ผู้จัดการรายวัน - ทีมแพทย์ไทย เริ่มลงพื้นที่สำรวจรอบเมืองโมเมี้ยแล้ว แบ่งเป็น 2 ทีมใหญ่แยกทำงานที่เมืองลาโบทา ห่างไปอีก 40 กม. ด้าน ทอ.เตรียมเสนอ ผบ.ทหารสูงสุด ขอเพิ่มเที่ยวบินส่งของไปช่วยพม่า ผบ.ทอ. เผยเตรียมความพร้อมในส่วนของ C 130 ในการส่งสิ่งของไปช่วยเหยื่อนาร์กีส โดยเตรียมเสนอ พล.อ.บุญสร้าง ขออนุมัติเพิ่มเที่ยวบินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เผยพม่าจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จาก 29 ประเทศเยือนเขตภัยพิบัติ รัฐมนตรีตปท.อาเซียนถก หาทางช่วยเหยื่อพายุในพม่า
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้อำนวยการสำนักบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์นเรนทร) ว่า หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เดินทางถึงเมืองโมเมี้ย เมื่อเวลา 02.00 น. ของคืนวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้เนื่องจากต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 11 ชั่วโมง ทั้งที่เมืองโมเมี้ยอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางใต้ประมาณ 300 กิโลเมตรเท่านั้น เนื่องจากเกือบตลอดเส้นทางเป็นถนนดินแดง หรือลูกรัง ไม่สะดวกเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา หน่วยแพทย์พระราชทานฯ ได้เริ่มลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ผู้ประสบภัยในบริเวณรอบๆ ของเมืองโมเมี้ยแล้ว เพื่อประเมินสถานการณ์และให้การรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ประสบภัยชาวพม่า
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า แผนการปฏิบัติงานเบื้องต้น จะแบ่งทีมแพทย์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยทีมแรกจะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตในเขตเมืองโมเมี้ย ส่วนอีกทีมจะเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตที่เมืองลาโบทา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองโมเมี้ยราว 40 กิโลเมตร แต่เป็นการเดินทางไปเช้าเย็นกลับ ทั้งนี้ ทราบว่าพื้นที่โดยรอบของเมืองโมเมี้ยได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก ซึ่งหน่วยแพทย์ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว โดยคาดว่าในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตมากขึ้น
"ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่าหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ทั้ง 30 คน มีความเป็นอยู่ไม่ยากลำบากมากนัก เนื่องจากเขตที่พักอยู่ใจกลางเมืองโมเมี้ย ได้รับความเสียหายไม่มากนัก โดยแพทย์ทุกคนพักค้างคืนอยู่ภายในศูนย์ฏิบัติธรรม ซึ่งในเมืองมีศูนย์พักพิงของผู้ประสบภัยจำนวนมาก มีร้านจำหน่ายอาหาร มีน้ำประปาสะอาด และมีไฟฟ้าใช้ ถือว่ามีความปลอดภัยและสะดวกสบายในระดับหนึ่ง"นพ.สุรเชษฐ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.00 น. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน ทำบุญตักบาตรและเวียนเทียน เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา โดยมีข้าราชการกองทัพอากาศพร้อมครอบครัว และประชาชนทั่วไป ร่วมในพิธีจำนวนมาก ภายหลังพิธีได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพายุนาร์กีส ว่า กองทัพอากาศได้เตรียมความพร้อม โดยขณะนี้ทำการซ่อมบำรุงเครื่องบิน c 130 ครั้งใหญ่ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกในการลำเลียงสิ่งของไปยังพม่า
ส่วนกรณีที่สหประชาชาติประสานขอให้พื้นที่สนามบินดอนเมืองเป็นจุดรวบรวม และลำเลียงสิ่งของไปช่วยพม่า ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดและยังไม่ได้รับการประสาน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทัพอากาศมีคลังที่ไม่ใช่โรงเก็บเครื่องบินไว้สำหรับเก็บสิ่งของอยู่แล้ว ทั้งนี้ ส่วนใหญ่การขนส่งทางอากาศจะใช้กรณีมีความจำเป็นเร่งเด่วน
“ขณะนี้กองทัพอากาศใช้เครื่องบิน C 130 ลำเลียงสิ่งของ 1-2 เที่ยวต่อวัน แต่จะทำเรื่องขออนุมัติผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อขอเพิ่มเที่ยวบินในสัปดาห์หน้า เพราะก่อนจะทำการบินเพื่อส่งสิ่งของไป จะต้องขออนุมัติทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และแม้ว่าจะขออนุญาตอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ต้องขออนุญาตจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหมของพม่า ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากเป็นสายการบินเฉพาะกิจไม่ใช่เครื่องบินปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพราะพม่าก็ต้องการให้สิ่งของช่วยเหลือต่าง ๆ ไปถึงมือโดยเร็ว” พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
เมื่อถามถึงกระแสข่าวมีการนำสิ่งของบริจาคจากต่างชาติ มาจำหน่ายตามแนวชายแดนไทย ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ไม่ทราบข้อเท็จจริง เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องของพม่าจะต้องป้องกัน เราทำหน้าที่ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี ใครบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ก็เป็นบุญกุศลของผู้บริจาค ส่วนเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวข้อง
พม่าอาจไฟเขียวให้เยือนพื้นที่เสียหาย
มีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โยมิอูริของญี่ปุ่นรายงานอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลทหารพม่าว่า พม่ามีแผนจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จาก 29 ประเทศ เดินทางเยือนพื้นที่ประสบภัยพายุไซโคลนเพื่อพยายามลดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ ขณะที่ญี่ปุ่นยืนยันว่าได้รับคำเชิญจากพม่าแล้ว
รายงานระบุว่า รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลของ 29 ประเทศ เช่น อินเดีย จีน และสหรัฐ อาจเดินทางไปเยือนพื้นที่บริเวณสามหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีในวันพุธนี้ ขณะที่ญี่ปุ่นกล่าวว่าขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการเดินทางก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะส่งผู้ใดร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจดังกล่าว
รัฐบาลทหารพม่าถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติกรณีไม่ยอมเปิดประตูรับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ขนานใหญ่จากนานาชาติ แม้รัฐบาลทหารพม่าเริ่มอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้าประเทศได้มากขึ้นแล้วในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่กลุ่มบรรเทาทุกข์ก็ยังคงเห็นว่ายังไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าผู้ประสบภัยจะได้รับอาหาร น้ำ และการดูแลทางการแพทย์อย่างทั่วถึง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาพม่าได้นำกลุ่มนักการทูตและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติเข้าไปยังพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แต่ผู้ที่เดินทางไปกลับกล่าวว่าสิ่งที่เขาพบเห็นยังไม่พอที่จะประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด
ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าร่วมการประชุมฉุกเฉินที่สิงคโปร์ในวันนี้ เพื่อหาหนทางช่วยเหลือเหยื่อพายุไซโคลนนาร์กีสในพม่า ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีรัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศของพม่า นาย เยียน วิน และจัดขึ้น 2 สัปดาห์หลังไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มพม่าทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายนับแสน ขณะที่ผู้รอดชีวิตกว่า 2 ล้าน 5 แสนคนกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
สิงคโปร์ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่ประธานหมุนเวียนอาเซียน เรียกร้องให้ที่ประชุมหารือสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและพิจารณาหาแนวทางดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือพม่าทั้งด้านการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูบูรณะ
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายนพดล ปัทมะ เปิดเผยก่อนเข้าร่วมประชุมว่า พม่าต้องการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ย่างกุ้งช่วงวันที่ 22 หรือ 23 พฤษภาคมนี้ เพื่อระดมความช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งคาดว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของพม่าจะแจ้งเรื่องนี้ต่อที่ประชุมในวันนี้ และคาดว่าที่ประชุมจะหารือเรื่องที่จะให้เลขาธิการอาเซียน นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เดินทางไปพม่าเพื่อประเมินสถานการณ์ล่าสุดในพม่า รวมถึงการจัดตั้งกลไกภายในอาเซียนเพื่อช่วยเหลือชาติสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติแบบเดียวกันนี้ในอนาคต
มีรายงานว่าที่ประชุมหวังให้รัฐบาลทหารพม่าซึ่งถึงตอนนี้ยังไม่เปิดกว้างรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ ยอมรับความช่วยเหลือจากอาเซียนมากขึ้น แต่อาเซียนก็ไม่สามารถใช้มติที่ประชุมบีบบังคับชาติสมาชิกได้ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังขาว่าการประชุมครั้งนี้จะทำให้พม่าเปลี่ยนแปลงจุดยืนได้หรือไม่
แหล่งข่าวด้านการทูตเปิดเผยว่า ความพยายามของอาเซียนอาจออกมาในลักษณะของการประนีประนอมซึ่งต่างจากชาติตะวันตกที่เน้นใช้มาตรการแข็งกร้าวเพื่อบีบให้พม่าเปิดรับเจ้าหน้าที่กู้ภัยต่างชาติ
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้อำนวยการสำนักบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์นเรนทร) ว่า หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เดินทางถึงเมืองโมเมี้ย เมื่อเวลา 02.00 น. ของคืนวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้เนื่องจากต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 11 ชั่วโมง ทั้งที่เมืองโมเมี้ยอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางใต้ประมาณ 300 กิโลเมตรเท่านั้น เนื่องจากเกือบตลอดเส้นทางเป็นถนนดินแดง หรือลูกรัง ไม่สะดวกเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา หน่วยแพทย์พระราชทานฯ ได้เริ่มลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ผู้ประสบภัยในบริเวณรอบๆ ของเมืองโมเมี้ยแล้ว เพื่อประเมินสถานการณ์และให้การรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ประสบภัยชาวพม่า
ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า แผนการปฏิบัติงานเบื้องต้น จะแบ่งทีมแพทย์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยทีมแรกจะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตในเขตเมืองโมเมี้ย ส่วนอีกทีมจะเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตที่เมืองลาโบทา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองโมเมี้ยราว 40 กิโลเมตร แต่เป็นการเดินทางไปเช้าเย็นกลับ ทั้งนี้ ทราบว่าพื้นที่โดยรอบของเมืองโมเมี้ยได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก ซึ่งหน่วยแพทย์ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว โดยคาดว่าในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตมากขึ้น
"ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่าหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ทั้ง 30 คน มีความเป็นอยู่ไม่ยากลำบากมากนัก เนื่องจากเขตที่พักอยู่ใจกลางเมืองโมเมี้ย ได้รับความเสียหายไม่มากนัก โดยแพทย์ทุกคนพักค้างคืนอยู่ภายในศูนย์ฏิบัติธรรม ซึ่งในเมืองมีศูนย์พักพิงของผู้ประสบภัยจำนวนมาก มีร้านจำหน่ายอาหาร มีน้ำประปาสะอาด และมีไฟฟ้าใช้ ถือว่ามีความปลอดภัยและสะดวกสบายในระดับหนึ่ง"นพ.สุรเชษฐ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.00 น. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน ทำบุญตักบาตรและเวียนเทียน เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา โดยมีข้าราชการกองทัพอากาศพร้อมครอบครัว และประชาชนทั่วไป ร่วมในพิธีจำนวนมาก ภายหลังพิธีได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพายุนาร์กีส ว่า กองทัพอากาศได้เตรียมความพร้อม โดยขณะนี้ทำการซ่อมบำรุงเครื่องบิน c 130 ครั้งใหญ่ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกในการลำเลียงสิ่งของไปยังพม่า
ส่วนกรณีที่สหประชาชาติประสานขอให้พื้นที่สนามบินดอนเมืองเป็นจุดรวบรวม และลำเลียงสิ่งของไปช่วยพม่า ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดและยังไม่ได้รับการประสาน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทัพอากาศมีคลังที่ไม่ใช่โรงเก็บเครื่องบินไว้สำหรับเก็บสิ่งของอยู่แล้ว ทั้งนี้ ส่วนใหญ่การขนส่งทางอากาศจะใช้กรณีมีความจำเป็นเร่งเด่วน
“ขณะนี้กองทัพอากาศใช้เครื่องบิน C 130 ลำเลียงสิ่งของ 1-2 เที่ยวต่อวัน แต่จะทำเรื่องขออนุมัติผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อขอเพิ่มเที่ยวบินในสัปดาห์หน้า เพราะก่อนจะทำการบินเพื่อส่งสิ่งของไป จะต้องขออนุมัติทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และแม้ว่าจะขออนุญาตอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ต้องขออนุญาตจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหมของพม่า ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากเป็นสายการบินเฉพาะกิจไม่ใช่เครื่องบินปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพราะพม่าก็ต้องการให้สิ่งของช่วยเหลือต่าง ๆ ไปถึงมือโดยเร็ว” พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
เมื่อถามถึงกระแสข่าวมีการนำสิ่งของบริจาคจากต่างชาติ มาจำหน่ายตามแนวชายแดนไทย ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ไม่ทราบข้อเท็จจริง เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องของพม่าจะต้องป้องกัน เราทำหน้าที่ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี ใครบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ ก็เป็นบุญกุศลของผู้บริจาค ส่วนเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวข้อง
พม่าอาจไฟเขียวให้เยือนพื้นที่เสียหาย
มีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โยมิอูริของญี่ปุ่นรายงานอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลทหารพม่าว่า พม่ามีแผนจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จาก 29 ประเทศ เดินทางเยือนพื้นที่ประสบภัยพายุไซโคลนเพื่อพยายามลดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ ขณะที่ญี่ปุ่นยืนยันว่าได้รับคำเชิญจากพม่าแล้ว
รายงานระบุว่า รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลของ 29 ประเทศ เช่น อินเดีย จีน และสหรัฐ อาจเดินทางไปเยือนพื้นที่บริเวณสามหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีในวันพุธนี้ ขณะที่ญี่ปุ่นกล่าวว่าขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการเดินทางก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะส่งผู้ใดร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจดังกล่าว
รัฐบาลทหารพม่าถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติกรณีไม่ยอมเปิดประตูรับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ขนานใหญ่จากนานาชาติ แม้รัฐบาลทหารพม่าเริ่มอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้าประเทศได้มากขึ้นแล้วในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่กลุ่มบรรเทาทุกข์ก็ยังคงเห็นว่ายังไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าผู้ประสบภัยจะได้รับอาหาร น้ำ และการดูแลทางการแพทย์อย่างทั่วถึง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาพม่าได้นำกลุ่มนักการทูตและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติเข้าไปยังพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แต่ผู้ที่เดินทางไปกลับกล่าวว่าสิ่งที่เขาพบเห็นยังไม่พอที่จะประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด
ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าร่วมการประชุมฉุกเฉินที่สิงคโปร์ในวันนี้ เพื่อหาหนทางช่วยเหลือเหยื่อพายุไซโคลนนาร์กีสในพม่า ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีรัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศของพม่า นาย เยียน วิน และจัดขึ้น 2 สัปดาห์หลังไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มพม่าทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายนับแสน ขณะที่ผู้รอดชีวิตกว่า 2 ล้าน 5 แสนคนกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
สิงคโปร์ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่ประธานหมุนเวียนอาเซียน เรียกร้องให้ที่ประชุมหารือสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและพิจารณาหาแนวทางดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือพม่าทั้งด้านการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูบูรณะ
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายนพดล ปัทมะ เปิดเผยก่อนเข้าร่วมประชุมว่า พม่าต้องการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่ย่างกุ้งช่วงวันที่ 22 หรือ 23 พฤษภาคมนี้ เพื่อระดมความช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งคาดว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของพม่าจะแจ้งเรื่องนี้ต่อที่ประชุมในวันนี้ และคาดว่าที่ประชุมจะหารือเรื่องที่จะให้เลขาธิการอาเซียน นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เดินทางไปพม่าเพื่อประเมินสถานการณ์ล่าสุดในพม่า รวมถึงการจัดตั้งกลไกภายในอาเซียนเพื่อช่วยเหลือชาติสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติแบบเดียวกันนี้ในอนาคต
มีรายงานว่าที่ประชุมหวังให้รัฐบาลทหารพม่าซึ่งถึงตอนนี้ยังไม่เปิดกว้างรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ ยอมรับความช่วยเหลือจากอาเซียนมากขึ้น แต่อาเซียนก็ไม่สามารถใช้มติที่ประชุมบีบบังคับชาติสมาชิกได้ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังขาว่าการประชุมครั้งนี้จะทำให้พม่าเปลี่ยนแปลงจุดยืนได้หรือไม่
แหล่งข่าวด้านการทูตเปิดเผยว่า ความพยายามของอาเซียนอาจออกมาในลักษณะของการประนีประนอมซึ่งต่างจากชาติตะวันตกที่เน้นใช้มาตรการแข็งกร้าวเพื่อบีบให้พม่าเปิดรับเจ้าหน้าที่กู้ภัยต่างชาติ