นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวหลังสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 พร้อมทั้งสักการะศาลพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง และพระทรงเมืองในรัฐสภาในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรถึงการทำหน้าที่ว่า สภาผู้แทนราษฎรคือมีหน้าที่ ออกกฎหมายและแก้กฎหมายพร้อมทั้งดำรงความยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ความพร้อมอยู่ที่มีหัวใจแข็งแกร่ง ซึ่งตนก็มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่ประธานสภาฯ
ส่วนปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนที่เสนอเข้ามายังรัฐสภา แต่ไม่มีกฎหมายรองรับให้ดำเนินการได้นั้น นายชัย กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นเอกสารดังกล่าว คงตอบไม่ได้ หากมีปัญหาก็พร้อมจะดำเนินการ จะมาฟังแค่เสียงนกเสียงกาแล้วมาตอบคำถามเลยคงไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นหรือไม่หากมีการบรรจุญัตติการแกัไขรัฐธรรมนูญจะต้องรอพร้อมทั้งฝ่าย ส.ส.และภาคประชาชน นายชัยกล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกฎหมายบัญญัติไว้เมื่อประธานรัฐสภารับเอกสารญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ต้องบรรจุระเบียบวาระภายใน 15 วันเมื่อตรวจสอบเอกสารครบสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามก็ไม่รู้ว่าจะมีการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามาหรือไม่ ซึ่งเรื่องอาจง่ายก็ได้ไม่ง่ายก็ได้ หรือเสนอก็ได้ไม่เสนอก็ได้ ก็ต้องดูกลุ่มต่างๆฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้านก็ต้องฟังเหตุฟังผล เราเป็นตัวแทนประชาชนตรวจสอบได้
“ทุกวันนี้ผมไม่เคยถือสาหาความใครเขียนใครว่าอะไรผม ผมพร้อมน้อมรับไปแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น สิ่งอะไรผิดก็แก้ให้ถูก อะไรพลาดพลั้งไปถ้าเป็นสิ่งที่ขออภัยได้เราก็จะขอสิ่งใดที่เรายอมรับโทษนั้นเราก็ยอมรับ”
ส่วนที่สภาฯยังไม่สามารถตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯได้นั้น นายชัย กล่าวว่า สมัยก่อนไม่เคยมีการปรึกษาในสภา แต่ตอนนี้มีการเปิดเกมให้ส.ส. สามารถเสนอแนะด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา ตนพยามยามจะแก้ไขให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าและการประนีประนอมระหว่างรัฐบาลและสภาฯ เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งเมื่อเปิดสมัยประชุมไม่ว่าสมัยนิติบัญญัติหรือสมัยวิสามัญเรื่องนี้จะเป็นเรื่องแรกที่ต้องพิจารณา
ชัยย้ำออกกม.เร่งด่วนกว่าแก้รธน.
“เรื่องคณะกรรมาธิการทุกคณะสามารถทำให้เรื่องร้อนเป็นเรื่องเย็นได้ การไม่สามารถตั้งคณะกรรมาธิการจะโทษรัฐบาล หรือ ฝ่ายค้านไม่ได้เพราะทุกฝ่ายยังไม่ลงรอยกัน ผมเป็นคนกลางที่ต้องไปประสาน เรื่องใจคนมันยากคนนั้นกินเปรี้ยว คนนั้นกินหวาน ต้องดูทำอย่างไรให้ก๋วยเตี๋ยวชามนี้รสกลมกล่อม”
ส่วนที่ วิปรัฐบาลมีมติขอเปิดสมัยวิสามัญนั้น นายชัยกล่าวว่ายังไม่เห็นเรื่อง เรื่องนี้อยู่ที่รัฐบาลว่าเห็นควรอย่างไร เพราะมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่สำคัญและมีการกำหนดว่าต้องพิจารณาให้เสร็จก่อนกี่วันหลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมาที่มีการปล่อยให้เกินกำหนด เพราะตนยังไม่ได้เป็นประธานสภาฯแต่เมื่อตนมาเป็นแล้วจะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ซึ่งตอนนี้มีกฎหมายที่รวบรวมทั้งหมดแล้ว 57 ฉบับซึ่งเราจะเร่งรัดให้เสร็จ ตามที่กฎหมายกำหนด
ย้ำจัดระเบียบสื่อรัฐสภาห้ามเพ่นพ่าน
นายชัย ย้ำว่าสิ่งที่ตั้งใจจะทำคือการจัดระเบียบสื่อ เพราะถือว่าสื่อเป็นแกนหลักของประชาธิปไตยทุกแขนงที่ต้องนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบประเด็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งถือว่าสื่อมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองจะอยู่ได้ขึ้นอยู่ที่สื่อ นักการเมืองอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับสื่อ แม้อาจจะถูกสื่อตีซ้ายตีขวาไปบ้าง ดังนั้นตนจึงเห็นว่าสื่อเป็นเหมือนพี่ชายของตน
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะจัดระเบียบสื่อเฉพาะระบบความอำนวยสะดวกของสื่อ แต่ไม่ได้คิดจะจัดระเบียบการทำงานของสื่อใช่หรือไม่ นายชัยกล่าวว่า ตนจัดหมดทั้งความสะดวกและการทำงานไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ไม่ใช่วิ่งตามกันไปทุกที่ ต่างประเทศมองว่าสื่อของเราไม่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่ และยืนยันว่าไม่ใช่การ แทรกแซงหรือคุกคามสื่อแน่นอน แต่จะให้สื่อตั้งคณะทำงานขึ้นมา ซึ่งสื่อทุกฉบับต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นแกนหลักและก่อนจะทำตนจะต้องขอมติจากสื่อก่อน โดยตนจะเป็นหลักให้ แต่หากสื่อไม่ยอมรับตนก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ตนจะให้การเกื้อหนุนอำนวยความสะดวกให้ทุกทาง
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดอย่างไรที่คนวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้รับตำแหน่งนี้เพราะนาย เนวิน ชิดชอบ นายชัย กล่าวว่า ตนไม่ได้ถือว่าได้เพราะนายเนวิน แต่ตนขอขอบคุณ เสียง 283 เสียงให้ดำรงตำแหน่งนี้ตนก็จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม
ชูศักดิ์ยันเปิดสภาวิสามัญแก้รธน.
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง การเข้าชื่อในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1.5 แสนชื่อ ที่ทางสมาชิกวุฒิสภาบอกว่า ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับว่า ตนยังไม่แน่ใจ คงต้องไปดูอีกที เพราะฟังจากแกนนำบอกว่า ที่รวบรวมรายชื่อมานั้นก็เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมานั้นเพื่อให้สมาชิกสภาเอาร่างนี้ไปดูว่าจะเห็นสมควรอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็แปลว่าสมาชิกสภาฯอาจจะรับร่างนี้ไปแล้วนำเสนอ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็หมายความว่า ร่างนี้สมาชิกสภาฯรับมาจากประชาชนและเขาเห็นชอบ ก็เอาร่างนี้เสนอต่อสภา ถ้าเป็นอย่างนี้ปัญหาเรื่องรายชื่อประชาชนต่าง ๆ ก็คงไม่เป็นประเด็น
ส่วนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภานั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมวิปรัฐบาลได้คุยกันถึงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ซึ่งก็เห็นตรงกันว่า น่าจะเป็นตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน เป็นต้นไป เพราะจะต้องพิจารณาในเรื่องของ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 และยังมีกฎหมายสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องเร่งพิจารณาให้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องตราตามรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งตนจะได้นำมติวิปดังกล่าวนี้ไปแจ้งต่อรัฐบาลต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าตกลงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดเป็นต้นร่าง ระหว่างของพรรคพลังประชาชนหรือภาคประชาชนที่เสนอโดย คปพร. นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั้ง 2 ร่างก็อยู่ที่สภาแล้วก็คงต้องหารือกันดูว่าจะเอาอย่างไร เมื่อถามว่าเท่าที่ดูร่างของ คปพร.มีเนื้อหาสอดคล้องกับต้นร่างที่ได้ร่างไว้หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่าร่างของ คปพร.เป็นร่างแบบสั้น แต่ร่างของตนที่ร่างมานั้น เป็นการร่างแบบยาวซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเอาร่างแบบไหน
งงเสนอให้ออกพ.ร.ก.ยำเลิกรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่ แนวร่วมข้าราชการอาวุโสและพลเรือนเพื่อประชาธิปไตย ให้ลูกหลาน เสนอให้ ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และให้มาใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 แทนมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ผมยังไม่เคยเห็นมีใครทำกัน รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด อยู่ดี ๆ จะมาออกพระราชกำหนดไปยกเลิกรัฐธรรมนูญ ผมยังไม่เคยเห็นใครเขาทำกัน ในทางกฎหมาย ไม่น่าจะทำได้ ที่ผ่านมาบ้านเมืองเรารัฐธรรมนูญก็ถูกยกเลิกโดยการปฏิวัติ แต่การออกพระราชกำหนดยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้น ผมไม่เคยเห็น
อ้างงานมากปัดนัดปธ.วิปรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าในเรื่องของประธานวิปรัฐบาล พรรคได้ตกลงกันชัดเจนหรือยังว่าเป็นใคร เพราะมีส.ส.บางท่านเสนอให้ท่านเป็นประธานวิปรัฐบาลด้วย นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้แจ้งไปกับผู้บริหารพรรคแล้วว่าตนเป็นรัฐมนตรีอยู่ ซึ่งประธานวิปรัฐบาลนี้งานค่อนข้างหนัก โดยต้องทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมวิปวันจันทร์ ส่วนวันพุธ-พฤหัสบดี ก็ต้องอยู่โยงเฝ้าสภา คอยดูว่ามติที่ออกมาจะทำอย่างไร
“ถ้าให้ผมไปทำหน้าที่ประธานวิปก็คงไม่สามารถทำหน้าที่รัฐมนตรีที่จะต้องรับผิดชอบงานประจำที่มีอยู่มากมายได้ ผมจึงบอกไปว่าคงไม่เหมาะมั๊ง เอาท่านอื่นดีกว่า แต่ก็ไม่ได้เสนอชื่อใคร เพราะในพรรคก็มีหลายคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ก็ขอให้ดูกันให้ดี ขณะนี้เชื่อว่าอยู่ในขั้นตอนที่ฝ่ายบริหารคัดเลือกอยู่”
ส่วนที่นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองประธานวิป แสดงเจตจำนงชัดเจนในการเป็น ประธานวิปรัฐบาล โดยบอกว่าหากไม่ได้เป็นประธานวิปรัฐบาลจะลาออก ซึ่งอาจนำมาซึ่งความแตกแยกในพรรคอีก นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ทุกคนที่มีชื่อออกมา ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งนั้น แต่ยังไม่อยากให้ไปพูดกันถึงขนาดนั้น เพราะผู้บริหารพรรคเขาก็ต้องดูว่าใครเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องฟังเสียงกันทั้งในพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ทุกคนสามารถที่จะทำหน้าที่ได้ แต่จะทำหน้าที่ได้ดีมากน้อยเพียงใดก็ต้องฟังกันดู ยังไม่อยากให้ถึงขนาดว่าคนนั้นจะเป็น คนนี้จะไม่เป็น ทุกคนเป็นคนดีทั้งนั้น
ทวงสัจจะชัยไม่เปิดสภาแก้รธน.
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมผลักดันให้มีการสภาผู้แทนราษฎสมัยวิสามัญในระหว่างวันที่ 9-30 มิ.ย.ว่า เป็นอำนาจที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯประกาศว่าเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำ และ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ค้าง แต่ไม่มีการพิจาณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ถ้าดูจากพรรคพลังประชาชน วิปรัฐบาล ที่ยืนยันว่าจะยื่นให้มีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาตนไม่ได้ทักท้วงนายชัย เนื่องจากเชื่อในสัจจะ ทั้งที่ใจจริงไม่อยากจะเชื่อเท่าใด
อย่างไรก็ตามการเปิดประชุมวันที่ 9-30 มิ.ย.นี้เป็นการเปิดที่ยาวที่สุด ในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ตนแปลกใจสภาชุดนี้ว่า ทำไมให้มีการเปิดได้ เกือบเดือน ทั้งที่การพิจารณางบประมาณใช้เวลา 3วันก็จบได้ แต่เมื่อชี้แจงว่าจะพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพิ่มเข้ามา จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ยื่นสภามานานแล้ว แต่ทำไมมาบรรจุในสามัญปกติ เชื่อน่าจะมีวาระซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง และการเปิดระยะเวลาของการประชุมที่ยาวเกือบเดือน เพื่อที่จะให้กระบวนการการแก้รัฐธรรมนูญ มีโอกาสเขามาบรรจุ อยู่ในสภาสมัยวิสามัญนี้ได้ จึงจะเป็นบทพิสูจน์คำพูดของนายชัย ที่ประกาศไว้ว่าเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน
นาย ศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญและจะบรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ว่า เป็นการแสดงเจตนาที่แอบแฝงของพรรคพลังประชาชนว่า ไม่ได้มุ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งเชื่อว่าถ้าสังคมเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องมาจากการที่พรรคพลังประชาชนดื้อเพ่ง ไม่รับฟังความเห็นของประชาชน พรรคประชาชนต้องรับผิดชอบ
ส.ว.บุรีรัมย์ไม่ตอบร่วมหนุนแก้รธน.
นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวถึงกรณีที่นายเกชา ศักดิ์สมบรูณ์ ส.ว.ราชบุรีระบุว่ามีส.ว.ประมาณ 50 คนจะเข้าชื่อร่วมกับ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าเรื่องนี้ ขอให้ไปถามนายเกชาเองจะดีกว่า อย่างไรก็ตามส่วนตัวได้มีการศึกษาติดตามมาโดยตลอดซึ่งมีประเด็นที่สนใจกันมาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นหรือไม่ ในการเร่งรีบยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พิจารณา ในช่วงเปิดประชุมสมัยวิสามัญนี้ นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า อยู่ที่สถานการณ์ในช่วงนี้และเหตุผล ยังไม่ขอให้ความเห็นในขณะนี้
ส่วนกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรมนูญเมื่อมีการยื่นเข้าสภานั้น นายทวีศักดิ์ กล่าวว่าสังคมประชาธิปไตย ขออย่าให้มีการขีดเส้นตายเพราะหากขีดเส้นเช่นนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
ส่วนปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนที่เสนอเข้ามายังรัฐสภา แต่ไม่มีกฎหมายรองรับให้ดำเนินการได้นั้น นายชัย กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นเอกสารดังกล่าว คงตอบไม่ได้ หากมีปัญหาก็พร้อมจะดำเนินการ จะมาฟังแค่เสียงนกเสียงกาแล้วมาตอบคำถามเลยคงไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นหรือไม่หากมีการบรรจุญัตติการแกัไขรัฐธรรมนูญจะต้องรอพร้อมทั้งฝ่าย ส.ส.และภาคประชาชน นายชัยกล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกฎหมายบัญญัติไว้เมื่อประธานรัฐสภารับเอกสารญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ต้องบรรจุระเบียบวาระภายใน 15 วันเมื่อตรวจสอบเอกสารครบสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามก็ไม่รู้ว่าจะมีการเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามาหรือไม่ ซึ่งเรื่องอาจง่ายก็ได้ไม่ง่ายก็ได้ หรือเสนอก็ได้ไม่เสนอก็ได้ ก็ต้องดูกลุ่มต่างๆฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้านก็ต้องฟังเหตุฟังผล เราเป็นตัวแทนประชาชนตรวจสอบได้
“ทุกวันนี้ผมไม่เคยถือสาหาความใครเขียนใครว่าอะไรผม ผมพร้อมน้อมรับไปแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น สิ่งอะไรผิดก็แก้ให้ถูก อะไรพลาดพลั้งไปถ้าเป็นสิ่งที่ขออภัยได้เราก็จะขอสิ่งใดที่เรายอมรับโทษนั้นเราก็ยอมรับ”
ส่วนที่สภาฯยังไม่สามารถตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯได้นั้น นายชัย กล่าวว่า สมัยก่อนไม่เคยมีการปรึกษาในสภา แต่ตอนนี้มีการเปิดเกมให้ส.ส. สามารถเสนอแนะด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา ตนพยามยามจะแก้ไขให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าและการประนีประนอมระหว่างรัฐบาลและสภาฯ เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งเมื่อเปิดสมัยประชุมไม่ว่าสมัยนิติบัญญัติหรือสมัยวิสามัญเรื่องนี้จะเป็นเรื่องแรกที่ต้องพิจารณา
ชัยย้ำออกกม.เร่งด่วนกว่าแก้รธน.
