ผู้จัดการรายวัน – “มาร์ค โมเบียส” ประธานกองทุน เทเพลตัน มองไทยมีศักยภาพที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆทั่วโลก แนะเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดึงดูดความสนใจนักลงทุนต่างแดน แต่ไม่เห็นด้วยหากภาครัฐบีบให้ปตท. ช่วยอุ้มราคาน้ำมัน ชี้บมจ.ต้องเป็นบรรษัทภิบาล และปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาด เหตุราคาสูงขึ้นจะยิ่งช่วยการใช้น้ำมันให้น้อยลง แย้มหลายอุตสาหกรรมในไทยยังน่าสนใจลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์ และเดินเรือ ด้าน APF ระบุหุ้นไทยมีลุ้น 1 พันจุด
นายมาร์ค โมเบียส ประธานกองทุน เทเพลตัน แอสเซ็ทแมเนจเมนท์ บริษัทแฟรงคลิน เท็มเพิลตัน อินเวสต์เมนต์ที่บริหารพอร์ตการลงทุนทั่วโลก มากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กองทุนเทเพลตัน มีการจัดสรรเงินลงทุนในประเทศไทยในสัดส่วนที่มาก และไม่มีความกังวลที่เรื่องปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ ณ ขณะนี้ ไม่เหมือนนักลงทุนต่างประเทศรายอื่นที่มองจากภายนอกแล้วจะเชื่อว่าประเทศไทยยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองภายหลังจากการปฏิวัติ และยังมีความวุ่นวายอยู่ แต่ในทางกลับกันตอนนี้ไทยมีรัฐบาลใหม่แล้ว ยิ่งถือว่านี่คือโอกาสในการเข้าลงทุน เพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามาก ทำให้สามารถเข้าเก็บหุ้นที่มีศักยภาพที่ในราคาที่ต่ำได้
ขณะเดียวกัน กองทุนยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการเป็นประเทศเกษตรกรรมของไทย รวมถึงพลังงานธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เยอะ ซึ่งทำให้ไทยยังคงได้รับความน่าสนใจในการเข้าลงทุน
“เราไม่ห่วงเรื่องการปฏิวัติ เพราะเรามีประสบการณ์ จากมี 20 ปีก่อหน้านี้ไทยก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้เรามีความเข้าใจ อีกอย่างภาคธุรกิจและการลงทุนก็ยังสามารถดำเนินการได้ต่อไป”
**แนะไทยเร่งแปรรูปดึงดูดนักลงทุน
สำหรับการแข่งขันนั้น นายมาร์ค กล่าวว่า ประเทศไทยต้องแข่งขันกับอีกกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อชักชวนหรือดึงเงินลงทุนจากนานาประเทศเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบละตินอเมริกา แอฟริกา ยุโรปตะวันออก เอเชีย โดยในส่วนของกองทุน เทเพลตัน นั้นได้มีการลงทุนในภูมิภาคเอเชียในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ไต้หวัน โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากนอกประเทศหลังไหลเข้าไปเป็นจำนวนมาก
ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกกลาง นั้น ส่วนตัวประเมินว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะสภาพคล่องสูง และมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก ขณะที่ด้านละตินอเมริกา บราซิลและ เม็กซิโก มีการเติบโตสูงมาก ไม่เฉพาะในด้านเกษตรกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงด้านทรัพย์พยากรณ์ แร่โลหะ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
“ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาประเทศไทยได้ โดยเฉพาะในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้มาอยู่ในรูปบริษัทมหาชน นั้นยิ่งเพิ่มความน่าสนใจต่อการเข้าลงทุนให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติได้อย่างแน่นอน เพราะการแปรรูปจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐวิสาหกิจ อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อแปรรู)แล้ว สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ นอกจากนี้วิธีดังกล่าวยังเป็นกลยุทธ์ซึ่งจีนกำลังนำมาใช้อยู่ในขณะนี้”
ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีนนั้น นายมาร์ค มองว่า เรื่องดังกล่าวจะก่อให้มีความจำเป็นในการลงทุนเกิดขึ้น เพราะสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างได้ปรักหักพังลงไป รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวเลขความต้องการปูนซีเมนต์ และเหล็กจะปรับตัวขึ้นสูงมากจาก จากความต้องการบริโภคที่มีสูง
