กระนั้น นักวิเคราะห์กล่าวว่าจาการ์ตาทำถูกแล้ว เพราะวิกฤตน้ำมันแพงทำให้รัฐบาลมีภาระในการอุดหนุนถึง 14,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
นอกจากนั้น ทางการอิเหนายังพยายามผ่อนคลายกระแสต่อต้านด้วยการอัดฉีดเงินสดให้แก่ครอบครัวยากจนโดยตรง อย่างไรก็ดี การขึ้นราคาน้ำมันถือเป็นเดิมพันสำคัญของเกมการเลือกตั้งอย่างช่วยไม่ได้
ปาราเซอเลสบอกว่า การตัดสินใจของจาการ์ตาบ่งชี้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ และดูเหมือนนโยบายของหลายประเทศกำลังมุ่งตรงมาทางนี้ หลังจากราคาน้ำมันแตะระดับ 135 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันศุกร์
ที่อินเดีย เอ็ม.เอส. ศรีนิวาสาน รัฐมนตรีพลังงาน กล่าวว่าสถานการณ์ตอนนี้เปรียบเสมือนการเตือนภัย และอินเดียต้องตัดไฟแต่ต้นลม พร้อมสำทับว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขึ้นราคาน้ำมัน
ปัญหาน้ำมันแพงมีความรุนแรงอย่างยิ่งสำหรับแดนภารตะ ค่าที่นำเข้าน้ำมันดิบถึง 70% ของดีมานด์ ราคาน้ำมันแพงประกอบกับวิกฤตสภาพคล่องทั่วโลกฉุดเงินรูปีควงสว่านและกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจ
ทางด้านมาเลเซีย มีแนวโน้มว่ากำลังจะเปลี่ยนจุดยืนเช่นกัน หลังจากที่มาตรการอุดหนุนสร้างภาระถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 7% ของจีดีพี และแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนมีนาคมปีหน้าก็ตาม
มีรายงานว่าขณะนี้ กัวลาลัมเปอร์กำลังพิจารณาระบบการตั้งราคาแบบมีสองราคา เพื่อให้คนรวยจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่า และจำกัดการอุดหนุนให้อยู่ในระดับที่รับได้มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ในไต้หวัน สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว รีบออกมายกเลิกการตรึงราคาเบนซินโดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนหน้า
แต่สำหรับจีนประกาศชัดเจนว่าราคาพลังงานจะยังต่ำกว่าอัตราตลาดต่อไป แม้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นมากก่อนถึงโอลิมปิกก็ตาม
ปักกิ่งขึ้นราคาน้ำมัน 10% เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่หลังจากนั้น รัฐบาลอัดฉีดเงินอุดหนุนซิโนเปก รัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซ นับพันล้านดอลลาร์
สำหรับพวกที่รอดูว่า เมื่อใดดีมานด์น้ำมันของโลกจึงจะลดต่ำลง จากการที่ราคาทะยานลิ่วเช่นนี้ เพราะเมื่อความต้องการใช้ตกวูบ ย่อมส่งผลทำให้ราคาต้องไหลลงมาด้วย เรื่องนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในประเทศอย่างอินโดนีเซียย่อมจะทำให้ดีมานด์ลดลงแน่ๆ แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดเห็นผลเป็นรูปธรรมนั้น คงต้องรอให้อินเดียและจีนยอมปล่อยราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเสียก่อน
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไต้หวันตัดสินใจลดการอุดหนุนลงทั้งที่กลัวว่าจะทำให้เกิดการจลาจล เพราะสำหรับคนยากคนจนแล้ว น้ำมันไม่ใช่ปัญหาหนักใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นวิกฤตราคาอาหาร
แม้แต่ยักษ์ใหญ่อินเดียที่สัปดาห์ที่ผ่านมายังพอใจที่จะเห็นบริษัทน้ำมันของรัฐขาดทุนวันละหลายล้านดอลลาร์จากการขายน้ำมันลดราคา แต่วันศุกร์ที่แล้ว (23) บริษัทเหล่านั้นก็ไม่สามารถอั้นอยู่
ส่วนจีนยังปฏิเสธแข็งขันถึงข่าวลือว่ารัฐบาลอาจเปลี่ยนระบบการตั้งราคากลางเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อก่อนถึงมหกรรมกีฬาโอลิมปิก
อูเบน ปาราเซอเลส นักเศรษฐศาสตร์ของรอยัล แบงก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ชี้ว่าประเทศที่อุดหนุนราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในเอเชีย จะถูกกดดันให้เลิกมาตรการอุดหนุน แต่ประเทศที่ไม่ได้ใช้นโยบายนี้ ก็คงหนีไม่พ้นถูกบีบเช่นกัน ให้ทำอะไรสักอย่างเพื่อผู้มีรายได้ต่ำ
