ที่ จ.เชียงใหม่วานนี้ (21 พ.ค.) ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกรชาวนาจาก อ.สันทราย อ.ดอยสะเก็ด และ อ.สันกำแพง กว่า 200 คนได้รวมตัวชุมนุมกันทวงสัญญาจากทางจังหวัดฯ ที่รับปากจะช่วยแก้ไขปัญหาราคาข้าวเหนียวเปลือกนาปรัง ราคาตกต่ำและถูกพ่อค้ากดราคา หลังจากที่เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา ทางกลุ่มเกษตรกรชาวนาจาก อ.สันทราย ได้มาชุมนุมเรียกร้องขอความช่วยเหลือแล้วครั้งหนึ่ง และทางจังหวัดได้รับปากว่าจะช่วยประสานเอกชนให้มารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8-9 บาท ตามที่ชาวนาเรียกร้อง แต่จนถึงเวลานี้ยังไม่ความคืบหน้าแต่อย่างใด
ขณะที่การรับซื้อของโรงสีตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 ที่ให้รับซื้อในราคาตันละ 7,000-9,000 บาท ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีโรงสีใดในพื้นที่ที่รับซื้อเช่นกัน
นายจำรัส ลุมมา ประธานกลุ่มเกษตรหนองแสะพัฒนา และกลุ่มผู้ปลูกข้าวชาวนาแม่แฝก อ.สันทราย กล่าวว่า ขณะนี้การให้ความช่วยเหลือชาวนาตามที่หน่วยงานรัฐสัญญายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น โดยโรงสียังคงรับซื้อข้าวเปลือกเหนียวนาปรังจากชาวนาในราคาเพียงกก.ละ 6.5 บาท เท่านั้น ทั้งที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 7 บาท ส่วนการรับซื้อในราคาตันละ 7,000-9,000 บาท ตามมติ ครม.นั้น เมื่อสอบถามจากโรงสีในพื้นที่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะถูกกดราคา ซึ่งบางส่วนก็ต้องยอมขายข้าวในราคาที่ต่ำ เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน
ทั้งนี้ การมาชุมนุมอีกครั้งชาวนายังคงยืนยันข้อเรียกร้องเดิมที่ต้องการให้รัฐมีการประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกเหนียวนาปรัง ความชื้น 30% จากชาวนาในราคากก.ละ8 บาท และเรียกร้องให้มีการเริ่มรับซื้อทันที โดยที่ทางกลุ่มชาวนาจะปักหลักชุมนุมรอรับฟังคำตอบจากทางผู้ว่าฯเชียงใหม่ อยู่ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จนกว่าจะได้รับการตอบสนอง หากไม่ได้รับการตอบสนอง ทางกลุ่มชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนในหลายอำเภอของจ. เชียงใหม่ ได้เตรียมชุมนุม ปิดถนนสายเชียงใหม่-พร้าว
"ที่ผ่านมาได้มีการประสานติดตามความคืบหน้าในแก้ไขปัญหาจากทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานการค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่ มาโดยตลอด แต่ก็โยนกันไปมาและไม่เคยได้รับคำตอบเป็นที่ชัดเจนเลยว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งๆ ที่ชาวนากำลังเดือดร้อนอย่างหนัก ขณะที่การขอความช่วยเหลือจาก ส.ส.ในพื้นที่ ก็มีการทำหนังสือขอความช่วยเหลือไปให้กับมือแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ก็ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลืออะไรเลย " นายจำรัส กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าจนถึงช่วงบ่ายทางกลุ่มชาวนายังคงชุมนุมอยู่ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ แม้ทางจังหวัดจะให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมส่งตัวแทนเข้าร่วมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ทางกลุ่มชาวนาได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเจรจา โดยให้เหตุผลว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดมีการนำเสนอไปแล้วตั้งแต่การชุมนุมครั้งก่อน และจะขอรอรับฟังคำตอบจากทางจังหวัดเชียงใหม่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ตามที่ชาวนาเรียกร้องหรือไม่
