ในห้วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็มีเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารอีกแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรจะสร้างความละเอียดอ่อนในการวิจารณ์ โดยเฉพาะจากตัวรัฐบาลเองเพราะทุกครั้งที่เกิดการรัฐประหารข้ออ้างของทหาร คือ การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลเองนั่นแหละ โดยเฉพาะกรณีการรัฐประหาร 9 พฤศจิกายน 2490 เมื่อเกียรติภูมิและความเป็นทหารถูกทำลายลงโดยนักการเมืองที่มีอคติกับทหารอย่างไร้เหตุผล และก็ไม่ใช่ทหารทุกคนจะยินดีกับการรัฐประหาร
หากจะพิจารณาถึงแบบฉบับอุดมการณ์ทหารตามแนวคิดตั้งแต่ครั้งกำเนิดประชาธิปไตยในประเทศไทยของหลวงสารานุประพันธ์ หนึ่งในคณะราษฎรที่คาดหวังเกี่ยวกับบทบาททหาร หรือหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ ทหารจะต้องมีหน้าที่พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ และได้เรียกร้องว่ายามที่รัฐธรรมนูญไม่ปลอดภัย ทหารควรมีบทบาททางการเมืองไปจนกว่าจะถึงเวลาที่บ้านเมืองราบคาบ และเมื่อระบอบรัฐธรรมนูญได้ครอบงำประเทศโดยแน่นแฟ้นแล้ว เมื่อนั้นทหารจะกลายเป็นทหารรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
และนอกจากนี้ พันตรีหลวงรณสิทธิพิชัย คณะราษฎรอีกผู้หนึ่งได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ทหารบกหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเรียกร้องให้ทหารสนใจการเมืองว่า “เราเป็นทหารของชาติ เราทำงานเพื่อชาติ ถ้ารัฐบาลล้มเหลว เราผู้เป็นทหารของชาติก็ต้องกำจัดรัฐบาล ถ้ารัฐบาลของเรายังดีอยู่ เราก็ต้องช่วยเหลือรัฐบาลเพราะรัฐบาลทำงานเพื่อให้ชาติถึงซึ่งความเจริญ ความยากของทหารขึ้นอยู่ในข้อที่จำต้องวิจารณ์ให้ตระหนักถ่องแท้ว่า ใครถูกใครผิด อันจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางการเมืองเป็นเครื่องมือสำหรับวิจารณ์อยู่บ้าง”
จึงสรุปได้ว่าในแนวคิดเช่นนี้เอง ทำให้การที่ทหารตัดสินใจทำการปฏิวัติรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อ พ.ศ. 2476 หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการแต่งตั้งขึ้นมาเอง แต่ดูเป็นความชอบธรรมเพราะรัฐบาลชุดนั้นมิได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุสำคัญที่ทหารเข้าแทรกแซง เพื่อให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ
วิถีรัฐธรรมนูญอันเป็นกรอบประชาธิปไตย หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมาก็เกิดปรากฏการณ์เป็นวัฏจักรในเรื่องความอ่อนแอของรัฐบาลพลเรือนกับความแข็งของรัฐบาลทหารทั้งเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบหรือกึ่งเผด็จการมาตลอด และได้พบบทความหนึ่งเขียนโดย ดร.กนลา ขันทปราบ ขณะเป็นรองศาสตราจารย์ภาควิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ฉบับพิเศษครบ 33 ปี เมื่อ พ.ศ. 2529 ในหัวข้อเรื่อง กองทัพกับการเมืองทศวรรษหน้า ซึ่งในที่นี้หมายถึงห้วงพุทธศตวรรษ 30-40 ซึ่งเนื้อหาเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
บทกล่าวนำของบทความนี้พูดถึงลักษณะการปฏิวัติเงียบ เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2529 เมื่อพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เริ่มตัดสินใจปรับเปลี่ยนตำแหน่งและตั้ง พล.อ.ชวลิต เป็นผู้บัญชาการทหารบกแทน พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ตั้งแต่ห้วงที่เกิดวิกฤตการลดค่าเงินบาทในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2527 เมื่อบรรดานายทุนสนับสนุน พล.อ.อาทิตย์ ให้ต่อรองและมีทีท่าข่มขู่ พล.อ.เปรม และช่วงปลายปี 2529 พล.อ.อาทิตย์ จะทำการย้ายนายทหารบกที่เป็นฐานกำลังของพล.อ.เปรมจำนวน 197 ตำแหน่ง อย่างไร้เหตุผล และนอกฤดูกาลโยกย้ายนายทหารทำให้ต้องปลด พล.อ.อาทิตย์เพราะปล่อยไว้ฐานกำลังการปฏิวัติก็จะอยู่ในอาณัติของ พล.อ.อาทิตย์
เนื้อหาสำคัญของบทความนี้คือ ขบวนการใดบ้างที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาซึ่งสรุปแล้วได้แก่ ความไร้อุดมการณ์เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงของนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน รวมทั้งการแทรกแซงของทหารเพราะความล้มเหลวของรัฐบาล โดยการก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือน และทหารด้วยกันจนเกิดเป็นวงจรอุบาทว์ที่เกิดจากปัจจัยธรรมชาติการเมืองของไทย 4 ประการ คือ (1) สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์การแย่งอำนาจกันและกันทั้งยามปกติและไม่ปกติ (2) วัฒนธรรมทางการเมืองที่มีลักษณะชิงสุกก่อนห่าม ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความเห็นแก่เฉพาะตัวหรือหมู่คณะ (3) ความเปราะบางของรัฐบาลพลเรือนที่มักจะเป็นรัฐบาลผสม และความอ่อนแอของระบบพรรคการเมืองที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว (4) ความเข้มแข็งของสถาบันทหารในเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันการเมืองอื่นๆ
ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุให้ทหารก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาล เพื่อแก้ไขวิกฤตทางการเมืองหรือวิกฤตรัฐธรรมนูญและการแก้ปัญหาของชาติไม่มีวิธีอื่นหรือวิธีอื่นไม่เข้มแข็งพอ แต่ทหารมีจุดอ่อนที่มีอิทธิพลภายนอกครอบงำ เช่น นายทุนธุรกิจที่ต้องการเอาเปรียบคู่แข่ง นายหน้าค้าอาวุธ หรือกลุ่มทุนเพื่อประโยชน์ของเฉพาะกลุ่ม และในกรณี พล.อ.เปรมนั้น มีกลุ่มอิทธิพลเงินนอกระบบยุคแชร์ชม้อยเป็นหัวหอกที่ต้องการล้มพระราชกำหนดเงินนอกระบบที่เสนอโดยรัฐบาล พล.อ.เปรม แต่จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดคือ ทหารมักจะใช้อำนาจเด็ดขาดแบบเผด็จการ เช่น ออกกฎหมายพิเศษให้อำนาจตัวเองเกินความจำเป็น หรือฝืนกับเมตตาธรรม เช่น ม. 17 หรือ ม. 21
จาก พ.ศ. 2529 ถึง 2549 ก็เกิดรัฐประหารหลายครั้ง แต่วงจรอุบาทว์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงยังปรากฏว่ามีการบริหารจัดการประเทศที่มีลักษณะไม่แตกต่างกันจาก พ.ศ. 2475 เลย เพราะผลประโยชน์ในความอยาก กิเลสที่ต้องการอำนาจยังคงเหมือนเดิม อันเป็นเหตุของความล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ๆ มาแล้วมากมาย
ข้อสำคัญทหารเข้าใจการเมืองมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และความสุกหง่อมของเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมืองย่อยอยู่ตรงไหน ความล่อแหลมของความรุนแรงของสังคม การแบ่งแยกความคิดที่ขาดตรรกะคุณธรรม และความอ่อนแอของชาติอยู่ตรงไหนซึ่งเป็นเดิมพันสำคัญของทหาร
ที่กล่าวว่าทหารมีความเข้มแข็งกว่าองค์กรทางการเมืองอื่นเพราะทหารมีแผนที่ชัดเจนในการปฏิบัติการไม่จำเป็นต้องคิดใหม่หรือเขียนใหม่ในการใช้กำลังทหารไม่ว่าในกรณีใดหากต้องทำ แต่ที่ล้มเหลวเป็นกบฏเพราะขาดตรรกะที่ไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจทหารทุกหมู่เหล่าให้คิดไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องความมั่นคงของสถาบันชาติ
ในปัจจุบันแรงผลักดันการรัฐประหารทวีความเข้มข้นขึ้นซึ่งประชาชนเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุด และแผนงานหลังการรัฐประหารมีความซับซ้อนขึ้นหลายร้อยเท่าจากอดีตการรัฐประหารแต่ละครั้ง เพราะอาสาสมัครที่มีความสามารถยิ่งที่จะเข้าบริหารประเทศชั่วคราวมีน้อย สภาพจิตวิทยามวลชนสนับสนุนการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ขณะที่ฝ่ายรัฐประหารไม่สามารถที่จะควบคุมรัฐประศาสนศาสตร์ ระบบนิติศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยาได้ให้สอดคล้องกับพลวัตมวลชนที่อ่อนไหวมากในภาวะแวดล้อมโลกาภิวัตน์