ภาวะน้ำมันแพงหมายความว่า ผู้บริโภคเอเชียกำลังตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากรัฐบาลในปัจจุบันอยู่ในฐานะขาดแคลนเงินสด จึงต้องผ่อนการควบคุมราคาสินค้าเพื่อจะได้บรรเทาภาวะขาดดุล และมีเม็ดเงินที่จะไปอัดฉีดให้กับโครงการด้านสุขภาพ การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน
สำหรับประเทศอย่างอินโดนีเซีย สมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่เคยเป็นหนึ่งในชาติที่มีราคาน้ำมันในประเทศถูกที่สุดของโลก แต่วันเวลาเหล่านั้นกำลังจะจบลงในไม่ช้า
เพราะเมื่อวันเสาร์ (24) จาการ์ตาเพิ่งขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 33.3% เป็นลิตรละ 6,000 รูเปียห์ (65 เซนต์) ท่ามกลางการคัดค้านทั่วไปเนื่องจากใกล้กำหนดเลือกตั้งใหญ่เดือนเมษายนปีหน้า แต่ก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่เผชิญปัญหาอากาศเป็นพิษในจาการ์ตา ทว่า ในทางกลับกัน อาจทำให้เกิดการประท้วงในหมู่นักศึกษาและกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง
กระนั้น นักวิเคราะห์กล่าวว่าจาการ์ตาทำถูกแล้ว เพราะวิกฤตน้ำมันแพงทำให้รัฐบาลมีภาระในการอุดหนุนถึง 14,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
นอกจากนั้น ทางการอิเหนายังพยายามผ่อนคลายกระแสต่อต้านด้วยการอัดฉีดเงินสดให้แก่ครอบครัวยากจนโดยตรง อย่างไรก็ดี การขึ้นราคาน้ำมันถือเป็นเดิมพันสำคัญของเกมการเลือกตั้งอย่างช่วยไม่ได้
ปาราเซอเลสบอกว่า การตัดสินใจของจาการ์ตาบ่งชี้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ และดูเหมือนนโยบายของหลายประเทศกำลังมุ่งตรงมาทางนี้ หลังจากราคาน้ำมันแตะระดับ 135 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันศุกร์
ที่อินเดีย เอ็ม.เอส. ศรีนิวาสาน รัฐมนตรีพลังงาน กล่าวว่าสถานการณ์ตอนนี้เปรียบเสมือนการเตือนภัย และอินเดียต้องตัดไฟแต่ต้นลม พร้อมสำทับว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขึ้นราคาน้ำมัน
ปัญหาน้ำมันแพงมีความรุนแรงอย่างยิ่งสำหรับแดนภารตะ ค่าที่นำเข้าน้ำมันดิบถึง 70% ของดีมานด์ ราคาน้ำมันแพงประกอบกับวิกฤตสภาพคล่องทั่วโลกฉุดเงินรูปีควงสว่านและกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจ
ทางด้านมาเลเซีย มีแนวโน้มว่ากำลังจะเปลี่ยนจุดยืนเช่นกัน หลังจากที่มาตรการอุดหนุนสร้างภาระถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 7% ของจีดีพี และแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนมีนาคมปีหน้าก็ตาม
มีรายงานว่าขณะนี้ กัวลาลัมเปอร์กำลังพิจารณาระบบการตั้งราคาแบบมีสองราคา เพื่อให้คนรวยจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่า และจำกัดการอุดหนุนให้อยู่ในระดับที่รับได้มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ในไต้หวัน สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว รีบออกมายกเลิกการตรึงราคาเบนซินโดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนหน้า
แต่สำหรับจีนประกาศชัดเจนว่าราคาพลังงานจะยังต่ำกว่าอัตราตลาดต่อไป แม้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นมากก่อนถึงโอลิมปิกก็ตาม
ปักกิ่งขึ้นราคาน้ำมัน 10% เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่หลังจากนั้น รัฐบาลอัดฉีดเงินอุดหนุนซิโนเปก รัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซ นับพันล้านดอลลาร์
สำหรับพวกที่รอดูว่า เมื่อใดดีมานด์น้ำมันของโลกจึงจะลดต่ำลง จากการที่ราคาทะยานลิ่วเช่นนี้ เพราะเมื่อความต้องการใช้ตกวูบ ย่อมส่งผลทำให้ราคาต้องไหลลงมาด้วย เรื่องนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในประเทศอย่างอินโดนีเซียย่อมจะทำให้ดีมานด์ลดลงแน่ๆ แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดเห็นผลเป็นรูปธรรมนั้น คงต้องรอให้อินเดียและจีนยอมปล่อยราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเสียก่อน