**กาฬสินธุ์ ก็ถูกโรงสีกดราคา
นายสำรอง โพธิ์ซก ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตยคนอีสาน แกนนำชาวนากาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้กรมการค้าภายในดำเนินการแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ จ.กาฬสินธุ์ โดยให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการ รับซื้อข้าวจากชาวนาผ่านโรงสีไฟกาฬสินธุ์รุ่งเรือง 3 ที่ อ.กมลาไสย ด้วยราคาประกันตันละ 7 พันบาท โดยไม่หักค่าความชื้น แต่ยังคงได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มชาวนา ว่า โรงสีแห่งนี้รับซื้อข้าวเปลือกเหนียวกับชาวนาเพียงวันเดียวเท่านั้น โดยรับซื้อวันที่มีเจ้าหน้าที่จากทางจังหวัด และสื่อมวลชนเข้าไปร่วมตรวจสอบ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจจากการค้าภายในจังหวัด ยังคงปล่อยให้ โรงสีกดราคารับซื้อต่อไป
แกนนำชาวนา ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเปรียบเสมือนกับการทำงานเอาหน้า หวังให้มีการนำเสนอข่าวให้กับกลุ่มโรงสี แต่ในข้อเท็จจริงชาวนายังคงถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่รู้กันในกลุ่มชาวนาว่า ผลผลิตข้าวเหนียวตลอดทั้งปีมีกว่า แสนตัน จะถูกส่งเข้าไปยัง โรงสีใหญ่ในเขต อ.กมลาไสย เพราะเป็นโรงสีแห่งเดียวที่มีศักยภาพในการอบข้าวให้มีคุณภาพ
ในทางกลับกัน โรงสีใหญ่ด้วยกันรวมถึงตลาดกลางข้าว อ.ยางตลาด ก็จะทำให้หน้าที่เพียงไซโล ซึ่งเป็นยุ้งฉางขนาดใหญ่ที่จะรอรับผลผลิตจากชาวนา กระบวนการรับซื้อจึงขึ้นอยู่กับโรงสีใหญ่ที่จะกำหนดราคา ซึ่งเกรงว่า เมื่อถึงฤดูกาลผลิตข้าวนาปี ฤดูกาลต่อไป ชาวนากาฬสินธุ์ ก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดิม
แนวทางการตรวจสอบต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ จัดส่งเจ้าหน้าที่ส่วนกลางเข้ามาตรวจสอบคุณภาพการทำงานของโรงสี หากพบว่าโรงสีแห่งใดเป็นเพียงโรงเก็บข้าวเปลือก ให้ยุติการทำการค้า อีกทั้งต้องการให้ตรวจสอบการจ่ายภาษีของโรงสีที่ดำเนินกิจการ เพราะเชื่อว่าการรายงานปริมาณข้าวต่อรัฐบาล เพื่อเก็งกำไรในการส่งออกจะเป็นข้อมูลที่บิดเบือนความเป็นจริง
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาจึงต้องการให้ กระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้โรงสีทั่วประเทศสามารถเดินสายเข้าไปรับซื้อข้าวเปลือกกันได้อย่างเสรี เพื่อป้องกันปัญหาผูกขาด และลดอำนาจการต่อรองในด้านราคาจากพ่อค้าข้าวที่เอาเปรียบชาวนาด้วย
**ประมงชุมพรประกาศขายเรือ
ที่ท่าเทียบเรือประมงบ้านบางสน หมู่ 1 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร มีแกนนำชาวประมงเขตน้ำตื้น ประมาณ 50 คน มารวมตัวกันเรียกร้องถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยมีเรือประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง และเรือประมงเขตน้ำตื้น ทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลาง เข้ามาจอดเทียบท่าเรียงรายอยู่บริเวณท่าเทียบเรือกว่า 200 ลำ
พร้อมเขียนข้อความเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และป้ายข้อความประกาศ "ขายด่วน เรือประมงราคาถูก" โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน มาร่วมรับฟังปัญหาของชาวประมงดังกล่าวด้วย
นายเดชา พยัคฆินทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จากการมารับทราบข้อมูลปัญหาที่ตัวแทนชาวประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือประมงชายฝั่ง ประมงพื้นบ้าน และเรือประมงขนาดกลาง ซึ่งออกจับปลาเขตน้ำตื้นของพื้นที่ จ.ชุมพร ต้องประสบกับปัญหาน้ำมันดีเซลมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ปลามีราคาตกต่ำ เช่น ปลาทู กก.ละ 13 บาท ซึ่งเรือแต่ละลำเมื่อออกจับปลาจะต้องเติมน้ำมันครั้งละประมาณ 60-100 ลิตร ดังนั้นเฉพาะต้นทุนน้ำมันอย่างเดียวตกประมาณกว่า 4,000 บาท ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกจำนวนมาก
ปัจจุบันชาวประมงเขตน้ำตื้นทั้งหมด ยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเลย ในขณะที่เรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยมีเรือแท็งเกอร์ หรือเรือน้ำมันเขียวราคาถูก คอยให้บริการอยู่กลางทะเล ซึ่งเรือประมงขนาดเล็ก เรือประมงขนาดกลางที่จับปลาเขตน้ำตื้นไม่สามารถวิ่งออกไปเติมน้ำมันดังกล่าวได้ เนื่องจากมีระยะทางไกล ต้องฝ่าคลื่นลมทำให้อันตรายถึงเรืออับปาง
จากปัญหาดังกล่าวขณะนี้เรือประมงเขตน้ำตื้นในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งมีอยู่กว่า 3,000 ลำ ต้องจอดเทียบท่ามานานนับเดือนแล้ว บางส่วนก็เขียนป้ายประกาศขายในราคาถูกติดไว้ข้างเรือ แต่ก็ไม่มีใครสนใจซื้อ บางส่วนก็ยังออกจับปลาอยู่บ้างเพราะไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร มีภาระต้องเลี้ยงดูครองครัว จึงต้องยอมขาดทุนบ้างได้กำไรบ้างไปวันๆ เท่านั้น
นายเดชา กล่าวต่อว่า ขณะนี้ชาวประมงเขตน้ำตื้นทั้งหมดใน จ.ชุมพร กำลังประสานเครือข่ายชาวประมงทั้งหมด เตรียมบุกไปยื่นหนังสือต่อ นายมานิต วัฒนเสน ผวจ. ชุมพร เพื่อเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เกี่ยวเรื่องราคาน้ำมัน โดยเฉพาะเรือแท็งเกอร์ หรือเรือน้ำมันเขียว ขอให้ร่นระยะทางเข้ามาใกล้ฝั่งจาก 22 ไมล์ทะเล เหลือเพียง 10 ไมล์ทะเล เพื่อเรือประมงขนาดเล็ก เรือประมงขนาดกลางจะสามารถออกไปเติมได้ และให้ช่วยเหลือเรื่องราคาสัตว์น้ำที่ตกต่ำ หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการช่วยเหลือเรือประมงในพื้นที่ จ.ชุมพร ทั้งหมดก็จะรวมตัวกันประท้วงปิดถนนเพชรเกษม และหามาตรการกดดันรัฐบาล ต่อไป
ขณะที่การรับซื้อของโรงสีตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 ที่ให้รับซื้อในราคาตันละ 7,000-9,000 บาท ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีโรงสีใดในพื้นที่ที่รับซื้อเช่นกัน
นายจำรัส ลุมมา ประธานกลุ่มเกษตรหนองแสะพัฒนา และกลุ่มผู้ปลูกข้าวชาวนาแม่แฝก อ.สันทราย กล่าวว่า ขณะนี้การให้ความช่วยเหลือชาวนาตามที่หน่วยงานรัฐสัญญายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น โดยโรงสียังคงรับซื้อข้าวเปลือกเหนียวนาปรังจากชาวนาในราคาเพียงกก.ละ 6.5 บาท เท่านั้น ทั้งที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 7 บาท ส่วนการรับซื้อในราคาตันละ 7,000-9,000 บาท ตามมติ ครม.นั้น เมื่อสอบถามจากโรงสีในพื้นที่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะถูกกดราคา ซึ่งบางส่วนก็ต้องยอมขายข้าวในราคาที่ต่ำ เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน
ทั้งนี้ การมาชุมนุมอีกครั้งชาวนายังคงยืนยันข้อเรียกร้องเดิมที่ต้องการให้รัฐมีการประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกเหนียวนาปรัง ความชื้น 30% จากชาวนาในราคากก.ละ8 บาท และเรียกร้องให้มีการเริ่มรับซื้อทันที โดยที่ทางกลุ่มชาวนาจะปักหลักชุมนุมรอรับฟังคำตอบจากทางผู้ว่าฯเชียงใหม่ อยู่ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จนกว่าจะได้รับการตอบสนอง หากไม่ได้รับการตอบสนอง ทางกลุ่มชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนในหลายอำเภอของจ. เชียงใหม่ ได้เตรียมชุมนุม ปิดถนนสายเชียงใหม่-พร้าว