**ไม่เห็นด้วยหากปตท.อุ้มค่าน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องที่กระทรวงพลังงานของไทย จะให้บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) (PTT) เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการยอมรับกำไรจากการดำเนินงานลง โดยในส่วนของกองทุนเทเพลตันเอง ก็มีเงินลงทุนบางส่วนที่จัดสรรมาลงทุนในหุ้นPTT เช่นกัน ดังนั้นจึงมองเรื่องดังกล่าว ในฐานะนักลงทุน จึงต้องการให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนนั้นเป็นบริษัทที่มีความเป็น บรรษัทธรรมาภิบาล หรือมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน หรือกล่าวว่าได้ว่าควรปล่อยไปตามกระแสและกลไกลตลาด เพราะทุกๆประเทศทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำมันแพงในขณะนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ปัจจุบันนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจต่อการลงทุนที่ช่วยเหลือสภาพวะแวดล้อม ดังนั้นการปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้อีกทาง
“ในวิธีคิดของผม การลดราคาหรือเข้าเป็นแทรกแซงราคาน้ำมันนั้น ไม่ใช้วิธีแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงที่ดีที่สุด รัฐบาลไม่ควรเข้าไปใช้เงินสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเป็นไปตามตลาดทั่วโลก PTT ก็ปรับขึ้นราคาขายไปตามปกติ ซึ่งจะทำให้ประชาชนลดการใช้น้ำมันลงไปเอง เรื่องดังกล่าวควรจะปล่อยให้เป็นไปอย่างเสรี”
นายมาร์ค กล่าวถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า เรื่องดังกล่าวมีปัจจัยหลักอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ ความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศไทยนั้นขณะนี้ค่าเงินบาทยังมีความแข็งแกร่งอยู่มาก ไม่ได้รับผลกระทบจากเร่องดังกล่าวมากเท่าใด ส่วนปัจจัยที่สอง ได้แก่ ซัพพลายที่ไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตน้ำมัน หรือการสร้างโรงกลั่นใหม่นั้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง อาทิก่อหน้านี้รัสเซีย มีปริมาณการผลิตน้ำมันลดลง เนื่องมาจากรัฐบาลเก็บภาษีการผลิตสูงมาก จึงทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลดลง แต่ปัจจุบันรัสเซียเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษี ส่วนปัจจัยที่สาม ได้แก่ ดีมานต์ซึ่งยังมีอยู่สูง และวิธีเดียวที่จะทำให้อุปทานดังกล่าวปรับตัวลดลงได้ จำเป็นที่จะต้องขายน้ำมันในราคาที่สูง และไม่มีการแทรกแซงจากภาครัฐนั่นเอง
**ยืนยันซับไพรม์กระทบไทยน้อย
ประธานกองทุน เทเพลตัน กล่าวถึงสถานการณ์วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)ที่เกิดขึ้นว่า เรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย เพราะธนาคารพาณิชย์ของไทยไม่มีเครื่องมือทางการเงินที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่ในส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้น มองว่าเป็นไปตามกระแสตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกดระทบจากเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวขึ้นเยอะ และได้มีการกระจายการส่งออกไปสูงประเทศอื่นในภูมิภาคเอ เชีย โดยมีการส่งออกไปจีนเพิ่มมากขึ้น หรือมากกว่าการส่งออกไปที่สหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐประสบปัญหา ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก นอกจากนี้พบว่าจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่ปรับตัวลดลง และหลายฝ่ายเชื่อว่าวิกฤตดังกล่าวกำลังจะผ่านพ้นไป ทำให้ขณะนี้มีหลาลกองทุนเริ่มเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐบ้างแล้ว เนื่องจากมีราคาถูก และบ่างสินทรัพย์เหล่านั้นก็มีคุณภาพ
“จากวิกฤตปัญหาซับไพรม์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วปรับตัวลดลงประมาณ1% เท่านั้น แต่สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ (อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต)อย่างจีน บราซิล รัสเซีย ประเทศเหล่านี้ยังมีอัตราการเติบโตของตัวเลขทางเศรษฐกิจในระดับที่ประมาณ 7% และไม่มีการปรับตัวลดลงอันเป็นผลมากจากวิกฤตดังกล่าวแต่อย่างใด”
