รอยเตอร์ - บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แถลงวานนี้(22)ว่า จะขยายเพดานการจ่ายค่าแรงล่วงเวลาให้แก่พนักงานที่ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทยังคงถือเป็น "กิจกรรมอาสาสมัคร" ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้นหลังจากเมื่อปลายปีที่แล้ว ศาลแขวงญี่ปุ่นตัดสินชี้ขาดว่า ลูกจ้างผู้หนึ่งของโตโยต้าทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำจนถึงแก่ความตาย
บรรดาพนักงานของโตโยต้า มอเตอร์ ถูกคาดหมายว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมการควบคุมคุณภาพ ที่จัดขึ้นนอกเวลาทำงาน เพื่อมองหาหนทางต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน ทว่าที่ผ่านมาพวกเขาจะขอเบิกค่าโอทีได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อเดือนเท่านั้น
มีแรงกดดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆให้โตโยต้าต้องปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ เนื่องจากคนงานพากันร้องเรียนว่า พวกเขาต้องใช้เวลาทำงานมากเกินไปจนเบียดบังเวลาส่วนตัว เป็นต้นว่า สหภาพแรงงานที่แยกตัวออกจากสหภาพแรงงานกระแสหลักของโตโยต้า ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคุ้มครองแรงงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อขอให้บังคับบริษัทปรับปรุงเงื่อนไขการทำงาน
ทั้งนี้ การทำงานหนักเกินไปถือเป็นปัญหาร้ายแรงประการหนึ่งในญี่ปุ่น ซึ่งคนงานมักถูกวินิจฉัยจากการยอมอุทิศตัวทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำแค่ไหน รวมทั้งสหภาพแรงงานปกติแล้วก็ไม่กล้าออกนอกกรอบที่บริษัทขีดไว้ให้ ตัวเลขของทางการชี้ว่า ลูกจ้างแดนซามูไรใช้สิทธิลาหยุด ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่กฎหมายอนุญาต
โตโยต้าแถลงว่า จะเพิ่มแผนขยายเพดานจ่ายค่าล่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน แต่ไม่เปิดเผยว่าเพดานสูงสุดใหม่คือเท่าใด หรือเรื่องนี้มีผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทอย่างไรบ้าง
เมื่อปลายปีที่แล้ว ศาลแขวงของญี่ปุ่นตัดสินให้ภรรยาหม้ายของลูกจ้างโตโยต้าผู้หนึ่งชนะความ ในคดีที่เธอร้องเรียนว่าสามีวัย 30 ปีของเธอเสียชีวิตไปเนื่องจากต้องทำงานหนักเกินไป
ตามบันทึกการทำงานของเขา ปรากฏว่าในเดือนสุดท้ายแห่งชีวิต ชายผู้นี้ทำงานล่วงเวลาในโรงงานรถยนต์ของโตโยต้ามากกว่า 106 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าจ้าง และศาลพิพากษาให้ภรรยาหม้ายของเขาได้สิทธิรับเงินชดเชยจากรัฐบาล
ในเดือนนี้เอง สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า พ่อแม่ของอดีตคนงานบริษัทมาสดา มอเตอร์ คอร์ป ผู้หนึ่ง ได้ยื่นฟ้องผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ว่า คอยรังควาญและใช้งานลูกชายวัย 25 ปีของพวกเขาหนักเกินไป จนเขาตัดสินใจฆ่าตัวตายเมื่อปีที่แล้ว
บรรดาพนักงานของโตโยต้า มอเตอร์ ถูกคาดหมายว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมการควบคุมคุณภาพ ที่จัดขึ้นนอกเวลาทำงาน เพื่อมองหาหนทางต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน ทว่าที่ผ่านมาพวกเขาจะขอเบิกค่าโอทีได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อเดือนเท่านั้น
มีแรงกดดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆให้โตโยต้าต้องปรับเปลี่ยนเรื่องนี้ เนื่องจากคนงานพากันร้องเรียนว่า พวกเขาต้องใช้เวลาทำงานมากเกินไปจนเบียดบังเวลาส่วนตัว เป็นต้นว่า สหภาพแรงงานที่แยกตัวออกจากสหภาพแรงงานกระแสหลักของโตโยต้า ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคุ้มครองแรงงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อขอให้บังคับบริษัทปรับปรุงเงื่อนไขการทำงาน
ทั้งนี้ การทำงานหนักเกินไปถือเป็นปัญหาร้ายแรงประการหนึ่งในญี่ปุ่น ซึ่งคนงานมักถูกวินิจฉัยจากการยอมอุทิศตัวทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำแค่ไหน รวมทั้งสหภาพแรงงานปกติแล้วก็ไม่กล้าออกนอกกรอบที่บริษัทขีดไว้ให้ ตัวเลขของทางการชี้ว่า ลูกจ้างแดนซามูไรใช้สิทธิลาหยุด ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่กฎหมายอนุญาต
โตโยต้าแถลงว่า จะเพิ่มแผนขยายเพดานจ่ายค่าล่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน แต่ไม่เปิดเผยว่าเพดานสูงสุดใหม่คือเท่าใด หรือเรื่องนี้มีผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทอย่างไรบ้าง
เมื่อปลายปีที่แล้ว ศาลแขวงของญี่ปุ่นตัดสินให้ภรรยาหม้ายของลูกจ้างโตโยต้าผู้หนึ่งชนะความ ในคดีที่เธอร้องเรียนว่าสามีวัย 30 ปีของเธอเสียชีวิตไปเนื่องจากต้องทำงานหนักเกินไป
ตามบันทึกการทำงานของเขา ปรากฏว่าในเดือนสุดท้ายแห่งชีวิต ชายผู้นี้ทำงานล่วงเวลาในโรงงานรถยนต์ของโตโยต้ามากกว่า 106 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าจ้าง และศาลพิพากษาให้ภรรยาหม้ายของเขาได้สิทธิรับเงินชดเชยจากรัฐบาล
ในเดือนนี้เอง สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า พ่อแม่ของอดีตคนงานบริษัทมาสดา มอเตอร์ คอร์ป ผู้หนึ่ง ได้ยื่นฟ้องผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ว่า คอยรังควาญและใช้งานลูกชายวัย 25 ปีของพวกเขาหนักเกินไป จนเขาตัดสินใจฆ่าตัวตายเมื่อปีที่แล้ว