"ที่ผ่านมาได้มีการประสานติดตามความคืบหน้าในแก้ไขปัญหาจากทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานการค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่ มาโดยตลอด แต่ก็โยนกันไปมาและไม่เคยได้รับคำตอบเป็นที่ชัดเจนเลยว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งๆ ที่ชาวนากำลังเดือดร้อนอย่างหนัก ขณะที่การขอความช่วยเหลือจาก ส.ส.ในพื้นที่ ก็มีการทำหนังสือขอความช่วยเหลือไปให้กับมือแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ก็ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลืออะไรเลย " นายจำรัส กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าจนถึงช่วงบ่ายทางกลุ่มชาวนายังคงชุมนุมอยู่ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ แม้ทางจังหวัดจะให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมส่งตัวแทนเข้าร่วมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ทางกลุ่มชาวนาได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเจรจา โดยให้เหตุผลว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดมีการนำเสนอไปแล้วตั้งแต่การชุมนุมครั้งก่อน และจะขอรอรับฟังคำตอบจากทางจังหวัดเชียงใหม่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ตามที่ชาวนาเรียกร้องหรือไม่
**กาฬสินธุ์ ก็ถูกโรงสีกดราคา
นายสำรอง โพธิ์ซก ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตยคนอีสาน แกนนำชาวนากาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้กรมการค้าภายในดำเนินการแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ จ.กาฬสินธุ์ โดยให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการ รับซื้อข้าวจากชาวนาผ่านโรงสีไฟกาฬสินธุ์รุ่งเรือง 3 ที่ อ.กมลาไสย ด้วยราคาประกันตันละ 7 พันบาท โดยไม่หักค่าความชื้น แต่ยังคงได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มชาวนา ว่า โรงสีแห่งนี้รับซื้อข้าวเปลือกเหนียวกับชาวนาเพียงวันเดียวเท่านั้น โดยรับซื้อวันที่มีเจ้าหน้าที่จากทางจังหวัด และสื่อมวลชนเข้าไปร่วมตรวจสอบ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจจากการค้าภายในจังหวัด ยังคงปล่อยให้ โรงสีกดราคารับซื้อต่อไป
แกนนำชาวนา ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเปรียบเสมือนกับการทำงานเอาหน้า หวังให้มีการนำเสนอข่าวให้กับกลุ่มโรงสี แต่ในข้อเท็จจริงชาวนายังคงถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่รู้กันในกลุ่มชาวนาว่า ผลผลิตข้าวเหนียวตลอดทั้งปีมีกว่า แสนตัน จะถูกส่งเข้าไปยัง โรงสีใหญ่ในเขต อ.กมลาไสย เพราะเป็นโรงสีแห่งเดียวที่มีศักยภาพในการอบข้าวให้มีคุณภาพ
ในทางกลับกัน โรงสีใหญ่ด้วยกันรวมถึงตลาดกลางข้าว อ.ยางตลาด ก็จะทำให้หน้าที่เพียงไซโล ซึ่งเป็นยุ้งฉางขนาดใหญ่ที่จะรอรับผลผลิตจากชาวนา กระบวนการรับซื้อจึงขึ้นอยู่กับโรงสีใหญ่ที่จะกำหนดราคา ซึ่งเกรงว่า เมื่อถึงฤดูกาลผลิตข้าวนาปี ฤดูกาลต่อไป ชาวนากาฬสินธุ์ ก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดิม
แนวทางการตรวจสอบต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ จัดส่งเจ้าหน้าที่ส่วนกลางเข้ามาตรวจสอบคุณภาพการทำงานของโรงสี หากพบว่าโรงสีแห่งใดเป็นเพียงโรงเก็บข้าวเปลือก ให้ยุติการทำการค้า อีกทั้งต้องการให้ตรวจสอบการจ่ายภาษีของโรงสีที่ดำเนินกิจการ เพราะเชื่อว่าการรายงานปริมาณข้าวต่อรัฐบาล เพื่อเก็งกำไรในการส่งออกจะเป็นข้อมูลที่บิดเบือนความเป็นจริง
