นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์พื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า 3 เดือนที่รัฐบาลนอมินีเข้ามาบริหาปรระเทศ โจทย์หรือปัญหาเก่าที่หวังให้รัฐบาลคลี่คลายกลับมีแนวโน้มขยายตัว ด้วยการตอกลิ่มของรัฐบาลเสียเองไม่ว่าจะเป็นปัญหาความแตกแยกที่รัฐบาลไม่แสดงตนเป็นเจ้าภาพ แสวงหาวิธีสมานฉันท์ แต่กลับใช้อำนาจรัฐเลือกข้าง เลือกกลุ่มแบ่งแยกประชาชนแล้วปกครองด้วยอำนาจที่กร้าวร้าวและพยายามบิดเบือน ข้อเสนอกลุ่มคนที่เห็นต่างจากรัฐบาล
นอกจากนี้ทีมเศรษฐกิจที่ดูเหมือนความรู้ความสามารถอ่อนหัดกว่าวิกฤติปัญหายิ่งทำให้ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มต้นนับหนึ่งสู่วิกฤติอย่างเลี่ยงไม่พ้น ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อออกอาการอย่างรุนแรงและขยายตัวรวดเร็วพร้อมๆ กับการพุ่งทะยานของราคาน้ำมันแทบทุกวัน
โจทย์และปัญหาเดิมจึงเขม็งเกลียวมากขึ้นในขณะที่โจทย์หรือปัญหาใหม่ ได้ทยอยเข้าแถวรายวันไม่ว่าจะเป็นการรื้อรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดตนเอง การคุกคามสื่อ การปลุกกลุ่มประชาชนในเครือข่ายรัฐบาลออกมาท้าทายกับกลุ่มประชาชนอีกฝ่าย และวาระซ่อนเร้นในการใช้อำนาจรัฐที่เริ่มพบสัญญาณของการเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ครอบครัว และการถอนทุนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเขาพระวิหาร เมกะโปรเจกต์ การขึ้นราคาน้ำตาลทราย เป็นต้น
นายสุริยะใส กล่าวว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าสัญญาณความไม่ลงตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีบารมีเหนือพรรคและรัฐบาล กับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เริ่มปรากฎชัดขึ้นนับตั้งแต่ปัญหาการแต่งตั้ง ครม. การโยกย้ายในกองทัพ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระทั่งการปรับ ครม.รอบใหม่ที่นายสมัครพยายามจะจัดการเองแต่ถูกขัดขวางจากผู้มีอำนาจตัวจริง
“3 เดือนของรัฐบาลนอมินีจึงเป็น 3 เดือนของการคุมเชิงทางอำนาจระหว่าง ผู้มีอำนาจตัวจริง กับผู้มาใหม่ที่พยายามสถาปนาอำนาจของตน หรือสร้างก๊กอำนาจใหม่ ส่งผลให้อำนาจทางการเมืองถูกชักกะเย่อจากสองขั้วอำนาจ ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลก็ลอยตัวไม่สังฆกรรม แต่เล่นบทฉวยโอกาสต่อรองผลประโยชน์ไปพร้อมๆ กับการเสพย์สุขอยู่กับตำแหน่งทางการเมืองที่ได้มาตามโควต้า”
นายสุริยะใส กล่าวว่า เงื่อนไขการรัฐประหารเดิม คือ ความแตกแยกและการเผชิญหน้า การจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงยังดำรงอยู่แล้ว ยังมีเงื่อนไขใหม่คือ วิกฤติเศรษฐกิจ และการใช้อำนาจเพื่อคนๆ เดียว ด้วยการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โยกย้ายข้าราชการประจำแบบมีเงื่อนงำ ใช้เสียงข้างมากมัดมือชกเสียงข้างน้อย ล้วนแต่ทำให้บรรยากาศการเมืองหันหัวสู่เงื่อนไขรัฐประหารรอบใหม่อีกครั้ง
“การท้าทายให้ทหารออกมารัฐประหารของคนในรัฐบาล จึงเป็นความ ขาดเขลามากกว่าความกล้าที่น่าสรรเสริญ เพราะหากผู้สร้างเงื่อนไขและเชื้อเชิญการรัฐประหารเป็นคนๆ เดียวกับผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหาร การเมืองไทย ก็ไม่มีวันได้นักประชาธิปไตยที่แท้จริง มีแต่นักฉวยโอกาสที่หลอกใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือและกลับเข้าไปเสพย์สุขในอำนาจรัฐซ้ำแล้วซ้ำเล่าเท่านั้นเอง”
นายสุริยะใส กล่าวว่า โอกาสและทางเลือกของรัฐบาลยังพอมีและสามารถต่ออายุรัฐบาลได้โดย1. ต้องปรับ ครม. ครั้งใหญ่ โดยใช้โอกาสที่นายสุธา ชันแสง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลาออก ดำเนินการปรับ ครม.ครั้งใหญ่เอาภารกิจของชาติเป็นตัวตั้งและเลือกคนที่มีศักยภาพและความสามารถ ปลอดจจากมลฑิลมากที่สุด ลด ละ เลิกระบบโควต้า พึ่งคนนอกมากขึ้น
กระทรวงที่ควรปรับและทบทวนคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพานิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกที่กำกับดูแลสื่อ ต้องถือเป็นการผ่าตัดครั้งใหญ่มากกว่าการปรับ ครม.ธรรมดา
2. นายกฯ ต้องลดความกร้าว เพิ่มความกล้า สำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้เป็นตำแหน่งที่หลายฝ่ายอยากให้ปรับมากที่สุด แต่คงเป็นไปได้ยาก ด้วยข้อจำกัดทางการเมือง แต่หากนายสมัคร สุนทรเวช ถือเอาข้อจำกัดทางการเมือง มาค้ำตำแหน่งนายกฯ ไปวันๆ โดยไม่ปรับปรุงพฤติกรรมแล้ว ในระยะยาวกระแสไม่พอใจจะพุ่งเป้ามาที่ตัวนายกฯ เป็นหลัก
3. เอาวาระประเทศ มาแทนที่ วาระของคนๆ เดียว วาระประเทศ ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากเห็น 3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลทุ่มทุน ทางอำนาจอยู่กับการแก้ปัญหาของคนๆ เดียวและปัญหาของตัวเองมากเกินไป รัฐบาลต้องกล้าประกาศวาระแห่งชาติในแต่ละด้าน แบ่งคน สร้างทีมงาน มีกรอบเวลา และแผนงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ให้ทุกฝ่ายเข้าถึง สามารถประเมิน และสัมผัสผลงานได้
นอกจากนี้ทีมเศรษฐกิจที่ดูเหมือนความรู้ความสามารถอ่อนหัดกว่าวิกฤติปัญหายิ่งทำให้ปัญหาเศรษฐกิจเริ่มต้นนับหนึ่งสู่วิกฤติอย่างเลี่ยงไม่พ้น ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อออกอาการอย่างรุนแรงและขยายตัวรวดเร็วพร้อมๆ กับการพุ่งทะยานของราคาน้ำมันแทบทุกวัน
โจทย์และปัญหาเดิมจึงเขม็งเกลียวมากขึ้นในขณะที่โจทย์หรือปัญหาใหม่ ได้ทยอยเข้าแถวรายวันไม่ว่าจะเป็นการรื้อรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดตนเอง การคุกคามสื่อ การปลุกกลุ่มประชาชนในเครือข่ายรัฐบาลออกมาท้าทายกับกลุ่มประชาชนอีกฝ่าย และวาระซ่อนเร้นในการใช้อำนาจรัฐที่เริ่มพบสัญญาณของการเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ครอบครัว และการถอนทุนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเขาพระวิหาร เมกะโปรเจกต์ การขึ้นราคาน้ำตาลทราย เป็นต้น
นายสุริยะใส กล่าวว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าสัญญาณความไม่ลงตัวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีบารมีเหนือพรรคและรัฐบาล กับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เริ่มปรากฎชัดขึ้นนับตั้งแต่ปัญหาการแต่งตั้ง ครม. การโยกย้ายในกองทัพ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระทั่งการปรับ ครม.รอบใหม่ที่นายสมัครพยายามจะจัดการเองแต่ถูกขัดขวางจากผู้มีอำนาจตัวจริง
“3 เดือนของรัฐบาลนอมินีจึงเป็น 3 เดือนของการคุมเชิงทางอำนาจระหว่าง ผู้มีอำนาจตัวจริง กับผู้มาใหม่ที่พยายามสถาปนาอำนาจของตน หรือสร้างก๊กอำนาจใหม่ ส่งผลให้อำนาจทางการเมืองถูกชักกะเย่อจากสองขั้วอำนาจ ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลก็ลอยตัวไม่สังฆกรรม แต่เล่นบทฉวยโอกาสต่อรองผลประโยชน์ไปพร้อมๆ กับการเสพย์สุขอยู่กับตำแหน่งทางการเมืองที่ได้มาตามโควต้า”
นายสุริยะใส กล่าวว่า เงื่อนไขการรัฐประหารเดิม คือ ความแตกแยกและการเผชิญหน้า การจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงยังดำรงอยู่แล้ว ยังมีเงื่อนไขใหม่คือ วิกฤติเศรษฐกิจ และการใช้อำนาจเพื่อคนๆ เดียว ด้วยการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โยกย้ายข้าราชการประจำแบบมีเงื่อนงำ ใช้เสียงข้างมากมัดมือชกเสียงข้างน้อย ล้วนแต่ทำให้บรรยากาศการเมืองหันหัวสู่เงื่อนไขรัฐประหารรอบใหม่อีกครั้ง
“การท้าทายให้ทหารออกมารัฐประหารของคนในรัฐบาล จึงเป็นความ ขาดเขลามากกว่าความกล้าที่น่าสรรเสริญ เพราะหากผู้สร้างเงื่อนไขและเชื้อเชิญการรัฐประหารเป็นคนๆ เดียวกับผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหาร การเมืองไทย ก็ไม่มีวันได้นักประชาธิปไตยที่แท้จริง มีแต่นักฉวยโอกาสที่หลอกใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือและกลับเข้าไปเสพย์สุขในอำนาจรัฐซ้ำแล้วซ้ำเล่าเท่านั้นเอง”
นายสุริยะใส กล่าวว่า โอกาสและทางเลือกของรัฐบาลยังพอมีและสามารถต่ออายุรัฐบาลได้โดย1. ต้องปรับ ครม. ครั้งใหญ่ โดยใช้โอกาสที่นายสุธา ชันแสง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลาออก ดำเนินการปรับ ครม.ครั้งใหญ่เอาภารกิจของชาติเป็นตัวตั้งและเลือกคนที่มีศักยภาพและความสามารถ ปลอดจจากมลฑิลมากที่สุด ลด ละ เลิกระบบโควต้า พึ่งคนนอกมากขึ้น
กระทรวงที่ควรปรับและทบทวนคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพานิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกที่กำกับดูแลสื่อ ต้องถือเป็นการผ่าตัดครั้งใหญ่มากกว่าการปรับ ครม.ธรรมดา
2. นายกฯ ต้องลดความกร้าว เพิ่มความกล้า สำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้เป็นตำแหน่งที่หลายฝ่ายอยากให้ปรับมากที่สุด แต่คงเป็นไปได้ยาก ด้วยข้อจำกัดทางการเมือง แต่หากนายสมัคร สุนทรเวช ถือเอาข้อจำกัดทางการเมือง มาค้ำตำแหน่งนายกฯ ไปวันๆ โดยไม่ปรับปรุงพฤติกรรมแล้ว ในระยะยาวกระแสไม่พอใจจะพุ่งเป้ามาที่ตัวนายกฯ เป็นหลัก
3. เอาวาระประเทศ มาแทนที่ วาระของคนๆ เดียว วาระประเทศ ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากเห็น 3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลทุ่มทุน ทางอำนาจอยู่กับการแก้ปัญหาของคนๆ เดียวและปัญหาของตัวเองมากเกินไป รัฐบาลต้องกล้าประกาศวาระแห่งชาติในแต่ละด้าน แบ่งคน สร้างทีมงาน มีกรอบเวลา และแผนงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ให้ทุกฝ่ายเข้าถึง สามารถประเมิน และสัมผัสผลงานได้