“เรื่องคณะกรรมาธิการทุกคณะสามารถทำให้เรื่องร้อนเป็นเรื่องเย็นได้ การไม่สามารถตั้งคณะกรรมาธิการจะโทษรัฐบาล หรือ ฝ่ายค้านไม่ได้เพราะทุกฝ่ายยังไม่ลงรอยกัน ผมเป็นคนกลางที่ต้องไปประสาน เรื่องใจคนมันยากคนนั้นกินเปรี้ยว คนนั้นกินหวาน ต้องดูทำอย่างไรให้ก๋วยเตี๋ยวชามนี้รสกลมกล่อม”
ส่วนที่ วิปรัฐบาลมีมติขอเปิดสมัยวิสามัญนั้น นายชัยกล่าวว่ายังไม่เห็นเรื่อง เรื่องนี้อยู่ที่รัฐบาลว่าเห็นควรอย่างไร เพราะมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่สำคัญและมีการกำหนดว่าต้องพิจารณาให้เสร็จก่อนกี่วันหลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมาที่มีการปล่อยให้เกินกำหนด เพราะตนยังไม่ได้เป็นประธานสภาฯแต่เมื่อตนมาเป็นแล้วจะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ซึ่งตอนนี้มีกฎหมายที่รวบรวมทั้งหมดแล้ว 57 ฉบับซึ่งเราจะเร่งรัดให้เสร็จ ตามที่กฎหมายกำหนด
ย้ำจัดระเบียบสื่อรัฐสภาห้ามเพ่นพ่าน
นายชัย ย้ำว่าสิ่งที่ตั้งใจจะทำคือการจัดระเบียบสื่อ เพราะถือว่าสื่อเป็นแกนหลักของประชาธิปไตยทุกแขนงที่ต้องนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบประเด็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งถือว่าสื่อมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองจะอยู่ได้ขึ้นอยู่ที่สื่อ นักการเมืองอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับสื่อ แม้อาจจะถูกสื่อตีซ้ายตีขวาไปบ้าง ดังนั้นตนจึงเห็นว่าสื่อเป็นเหมือนพี่ชายของตน
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะจัดระเบียบสื่อเฉพาะระบบความอำนวยสะดวกของสื่อ แต่ไม่ได้คิดจะจัดระเบียบการทำงานของสื่อใช่หรือไม่ นายชัยกล่าวว่า ตนจัดหมดทั้งความสะดวกและการทำงานไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ไม่ใช่วิ่งตามกันไปทุกที่ ต่างประเทศมองว่าสื่อของเราไม่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่ และยืนยันว่าไม่ใช่การ แทรกแซงหรือคุกคามสื่อแน่นอน แต่จะให้สื่อตั้งคณะทำงานขึ้นมา ซึ่งสื่อทุกฉบับต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นแกนหลักและก่อนจะทำตนจะต้องขอมติจากสื่อก่อน โดยตนจะเป็นหลักให้ แต่หากสื่อไม่ยอมรับตนก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ตนจะให้การเกื้อหนุนอำนวยความสะดวกให้ทุกทาง
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดอย่างไรที่คนวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้รับตำแหน่งนี้เพราะนาย เนวิน ชิดชอบ นายชัย กล่าวว่า ตนไม่ได้ถือว่าได้เพราะนายเนวิน แต่ตนขอขอบคุณ เสียง 283 เสียงให้ดำรงตำแหน่งนี้ตนก็จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม
ชูศักดิ์ยันเปิดสภาวิสามัญแก้รธน.