**ธุรกิจสินค้าบริโภค-เดินเรือน่าสนใจ
โดยปัจจุบัน ประธานกองทุน เทเพลตัน ให้ความเห็นว่า การลงทุนในประเทศไทยนอกเหนือจากการให้ความสำคัญต่อ อุตสาหกรรมด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์แล้ว กองทุนเทเพลตัน ยังให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เพราะมองว่าในอนาคตรายได้ต่อประชารของไทยตจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงธุรกิจการบริการ การค้าปลีก
นอกจากนี้ ธุรกิจการเดินเรือ หรือการขนส่งทางเรือของไทยนั้น นับว่าเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่กองทุนเทเพลตันให้ความสนใจที่จะเข้าลงทุนด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มฟื้นตัว โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐในจีนจะเริ่มมีข้อจำกัดด้านต้นทุน ค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ในเรื่องอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ของจีนยังไม่ดีพอ น่าจะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการจากไทยได้ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยานยนต์ ก็มีความน่าสนใจเช่นกัน เห็นได้จากการสนับสนุนจากภาครัฐบาล และการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการณ์รายใหญ่ๆที่เข้ามาขยายฐานการผลิตในไทยเพิ่มเติม
**แนะเคล็ดเลือกหุ้นสภาพคล่องสูง
นายมาร์ค กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ใช้ในการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นนั้น สิ่งแรกที่มีคามจำเป็นในการซื้อขายหุ้นของบริษัทนั้นๆ ส่วนไม่เว้นแม้แต่การลงทุนในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาที่คุณค่าของบริษัทที่จะเข้าลงทุนว่า เมื่อเราเข้าลงทุนในบริษัทดังกล่าวแล้วจะสามารถผลตอบแทนในอนาคตที่เติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า ณ ปัจจุบันได้มากน้อยแค่ไหน ต้องคำนึงถึงอนาคตของธุรกิจ และผลตอบแทนของอนาคตเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ต้องที่เจ้าของบริษัท ต้องรับทราบถึงหลักการและแนวคิดการบริหารของบริษัทนั้น
“เราต้องเจอผู้บริหารของบริษัทนั้นๆที่จะเข้าไปลงทุนก่อน เรื่องนี้ไม่ควรมีข้อยกเว้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน” นายมาร์ค กล่าว
**ไทยควรออกโรดโชว์บ่อยๆ
นายเคนเนธ ลี ไวท์ ประธานบริษัท เงินทุนฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการปรับตัวที่ได้ แม้ปี 1997 จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ก็มีการปรับตัวที่ดีตลอดมา ทำให้มีบริษัทจากหลายชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากลุ่มเฮดจ์ฟันด์ และกองทุนบำเหน็จบำนาญจากหลายประเทศ เข่ามาลงทุนในตลาดไทยด้วยเช่นกัน
“จากที่มีการปฏิวัติ ก็ทำให้นักลงทุนหลายรายเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากไทยไปสู่ประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตามปกติ เพราะทุกคนย่อมที่จะระมัดระวังในเรื่องความเสี่ยง และแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่นักลงทุนจากอเมริกา และญี่ปุ่นยังมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทยเช่นเดิม เพราะเราได้มีการลงทุนในประเทศนี้มาเป็นเวลานานนั่นเอง แต่หลังจาก 18 เดือนที่ผ่านมาเริ่มสังเกตว่านักลงทุนต่างชาติ เริ่มกลับเข้าลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ แนะนำว่าประเทศไทย ควรที่จะประชาสัมพันธ์ และนำเสนอขอ้มูลต่างๆให้แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น อาทิการโรดโชว์ที่มีอยู่ เพื่อเป็นการแสดงถึงศักยภาพและคุณค่าของการลงทุนในประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้าลงทุนในไทยเพิ่มเติม
**APFยืนยันไทยยังน่าลงทุน
ด้านนายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (APF Group) กล่าวว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุน ดูได้จากปีที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะไม่มีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจกังยังอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งเกิดจากการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสิ้น อีกทั้ง P/E บริษัทในไทยยังอยู่ระดับต่ำ เช่นเดียวกับราคาหุ้น ซึ่งสามารถช่วยสร้าวผลตอบแทนจากการลงทุนที่กลับคืนมาสู่ APF Group ได้
