เอเอฟพี - บรรดาผู้นำโลกซึ่งกำลังมองหาหนทางในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหารทั่วโลก อาจพบทางออกอย่างหนึ่งจากการที่ญี่ปุ่นมีสต๊อกข้าวนำเข้าถึง 1.5 ล้านตัน และเก็บใส่กระสอบไว้ตามคลังสินค้าติดแอร์ จนกองสูงเป็นภูเขาเลากา รอการแปรรูปหรือทำอาหารสัตว์ เพราะชาวญี่ปุ่นรับประทานแต่ข้าวในประเทศ
ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาผ่อนปรนข้อตกลงทางการค้าที่ทำไว้กับญี่ปุ่น โดยจะยอมอนุญาตให้ขายข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ในตลาดโลกได้ และญี่ปุ่นก็ได้เตรียมขายข้าวจำนวน 200,000 ตันให้กับฟิลิปินส์
“เรามีสต๊อกข้าวอยู่มหาศาล ดังนั้นเราสามารถส่งออกข้าวไปขายให้กับคนยากจนทั่วโลกเพื่อช่วยชีวิตพวกเขาไว้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน” โนบุฮิโร ซูซูกิ ศาสตราจารย์ด้านเกษตรศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าว
ญี่ปุ่นเคยประสบภาวะขาดแคลนข้าวมาแล้วในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เมื่อความก้าวหน้าในเชิงเกษตรกรรมทำให้ผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ญี่ปุ่นกลับตั้งกำแพงภาษีเพื่อปกป้องชาวนาของตน จนกระทั่งถูกแรงกดดันจากประเทศคู่ค้ายักษ์ใหญ่ ทำให้ต้องยอมเปิดตลาดนำเข้าข้าวจำนวนหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 และปัจจุบันก็มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศปีละ 770,000 ตัน ทว่า หากญี่ปุ่นต้องการจำหน่ายข้าวที่นำเข้าเหล่านี้ให้กับประเทศอื่นก็จะต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศที่ตนซื้อข้าวไว้เสียก่อน
โตชิโรอุ ชิราสุ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นบอกเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รัฐบาลมีแผนที่จะทำตามข้อเรียกร้องของฟิลิปปินส์ที่ขอซื้อข้าว “โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” และอาจพิจารณาหาทางช่วยเหลือด้วยวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม และเมื่อวันศุกร์(23)ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประกาศว่าจะส่งข้าวในสต๊อกจำนวน 200,000 ตัน ไปให้กับประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา รวมทั้งที่อื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนข้าว
ฟิลิปปินส์ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าราคาข้าวในประเทศลดลง หลังจากที่คาดหมายกันว่าญี่ปุ่นจะขายข้าวในสต๊อกให้บางส่วน และให้เหตุผลในการขอซื้อข้าวจากญี่ปุ่นว่า เนื่องจากไม่สามารถจะผลิตข้าวได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2008 และขาดแคลนข้าวอยู่ถึง 2.7 ล้านตัน
แต่นักวิเคราะห์เห็นว่าหากญี่ปุ่นไม่สามารถส่งออกข้าวในสต๊อกมากกว่านี้ ก็ไม่มีทางช่วยแก้ปัญหาให้กับฟิลิปปินส์ได้ด้วยตัวเลขเพียง 100,000 หรือ 200,000 ตัน เพราะฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวจากญี่ปุ่นถึง 600,000 ตัน นอกเหนือไปจากส่วนที่นำเข้าจากปากีสถานและประเทศอื่นๆ
ข้าวนำเข้าในสต๊อกของญี่ปุ่นนั้นราวครึ่งหนึ่งเป็นข้าวจากสหรัฐฯ ที่เหลือมาจากไทยและเวียดนาม ข้าวนำเข้ามักนำไปผลิตเป็นอาหารแปรรูป หรือเก็บไว้จนเสื่อมคุณภาพ แล้วขายเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยินดีซื้อข้าวที่ผลิตในประเทศซึ่งมีราคาสูงกว่าข้าวนำเข้าหลายเท่าตัว เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวญี่ปุ่นที่เป็นข้าวเมล็ดสั้น
“ดิฉันเคยลองทานข้าวนำเข้าจากไทยครั้งหนึ่ง แต่มันไม่ตรงกับรสนิยม ดิฉันก็เลยไม่เคยซื้ออีกเลย” คาทสึเอะ วาตาเบ แม่บ้านวัย 42 ปี ในเมืองคานากาวา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวเล่า
ญี่ปุ่นนั้นเล็งเห็นว่าข้าวเป็นอาหารสำคัญมาเป็นเวลาช้านาน และมีการสต๊อกข้าวที่ผลิตขึ้นในประเทศราวสามแสนถึงหนึ่งล้านตันไว้สำหรับเป็น “มาตรการฉุกเฉิน” เพื่อพยุงราคาข้าวในประเทศ และรับประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนหากเกิดทุพภิกขภัยขึ้น
เวลานี้หลายๆ ประเทศเกิดปัญหาขาดแคลนข้าวจนถึงขั้นมีการประท้วงหรือจลาจล ขณะที่พวกผู้เชี่ยวชาญก็กล่าวโทษว่าราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นก็เพราะข้อจำกัดต่างๆ ทางการค้า การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ตกต่ำ ตลอดจนราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนจากสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวโพด
ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาผ่อนปรนข้อตกลงทางการค้าที่ทำไว้กับญี่ปุ่น โดยจะยอมอนุญาตให้ขายข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ในตลาดโลกได้ และญี่ปุ่นก็ได้เตรียมขายข้าวจำนวน 200,000 ตันให้กับฟิลิปินส์
“เรามีสต๊อกข้าวอยู่มหาศาล ดังนั้นเราสามารถส่งออกข้าวไปขายให้กับคนยากจนทั่วโลกเพื่อช่วยชีวิตพวกเขาไว้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน” โนบุฮิโร ซูซูกิ ศาสตราจารย์ด้านเกษตรศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าว
ญี่ปุ่นเคยประสบภาวะขาดแคลนข้าวมาแล้วในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เมื่อความก้าวหน้าในเชิงเกษตรกรรมทำให้ผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ญี่ปุ่นกลับตั้งกำแพงภาษีเพื่อปกป้องชาวนาของตน จนกระทั่งถูกแรงกดดันจากประเทศคู่ค้ายักษ์ใหญ่ ทำให้ต้องยอมเปิดตลาดนำเข้าข้าวจำนวนหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 และปัจจุบันก็มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศปีละ 770,000 ตัน ทว่า หากญี่ปุ่นต้องการจำหน่ายข้าวที่นำเข้าเหล่านี้ให้กับประเทศอื่นก็จะต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศที่ตนซื้อข้าวไว้เสียก่อน
โตชิโรอุ ชิราสุ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นบอกเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รัฐบาลมีแผนที่จะทำตามข้อเรียกร้องของฟิลิปปินส์ที่ขอซื้อข้าว “โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” และอาจพิจารณาหาทางช่วยเหลือด้วยวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม และเมื่อวันศุกร์(23)ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประกาศว่าจะส่งข้าวในสต๊อกจำนวน 200,000 ตัน ไปให้กับประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา รวมทั้งที่อื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนข้าว
ฟิลิปปินส์ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าราคาข้าวในประเทศลดลง หลังจากที่คาดหมายกันว่าญี่ปุ่นจะขายข้าวในสต๊อกให้บางส่วน และให้เหตุผลในการขอซื้อข้าวจากญี่ปุ่นว่า เนื่องจากไม่สามารถจะผลิตข้าวได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2008 และขาดแคลนข้าวอยู่ถึง 2.7 ล้านตัน
แต่นักวิเคราะห์เห็นว่าหากญี่ปุ่นไม่สามารถส่งออกข้าวในสต๊อกมากกว่านี้ ก็ไม่มีทางช่วยแก้ปัญหาให้กับฟิลิปปินส์ได้ด้วยตัวเลขเพียง 100,000 หรือ 200,000 ตัน เพราะฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวจากญี่ปุ่นถึง 600,000 ตัน นอกเหนือไปจากส่วนที่นำเข้าจากปากีสถานและประเทศอื่นๆ
ข้าวนำเข้าในสต๊อกของญี่ปุ่นนั้นราวครึ่งหนึ่งเป็นข้าวจากสหรัฐฯ ที่เหลือมาจากไทยและเวียดนาม ข้าวนำเข้ามักนำไปผลิตเป็นอาหารแปรรูป หรือเก็บไว้จนเสื่อมคุณภาพ แล้วขายเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยินดีซื้อข้าวที่ผลิตในประเทศซึ่งมีราคาสูงกว่าข้าวนำเข้าหลายเท่าตัว เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวญี่ปุ่นที่เป็นข้าวเมล็ดสั้น
“ดิฉันเคยลองทานข้าวนำเข้าจากไทยครั้งหนึ่ง แต่มันไม่ตรงกับรสนิยม ดิฉันก็เลยไม่เคยซื้ออีกเลย” คาทสึเอะ วาตาเบ แม่บ้านวัย 42 ปี ในเมืองคานากาวา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวเล่า
ญี่ปุ่นนั้นเล็งเห็นว่าข้าวเป็นอาหารสำคัญมาเป็นเวลาช้านาน และมีการสต๊อกข้าวที่ผลิตขึ้นในประเทศราวสามแสนถึงหนึ่งล้านตันไว้สำหรับเป็น “มาตรการฉุกเฉิน” เพื่อพยุงราคาข้าวในประเทศ และรับประกันความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนหากเกิดทุพภิกขภัยขึ้น
เวลานี้หลายๆ ประเทศเกิดปัญหาขาดแคลนข้าวจนถึงขั้นมีการประท้วงหรือจลาจล ขณะที่พวกผู้เชี่ยวชาญก็กล่าวโทษว่าราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นก็เพราะข้อจำกัดต่างๆ ทางการค้า การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ตกต่ำ ตลอดจนราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนจากสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวโพด