ผู้จัดการรายวัน - คลังเผยบริษัทประกันเมินเข้าร่วมประมูลพันธบัตร 30 ปี หลังอ้อนวอนให้ออกตราสารที่สอดคล้องกับการลงทุนของธุรกิจแต่พอเปิดประมูลจริงกับหายเข้ากลีบเมฆ ขู่หากเปิดประมูลล็อตหน้าไม่ให้ความสนใจจะไม่รับข้อเสนอใดๆ อีกต่อไป “สาระ ล่ำซำ” นายกสมาคมประกันชีวิตรับเสียงอ่อยดอกเบี้ย 5.50% โหดร้ายเกินไปพร้อมระบุบริษัทหลายแห่งยังให้ความสนใจพันธบัตร 30 ปี วงในยอมรับล็อตแรกยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะลงทุนเหตุยังไม่มีอัตราอ้างอิงที่เหมาะสม ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยระบุไม่สอดคล้องกับพอร์ตลงทุน
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปี ล็อตแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมาทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้นำข้อมูลที่ได้จากการประมูลกลับมาวิเคราะห์ ปรากฏว่ามีข้อมูลบางอย่างที่แสดงให้เห็นความผิดปกติ คือ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นกลุ่มหลักเรียกร้องให้มีการออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเงินลงทุนจำนวนมาก และระยะยาวของบริษัทกลับไม่ได้ให้ความสนใจเข้ามาประมูลซื้อพันธบัตรดังกล่าว แต่กลุ่มผู้ที่ประมูลได้กลับเป็นสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้ากับทาง สบน.มาก่อนหน้านี้
นอกจากนี้วงเงินเสนอในการประมูลของพันธบัตรล็อตดังกล่าวยังมีความผันผวน โดยมีช่วงต่างระหว่างผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสูงสุด และผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาต่ำสุดมีความแตกต่างกันสูงถึง1% ซึ่งแตกต่างกับการประมูลพันธบัตรอายุอื่นๆ ของสบน.ที่อยู่ในกรอบแคบๆ 0.10-0.20% เท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าพันธบัตรอายุ 30 ปีอาจจะไม่ใช่พันธบัตรมีความต้องการในตลาดมากนัก และนักลงทุนอาจจะไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการลงทุน โดยอาจจะกลัวความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ดังนั้นหากการประมูลครั้งต่อไปในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ และมีข้อมูลที่สะท้อนออกมาในลักษณะเดิมก็จะมีการพิจารณายกเลิกช่องทางในการระดมทุนดังกล่าว
"ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องจากบริษัทประกันจำนวนมากว่าไม่มีสินค้าที่จะให้ลงทุน กระทรวงการคลังจึงต้องทำหน้าที่ในการสร้างตลาด และพยายามสร้างอัตราอ้างอิง (bench mark) เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถก้าวไปสู่การออกพันธบัตรที่มีอายุยาวมากขึ้นได้ แต่หากตลาดไม่มีความสนใจที่แท้จริง ก็จะทำให้กระทรวงการคลังต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูง โดยไม่จำเป็น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฐานะการคลังในอนาคต ดังนั้น ความจำเป็นในการสร้างตลาดก็คงไม่มีอีกต่อไป และกระทรวงการคลังก็สามารถที่จะระดมเงินในช่องทางอื่นๆ ได้อยู่แล้ว"รายงานข่าวระบุ
นายกประกันโอดดอกเบี้ยโหดร้ายไป
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีล็อตแรกจำนวน 2,500 ล้านบาทที่ผ่านมานั้นเมืองไทยประกันชีวิตได้เข้าร่วมประมูลด้วยแต่แพ้สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งเท่าที่อนุกรรมการการลงทุนของสมาคมประกันชีวิตรายงานให้ทราบเบื้องต้นพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตหลายรายเข้าร่วมประมูลด้วยแต่ก็ไม่สามารถชนะการประมูลเช่นกัน
“การประมูลที่ผ่านมากระทรวงการคลังเคาะดอกเบี้ยออกมาที่ 5.50% มันออกจะดูโหดร้ายสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล แต่เท่าที่ทราบการหารือในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสมาคมประกันชีวิตก็ได้ให้โจทย์แก่กระทรวงการคลังไปเป็นผู้พิจารณา ซึ่งเท่าที่ดูในภาพรวมแล้วอายุพันธบัตร 30 ปีอัตราดอกเบี้ย 5.50% ก็ยังถือว่าโอเคในแง่ของความเสี่ยงเนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกพันธบัตร” นายสาระกล่าว
วงการยอมรับล็อตแรกกล้าๆ กลัวๆ
แหล่งข่าวจากธุรกิจประกันชีวิตกล่าวว่า การออกพันธบัตร 30 ปีในครั้งนี้ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มีการออกพันธบัตรอายุยาวนานที่สุดจึงอาจส่งผลให้บริษัทประกันหรือนักลงทุนอื่นๆ เกิดความไม่มั่นใจในเรื่องของผลตอบแทนว่า พันธบัตรแต่ละล็อตที่ออกมานั้นจะนำไปลงทุนในส่วนใดกันแน่ที่จะให้ผลตอบแทน 5.5%
โดยการลงทุนน่าจะมีการประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าแผนการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะลงทุนในเมกกะโปรเจกต์เส้นทางใด 5 ปีแรกผลตอบแทนเท่าไร 10 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไร และ 20 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไรซึ่งท่ามีความชัดเจนจากแผนการลงทุนดังกล่าวนักลงทุนก็จะมีความเชื่อมั่นที่จะซื้อพันธบัตรชุดดังกล่าวกับกระทรวงการคลังแต่ที่ออกมาชุดแรกยังไม่มีความชัดเจนเลยและรถไฟฟ้าแต่ละสายก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีการประมูลและก่อสร้างได้เมื่อใด เนื่องจากรับบาลกำลังให้ความสนใจแก้รับธรรมนูญเป็นเรื่องหลัก
“ถือว่าเป็นความใหม่เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในบ้านเราที่มีพันธบัตรอายุนานขนาดนี้จึงทำให้บริษัทประกันชีวิตกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าร่วมประมูลและยังไม่เคยมีอัตราอ้างอิงที่ชัดเจนมาก่อน แต่หากมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนและอัตราอ้างอิงที่เหมาะสมออกมาแล้วเชื่อว่าการเปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีล็อตต่อๆ ไปจะได้รับความสนใจจากบริษัทประกันเนื่องจากสามารถบริหารการลงทุนได้ง่ายและตรงกับสินค้าของบริษัทประกันชีวิต” แหล่งข่าวกล่าว
ชี้เหมาะกับประกันชีวิตมากกว่า
นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด กล่าวว่า การระดมทุนในระยะยาว 30 ปีแล้วโดยธรรมชาติของการลงทุนจะเหมาะสมกับธุรกิจประกันชีวิตมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัย โดยการลงทุนในตราสารระยะ 3-5 ปีสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว
ซึ่งการที่ธุรกิจประกันเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควรนั้นอาจมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ตรงกับความต้องการ โดยสิ่งสำคัญที่บริษัทประกันส่วนใหญ่จะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน คือ พันธบัตรที่ออกมาจะมีรูปแบบอย่างไร มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะลงทุนมากน้อยเพียงใด สภาพคล่องของพันธบัตรในการถือครองซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญเพราะแม้ว่าพันธบัตรจะออกมาระยะ 30 ปีแต่หากมีสภาพคล่องสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในตลาดรองได้ง่ายก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตร.
ทั้งนี้ ตามแผนในการระดมเงินเพื่อมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 7.7 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเงินกู้ในประเทศและงบประมาณ 282,030 ล้านบาท หรือ 37% โดยวงเงินดังกล่าวจะเป็นการระดม ทุนโดยการออกตราสารหนี้ ทยอยเป็นช่วงๆ ใน 7 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 4 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรตลอด 7 ปีเพื่อระดมทุนมาก่อสร้างรถ ไฟฟ้านั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรในประเทศ จนเกิดภาวะล้นตลาดแต่อย่างใด เพราะความต้องการของตลาดยังมีค่อนข้างสูง
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เริ่มโครงการนำร่องพันธบัตรอายุ 30 ปี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยมีการทำแบบจำลอง เพื่อเป็นการทดสอบตลาดว่ามีความต้องการพันธบัตรระยะยาวมากน้อยเพียงใด โดยสบน.ได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่น LB383A อายุ 30 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.50 ต่อปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของนักลงทุนในตลาด และเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects)
“การประมูลพันธบัตรรุ่นดังกล่าว เป็นการออกพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีครั้งแรกของประเทศไทย และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดียิ่ง โดยได้รับอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้อยู่ระหว่าง ร้อยละ 5.448 – 5.620 ต่อปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับอยู่ที่ร้อยละ 5.532 ต่อปี และ Bid Coverage Ratio (BCR) เท่ากับ 2.84 ซึ่งที่ผ่านมา สบน. เคยออกพันธบัตรระยะยาวที่สุดเป็นรุ่นอายุ 20 ปี ดังนั้น การประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีในวันนี้ จึงเป็นการประมูลพันธบัตรระยะยาวที่สุดของประเทศไทย”นายพงษ์ภาณุกล่าว
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีอีกครั้งในวันที่ 18 มิถุนายน 2551 วงเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่ง สบน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต.
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปี ล็อตแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมาทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้นำข้อมูลที่ได้จากการประมูลกลับมาวิเคราะห์ ปรากฏว่ามีข้อมูลบางอย่างที่แสดงให้เห็นความผิดปกติ คือ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นกลุ่มหลักเรียกร้องให้มีการออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเงินลงทุนจำนวนมาก และระยะยาวของบริษัทกลับไม่ได้ให้ความสนใจเข้ามาประมูลซื้อพันธบัตรดังกล่าว แต่กลุ่มผู้ที่ประมูลได้กลับเป็นสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้ากับทาง สบน.มาก่อนหน้านี้
นอกจากนี้วงเงินเสนอในการประมูลของพันธบัตรล็อตดังกล่าวยังมีความผันผวน โดยมีช่วงต่างระหว่างผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสูงสุด และผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาต่ำสุดมีความแตกต่างกันสูงถึง1% ซึ่งแตกต่างกับการประมูลพันธบัตรอายุอื่นๆ ของสบน.ที่อยู่ในกรอบแคบๆ 0.10-0.20% เท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าพันธบัตรอายุ 30 ปีอาจจะไม่ใช่พันธบัตรมีความต้องการในตลาดมากนัก และนักลงทุนอาจจะไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการลงทุน โดยอาจจะกลัวความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ดังนั้นหากการประมูลครั้งต่อไปในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ และมีข้อมูลที่สะท้อนออกมาในลักษณะเดิมก็จะมีการพิจารณายกเลิกช่องทางในการระดมทุนดังกล่าว
"ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องจากบริษัทประกันจำนวนมากว่าไม่มีสินค้าที่จะให้ลงทุน กระทรวงการคลังจึงต้องทำหน้าที่ในการสร้างตลาด และพยายามสร้างอัตราอ้างอิง (bench mark) เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถก้าวไปสู่การออกพันธบัตรที่มีอายุยาวมากขึ้นได้ แต่หากตลาดไม่มีความสนใจที่แท้จริง ก็จะทำให้กระทรวงการคลังต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูง โดยไม่จำเป็น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฐานะการคลังในอนาคต ดังนั้น ความจำเป็นในการสร้างตลาดก็คงไม่มีอีกต่อไป และกระทรวงการคลังก็สามารถที่จะระดมเงินในช่องทางอื่นๆ ได้อยู่แล้ว"รายงานข่าวระบุ
นายกประกันโอดดอกเบี้ยโหดร้ายไป
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีล็อตแรกจำนวน 2,500 ล้านบาทที่ผ่านมานั้นเมืองไทยประกันชีวิตได้เข้าร่วมประมูลด้วยแต่แพ้สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งเท่าที่อนุกรรมการการลงทุนของสมาคมประกันชีวิตรายงานให้ทราบเบื้องต้นพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตหลายรายเข้าร่วมประมูลด้วยแต่ก็ไม่สามารถชนะการประมูลเช่นกัน
“การประมูลที่ผ่านมากระทรวงการคลังเคาะดอกเบี้ยออกมาที่ 5.50% มันออกจะดูโหดร้ายสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล แต่เท่าที่ทราบการหารือในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสมาคมประกันชีวิตก็ได้ให้โจทย์แก่กระทรวงการคลังไปเป็นผู้พิจารณา ซึ่งเท่าที่ดูในภาพรวมแล้วอายุพันธบัตร 30 ปีอัตราดอกเบี้ย 5.50% ก็ยังถือว่าโอเคในแง่ของความเสี่ยงเนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกพันธบัตร” นายสาระกล่าว
วงการยอมรับล็อตแรกกล้าๆ กลัวๆ
แหล่งข่าวจากธุรกิจประกันชีวิตกล่าวว่า การออกพันธบัตร 30 ปีในครั้งนี้ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มีการออกพันธบัตรอายุยาวนานที่สุดจึงอาจส่งผลให้บริษัทประกันหรือนักลงทุนอื่นๆ เกิดความไม่มั่นใจในเรื่องของผลตอบแทนว่า พันธบัตรแต่ละล็อตที่ออกมานั้นจะนำไปลงทุนในส่วนใดกันแน่ที่จะให้ผลตอบแทน 5.5%
โดยการลงทุนน่าจะมีการประกาศออกมาให้ชัดเจนว่าแผนการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะลงทุนในเมกกะโปรเจกต์เส้นทางใด 5 ปีแรกผลตอบแทนเท่าไร 10 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไร และ 20 ปีให้ผลตอบแทนเท่าไรซึ่งท่ามีความชัดเจนจากแผนการลงทุนดังกล่าวนักลงทุนก็จะมีความเชื่อมั่นที่จะซื้อพันธบัตรชุดดังกล่าวกับกระทรวงการคลังแต่ที่ออกมาชุดแรกยังไม่มีความชัดเจนเลยและรถไฟฟ้าแต่ละสายก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีการประมูลและก่อสร้างได้เมื่อใด เนื่องจากรับบาลกำลังให้ความสนใจแก้รับธรรมนูญเป็นเรื่องหลัก
“ถือว่าเป็นความใหม่เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในบ้านเราที่มีพันธบัตรอายุนานขนาดนี้จึงทำให้บริษัทประกันชีวิตกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าร่วมประมูลและยังไม่เคยมีอัตราอ้างอิงที่ชัดเจนมาก่อน แต่หากมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนและอัตราอ้างอิงที่เหมาะสมออกมาแล้วเชื่อว่าการเปิดประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีล็อตต่อๆ ไปจะได้รับความสนใจจากบริษัทประกันเนื่องจากสามารถบริหารการลงทุนได้ง่ายและตรงกับสินค้าของบริษัทประกันชีวิต” แหล่งข่าวกล่าว
ชี้เหมาะกับประกันชีวิตมากกว่า
นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด กล่าวว่า การระดมทุนในระยะยาว 30 ปีแล้วโดยธรรมชาติของการลงทุนจะเหมาะสมกับธุรกิจประกันชีวิตมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัย โดยการลงทุนในตราสารระยะ 3-5 ปีสำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว
ซึ่งการที่ธุรกิจประกันเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ไม่คึกคักเท่าที่ควรนั้นอาจมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ตรงกับความต้องการ โดยสิ่งสำคัญที่บริษัทประกันส่วนใหญ่จะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน คือ พันธบัตรที่ออกมาจะมีรูปแบบอย่างไร มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะลงทุนมากน้อยเพียงใด สภาพคล่องของพันธบัตรในการถือครองซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญเพราะแม้ว่าพันธบัตรจะออกมาระยะ 30 ปีแต่หากมีสภาพคล่องสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในตลาดรองได้ง่ายก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ และความน่าเชื่อถือของพันธบัตร.
ทั้งนี้ ตามแผนในการระดมเงินเพื่อมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 7.7 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเงินกู้ในประเทศและงบประมาณ 282,030 ล้านบาท หรือ 37% โดยวงเงินดังกล่าวจะเป็นการระดม ทุนโดยการออกตราสารหนี้ ทยอยเป็นช่วงๆ ใน 7 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 4 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรตลอด 7 ปีเพื่อระดมทุนมาก่อสร้างรถ ไฟฟ้านั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรในประเทศ จนเกิดภาวะล้นตลาดแต่อย่างใด เพราะความต้องการของตลาดยังมีค่อนข้างสูง
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เริ่มโครงการนำร่องพันธบัตรอายุ 30 ปี เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยมีการทำแบบจำลอง เพื่อเป็นการทดสอบตลาดว่ามีความต้องการพันธบัตรระยะยาวมากน้อยเพียงใด โดยสบน.ได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่น LB383A อายุ 30 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.50 ต่อปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของนักลงทุนในตลาด และเตรียมความพร้อมสำหรับการระดมทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects)
“การประมูลพันธบัตรรุ่นดังกล่าว เป็นการออกพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีครั้งแรกของประเทศไทย และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดียิ่ง โดยได้รับอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้อยู่ระหว่าง ร้อยละ 5.448 – 5.620 ต่อปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับอยู่ที่ร้อยละ 5.532 ต่อปี และ Bid Coverage Ratio (BCR) เท่ากับ 2.84 ซึ่งที่ผ่านมา สบน. เคยออกพันธบัตรระยะยาวที่สุดเป็นรุ่นอายุ 20 ปี ดังนั้น การประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีในวันนี้ จึงเป็นการประมูลพันธบัตรระยะยาวที่สุดของประเทศไทย”นายพงษ์ภาณุกล่าว
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะดำเนินการประมูลพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปีอีกครั้งในวันที่ 18 มิถุนายน 2551 วงเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่ง สบน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต.