ปชป.ออกแถลงการณ์ จี้ให้ถอนร่างแก้ไขรธน. หยุดทำร้ายประเทศ ย้ำจะคัดค้านแก้รธน.ฉ้อฉล -ช่วยคนปล้นชาติให้ถึงที่สุด "หมัก" ลุกลี้ลุกลน เตรียมออกพ.ร.ก.ประชามติ ไม่รอกฎหมายลูกจากกกต.อ้างชักช้า ไม่ทันกิน ด้านกกต.ยันถ้าใช้รธน. 50 จะออกพ.ร.ก.ประชามติไม่ได้ ต้องรอกฎหมายจากกกต.เท่านั้น ด้าน"พลังแม้ว"ยันไม่ถอนญัตติ แต่จะรอประชามติก่อนค่อยให้สภาพิจารณา ด้านพันธมิตรฯทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ขานรับการชุมนุมใหญ่ 25 พ.ค.นี้ คึกคัก คาดเข้าร่วมหลายหมื่น และอาจอยู่ยาว
วานนี้ (23 พ.ค.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์ แสดงจุดยืนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับที่ 1 เรื่อง "ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หยุดทำร้ายประเทศ!" โดยมีใจความว่า
ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีความเดือดร้อนจากวิกฤตปากท้องโดยขาดการเอาใจใส่ดูแลจากรัฐบาล กลับมีกลุ่มส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและส.ว.บางส่วนเข้าชื่อกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหวังสร้างหลักประกันในการเอื้อประโยชน์ต่อพวกของตัวเองอย่างชัดเจน พรรคประชาธิปัตย์ขอประกาศจุดยืนของพรรค ดังนี้
1. ยังไม่จำเป็นที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เพราะรธน.50 ไม่มีมาตราใดที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการขจัดความเดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจตกต่ำ หรือการหยุดยั้งเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นเพราะความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล ที่ทำให้ปัญหาเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไข
2. เนื้อหาสาระของร่างแก้ไขรธน. ฉบับที่เสนอต่อสภาฯ มีเจตนาที่จะลบล้างกฎหมายที่มีบทลงโทษในคดีที่พวกพ้องของตน ได้ทำผิดไปแล้ว ทั้งคดีทุจริตการเลือกตั้ง และคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกฟ้องร้องในข้อหาโกงชาติในขณะนี้ คือการตัดเนื้อหา มาตรา 237 และมาตรา 309 ออกจากรัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. กกต. ที่กำลังทำหน้าที่กีดมือ ขวางเท้า คนของพรรคพลังประชาชน
3.เจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของกลุ่มผู้ยื่นเสนอญัตตินี้ ยังสะท้อนให้เห็นจากการที่มีการฉ้อฉล ลายมือชื่อของผู้เสนอชื่อ ส.ส.และส.ว.ในญัตตินี้ จนมีการถอนชื่อออกในภายหลัง
4. การแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรี ที่จะจัดให้มีการลงประชามติ ในขณะที่กระบวนการทางรัฐสภายังเดินหน้าต่อไป จึงไม่มีประโยชน์ใดๆและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
5. ถ้าปล่อยให้ร่างแก้ไขรธน. ดังกล่าวเดินไปตามกระบวนการของรัฐสภา จะก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง และอาจนำประเทศไปสู่สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ พรรคจึงต้องต่อสู้คัดค้านการฉ้อฉลและการช่วยคนปล้นชาติในรูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนถึงที่สุด
6. ถ้าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขกฎหมายสูงสุดของประเทศตามอำเภอใจเพื่อเอื้อประโยชน์ของตัวเอง ความเหิมเกริมของคนกลุ่มนี้จะทำร้ายประเทศต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
จึงขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้ยื่นแก้ไข รธน. ถอนร่างฯฉบับนี้ออกจากกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาทันที และให้นายสมัคร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พิสูจน์ความจริงใจในการกล่าวอ้างว่า รัฐบาลไม่มีส่วนรู้เห็นในการกำหนดท่าทีของพรรค โดยให้ลูกพรรคทำตามข้อเรียกร้องนี้ เพื่อให้รัฐบาลได้หันมาทุ่มเทเวลาในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จากนี้ไป พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินหน้าคัดค้านการแก้ไขรธน. ครั้งนี้อย่างเต็มที่ ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่ยึดประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน ในการนำเสนอทางออกที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง
"หมัก" ดัน พ.ร.ก. เร่งลงประชามติ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ส.ส.และส.ว.ยื่นญัตติแก้ไขรธน.ว่า จะไม่ขอให้ลูกพรรคถอนญัตติดังกล่าวออกมาก่อน เขาจะทำอะไรก็ทำไป ส่วนเรื่องการทำประชามติ ที่กกต.บอกว่ายังไม่มีกฎหมาย ตนก็จะไม่รอ หากรอกกต.ก็คงช้า ไม่อยากให้ใครมาปลุกระดมกันด้วยเรื่องนี้
"ผมจะหารือกับฝ่ายกฎหมายของผมว่า จะทำอย่างไร กฤษฎีกาจะแนะนำให้ผมทำอย่างไร มีหนทางตั้งเยอะแยะ คือเขาไปพูดว่าการลงประชามติเป็นการเขียนไว้ผูกพันเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าทำแล้วให้ลงประชามติ ก็จะไม่เอาอันนั้นมาเกี่ยวพันว่ากันตามจริง ผมก็พูดไปตามสัญชาติญาณของผม ซึ่งแน่ใจว่า มันมีกฎหมายประชามติอยู่แล้ว แต่ถ้าหากบังเอิญมันไม่มีอย่างที่คุณสดศรี พูด ที่จริงก็ไม่ยาก หากเราจะรอช้า ให้กกต.ทำกฎหมายนี้เป็นมาตรฐาน แต่ถ้าใครจะปลุกระดมข่มขู่ จะเอากันให้ได้ ผมก็อาจจะใช้วิธี ออกพระราชกำหนด"
เมื่อออกพระราชกำหนด เราก็ทำได้เลยทันที แล้วก็มีลงประชามติและใครจะทำอะไร ยังไงก็สุดแท้แต่ จริงๆแล้วก็มีเวลา 2 เดือนกว่า สภาจะเปิด คุณชัย ท่านบรรจุ แต่ยังไม่ได้นัดวันประชุม มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เราต้องการเวลา 45 วันไว้หาเสียงแล้วลงประชามติ ถ้าผลออกมาไม่ให้แก้ ก็ไม่ต้องแก้ ถ้าประชามติบอกให้แก้ ก็แก้ ก็เท่านั้นเอง " นายสมัครกล่าว และว่าจะนำเรื่องออกพ.ร.ก.ประชามติเข้าหารือในที่ประชุมครม.อังคารนี้ โดยจะถามจะกฤษฎีกา ให้ตรวจว่ามีกฎหมายนี้หรือไม่ ถ้ามีก็ให้นำมาใช้ทำประชามติ คือ เราจะลงประชามติว่าแก้หรือไม่แก้เท่านั้น ง่ายจะตาย ประเด็นเดียว ส่วนกรณีกลุ่มพันธมิตรฯจะมีการเคลื่อนไหวคัดค้าน ก็เรื่องของเขา ไม่ห่วง
"เขาทำก็ทำไปไม่อายชาวบ้านก็แล้วไป ตกลงกันแล้วว่า เราจะขอลงประชามติ แล้วยังจะทำอะไรกันอยู่ ทำอย่างไร ชาวบ้านเขาเห็นเอง ว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้นไม่ห่วงเรื่องนี้เลย เป็นคุณจะห่วงไหม ขอถามหน่อย"
ผู้สื่อข่าวตอบว่า ห่วง นายสมัคร กล่าวว่า ห่วงหรือ คุณควรจะห่วง เพราะคุณไม่ใช่หัวหน้าฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 โดยอยากให้นายกฯแสดงความจริงใจในการใช้เงิน 2 พันล้านบาท ในการทำประชามติ นายสมัคร กล่าวว่า เขาไม่อยากให้ทำหรือ อยากให้ก่อการจลาจลก่อนหรือ คือทำ ให้คนไทยแบ่งค่ายตั้งแต่แรกไม่ดีกว่าหรอ ถ้าบอกว่าให้แก้ ก็แก้ จะได้ปิดปากกันรู้แล้วรู้รอดไป ถ้าไม่แก้ก็ไม่ต้องแก้ ก็ปิดปากคนอยากจะแก้ อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ
เมื่อถามว่า ถ้าผลประชามติออกมาไม่ให้แก้ไข ขณะที่สภาเดินหน้าจะแก้ไข มั่นใจหรือไม่ว่าจะยุติการดำเนินการของสภาได้ นายสมัคร กล่าวว่า ตนไปยุติสภาไม่ได้ แต่สภาเขาคงจะรู้สึกเองว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้แก้ แล้วยังจะไปแก้ ก็เรื่องของเขา ตนจะทำอย่างไรได้ เมื่อถามว่า เวลานี้สังคมกำลังสงสัยว่า ทำไมรัฐบาลกับ ส.ส. ที่ยื่นญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพรรคเดียวกัน ไม่ประสานกันในเรื่องความคิด นายสมัคร กล่าวว่า ประสานอย่างไร อำนาจมันแบ่งกันอย่างนั้น เขาจะใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตนจะถามว่า จะบริหารบ้านเมือง ส.ส. เข้าจะมายับยั้งไหม เขาห้ามไหม ห้ามทำข้าวถุง ห้ามขายประเทศไหน เป็นอำนาจบริหารของตน เขาจะจัดการมันก็เรื่องของเขา เราแบ่งกันแล้ว ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่า ระบบพรรคการเมืองส.ส.ทำอะไรไม่ปรึกษาหรือ นายสมัคร กล่าวว่า บางอย่างไม่จำเป็นต้องมาบอกว่าปรึกษาหรือไม่ปรึกษา แต่ข้อสำคัญสุดคือ เมื่อแบ่งหน้าที่กันแล้วก็ต่างคนต่างทำหน้าที่ เขามีสิทธิคิด ตนมีสิทธิบริหาร และตอนนี้ตนจะฟังเสียงประชาชน ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่ให้แก้ ส.ส.ก็ต้องคิด ว่าประชาชนว่าอย่างไร ถ้าเขาให้แก้ พวกต่อต้านจะได้รู้ว่าไม่ควรต่อต้าน
กกต.ยันรัฐบาลออกพ.ร.ก.ไม่ได้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร จะออกพ.ร.ก.ประชามติ ในการแก้ไขรธน.ว่า การจะออกพ.ร.ก. นั้น ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ถ้าจะร่าง พ.ร.ก.ขึ้นมาเพื่อเหตุอื่น หรือเหตุเพื่อทำประชามติ คงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งดูแล้วขณะนี้ก็ยังไม่มีความขัดแย้งจนถึงเวลาจะต้องออกเป็นพ.ร.ก.
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กกต.ได้พยายามเร่งรัดออกกฎหมายให้เร็วที่สุด แต่คงไม่สามารถใช้ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปพร้อมรัฐธรรมนูญปี 40 แล้ว ดังนั้นกระบวนการทำประชามติครั้งใหม่นี้ ต้องรอ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น
เล่นเล่ห์ไม่ถอนญัตติ แต่จะเลื่อนพิจารณา
นายจตุพร พรหมพันธ์ กรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า แม้จะเป็นอำนาจของประธานสภาฯ ที่ต้องบรรจุญัตติไว้ในระเบียบวาระ ภายใน 15 วัน แต่ ส.ส. ก็มีสิทธิ์ขอเลื่อนการพิจารณาญัตติออกไปก่อนได้ เพื่อรอฟังผลประชามติ หากประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดจึงไม่ให้ ส.ส.ที่ร่วมลงชื่อ ถอนญัตตินี้ออกมาก่อน นายจุตพร กล่าวว่า มันเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงต้องการให้รู้ว่า พรรคพลังประชาชนยังไม่มีมติใดๆในเรื่องนี้ และหากพรรคประชาธิปัตย์ มั่นใจเสียงสนับสนุนของตัวเอง ก็ขอให้ออกไปเดินสายรณรงค์ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วให้ญัตติเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แช่แข็งไว้ในสภา
ปธ.วุฒิเบรก"สมัคร"ทำประชามติ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี เสนอให้ทำประชามติว่าจะแก้ไขรัฐธรรมหรือไม่ ว่า เป็นการสิ้นเปลืองถ้าจะถามประชาชนควรทำประชาพิจารณ์ดีกว่า ซึ่งสามารถทำคู่ขนานไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
"ถ้าอยากจะถามความเห็นประชาชน ก็ควรถอนออกมาก่อนแล้วไปทำประชาพิจารณ์ หรือทำโพลกัน แล้วเสนอเข้ามาใหม่ก็ได้ ไม่เสียหายอะไร" ประธานวุฒิสภา กล่าว
จี้ ปธ.สภาสอบการล่ารายชื่อเสนอญัตติ
นายคำนูณ สิทธิสมาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา แถลงภายหลังเข้ายื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ดำเนินการสอบสวนกรณีที่ ส.ส. และ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ภายหลังได้มีผู้ถอนชื่ออกไป โดยอ้างว่าเข้าใจผิดในสาระสำคัญของญัตติ และบางส่วนยังระบุว่า ญัตติที่ลงชื่อกับญัตติฉบับที่นำเสนอประธานรัฐสภาเป็นคนละฉบับ ซึ่งเห็นว่าข่าวที่เกิดขึ้นกระทบต่อชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือขององค์กรรัฐสภา
ดังนั้น จึงต้องการให้สอบสวนข้อเท็จจริง เนื่องจากเห็นว่าหากมีการหลอกลวงให้ ส.ว.เซ็นชื่อจริง ก็อาจกระทบต่อญัตติ และยังต้องการให้มีการตรวจสอบว่า ใครอยู่เบื้องหลังการหลอกลวง ส.ว. และกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด
นอกจากนี้จะยื่นหนังสือผ่านประธานวุฒิสภา เพื่อให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อขยายผลอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งนายชัย รับจะดำเนินการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา ขณะเดียว กันยังได้หารือว่าญัตติดังกล่าวถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 84 ,86 และ 87 หรือไม่ ซึ่งนายชัย ก็รับจะไปตรวจสอบให้รอบคอบ
ส.ว.แห่ถอนชื่อหวั่นถูกถอดถอน
นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร กล่าว ถึงกรณี ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ล่าสุดมีส.ว.ทยอยมาขอถอนรายชื่ออีกนับ10 คน อาทิ นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี นายบุญส่ง โควาริสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน นายชูชัย เลิศพงษ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ พล.ต.ต.ขจร สัยวัฒน์ ส.ว.หนองคาย พ.ต.อ. พายัพ ทองชื่น ส.ว.สระแก้ว โดยขณะนี้มี ส.ว.ที่ร่วมลงชิ่อ จากจำนวนเริ่มต้นมี 29 คน เหลือเพียง 9 คน เท่านั้น
"สำหรับเหตุผลที่ ส.ว.เหล่านี้เลือกที่จะถอนรายชื่อออกนั้น ทราบมาว่าส่วนใหญ่เป็นการถอยเพื่อตั้งหลัก อีกทั้งบางส่วนถูก ส.ว.สายตรงข้ามกดดัน ดังนั้นเมื่อหารือกันแล้ว จึงเห็นว่าควรรอดูผลประชามติที่รัฐบาลกำลังหนุนให้มีขึ้นก่อน ซึ่งขั้นตอนต่อไป หากผลการทำประชามติสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่ถอนชื่อเหล่านี้ก็จะกลับมาลงรายชื่อสนับสนุนใหม่ และอีกเรื่องที่กังวลคือ หากมีการถอดถอน ส.ส.และส.ว.ขึ้นมา จะเป็นเรื่องที่บานปลาย และสร้างความลำบากให้แก่ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อเหล่านี้ด้วย"นายยุทธนากล่าว
"ชัย" หนุน "หมัก" ออก พ.ร.ก.
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร กำลังตรวจสอบเอกสารการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรธน. 50 ที่ทาง ส.ส.และส.ว.ได้ยื่นมา ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากผิดพลาด มีการปลอมลายเซ็น ก็ต้องส่งคืนไปยังผู้เสนอญัตติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ว.ที่มาถอนรายชื่อออกมาระบุว่า ถูกหลอกให้เซ็นชื่อ นายชัย กล่าวว่า โตๆกันแล้วจะถูกหลอกได้อย่างไร หากถูกหลอกจริง ก็ให้ไปดำเนินคดี แล้วเอาเข้าคุกไปซิ เพราะถือว่าทำให้เสียชื่อเสียง
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้มีการประชามติก่อน ว่าควรที่จะมีการแก้ไขหรือไม่ และระหว่างที่รอการทำประชามติ ก็อยากให้ประธานสภาฯ ระงับญัตติที่ ส.ส.และส.ว.เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน นายชัย กล่าวว่า กระบวนการตรวจสอบไม่รู้ว่าจะเสร็จวันไหน เพราะต้องตรวจสอบเอกสาร และรายชื่อให้ชัดเจนว่า มีการปลอมกัน หรือประเด็นบกพร่องอะไรหรือไม่ และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เสนอว่ามีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสมาชิกรัฐสภาที่เสนอญัตติไป ควรที่จะถอนรายชื่อ นายชัย กล่าวว่า เราไม่มีสิทธิ์ เพราะการลงชื่อสนับสนุนญัตติ เป็นเรื่องเอกสิทธิ์ของสมาชิก แต่อย่างไรก็ตาม การบรรจุระเบียบวาระการประชุมเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรนั้น ต้องกระทำให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันยื่น แต่หากเป็นช่วงปิดสมัยการประชุม ก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่เปิดประชุมสภาฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่านายกฯ จะเสนอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่ รัฐบาลอาจเปิดเพียงแค่ 2-3 วัน ก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาล แต่ เราไม่บังอาจ เพราะเป็นเรื่องคนละส่วนกัน หากมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เราก็ต้องบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าไปตามกระบวนการ แต่หากปิดสมัยการประชุมก่อน เรื่องการยื่นแก้ไข ก็ยังคงค้างอยู่ จนกว่าจะเปิดสมัยการประชุมจึงจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