จึงสรุปได้ว่าทหารจะปฏิวัติไปทำไมเมื่อภาวะความเสี่ยงทางการเมืองมีสูง แต่ ณ จุดวิกฤตใหม่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินให้กองทัพเองโดยทหารได้เรียนรู้มาตลอด ดังนั้น ขณะที่มีตัวแปรอำนาจอื่น เช่น อำนาจตุลาการที่แข็งแกร่งย่อมประกันความสถาพรของชาติได้เพราะนักกฎหมายย่อมมีความคิดพื้นฐานอยู่แล้วในเรื่องรัฐศาสตร์คติกับนิติศาสตร์คติ
หากจะพิจารณาถึงแบบฉบับอุดมการณ์ทหารตามแนวคิดตั้งแต่ครั้งกำเนิดประชาธิปไตยในประเทศไทยของหลวงสารานุประพันธ์ หนึ่งในคณะราษฎรที่คาดหวังเกี่ยวกับบทบาททหาร หรือหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ ทหารจะต้องมีหน้าที่พิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ และได้เรียกร้องว่ายามที่รัฐธรรมนูญไม่ปลอดภัย ทหารควรมีบทบาททางการเมืองไปจนกว่าจะถึงเวลาที่บ้านเมืองราบคาบ และเมื่อระบอบรัฐธรรมนูญได้ครอบงำประเทศโดยแน่นแฟ้นแล้ว เมื่อนั้นทหารจะกลายเป็นทหารรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
และนอกจากนี้ พันตรีหลวงรณสิทธิพิชัย คณะราษฎรอีกผู้หนึ่งได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ทหารบกหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเรียกร้องให้ทหารสนใจการเมืองว่า “เราเป็นทหารของชาติ เราทำงานเพื่อชาติ ถ้ารัฐบาลล้มเหลว เราผู้เป็นทหารของชาติก็ต้องกำจัดรัฐบาล ถ้ารัฐบาลของเรายังดีอยู่ เราก็ต้องช่วยเหลือรัฐบาลเพราะรัฐบาลทำงานเพื่อให้ชาติถึงซึ่งความเจริญ ความยากของทหารขึ้นอยู่ในข้อที่จำต้องวิจารณ์ให้ตระหนักถ่องแท้ว่า ใครถูกใครผิด อันจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางการเมืองเป็นเครื่องมือสำหรับวิจารณ์อยู่บ้าง”
จึงสรุปได้ว่าในแนวคิดเช่นนี้เอง ทำให้การที่ทหารตัดสินใจทำการปฏิวัติรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อ พ.ศ. 2476 หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการแต่งตั้งขึ้นมาเอง แต่ดูเป็นความชอบธรรมเพราะรัฐบาลชุดนั้นมิได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุสำคัญที่ทหารเข้าแทรกแซง เพื่อให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ
วิถีรัฐธรรมนูญอันเป็นกรอบประชาธิปไตย หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมาก็เกิดปรากฏการณ์เป็นวัฏจักรในเรื่องความอ่อนแอของรัฐบาลพลเรือนกับความแข็งของรัฐบาลทหารทั้งเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบหรือกึ่งเผด็จการมาตลอด และได้พบบทความหนึ่งเขียนโดย ดร.กนลา ขันทปราบ ขณะเป็นรองศาสตราจารย์ภาควิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ฉบับพิเศษครบ 33 ปี เมื่อ พ.ศ. 2529 ในหัวข้อเรื่อง กองทัพกับการเมืองทศวรรษหน้า ซึ่งในที่นี้หมายถึงห้วงพุทธศตวรรษ 30-40 ซึ่งเนื้อหาเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
บทกล่าวนำของบทความนี้พูดถึงลักษณะการปฏิวัติเงียบ เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2529 เมื่อพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เริ่มตัดสินใจปรับเปลี่ยนตำแหน่งและตั้ง พล.อ.ชวลิต เป็นผู้บัญชาการทหารบกแทน พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ตั้งแต่ห้วงที่เกิดวิกฤตการลดค่าเงินบาทในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2527 เมื่อบรรดานายทุนสนับสนุน พล.อ.อาทิตย์ ให้ต่อรองและมีทีท่าข่มขู่ พล.อ.เปรม และช่วงปลายปี 2529 พล.อ.อาทิตย์ จะทำการย้ายนายทหารบกที่เป็นฐานกำลังของพล.อ.เปรมจำนวน 197 ตำแหน่ง อย่างไร้เหตุผล และนอกฤดูกาลโยกย้ายนายทหารทำให้ต้องปลด พล.อ.อาทิตย์เพราะปล่อยไว้ฐานกำลังการปฏิวัติก็จะอยู่ในอาณัติของ พล.อ.อาทิตย์
เนื้อหาสำคัญของบทความนี้คือ ขบวนการใดบ้างที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาซึ่งสรุปแล้วได้แก่ ความไร้อุดมการณ์เพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงของนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน รวมทั้งการแทรกแซงของทหารเพราะความล้มเหลวของรัฐบาล โดยการก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือน และทหารด้วยกันจนเกิดเป็นวงจรอุบาทว์ที่เกิดจากปัจจัยธรรมชาติการเมืองของไทย 4 ประการ คือ (1) สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์การแย่งอำนาจกันและกันทั้งยามปกติและไม่ปกติ (2) วัฒนธรรมทางการเมืองที่มีลักษณะชิงสุกก่อนห่าม ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความเห็นแก่เฉพาะตัวหรือหมู่คณะ (3) ความเปราะบางของรัฐบาลพลเรือนที่มักจะเป็นรัฐบาลผสม และความอ่อนแอของระบบพรรคการเมืองที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว (4) ความเข้มแข็งของสถาบันทหารในเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันการเมืองอื่นๆ
ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุให้ทหารก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาล เพื่อแก้ไขวิกฤตทางการเมืองหรือวิกฤตรัฐธรรมนูญและการแก้ปัญหาของชาติไม่มีวิธีอื่นหรือวิธีอื่นไม่เข้มแข็งพอ แต่ทหารมีจุดอ่อนที่มีอิทธิพลภายนอกครอบงำ เช่น นายทุนธุรกิจที่ต้องการเอาเปรียบคู่แข่ง นายหน้าค้าอาวุธ หรือกลุ่มทุนเพื่อประโยชน์ของเฉพาะกลุ่ม และในกรณี พล.อ.เปรมนั้น มีกลุ่มอิทธิพลเงินนอกระบบยุคแชร์ชม้อยเป็นหัวหอกที่ต้องการล้มพระราชกำหนดเงินนอกระบบที่เสนอโดยรัฐบาล พล.อ.เปรม แต่จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดคือ ทหารมักจะใช้อำนาจเด็ดขาดแบบเผด็จการ เช่น ออกกฎหมายพิเศษให้อำนาจตัวเองเกินความจำเป็น หรือฝืนกับเมตตาธรรม เช่น ม. 17 หรือ ม. 21
จาก พ.ศ. 2529 ถึง 2549 ก็เกิดรัฐประหารหลายครั้ง แต่วงจรอุบาทว์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงยังปรากฏว่ามีการบริหารจัดการประเทศที่มีลักษณะไม่แตกต่างกันจาก พ.ศ. 2475 เลย เพราะผลประโยชน์ในความอยาก กิเลสที่ต้องการอำนาจยังคงเหมือนเดิม อันเป็นเหตุของความล่มสลายของอาณาจักรใหญ่ๆ มาแล้วมากมาย
ข้อสำคัญทหารเข้าใจการเมืองมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และความสุกหง่อมของเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมืองย่อยอยู่ตรงไหน ความล่อแหลมของความรุนแรงของสังคม การแบ่งแยกความคิดที่ขาดตรรกะคุณธรรม และความอ่อนแอของชาติอยู่ตรงไหนซึ่งเป็นเดิมพันสำคัญของทหาร
ที่กล่าวว่าทหารมีความเข้มแข็งกว่าองค์กรทางการเมืองอื่นเพราะทหารมีแผนที่ชัดเจนในการปฏิบัติการไม่จำเป็นต้องคิดใหม่หรือเขียนใหม่ในการใช้กำลังทหารไม่ว่าในกรณีใดหากต้องทำ แต่ที่ล้มเหลวเป็นกบฏเพราะขาดตรรกะที่ไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจทหารทุกหมู่เหล่าให้คิดไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องความมั่นคงของสถาบันชาติ
ในปัจจุบันแรงผลักดันการรัฐประหารทวีความเข้มข้นขึ้นซึ่งประชาชนเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุด และแผนงานหลังการรัฐประหารมีความซับซ้อนขึ้นหลายร้อยเท่าจากอดีตการรัฐประหารแต่ละครั้ง เพราะอาสาสมัครที่มีความสามารถยิ่งที่จะเข้าบริหารประเทศชั่วคราวมีน้อย สภาพจิตวิทยามวลชนสนับสนุนการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ขณะที่ฝ่ายรัฐประหารไม่สามารถที่จะควบคุมรัฐประศาสนศาสตร์ ระบบนิติศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยาได้ให้สอดคล้องกับพลวัตมวลชนที่อ่อนไหวมากในภาวะแวดล้อมโลกาภิวัตน์
จึงสรุปได้ว่าทหารจะปฏิวัติไปทำไมเมื่อภาวะความเสี่ยงทางการเมืองมีสูง แต่ ณ จุดวิกฤตใหม่ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินให้กองทัพเองโดยทหารได้เรียนรู้มาตลอด ดังนั้น ขณะที่มีตัวแปรอำนาจอื่น เช่น อำนาจตุลาการที่แข็งแกร่งย่อมประกันความสถาพรของชาติได้เพราะนักกฎหมายย่อมมีความคิดพื้นฐานอยู่แล้วในเรื่องรัฐศาสตร์คติกับนิติศาสตร์คติ