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาจึงต้องการให้ กระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้โรงสีทั่วประเทศสามารถเดินสายเข้าไปรับซื้อข้าวเปลือกกันได้อย่างเสรี เพื่อป้องกันปัญหาผูกขาด และลดอำนาจการต่อรองในด้านราคาจากพ่อค้าข้าวที่เอาเปรียบชาวนาด้วย
**ประมงชุมพรประกาศขายเรือ
ที่ท่าเทียบเรือประมงบ้านบางสน หมู่ 1 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร มีแกนนำชาวประมงเขตน้ำตื้น ประมาณ 50 คน มารวมตัวกันเรียกร้องถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยมีเรือประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง และเรือประมงเขตน้ำตื้น ทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลาง เข้ามาจอดเทียบท่าเรียงรายอยู่บริเวณท่าเทียบเรือกว่า 200 ลำ
พร้อมเขียนข้อความเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และป้ายข้อความประกาศ "ขายด่วน เรือประมงราคาถูก" โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน มาร่วมรับฟังปัญหาของชาวประมงดังกล่าวด้วย
นายเดชา พยัคฆินทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จากการมารับทราบข้อมูลปัญหาที่ตัวแทนชาวประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือประมงชายฝั่ง ประมงพื้นบ้าน และเรือประมงขนาดกลาง ซึ่งออกจับปลาเขตน้ำตื้นของพื้นที่ จ.ชุมพร ต้องประสบกับปัญหาน้ำมันดีเซลมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ปลามีราคาตกต่ำ เช่น ปลาทู กก.ละ 13 บาท ซึ่งเรือแต่ละลำเมื่อออกจับปลาจะต้องเติมน้ำมันครั้งละประมาณ 60-100 ลิตร ดังนั้นเฉพาะต้นทุนน้ำมันอย่างเดียวตกประมาณกว่า 4,000 บาท ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกจำนวนมาก
ปัจจุบันชาวประมงเขตน้ำตื้นทั้งหมด ยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเลย ในขณะที่เรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยมีเรือแท็งเกอร์ หรือเรือน้ำมันเขียวราคาถูก คอยให้บริการอยู่กลางทะเล ซึ่งเรือประมงขนาดเล็ก เรือประมงขนาดกลางที่จับปลาเขตน้ำตื้นไม่สามารถวิ่งออกไปเติมน้ำมันดังกล่าวได้ เนื่องจากมีระยะทางไกล ต้องฝ่าคลื่นลมทำให้อันตรายถึงเรืออับปาง
จากปัญหาดังกล่าวขณะนี้เรือประมงเขตน้ำตื้นในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งมีอยู่กว่า 3,000 ลำ ต้องจอดเทียบท่ามานานนับเดือนแล้ว บางส่วนก็เขียนป้ายประกาศขายในราคาถูกติดไว้ข้างเรือ แต่ก็ไม่มีใครสนใจซื้อ บางส่วนก็ยังออกจับปลาอยู่บ้างเพราะไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร มีภาระต้องเลี้ยงดูครองครัว จึงต้องยอมขาดทุนบ้างได้กำไรบ้างไปวันๆ เท่านั้น
นายเดชา กล่าวต่อว่า ขณะนี้ชาวประมงเขตน้ำตื้นทั้งหมดใน จ.ชุมพร กำลังประสานเครือข่ายชาวประมงทั้งหมด เตรียมบุกไปยื่นหนังสือต่อ นายมานิต วัฒนเสน ผวจ. ชุมพร เพื่อเรียกร้องผ่านไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เกี่ยวเรื่องราคาน้ำมัน โดยเฉพาะเรือแท็งเกอร์ หรือเรือน้ำมันเขียว ขอให้ร่นระยะทางเข้ามาใกล้ฝั่งจาก 22 ไมล์ทะเล เหลือเพียง 10 ไมล์ทะเล เพื่อเรือประมงขนาดเล็ก เรือประมงขนาดกลางจะสามารถออกไปเติมได้ และให้ช่วยเหลือเรื่องราคาสัตว์น้ำที่ตกต่ำ หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการช่วยเหลือเรือประมงในพื้นที่ จ.ชุมพร ทั้งหมดก็จะรวมตัวกันประท้วงปิดถนนเพชรเกษม และหามาตรการกดดันรัฐบาล ต่อไป