เมื่อถามว่า กฎหมายประชามติยังไม่ได้ออกมา จะสามารถทำประชามติได้หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ทำได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งฝ่ายบริหารสามารถทำได้ โดยให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือครบอยู่แล้ว หรือว่าจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาก็ได้ ไม่เห็นยากอะไร ใช้อำนาจของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวย้ำว่า ต้องเร่งรีบในการทำประชามติขนาดนั้นหรือ นายชัย กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่หากอยากเร่ง ก็ต้องเดินหน้าทำ ก็อยู่ที่รัฐบาล หากรัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วน กระทบต่อปากท้องของประชาชน ก็สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาได้ เมื่อถามต่อว่าแบบนี้ออกเป็นพระราชกำหนด ว่าเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศได้หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของฝ่ายบริหาร
คาดพันธมิตรฯ ชุมนุมหลายหมื่น
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯเพื่อต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ในวันอาทิตย์นี้ว่า จะมีคนเข้าร่วมนับหมื่นคน และหากไม่มีการสกัดกั้นจากรัฐบาล น่าจะมีมาร่วมหลายหมื่นคนแน่นอน เพราะนอกเหนือจากฐานมวลชนเดิมแล้ว ยังมีแนวร่วมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คนที่เคยโลเลวันนี้ตัดสินใจชัดเจนว่าจะเข้ามาร่วมชุมนุม มีแนวร่วมใหม่อย่างน้อยจาก 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐ-กิจ แล้วเห็นว่ารัฐบาลมุ่งแต่จะรื้อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้านได้
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาประเทศได้ แต่กลับสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเผชิญหน้าตลอดเวลา
กลุ่มที่ 3 เห็นว่ารัฐบาลละเลย และไม่จริงใจต่อการจัดการกับขบวนการโจมตีสถาบันเบื้องสูง โดยเฉพาะกรณีที่คนในรัฐบาลมีพฤติกรรมหมิ่นเหม่เสียเอง
นายสุริยะใส กล่าวว่า เป้าหมายในการชุมนุม ยังอยู่ที่การเรียกร้องให้ถอนญัตติล้มล้างรัฐธรรมนูญออกจากสภา เพราะวันนี้การลงประชามติไม่มีความหมาย เปลืองงบประมาณแผ่นดินเปล่าๆ และไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งอะไร เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนและ ส.ว.ในเครือข่ายมีเจตนาชัดแจ้งที่จะรื้อรัฐธรรมนูญเพื่อตัดตอนกระบวนการยุติธรรม และฟอกผิดพวกเดียวกัน
ฉะนั้นแม้ในสัปดาห์หน้า ครม.มีมติและอนุมัติงบประมาณให้ลงประชามติ ก็คงไม่มีสภาพบังคับอะไร เพราะญัตติแก้ไขรัฐ-ธรรมนูญเดินหน้าไปแล้ว
ชี้ 4 ฐานความผิดกลุ่มล้มล้าง รธน.
สำหรับการถอดถอน ได้ระบุข้อกล่าวหาไป 4 ฐานความผิด คือ ความผิดของ ส.ส. และ ส.ว. ตามาตรา 122 กรณีผลประโยชน์ขัดกัน แยกเป็นคนละกรณีระหว่าง ส.ส.กับ ส.ว. ความผิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบตาม มาตรา 291 และความผิดล้มล้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อหรือไม่ คงประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ได้บอกให้มวลชนพันธมิตรฯ เตรียมตัวกันพร้อมจะอยู่ยาว หรือยืดเยื้อถ้าจำเป็น และการชุมนุมในบ่ายวันอาทิตย์นี้ ได้มีการประสานเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ และ กทมไว้แล้ว โดยจะมีการตั้งเวทีที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยบนเวทีจะมีการปราศรัยของ 5 แกนนำ และตัวแทนองค์กรต่างๆ รวมทั้งจะเชิญนักวิชาการ และชมรม ส.ส.ร. 50 มาร่วมปราศรัยให้ข้อมูลกับสังคม รวมทั้ง ศิลปินเพื่อชีวิต ก็มากันคับคั่งเช่นเคย
พันธมิตรฯ ภูมิภาคระดมพลเข้าร่วม
สำหรับความเคลื่อนไหวของเครือข่ายพันธมิตรฯในส่วนภูมิภาค ต่างขานรับการชุมนุมต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญกันอย่างคึกคัก โดยบางส่วนจะเดินทางมาสมทบที่ กรุงเทพฯ และบางส่วนจะจัดชุมนุมในพื้นที่ จังหวัดของตน
ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ในฐานะเลขาธิการสมัชชาประชาชนภาคอีสาน 19 จังหวัด และประธานกลุ่มภาคีมวลชนคนโคราชรักประชาธิปไตย เปิดเผยว่าทางเครือข่าย ได้มีการประชุมกันและมีมติ เข้าร่วมร่วมการชุมนุมในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมออกแถลงการณ์ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างถึงที่สุด
ส่วนกลุ่มพันธมิตรสงขลาเพื่อประชาธิปไตย นำโดย อ.บุญเรือง มานะสุรกาญจน์ อดีตประธานสภาอาจารย์ มอ.หาดใหญ่ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มจะมีสมาชิกส่วนหนึ่งไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ และจะมีการชุมนุมที่ลานประชาชนหน้าสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ควบคู่ไปด้วย
ส่วนที่ จ.ตากน.ส.นิตยา กุระคาน แกนนำพันธมิตรฯ จ.ตาก และภาคเหนือตอนล่าง เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้ออกแถลงการณ์ เรื่องการชุมนุมใหญ่คัดค้านการล้มล้างรธน. รวมทั้งกรณี นายจักรภพ เพ็ญแข ที่พูดหมิ่นสถาบันเบื้องสูงซึ่งคนไทยยอมไม่ได้ โดยจะมีสมาชิกส่วนหนึ่งเดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯด้วย
นายโสภณ ขำวงษ์ แกนนำพันธมิตรฯ จ.จันทบุรี กล่าวว่า สมาชิกกลุ่มพันธมิตรในภาคตะวันออก จากจันทบุรี ระยอง ชลบุรี จะเดินทางเข้าไปร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงพลังคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการบอกว่า รัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง โดยเฉพาะราคาผลไม้ ที่ตกต่ำอย่างมาก
"พัชรวาท" สั่งดูแลพันธมิตรฯ