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง การเข้าชื่อในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1.5 แสนชื่อ ที่ทางสมาชิกวุฒิสภาบอกว่า ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับว่า ตนยังไม่แน่ใจ คงต้องไปดูอีกที เพราะฟังจากแกนนำบอกว่า ที่รวบรวมรายชื่อมานั้นก็เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมานั้นเพื่อให้สมาชิกสภาเอาร่างนี้ไปดูว่าจะเห็นสมควรอย่างไร ถ้าเห็นด้วยก็แปลว่าสมาชิกสภาฯอาจจะรับร่างนี้ไปแล้วนำเสนอ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็หมายความว่า ร่างนี้สมาชิกสภาฯรับมาจากประชาชนและเขาเห็นชอบ ก็เอาร่างนี้เสนอต่อสภา ถ้าเป็นอย่างนี้ปัญหาเรื่องรายชื่อประชาชนต่าง ๆ ก็คงไม่เป็นประเด็น
ส่วนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภานั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมวิปรัฐบาลได้คุยกันถึงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ซึ่งก็เห็นตรงกันว่า น่าจะเป็นตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน เป็นต้นไป เพราะจะต้องพิจารณาในเรื่องของ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 และยังมีกฎหมายสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องเร่งพิจารณาให้ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องตราตามรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งตนจะได้นำมติวิปดังกล่าวนี้ไปแจ้งต่อรัฐบาลต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าตกลงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดเป็นต้นร่าง ระหว่างของพรรคพลังประชาชนหรือภาคประชาชนที่เสนอโดย คปพร. นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั้ง 2 ร่างก็อยู่ที่สภาแล้วก็คงต้องหารือกันดูว่าจะเอาอย่างไร เมื่อถามว่าเท่าที่ดูร่างของ คปพร.มีเนื้อหาสอดคล้องกับต้นร่างที่ได้ร่างไว้หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่าร่างของ คปพร.เป็นร่างแบบสั้น แต่ร่างของตนที่ร่างมานั้น เป็นการร่างแบบยาวซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเอาร่างแบบไหน
งงเสนอให้ออกพ.ร.ก.ยำเลิกรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่ แนวร่วมข้าราชการอาวุโสและพลเรือนเพื่อประชาธิปไตย ให้ลูกหลาน เสนอให้ ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และให้มาใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 แทนมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ผมยังไม่เคยเห็นมีใครทำกัน รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด อยู่ดี ๆ จะมาออกพระราชกำหนดไปยกเลิกรัฐธรรมนูญ ผมยังไม่เคยเห็นใครเขาทำกัน ในทางกฎหมาย ไม่น่าจะทำได้ ที่ผ่านมาบ้านเมืองเรารัฐธรรมนูญก็ถูกยกเลิกโดยการปฏิวัติ แต่การออกพระราชกำหนดยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้น ผมไม่เคยเห็น
อ้างงานมากปัดนัดปธ.วิปรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าในเรื่องของประธานวิปรัฐบาล พรรคได้ตกลงกันชัดเจนหรือยังว่าเป็นใคร เพราะมีส.ส.บางท่านเสนอให้ท่านเป็นประธานวิปรัฐบาลด้วย นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้แจ้งไปกับผู้บริหารพรรคแล้วว่าตนเป็นรัฐมนตรีอยู่ ซึ่งประธานวิปรัฐบาลนี้งานค่อนข้างหนัก โดยต้องทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมวิปวันจันทร์ ส่วนวันพุธ-พฤหัสบดี ก็ต้องอยู่โยงเฝ้าสภา คอยดูว่ามติที่ออกมาจะทำอย่างไร
“ถ้าให้ผมไปทำหน้าที่ประธานวิปก็คงไม่สามารถทำหน้าที่รัฐมนตรีที่จะต้องรับผิดชอบงานประจำที่มีอยู่มากมายได้ ผมจึงบอกไปว่าคงไม่เหมาะมั๊ง เอาท่านอื่นดีกว่า แต่ก็ไม่ได้เสนอชื่อใคร เพราะในพรรคก็มีหลายคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ก็ขอให้ดูกันให้ดี ขณะนี้เชื่อว่าอยู่ในขั้นตอนที่ฝ่ายบริหารคัดเลือกอยู่”
ส่วนที่นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองประธานวิป แสดงเจตจำนงชัดเจนในการเป็น ประธานวิปรัฐบาล โดยบอกว่าหากไม่ได้เป็นประธานวิปรัฐบาลจะลาออก ซึ่งอาจนำมาซึ่งความแตกแยกในพรรคอีก นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ทุกคนที่มีชื่อออกมา ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งนั้น แต่ยังไม่อยากให้ไปพูดกันถึงขนาดนั้น เพราะผู้บริหารพรรคเขาก็ต้องดูว่าใครเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องฟังเสียงกันทั้งในพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ทุกคนสามารถที่จะทำหน้าที่ได้ แต่จะทำหน้าที่ได้ดีมากน้อยเพียงใดก็ต้องฟังกันดู ยังไม่อยากให้ถึงขนาดว่าคนนั้นจะเป็น คนนี้จะไม่เป็น ทุกคนเป็นคนดีทั้งนั้น
ทวงสัจจะชัยไม่เปิดสภาแก้รธน.
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมผลักดันให้มีการสภาผู้แทนราษฎสมัยวิสามัญในระหว่างวันที่ 9-30 มิ.ย.ว่า เป็นอำนาจที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯประกาศว่าเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำ และ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ค้าง แต่ไม่มีการพิจาณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ถ้าดูจากพรรคพลังประชาชน วิปรัฐบาล ที่ยืนยันว่าจะยื่นให้มีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาตนไม่ได้ทักท้วงนายชัย เนื่องจากเชื่อในสัจจะ ทั้งที่ใจจริงไม่อยากจะเชื่อเท่าใด
อย่างไรก็ตามการเปิดประชุมวันที่ 9-30 มิ.ย.นี้เป็นการเปิดที่ยาวที่สุด ในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ตนแปลกใจสภาชุดนี้ว่า ทำไมให้มีการเปิดได้ เกือบเดือน ทั้งที่การพิจารณางบประมาณใช้เวลา 3วันก็จบได้ แต่เมื่อชี้แจงว่าจะพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพิ่มเข้ามา จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ยื่นสภามานานแล้ว แต่ทำไมมาบรรจุในสามัญปกติ เชื่อน่าจะมีวาระซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง และการเปิดระยะเวลาของการประชุมที่ยาวเกือบเดือน เพื่อที่จะให้กระบวนการการแก้รัฐธรรมนูญ มีโอกาสเขามาบรรจุ อยู่ในสภาสมัยวิสามัญนี้ได้ จึงจะเป็นบทพิสูจน์คำพูดของนายชัย ที่ประกาศไว้ว่าเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน
นาย ศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเปิดการประชุมสภาสมัยวิสามัญและจะบรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย ว่า เป็นการแสดงเจตนาที่แอบแฝงของพรรคพลังประชาชนว่า ไม่ได้มุ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งเชื่อว่าถ้าสังคมเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องมาจากการที่พรรคพลังประชาชนดื้อเพ่ง ไม่รับฟังความเห็นของประชาชน พรรคประชาชนต้องรับผิดชอบ
ส.ว.บุรีรัมย์ไม่ตอบร่วมหนุนแก้รธน.
นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวถึงกรณีที่นายเกชา ศักดิ์สมบรูณ์ ส.ว.ราชบุรีระบุว่ามีส.ว.ประมาณ 50 คนจะเข้าชื่อร่วมกับ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าเรื่องนี้ ขอให้ไปถามนายเกชาเองจะดีกว่า อย่างไรก็ตามส่วนตัวได้มีการศึกษาติดตามมาโดยตลอดซึ่งมีประเด็นที่สนใจกันมาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นหรือไม่ ในการเร่งรีบยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พิจารณา ในช่วงเปิดประชุมสมัยวิสามัญนี้ นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า อยู่ที่สถานการณ์ในช่วงนี้และเหตุผล ยังไม่ขอให้ความเห็นในขณะนี้
ส่วนกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรมนูญเมื่อมีการยื่นเข้าสภานั้น นายทวีศักดิ์ กล่าวว่าสังคมประชาธิปไตย ขออย่าให้มีการขีดเส้นตายเพราะหากขีดเส้นเช่นนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย