รอยเตอร์ – สหประชาชาติลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงเกือบครึ่งหนึ่งของที่เคยประเมินไว้ โดยเป็นผลพวงของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ย่ำแย่จากภาคที่อยู่อาศัยและตลาดสินเชื่อ
ในรายงานการสำรวจเศรษฐกิจรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี(15) ยูเอ็นทำนายว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตเพียง 1.8% เทียบกับ 3.4% ที่ได้พยากรณ์ไว้เมื่อเดือนมกราคม และเทียบกับอัตราการเติบโต 3.8% ของเมื่อปีที่แล้ว
รายงานของยูเอ็นระบุว่า การปรับประมาณการณ์คราวนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงไม่ฟื้นตัวจากปัญหาภาคที่อยู่อาศัยและภาคการเงินที่ทรุดจีงลงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ยูเอ็นยังเห็นว่าปัญหาของสหรัฐฯมีผลฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอย่างยืดยาวออกไปจนถึง 2009
ยูเอ็นบอกในรายงานว่า ความผันผวนรุนแรงในตลาดการเงิน, การร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ, ความไม่สมดุลกันของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลก, ราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งขึ้น เหล่านี้หมายความว่า “เศรษฐกิจโลกกำลังยืนอยู่บนปากเหวของการถอยลงอย่างรุนแรงกันทั่วโลก”
รายงานที่ออกโดยฝ่ายกิจการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติฉบับนี้ชี้ว่า การขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติของสหรัฐฯในปีนี้ จะลดลงเหลือเพียง 0.2% เท่านั้นเทียบกับ 2%ที่เคยคาดไว้ในเดือนมกราคม
อย่างไรก็ตาม รายงานย้ำว่าตัวเลขทั้งหมดอาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ในอนาคต ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้น ได้ผลดีเพียงไรในการต่อสู้กับวิกฤต
ร็อบ วอส เจ้าหน้าที่ยูเอ็นที่จัดทำรายงานคนหนึ่งกล่าวว่า “การวิเคราะห์เบื้องต้นของเราพบว่าปัญหายังอาจจะเลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ก็ได้”
**เศรษฐกิจเอเชียก็ชะลอลงด้วย**
รายงานฉบับนี้ยังได้ทำนายด้วยว่า เศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นก็จะเริ่มเติบโตช้าลง ส่วนเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้จะเห็นอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 5.9% จาก 8.5% ของเมื่อปีที่แล้ว
เศรษฐกิจจีนจะได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง, มาตรการการเงินที่เข้มงวดขึ้น, เงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น, และค่าแรงที่เพิ่มขึ้นด้วย
แต่สำหรับรัสเซียกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเฉียงใต้แล้ว จะมีอัตราการเติบโตที่พุ่งขึ้น โดยเฉพาะรัสเซียผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปอยู่สูงกว่า 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
รายงานยังระบุด้วยว่าเศรษฐกิจพม่าที่อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง จะทรุดลงไปมากกว่าเดิมเพราะพายุไซโคลนนาร์กิส
ยูเอ็นกล่าวว่าราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นราว 25%เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้ทะลุขึ้นมาเป็น 57%ในเดือนมีนาคม และคาดว่าจะคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในปีนี้และปีหน้า ก่อนที่ราคาจะหล่นลงมา
เมื่อปีที่แล้วปริมาณอาหารโลกเพิ่มขึ้น 5% แต่ก็ยังคงน้อยกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การที่โลกผลิตอาหารได้น้อยกว่าความต้องการก็เพราะภัยธรรมชาติรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องรวมทั้งรายได้ของประชาชนในหลายประเทศที่ดีขึ้นซึ่งทำให้มีความต้องการอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นด้วย
สหประชาชาติคาดว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงจะทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงอยู่ในระดับ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้ และ 90 ดอลลาร์ในปีหน้า
รายงานฉบับล่าสุดนี้ยังได้เดินตามรายงานฉบับอื่นๆ นั่นคือเรียกร้องให้มีการประสานการปฏิบัติการระดับนานาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางการเงิน อาทิ การออกข้อกำหนดให้แบงก์และสถาบันการเงินอื่นๆ ต้องเพิ่มฐานเงินทุนในระหว่างเกิดความผันผวน เพื่อเตรียมรับมือในกรณีที่อาจเกิดความเสียหายในอนาคต
นอกจากนั้น รายงานยังเสนอให้นานาชาติเปลี่ยนแปลงระบบการสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกเขา โดยควรที่จะหันมาใช้ระบบตะกร้าเงินตราหลายสกุล แทนที่จะอ้างอิงเงินดอลลาร์สหรัฐฯแต่เพียงสกุลเดียว
ในรายงานการสำรวจเศรษฐกิจรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี(15) ยูเอ็นทำนายว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตเพียง 1.8% เทียบกับ 3.4% ที่ได้พยากรณ์ไว้เมื่อเดือนมกราคม และเทียบกับอัตราการเติบโต 3.8% ของเมื่อปีที่แล้ว
รายงานของยูเอ็นระบุว่า การปรับประมาณการณ์คราวนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงไม่ฟื้นตัวจากปัญหาภาคที่อยู่อาศัยและภาคการเงินที่ทรุดจีงลงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ยูเอ็นยังเห็นว่าปัญหาของสหรัฐฯมีผลฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอย่างยืดยาวออกไปจนถึง 2009
ยูเอ็นบอกในรายงานว่า ความผันผวนรุนแรงในตลาดการเงิน, การร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ, ความไม่สมดุลกันของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลก, ราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งขึ้น เหล่านี้หมายความว่า “เศรษฐกิจโลกกำลังยืนอยู่บนปากเหวของการถอยลงอย่างรุนแรงกันทั่วโลก”
รายงานที่ออกโดยฝ่ายกิจการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติฉบับนี้ชี้ว่า การขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติของสหรัฐฯในปีนี้ จะลดลงเหลือเพียง 0.2% เท่านั้นเทียบกับ 2%ที่เคยคาดไว้ในเดือนมกราคม
อย่างไรก็ตาม รายงานย้ำว่าตัวเลขทั้งหมดอาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ในอนาคต ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้น ได้ผลดีเพียงไรในการต่อสู้กับวิกฤต
ร็อบ วอส เจ้าหน้าที่ยูเอ็นที่จัดทำรายงานคนหนึ่งกล่าวว่า “การวิเคราะห์เบื้องต้นของเราพบว่าปัญหายังอาจจะเลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ก็ได้”
**เศรษฐกิจเอเชียก็ชะลอลงด้วย**
รายงานฉบับนี้ยังได้ทำนายด้วยว่า เศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นก็จะเริ่มเติบโตช้าลง ส่วนเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้จะเห็นอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 5.9% จาก 8.5% ของเมื่อปีที่แล้ว
เศรษฐกิจจีนจะได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง, มาตรการการเงินที่เข้มงวดขึ้น, เงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น, และค่าแรงที่เพิ่มขึ้นด้วย
แต่สำหรับรัสเซียกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเฉียงใต้แล้ว จะมีอัตราการเติบโตที่พุ่งขึ้น โดยเฉพาะรัสเซียผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปอยู่สูงกว่า 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
รายงานยังระบุด้วยว่าเศรษฐกิจพม่าที่อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง จะทรุดลงไปมากกว่าเดิมเพราะพายุไซโคลนนาร์กิส
ยูเอ็นกล่าวว่าราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นราว 25%เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้ทะลุขึ้นมาเป็น 57%ในเดือนมีนาคม และคาดว่าจะคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในปีนี้และปีหน้า ก่อนที่ราคาจะหล่นลงมา
เมื่อปีที่แล้วปริมาณอาหารโลกเพิ่มขึ้น 5% แต่ก็ยังคงน้อยกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การที่โลกผลิตอาหารได้น้อยกว่าความต้องการก็เพราะภัยธรรมชาติรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องรวมทั้งรายได้ของประชาชนในหลายประเทศที่ดีขึ้นซึ่งทำให้มีความต้องการอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นด้วย
สหประชาชาติคาดว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงจะทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงอยู่ในระดับ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้ และ 90 ดอลลาร์ในปีหน้า
รายงานฉบับล่าสุดนี้ยังได้เดินตามรายงานฉบับอื่นๆ นั่นคือเรียกร้องให้มีการประสานการปฏิบัติการระดับนานาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางการเงิน อาทิ การออกข้อกำหนดให้แบงก์และสถาบันการเงินอื่นๆ ต้องเพิ่มฐานเงินทุนในระหว่างเกิดความผันผวน เพื่อเตรียมรับมือในกรณีที่อาจเกิดความเสียหายในอนาคต
นอกจากนั้น รายงานยังเสนอให้นานาชาติเปลี่ยนแปลงระบบการสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกเขา โดยควรที่จะหันมาใช้ระบบตะกร้าเงินตราหลายสกุล แทนที่จะอ้างอิงเงินดอลลาร์สหรัฐฯแต่เพียงสกุลเดียว