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) ลงนามสั่งการถึง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ให้สืบสวนหาข่าววิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดเตรียมความพร้อมในการรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในบ่ายวันที่ 25 พ.ค. โดยกำชับให้ตำรวจยึดตามระเบียบคำสั่งและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำตร.ทำหน้าที่รองผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า วันที่ 25 พ.ค. เวลา 10.00 น. ตนจะประชุมวางแผนรับมือการชุมนุมที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยจะมีตำรวจจาก บช.ก.,บช.น.,บช.ส,ตชด. เข้าร่วมประชุม โดยนโยบายสำคัญให้เจ้าหน้าที่ตำรวจป้องกันการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มต่อต้านการชุมนุม ให้มีการแยกกันโดยเด็ดขาด เพราะจะมีกลุ่มคนวันเสาร์ ซึ่งเป็นแนวร่วมของ นปก. ตั้งเวทีปราศรัยยังท้องสนามหลวง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันขึ้น จึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ในการป้องกันอย่างเต็มที่
วานนี้ (23 พ.ค.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์ แสดงจุดยืนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับที่ 1 เรื่อง "ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หยุดทำร้ายประเทศ!" โดยมีใจความว่า
ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีความเดือดร้อนจากวิกฤตปากท้องโดยขาดการเอาใจใส่ดูแลจากรัฐบาล กลับมีกลุ่มส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและส.ว.บางส่วนเข้าชื่อกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อหวังสร้างหลักประกันในการเอื้อประโยชน์ต่อพวกของตัวเองอย่างชัดเจน พรรคประชาธิปัตย์ขอประกาศจุดยืนของพรรค ดังนี้
1. ยังไม่จำเป็นที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เพราะรธน.50 ไม่มีมาตราใดที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการขจัดความเดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจตกต่ำ หรือการหยุดยั้งเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นเพราะความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล ที่ทำให้ปัญหาเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไข
2. เนื้อหาสาระของร่างแก้ไขรธน. ฉบับที่เสนอต่อสภาฯ มีเจตนาที่จะลบล้างกฎหมายที่มีบทลงโทษในคดีที่พวกพ้องของตน ได้ทำผิดไปแล้ว ทั้งคดีทุจริตการเลือกตั้ง และคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกฟ้องร้องในข้อหาโกงชาติในขณะนี้ คือการตัดเนื้อหา มาตรา 237 และมาตรา 309 ออกจากรัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. กกต. ที่กำลังทำหน้าที่กีดมือ ขวางเท้า คนของพรรคพลังประชาชน
3.เจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของกลุ่มผู้ยื่นเสนอญัตตินี้ ยังสะท้อนให้เห็นจากการที่มีการฉ้อฉล ลายมือชื่อของผู้เสนอชื่อ ส.ส.และส.ว.ในญัตตินี้ จนมีการถอนชื่อออกในภายหลัง
4. การแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรี ที่จะจัดให้มีการลงประชามติ ในขณะที่กระบวนการทางรัฐสภายังเดินหน้าต่อไป จึงไม่มีประโยชน์ใดๆและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
5. ถ้าปล่อยให้ร่างแก้ไขรธน. ดังกล่าวเดินไปตามกระบวนการของรัฐสภา จะก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง และอาจนำประเทศไปสู่สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ พรรคจึงต้องต่อสู้คัดค้านการฉ้อฉลและการช่วยคนปล้นชาติในรูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนถึงที่สุด
6. ถ้าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขกฎหมายสูงสุดของประเทศตามอำเภอใจเพื่อเอื้อประโยชน์ของตัวเอง ความเหิมเกริมของคนกลุ่มนี้จะทำร้ายประเทศต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
จึงขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้ยื่นแก้ไข รธน. ถอนร่างฯฉบับนี้ออกจากกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาทันที และให้นายสมัคร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พิสูจน์ความจริงใจในการกล่าวอ้างว่า รัฐบาลไม่มีส่วนรู้เห็นในการกำหนดท่าทีของพรรค โดยให้ลูกพรรคทำตามข้อเรียกร้องนี้ เพื่อให้รัฐบาลได้หันมาทุ่มเทเวลาในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จากนี้ไป พรรคประชาธิปัตย์ จะเดินหน้าคัดค้านการแก้ไขรธน. ครั้งนี้อย่างเต็มที่ ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่ยึดประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน ในการนำเสนอทางออกที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง
"หมัก" ดัน พ.ร.ก. เร่งลงประชามติ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ส.ส.และส.ว.ยื่นญัตติแก้ไขรธน.ว่า จะไม่ขอให้ลูกพรรคถอนญัตติดังกล่าวออกมาก่อน เขาจะทำอะไรก็ทำไป ส่วนเรื่องการทำประชามติ ที่กกต.บอกว่ายังไม่มีกฎหมาย ตนก็จะไม่รอ หากรอกกต.ก็คงช้า ไม่อยากให้ใครมาปลุกระดมกันด้วยเรื่องนี้
"ผมจะหารือกับฝ่ายกฎหมายของผมว่า จะทำอย่างไร กฤษฎีกาจะแนะนำให้ผมทำอย่างไร มีหนทางตั้งเยอะแยะ คือเขาไปพูดว่าการลงประชามติเป็นการเขียนไว้ผูกพันเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าทำแล้วให้ลงประชามติ ก็จะไม่เอาอันนั้นมาเกี่ยวพันว่ากันตามจริง ผมก็พูดไปตามสัญชาติญาณของผม ซึ่งแน่ใจว่า มันมีกฎหมายประชามติอยู่แล้ว แต่ถ้าหากบังเอิญมันไม่มีอย่างที่คุณสดศรี พูด ที่จริงก็ไม่ยาก หากเราจะรอช้า ให้กกต.ทำกฎหมายนี้เป็นมาตรฐาน แต่ถ้าใครจะปลุกระดมข่มขู่ จะเอากันให้ได้ ผมก็อาจจะใช้วิธี ออกพระราชกำหนด"
เมื่อออกพระราชกำหนด เราก็ทำได้เลยทันที แล้วก็มีลงประชามติและใครจะทำอะไร ยังไงก็สุดแท้แต่ จริงๆแล้วก็มีเวลา 2 เดือนกว่า สภาจะเปิด คุณชัย ท่านบรรจุ แต่ยังไม่ได้นัดวันประชุม มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เราต้องการเวลา 45 วันไว้หาเสียงแล้วลงประชามติ ถ้าผลออกมาไม่ให้แก้ ก็ไม่ต้องแก้ ถ้าประชามติบอกให้แก้ ก็แก้ ก็เท่านั้นเอง " นายสมัครกล่าว และว่าจะนำเรื่องออกพ.ร.ก.ประชามติเข้าหารือในที่ประชุมครม.อังคารนี้ โดยจะถามจะกฤษฎีกา ให้ตรวจว่ามีกฎหมายนี้หรือไม่ ถ้ามีก็ให้นำมาใช้ทำประชามติ คือ เราจะลงประชามติว่าแก้หรือไม่แก้เท่านั้น ง่ายจะตาย ประเด็นเดียว ส่วนกรณีกลุ่มพันธมิตรฯจะมีการเคลื่อนไหวคัดค้าน ก็เรื่องของเขา ไม่ห่วง
"เขาทำก็ทำไปไม่อายชาวบ้านก็แล้วไป ตกลงกันแล้วว่า เราจะขอลงประชามติ แล้วยังจะทำอะไรกันอยู่ ทำอย่างไร ชาวบ้านเขาเห็นเอง ว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้นไม่ห่วงเรื่องนี้เลย เป็นคุณจะห่วงไหม ขอถามหน่อย"
ผู้สื่อข่าวตอบว่า ห่วง นายสมัคร กล่าวว่า ห่วงหรือ คุณควรจะห่วง เพราะคุณไม่ใช่หัวหน้าฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 โดยอยากให้นายกฯแสดงความจริงใจในการใช้เงิน 2 พันล้านบาท ในการทำประชามติ นายสมัคร กล่าวว่า เขาไม่อยากให้ทำหรือ อยากให้ก่อการจลาจลก่อนหรือ คือทำ ให้คนไทยแบ่งค่ายตั้งแต่แรกไม่ดีกว่าหรอ ถ้าบอกว่าให้แก้ ก็แก้ จะได้ปิดปากกันรู้แล้วรู้รอดไป ถ้าไม่แก้ก็ไม่ต้องแก้ ก็ปิดปากคนอยากจะแก้ อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ
เมื่อถามว่า ถ้าผลประชามติออกมาไม่ให้แก้ไข ขณะที่สภาเดินหน้าจะแก้ไข มั่นใจหรือไม่ว่าจะยุติการดำเนินการของสภาได้ นายสมัคร กล่าวว่า ตนไปยุติสภาไม่ได้ แต่สภาเขาคงจะรู้สึกเองว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้แก้ แล้วยังจะไปแก้ ก็เรื่องของเขา ตนจะทำอย่างไรได้ เมื่อถามว่า เวลานี้สังคมกำลังสงสัยว่า ทำไมรัฐบาลกับ ส.ส. ที่ยื่นญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพรรคเดียวกัน ไม่ประสานกันในเรื่องความคิด นายสมัคร กล่าวว่า ประสานอย่างไร อำนาจมันแบ่งกันอย่างนั้น เขาจะใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตนจะถามว่า จะบริหารบ้านเมือง ส.ส. เข้าจะมายับยั้งไหม เขาห้ามไหม ห้ามทำข้าวถุง ห้ามขายประเทศไหน เป็นอำนาจบริหารของตน เขาจะจัดการมันก็เรื่องของเขา เราแบ่งกันแล้ว ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่า ระบบพรรคการเมืองส.ส.ทำอะไรไม่ปรึกษาหรือ นายสมัคร กล่าวว่า บางอย่างไม่จำเป็นต้องมาบอกว่าปรึกษาหรือไม่ปรึกษา แต่ข้อสำคัญสุดคือ เมื่อแบ่งหน้าที่กันแล้วก็ต่างคนต่างทำหน้าที่ เขามีสิทธิคิด ตนมีสิทธิบริหาร และตอนนี้ตนจะฟังเสียงประชาชน ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่ให้แก้ ส.ส.ก็ต้องคิด ว่าประชาชนว่าอย่างไร ถ้าเขาให้แก้ พวกต่อต้านจะได้รู้ว่าไม่ควรต่อต้าน
กกต.ยันรัฐบาลออกพ.ร.ก.ไม่ได้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร จะออกพ.ร.ก.ประชามติ ในการแก้ไขรธน.ว่า การจะออกพ.ร.ก. นั้น ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ถ้าจะร่าง พ.ร.ก.ขึ้นมาเพื่อเหตุอื่น หรือเหตุเพื่อทำประชามติ คงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งดูแล้วขณะนี้ก็ยังไม่มีความขัดแย้งจนถึงเวลาจะต้องออกเป็นพ.ร.ก.
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กกต.ได้พยายามเร่งรัดออกกฎหมายให้เร็วที่สุด แต่คงไม่สามารถใช้ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ.2541 ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปพร้อมรัฐธรรมนูญปี 40 แล้ว ดังนั้นกระบวนการทำประชามติครั้งใหม่นี้ ต้องรอ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น
เล่นเล่ห์ไม่ถอนญัตติ แต่จะเลื่อนพิจารณา
นายจตุพร พรหมพันธ์ กรรมการประชาสัมพันธ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า แม้จะเป็นอำนาจของประธานสภาฯ ที่ต้องบรรจุญัตติไว้ในระเบียบวาระ ภายใน 15 วัน แต่ ส.ส. ก็มีสิทธิ์ขอเลื่อนการพิจารณาญัตติออกไปก่อนได้ เพื่อรอฟังผลประชามติ หากประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดจึงไม่ให้ ส.ส.ที่ร่วมลงชื่อ ถอนญัตตินี้ออกมาก่อน นายจุตพร กล่าวว่า มันเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงต้องการให้รู้ว่า พรรคพลังประชาชนยังไม่มีมติใดๆในเรื่องนี้ และหากพรรคประชาธิปัตย์ มั่นใจเสียงสนับสนุนของตัวเอง ก็ขอให้ออกไปเดินสายรณรงค์ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วให้ญัตติเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แช่แข็งไว้ในสภา
ปธ.วุฒิเบรก"สมัคร"ทำประชามติ
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี เสนอให้ทำประชามติว่าจะแก้ไขรัฐธรรมหรือไม่ ว่า เป็นการสิ้นเปลืองถ้าจะถามประชาชนควรทำประชาพิจารณ์ดีกว่า ซึ่งสามารถทำคู่ขนานไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้
"ถ้าอยากจะถามความเห็นประชาชน ก็ควรถอนออกมาก่อนแล้วไปทำประชาพิจารณ์ หรือทำโพลกัน แล้วเสนอเข้ามาใหม่ก็ได้ ไม่เสียหายอะไร" ประธานวุฒิสภา กล่าว
จี้ ปธ.สภาสอบการล่ารายชื่อเสนอญัตติ
นายคำนูณ สิทธิสมาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา แถลงภายหลังเข้ายื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ดำเนินการสอบสวนกรณีที่ ส.ส. และ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ภายหลังได้มีผู้ถอนชื่ออกไป โดยอ้างว่าเข้าใจผิดในสาระสำคัญของญัตติ และบางส่วนยังระบุว่า ญัตติที่ลงชื่อกับญัตติฉบับที่นำเสนอประธานรัฐสภาเป็นคนละฉบับ ซึ่งเห็นว่าข่าวที่เกิดขึ้นกระทบต่อชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือขององค์กรรัฐสภา
ดังนั้น จึงต้องการให้สอบสวนข้อเท็จจริง เนื่องจากเห็นว่าหากมีการหลอกลวงให้ ส.ว.เซ็นชื่อจริง ก็อาจกระทบต่อญัตติ และยังต้องการให้มีการตรวจสอบว่า ใครอยู่เบื้องหลังการหลอกลวง ส.ว. และกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด
นอกจากนี้จะยื่นหนังสือผ่านประธานวุฒิสภา เพื่อให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อขยายผลอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งนายชัย รับจะดำเนินการสอบสวนอย่างตรงไปตรงมา ขณะเดียว กันยังได้หารือว่าญัตติดังกล่าวถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 84 ,86 และ 87 หรือไม่ ซึ่งนายชัย ก็รับจะไปตรวจสอบให้รอบคอบ
ส.ว.แห่ถอนชื่อหวั่นถูกถอดถอน
นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร กล่าว ถึงกรณี ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ล่าสุดมีส.ว.ทยอยมาขอถอนรายชื่ออีกนับ10 คน อาทิ นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี นายบุญส่ง โควาริสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน นายชูชัย เลิศพงษ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ พล.ต.ต.ขจร สัยวัฒน์ ส.ว.หนองคาย พ.ต.อ. พายัพ ทองชื่น ส.ว.สระแก้ว โดยขณะนี้มี ส.ว.ที่ร่วมลงชิ่อ จากจำนวนเริ่มต้นมี 29 คน เหลือเพียง 9 คน เท่านั้น
"สำหรับเหตุผลที่ ส.ว.เหล่านี้เลือกที่จะถอนรายชื่อออกนั้น ทราบมาว่าส่วนใหญ่เป็นการถอยเพื่อตั้งหลัก อีกทั้งบางส่วนถูก ส.ว.สายตรงข้ามกดดัน ดังนั้นเมื่อหารือกันแล้ว จึงเห็นว่าควรรอดูผลประชามติที่รัฐบาลกำลังหนุนให้มีขึ้นก่อน ซึ่งขั้นตอนต่อไป หากผลการทำประชามติสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่ถอนชื่อเหล่านี้ก็จะกลับมาลงรายชื่อสนับสนุนใหม่ และอีกเรื่องที่กังวลคือ หากมีการถอดถอน ส.ส.และส.ว.ขึ้นมา จะเป็นเรื่องที่บานปลาย และสร้างความลำบากให้แก่ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อเหล่านี้ด้วย"นายยุทธนากล่าว
"ชัย" หนุน "หมัก" ออก พ.ร.ก.
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร กำลังตรวจสอบเอกสารการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรธน. 50 ที่ทาง ส.ส.และส.ว.ได้ยื่นมา ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากผิดพลาด มีการปลอมลายเซ็น ก็ต้องส่งคืนไปยังผู้เสนอญัตติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ว.ที่มาถอนรายชื่อออกมาระบุว่า ถูกหลอกให้เซ็นชื่อ นายชัย กล่าวว่า โตๆกันแล้วจะถูกหลอกได้อย่างไร หากถูกหลอกจริง ก็ให้ไปดำเนินคดี แล้วเอาเข้าคุกไปซิ เพราะถือว่าทำให้เสียชื่อเสียง
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้มีการประชามติก่อน ว่าควรที่จะมีการแก้ไขหรือไม่ และระหว่างที่รอการทำประชามติ ก็อยากให้ประธานสภาฯ ระงับญัตติที่ ส.ส.และส.ว.เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน นายชัย กล่าวว่า กระบวนการตรวจสอบไม่รู้ว่าจะเสร็จวันไหน เพราะต้องตรวจสอบเอกสาร และรายชื่อให้ชัดเจนว่า มีการปลอมกัน หรือประเด็นบกพร่องอะไรหรือไม่ และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เสนอว่ามีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสมาชิกรัฐสภาที่เสนอญัตติไป ควรที่จะถอนรายชื่อ นายชัย กล่าวว่า เราไม่มีสิทธิ์ เพราะการลงชื่อสนับสนุนญัตติ เป็นเรื่องเอกสิทธิ์ของสมาชิก แต่อย่างไรก็ตาม การบรรจุระเบียบวาระการประชุมเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรนั้น ต้องกระทำให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันยื่น แต่หากเป็นช่วงปิดสมัยการประชุม ก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่เปิดประชุมสภาฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่านายกฯ จะเสนอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่ รัฐบาลอาจเปิดเพียงแค่ 2-3 วัน ก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาล แต่ เราไม่บังอาจ เพราะเป็นเรื่องคนละส่วนกัน หากมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เราก็ต้องบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าไปตามกระบวนการ แต่หากปิดสมัยการประชุมก่อน เรื่องการยื่นแก้ไข ก็ยังคงค้างอยู่ จนกว่าจะเปิดสมัยการประชุมจึงจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
เมื่อถามว่า กฎหมายประชามติยังไม่ได้ออกมา จะสามารถทำประชามติได้หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ทำได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งฝ่ายบริหารสามารถทำได้ โดยให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือครบอยู่แล้ว หรือว่าจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกมาก็ได้ ไม่เห็นยากอะไร ใช้อำนาจของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวย้ำว่า ต้องเร่งรีบในการทำประชามติขนาดนั้นหรือ นายชัย กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่หากอยากเร่ง ก็ต้องเดินหน้าทำ ก็อยู่ที่รัฐบาล หากรัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วน กระทบต่อปากท้องของประชาชน ก็สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาได้ เมื่อถามต่อว่าแบบนี้ออกเป็นพระราชกำหนด ว่าเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศได้หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของฝ่ายบริหาร
คาดพันธมิตรฯ ชุมนุมหลายหมื่น
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯเพื่อต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ในวันอาทิตย์นี้ว่า จะมีคนเข้าร่วมนับหมื่นคน และหากไม่มีการสกัดกั้นจากรัฐบาล น่าจะมีมาร่วมหลายหมื่นคนแน่นอน เพราะนอกเหนือจากฐานมวลชนเดิมแล้ว ยังมีแนวร่วมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คนที่เคยโลเลวันนี้ตัดสินใจชัดเจนว่าจะเข้ามาร่วมชุมนุม มีแนวร่วมใหม่อย่างน้อยจาก 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐ-กิจ แล้วเห็นว่ารัฐบาลมุ่งแต่จะรื้อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้านได้
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะแก้ปัญหาประเทศได้ แต่กลับสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเผชิญหน้าตลอดเวลา
กลุ่มที่ 3 เห็นว่ารัฐบาลละเลย และไม่จริงใจต่อการจัดการกับขบวนการโจมตีสถาบันเบื้องสูง โดยเฉพาะกรณีที่คนในรัฐบาลมีพฤติกรรมหมิ่นเหม่เสียเอง
นายสุริยะใส กล่าวว่า เป้าหมายในการชุมนุม ยังอยู่ที่การเรียกร้องให้ถอนญัตติล้มล้างรัฐธรรมนูญออกจากสภา เพราะวันนี้การลงประชามติไม่มีความหมาย เปลืองงบประมาณแผ่นดินเปล่าๆ และไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งอะไร เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนและ ส.ว.ในเครือข่ายมีเจตนาชัดแจ้งที่จะรื้อรัฐธรรมนูญเพื่อตัดตอนกระบวนการยุติธรรม และฟอกผิดพวกเดียวกัน
ฉะนั้นแม้ในสัปดาห์หน้า ครม.มีมติและอนุมัติงบประมาณให้ลงประชามติ ก็คงไม่มีสภาพบังคับอะไร เพราะญัตติแก้ไขรัฐ-ธรรมนูญเดินหน้าไปแล้ว
ชี้ 4 ฐานความผิดกลุ่มล้มล้าง รธน.
สำหรับการถอดถอน ได้ระบุข้อกล่าวหาไป 4 ฐานความผิด คือ ความผิดของ ส.ส. และ ส.ว. ตามาตรา 122 กรณีผลประโยชน์ขัดกัน แยกเป็นคนละกรณีระหว่าง ส.ส.กับ ส.ว. ความผิดปฏิบัติหน้าที่มิชอบตาม มาตรา 291 และความผิดล้มล้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อหรือไม่ คงประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ได้บอกให้มวลชนพันธมิตรฯ เตรียมตัวกันพร้อมจะอยู่ยาว หรือยืดเยื้อถ้าจำเป็น และการชุมนุมในบ่ายวันอาทิตย์นี้ ได้มีการประสานเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ และ กทมไว้แล้ว โดยจะมีการตั้งเวทีที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยบนเวทีจะมีการปราศรัยของ 5 แกนนำ และตัวแทนองค์กรต่างๆ รวมทั้งจะเชิญนักวิชาการ และชมรม ส.ส.ร. 50 มาร่วมปราศรัยให้ข้อมูลกับสังคม รวมทั้ง ศิลปินเพื่อชีวิต ก็มากันคับคั่งเช่นเคย
พันธมิตรฯ ภูมิภาคระดมพลเข้าร่วม
สำหรับความเคลื่อนไหวของเครือข่ายพันธมิตรฯในส่วนภูมิภาค ต่างขานรับการชุมนุมต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญกันอย่างคึกคัก โดยบางส่วนจะเดินทางมาสมทบที่ กรุงเทพฯ และบางส่วนจะจัดชุมนุมในพื้นที่ จังหวัดของตน
ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ในฐานะเลขาธิการสมัชชาประชาชนภาคอีสาน 19 จังหวัด และประธานกลุ่มภาคีมวลชนคนโคราชรักประชาธิปไตย เปิดเผยว่าทางเครือข่าย ได้มีการประชุมกันและมีมติ เข้าร่วมร่วมการชุมนุมในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมออกแถลงการณ์ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างถึงที่สุด
ส่วนกลุ่มพันธมิตรสงขลาเพื่อประชาธิปไตย นำโดย อ.บุญเรือง มานะสุรกาญจน์ อดีตประธานสภาอาจารย์ มอ.หาดใหญ่ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มจะมีสมาชิกส่วนหนึ่งไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ และจะมีการชุมนุมที่ลานประชาชนหน้าสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ควบคู่ไปด้วย
ส่วนที่ จ.ตากน.ส.นิตยา กุระคาน แกนนำพันธมิตรฯ จ.ตาก และภาคเหนือตอนล่าง เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้ออกแถลงการณ์ เรื่องการชุมนุมใหญ่คัดค้านการล้มล้างรธน. รวมทั้งกรณี นายจักรภพ เพ็ญแข ที่พูดหมิ่นสถาบันเบื้องสูงซึ่งคนไทยยอมไม่ได้ โดยจะมีสมาชิกส่วนหนึ่งเดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯด้วย
นายโสภณ ขำวงษ์ แกนนำพันธมิตรฯ จ.จันทบุรี กล่าวว่า สมาชิกกลุ่มพันธมิตรในภาคตะวันออก จากจันทบุรี ระยอง ชลบุรี จะเดินทางเข้าไปร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงพลังคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการบอกว่า รัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง โดยเฉพาะราคาผลไม้ ที่ตกต่ำอย่างมาก
"พัชรวาท" สั่งดูแลพันธมิตรฯ
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) ลงนามสั่งการถึง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ให้สืบสวนหาข่าววิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดเตรียมความพร้อมในการรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในบ่ายวันที่ 25 พ.ค. โดยกำชับให้ตำรวจยึดตามระเบียบคำสั่งและกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำตร.ทำหน้าที่รองผบ.ตร.ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า วันที่ 25 พ.ค. เวลา 10.00 น. ตนจะประชุมวางแผนรับมือการชุมนุมที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยจะมีตำรวจจาก บช.ก.,บช.น.,บช.ส,ตชด. เข้าร่วมประชุม โดยนโยบายสำคัญให้เจ้าหน้าที่ตำรวจป้องกันการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มต่อต้านการชุมนุม ให้มีการแยกกันโดยเด็ดขาด เพราะจะมีกลุ่มคนวันเสาร์ ซึ่งเป็นแนวร่วมของ นปก. ตั้งเวทีปราศรัยยังท้องสนามหลวง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันขึ้น จึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ในการป้องกันอย่างเต็มที่