“ไทยยังน่าลงทุน เพราะP/E อยู่ในระดับที่ต่ำ 7-8 เท่า ส่วนปีนี้คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะไปได้ถึงประมาณ 900 – 1,000 จุด อย่างไรก็ตาม จนกว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไปอยู่ที่ 1,800 -2,000 จุด แล้วจึงค่อยกลับมาคิดถึงปัจจัยในการลงทุนในประเทศไทยอีกครั้ง”
นายมาร์ค โมเบียส ประธานกองทุน เทเพลตัน แอสเซ็ทแมเนจเมนท์ บริษัทแฟรงคลิน เท็มเพิลตัน อินเวสต์เมนต์ที่บริหารพอร์ตการลงทุนทั่วโลก มากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กองทุนเทเพลตัน มีการจัดสรรเงินลงทุนในประเทศไทยในสัดส่วนที่มาก และไม่มีความกังวลที่เรื่องปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ ณ ขณะนี้ ไม่เหมือนนักลงทุนต่างประเทศรายอื่นที่มองจากภายนอกแล้วจะเชื่อว่าประเทศไทยยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองภายหลังจากการปฏิวัติ และยังมีความวุ่นวายอยู่ แต่ในทางกลับกันตอนนี้ไทยมีรัฐบาลใหม่แล้ว ยิ่งถือว่านี่คือโอกาสในการเข้าลงทุน เพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามาก ทำให้สามารถเข้าเก็บหุ้นที่มีศักยภาพที่ในราคาที่ต่ำได้
ขณะเดียวกัน กองทุนยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการเป็นประเทศเกษตรกรรมของไทย รวมถึงพลังงานธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เยอะ ซึ่งทำให้ไทยยังคงได้รับความน่าสนใจในการเข้าลงทุน
“เราไม่ห่วงเรื่องการปฏิวัติ เพราะเรามีประสบการณ์ จากมี 20 ปีก่อหน้านี้ไทยก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้เรามีความเข้าใจ อีกอย่างภาคธุรกิจและการลงทุนก็ยังสามารถดำเนินการได้ต่อไป”
**แนะไทยเร่งแปรรูปดึงดูดนักลงทุน
สำหรับการแข่งขันนั้น นายมาร์ค กล่าวว่า ประเทศไทยต้องแข่งขันกับอีกกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อชักชวนหรือดึงเงินลงทุนจากนานาประเทศเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบละตินอเมริกา แอฟริกา ยุโรปตะวันออก เอเชีย โดยในส่วนของกองทุน เทเพลตัน นั้นได้มีการลงทุนในภูมิภาคเอเชียในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ไต้หวัน โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากนอกประเทศหลังไหลเข้าไปเป็นจำนวนมาก
ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกกลาง นั้น ส่วนตัวประเมินว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะสภาพคล่องสูง และมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก ขณะที่ด้านละตินอเมริกา บราซิลและ เม็กซิโก มีการเติบโตสูงมาก ไม่เฉพาะในด้านเกษตรกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงด้านทรัพย์พยากรณ์ แร่โลหะ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
“ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาประเทศไทยได้ โดยเฉพาะในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้มาอยู่ในรูปบริษัทมหาชน นั้นยิ่งเพิ่มความน่าสนใจต่อการเข้าลงทุนให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติได้อย่างแน่นอน เพราะการแปรรูปจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐวิสาหกิจ อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อแปรรู)แล้ว สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ นอกจากนี้วิธีดังกล่าวยังเป็นกลยุทธ์ซึ่งจีนกำลังนำมาใช้อยู่ในขณะนี้”
ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีนนั้น นายมาร์ค มองว่า เรื่องดังกล่าวจะก่อให้มีความจำเป็นในการลงทุนเกิดขึ้น เพราะสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างได้ปรักหักพังลงไป รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวเลขความต้องการปูนซีเมนต์ และเหล็กจะปรับตัวขึ้นสูงมากจาก จากความต้องการบริโภคที่มีสูง
**ไม่เห็นด้วยหากปตท.อุ้มค่าน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องที่กระทรวงพลังงานของไทย จะให้บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) (PTT) เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการยอมรับกำไรจากการดำเนินงานลง โดยในส่วนของกองทุนเทเพลตันเอง ก็มีเงินลงทุนบางส่วนที่จัดสรรมาลงทุนในหุ้นPTT เช่นกัน ดังนั้นจึงมองเรื่องดังกล่าว ในฐานะนักลงทุน จึงต้องการให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนนั้นเป็นบริษัทที่มีความเป็น บรรษัทธรรมาภิบาล หรือมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน หรือกล่าวว่าได้ว่าควรปล่อยไปตามกระแสและกลไกลตลาด เพราะทุกๆประเทศทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำมันแพงในขณะนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ปัจจุบันนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจต่อการลงทุนที่ช่วยเหลือสภาพวะแวดล้อม ดังนั้นการปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาดจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้อีกทาง
“ในวิธีคิดของผม การลดราคาหรือเข้าเป็นแทรกแซงราคาน้ำมันนั้น ไม่ใช้วิธีแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงที่ดีที่สุด รัฐบาลไม่ควรเข้าไปใช้เงินสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเป็นไปตามตลาดทั่วโลก PTT ก็ปรับขึ้นราคาขายไปตามปกติ ซึ่งจะทำให้ประชาชนลดการใช้น้ำมันลงไปเอง เรื่องดังกล่าวควรจะปล่อยให้เป็นไปอย่างเสรี”
นายมาร์ค กล่าวถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า เรื่องดังกล่าวมีปัจจัยหลักอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ ความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศไทยนั้นขณะนี้ค่าเงินบาทยังมีความแข็งแกร่งอยู่มาก ไม่ได้รับผลกระทบจากเร่องดังกล่าวมากเท่าใด ส่วนปัจจัยที่สอง ได้แก่ ซัพพลายที่ไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตน้ำมัน หรือการสร้างโรงกลั่นใหม่นั้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง อาทิก่อหน้านี้รัสเซีย มีปริมาณการผลิตน้ำมันลดลง เนื่องมาจากรัฐบาลเก็บภาษีการผลิตสูงมาก จึงทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลดลง แต่ปัจจุบันรัสเซียเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษี ส่วนปัจจัยที่สาม ได้แก่ ดีมานต์ซึ่งยังมีอยู่สูง และวิธีเดียวที่จะทำให้อุปทานดังกล่าวปรับตัวลดลงได้ จำเป็นที่จะต้องขายน้ำมันในราคาที่สูง และไม่มีการแทรกแซงจากภาครัฐนั่นเอง
**ยืนยันซับไพรม์กระทบไทยน้อย
ประธานกองทุน เทเพลตัน กล่าวถึงสถานการณ์วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)ที่เกิดขึ้นว่า เรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย เพราะธนาคารพาณิชย์ของไทยไม่มีเครื่องมือทางการเงินที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่ในส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้น มองว่าเป็นไปตามกระแสตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกดระทบจากเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวขึ้นเยอะ และได้มีการกระจายการส่งออกไปสูงประเทศอื่นในภูมิภาคเอ เชีย โดยมีการส่งออกไปจีนเพิ่มมากขึ้น หรือมากกว่าการส่งออกไปที่สหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐประสบปัญหา ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก นอกจากนี้พบว่าจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่ปรับตัวลดลง และหลายฝ่ายเชื่อว่าวิกฤตดังกล่าวกำลังจะผ่านพ้นไป ทำให้ขณะนี้มีหลาลกองทุนเริ่มเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐบ้างแล้ว เนื่องจากมีราคาถูก และบ่างสินทรัพย์เหล่านั้นก็มีคุณภาพ
“จากวิกฤตปัญหาซับไพรม์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วปรับตัวลดลงประมาณ1% เท่านั้น แต่สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ (อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต)อย่างจีน บราซิล รัสเซีย ประเทศเหล่านี้ยังมีอัตราการเติบโตของตัวเลขทางเศรษฐกิจในระดับที่ประมาณ 7% และไม่มีการปรับตัวลดลงอันเป็นผลมากจากวิกฤตดังกล่าวแต่อย่างใด”
**ธุรกิจสินค้าบริโภค-เดินเรือน่าสนใจ
โดยปัจจุบัน ประธานกองทุน เทเพลตัน ให้ความเห็นว่า การลงทุนในประเทศไทยนอกเหนือจากการให้ความสำคัญต่อ อุตสาหกรรมด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์แล้ว กองทุนเทเพลตัน ยังให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เพราะมองว่าในอนาคตรายได้ต่อประชารของไทยตจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงธุรกิจการบริการ การค้าปลีก
นอกจากนี้ ธุรกิจการเดินเรือ หรือการขนส่งทางเรือของไทยนั้น นับว่าเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่กองทุนเทเพลตันให้ความสนใจที่จะเข้าลงทุนด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มฟื้นตัว โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐในจีนจะเริ่มมีข้อจำกัดด้านต้นทุน ค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ในเรื่องอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์ของจีนยังไม่ดีพอ น่าจะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการจากไทยได้ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยานยนต์ ก็มีความน่าสนใจเช่นกัน เห็นได้จากการสนับสนุนจากภาครัฐบาล และการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการณ์รายใหญ่ๆที่เข้ามาขยายฐานการผลิตในไทยเพิ่มเติม
**แนะเคล็ดเลือกหุ้นสภาพคล่องสูง
นายมาร์ค กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ใช้ในการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นนั้น สิ่งแรกที่มีคามจำเป็นในการซื้อขายหุ้นของบริษัทนั้นๆ ส่วนไม่เว้นแม้แต่การลงทุนในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาที่คุณค่าของบริษัทที่จะเข้าลงทุนว่า เมื่อเราเข้าลงทุนในบริษัทดังกล่าวแล้วจะสามารถผลตอบแทนในอนาคตที่เติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า ณ ปัจจุบันได้มากน้อยแค่ไหน ต้องคำนึงถึงอนาคตของธุรกิจ และผลตอบแทนของอนาคตเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ต้องที่เจ้าของบริษัท ต้องรับทราบถึงหลักการและแนวคิดการบริหารของบริษัทนั้น
“เราต้องเจอผู้บริหารของบริษัทนั้นๆที่จะเข้าไปลงทุนก่อน เรื่องนี้ไม่ควรมีข้อยกเว้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน” นายมาร์ค กล่าว
**ไทยควรออกโรดโชว์บ่อยๆ
นายเคนเนธ ลี ไวท์ ประธานบริษัท เงินทุนฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการปรับตัวที่ได้ แม้ปี 1997 จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ก็มีการปรับตัวที่ดีตลอดมา ทำให้มีบริษัทจากหลายชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากลุ่มเฮดจ์ฟันด์ และกองทุนบำเหน็จบำนาญจากหลายประเทศ เข่ามาลงทุนในตลาดไทยด้วยเช่นกัน
“จากที่มีการปฏิวัติ ก็ทำให้นักลงทุนหลายรายเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากไทยไปสู่ประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตามปกติ เพราะทุกคนย่อมที่จะระมัดระวังในเรื่องความเสี่ยง และแสวงหาผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่นักลงทุนจากอเมริกา และญี่ปุ่นยังมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทยเช่นเดิม เพราะเราได้มีการลงทุนในประเทศนี้มาเป็นเวลานานนั่นเอง แต่หลังจาก 18 เดือนที่ผ่านมาเริ่มสังเกตว่านักลงทุนต่างชาติ เริ่มกลับเข้าลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ แนะนำว่าประเทศไทย ควรที่จะประชาสัมพันธ์ และนำเสนอขอ้มูลต่างๆให้แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น อาทิการโรดโชว์ที่มีอยู่ เพื่อเป็นการแสดงถึงศักยภาพและคุณค่าของการลงทุนในประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้าลงทุนในไทยเพิ่มเติม
**APFยืนยันไทยยังน่าลงทุน
ด้านนายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (APF Group) กล่าวว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุน ดูได้จากปีที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะไม่มีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจกังยังอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งเกิดจากการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสิ้น อีกทั้ง P/E บริษัทในไทยยังอยู่ระดับต่ำ เช่นเดียวกับราคาหุ้น ซึ่งสามารถช่วยสร้าวผลตอบแทนจากการลงทุนที่กลับคืนมาสู่ APF Group ได้
“ไทยยังน่าลงทุน เพราะP/E อยู่ในระดับที่ต่ำ 7-8 เท่า ส่วนปีนี้คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะไปได้ถึงประมาณ 900 – 1,000 จุด อย่างไรก็ตาม จนกว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไปอยู่ที่ 1,800 -2,000 จุด แล้วจึงค่อยกลับมาคิดถึงปัจจัยในการลงทุนในประเทศไทยอีกครั้ง”