“ปตท.เคมิคอล”เร่งทำรายได้เพิ่มหลังประเมินราคาโอเลฟินส์ปีนี้ยังดีอยู่ โดยเลื่อนหยุดซ่อมบำรุงโรงโอเลฟินส์I4-2 และโรงงานผลิตเอ็มอีจีจากปลาย ปีนี้เป็นไตรมาส 1/2552 ชี้สเปรดราคาHDPEสดใสอยู่ที่ตันละ 670 เหรียญฯ แต่สเปรดเอ็มอีจีฮวบจากเดิมที่คาด 438 เหรียญฯ เหลือ 360เหรียญฯ/ตัน มั่นใจปีนี้บริษัทฯมีรายได้ตามเป้าเดิม 9.5 หมื่นล้านบาทเตรียมก่อหนี้เพิ่มอีก 1.4 หมื่นล้านบาทในปลายปีนี้ เพื่อใช้ลงทุนโครงการต่างๆ
นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวางแผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจเลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงและเชื่อมต่อระบบขยายกำลังการผลิตคอขวด (Debotleneck)ของโรงโอเลฟินส์ I4-2 จากเดิมที่กำหนดหยุดในไตรมาส 4 ปีนี้เป็นไตรมาส 1/2552แทน รวมถึงการเลื่อนหยุดซ่อมบำรุงโรงงานผลิตโมโนเอทิลีนไกลคอล(เอ็มอีจี)จากไตรมาส 3/2551 เป็นไตรมาส 1/2552เช่นเดียวกัน เนื่องจากราคาโอเลฟินส์ในปีนี้ราคายังดีอยู่ แต่ในปีหน้าคาดว่าราคาน่าจะอ่อนตัวลงจากกำลังการผลิตใหม่ทั้งจีนและตะวันออกกลางที่จะเข้ามาในตลาด
โดยระยะเวลาการหยุดซ่อมบำรุงโรง I4-2 ประมาณ 50 วัน และส่วนโรงเอ็มอีจีปิดซ่อมบำรุง 35 วัน
การเลื่อนปิดซ่อมบำรุงทั้ง 2 โรงงานดังกล่าวข้างต้น ทำให้รายได้ของบริษัทฯในปีนี้น่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่เคยประมาณการว่าจะมีรายได้รวมทั้งสิ้น 9.5 หมื่นล้านบาท โดยปีนี้ราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกHDPEยังดีอยู่ เป็นผลจากจีนสต็อกพลาสติกไว้ใช้ในช่วงโอลิมปิกเกมส์ ขณะที่ราคาเอ็มอีจีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เป็นผลจากโรงงานผลิตเอ็มอีจีในซาอุดิอาระเบียได้กลับมาผลิตเต็มที่อีกครั้งหลังจากต้องปิดซ่อมจากอุบัติเหตุเมื่อปลายปีที่แล้ว
“ขณะนี้โรงโอเลฟินส์ที่อิหร่านได้เริ่มดำเนินการผลิตแล้ว แต่เดินเครื่องจักรไม่เต็มที่ ส่วนดาวน์สตรีมก็เริ่มทยอยผลิตได้แล้วเช่นโรงงานผลิตเอ็มอีจี ส่วนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกHDPE ยังติดปัญหาเอทิลีนไม่เพียงพอที่จะป้อน”
นางพันธ์ทิพ กล่าวว่า จากราคาน้ำมันดิบที่ล่าสุดทะลุเกิน 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้มีหลายประเทศต้องเข้ามาควบคุมราคาน้ำมันสำเร็จรูปไม่ให้สูงเกินไป ส่งผลให้มาร์จินของค่าการกลั่นลดลง ดังนั้นโอกาสที่จะมีการตั้งโรงกลั่นใหม่ในอนาคตทำได้ยากขึ้น มีผลทำให้ราคาแนฟธาซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงกลั่นน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้โรงงานโอเลฟินส์ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบไม่คุ้มที่จะผลิต หากเป็นเช่นนี้จะทำให้ราคาโอเลฟินส์ที่คาดว่าน่าจะอ่อนตัวลงก็คงไม่ลดลง
“หากราคาแนฟธาอยู่ที่ตันละ 1,000เหรียญสหรัฐ และราคาเม็ดพลาสติกอยู่ที่ระดับ1,000 เหรียญเศษ เชื่อว่าโรงแนฟธาแครกเกอร์คงอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตของโรงงานดังกล่าวอยู่ที่ 200-300 เหรียญสหรัฐ/ตัน สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลง โดยโรงงานแนฟธาแครกเกอร์นี้ส่วนใหญ่อยู่ที่ยุโรป และเอเชีย แต่จะส่งผลดีต่อโรงโอเลฟินส์ที่ใช้ก๊าซฯเป็นวัตถุดิบ เช่นโรงงานโอเลฟินส์ในไทยและมาเลเซีย ”
จากราคาแนฟธาที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากนี้ ทำให้ส่วนต่างราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับวัตุถดิบคือแนฟธา (สเปรด)อยู่ที่ 668-670 เหรียญสหรัฐ/ตัน ดีกว่าที่คาดว่าไว้เดิมที่ 666 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่สเปรดเอ็มอีจีกับแนฟธาน่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 360 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิมที่เคยคาดว่าอยู่ที่ 438 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากโรงงานเอ็มอีจีที่ซาอุดิอาระเบียได้กลับมาผลิตได้เต็มที่อีกครั้ง
นอกจากนี้ธุรกิจโอลีโอเคมีพบว่ามีมาร์จินดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากราคาวัตถุดิบคือน้ำมันปาล์มดิบ (CPO)ได้ปรับลดลงแล้ว 20%จากต้นปีนี้ และคาดว่าผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในไทยจะสูงกว่าเมื่อ 2ปีก่อน และราคาเมทิลเอสเตอร์ที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล(บี100) ก็มีราคาที่ดีด้วย ส่วนโครงการผลิตแฟตตี้ แอลกอฮอล์ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองผลิต แม้ว่ามาร์จินไม่ค่อยดี เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามามาก
สำหรับแผนการลงทุนของปตท.เคมิคอลใน 5ปีนี้(2551-2555) จะใช้เงินลงทุนรวม 6.45 หมื่นล้านบาท โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 3.66 หมื่นล้านบาท โดยปลายปีนี้บริษัทฯมีแผนที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท แล้วสว็อปเป็นดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการลงทุน โดยไม่มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีเงินสดในมือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2551 บริษัทฯมีรายได้รวม 2.11 หมื่นล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 69% และกำไรสุทธิ 5.71 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 114% โดยไตรมาส 1 นี้ บริษัทฯใช้ก๊าซฯเป็นวัตถุดิบในการผลิตถึง 82% และเมื่อโครงการโอเลฟินส์แครกเกอร์ 1 ล้านตันแล้วเสร็จในปลายปี 2552
นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวางแผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจเลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงและเชื่อมต่อระบบขยายกำลังการผลิตคอขวด (Debotleneck)ของโรงโอเลฟินส์ I4-2 จากเดิมที่กำหนดหยุดในไตรมาส 4 ปีนี้เป็นไตรมาส 1/2552แทน รวมถึงการเลื่อนหยุดซ่อมบำรุงโรงงานผลิตโมโนเอทิลีนไกลคอล(เอ็มอีจี)จากไตรมาส 3/2551 เป็นไตรมาส 1/2552เช่นเดียวกัน เนื่องจากราคาโอเลฟินส์ในปีนี้ราคายังดีอยู่ แต่ในปีหน้าคาดว่าราคาน่าจะอ่อนตัวลงจากกำลังการผลิตใหม่ทั้งจีนและตะวันออกกลางที่จะเข้ามาในตลาด
โดยระยะเวลาการหยุดซ่อมบำรุงโรง I4-2 ประมาณ 50 วัน และส่วนโรงเอ็มอีจีปิดซ่อมบำรุง 35 วัน
การเลื่อนปิดซ่อมบำรุงทั้ง 2 โรงงานดังกล่าวข้างต้น ทำให้รายได้ของบริษัทฯในปีนี้น่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่เคยประมาณการว่าจะมีรายได้รวมทั้งสิ้น 9.5 หมื่นล้านบาท โดยปีนี้ราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกHDPEยังดีอยู่ เป็นผลจากจีนสต็อกพลาสติกไว้ใช้ในช่วงโอลิมปิกเกมส์ ขณะที่ราคาเอ็มอีจีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เป็นผลจากโรงงานผลิตเอ็มอีจีในซาอุดิอาระเบียได้กลับมาผลิตเต็มที่อีกครั้งหลังจากต้องปิดซ่อมจากอุบัติเหตุเมื่อปลายปีที่แล้ว
“ขณะนี้โรงโอเลฟินส์ที่อิหร่านได้เริ่มดำเนินการผลิตแล้ว แต่เดินเครื่องจักรไม่เต็มที่ ส่วนดาวน์สตรีมก็เริ่มทยอยผลิตได้แล้วเช่นโรงงานผลิตเอ็มอีจี ส่วนโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกHDPE ยังติดปัญหาเอทิลีนไม่เพียงพอที่จะป้อน”
นางพันธ์ทิพ กล่าวว่า จากราคาน้ำมันดิบที่ล่าสุดทะลุเกิน 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้มีหลายประเทศต้องเข้ามาควบคุมราคาน้ำมันสำเร็จรูปไม่ให้สูงเกินไป ส่งผลให้มาร์จินของค่าการกลั่นลดลง ดังนั้นโอกาสที่จะมีการตั้งโรงกลั่นใหม่ในอนาคตทำได้ยากขึ้น มีผลทำให้ราคาแนฟธาซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงกลั่นน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้โรงงานโอเลฟินส์ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบไม่คุ้มที่จะผลิต หากเป็นเช่นนี้จะทำให้ราคาโอเลฟินส์ที่คาดว่าน่าจะอ่อนตัวลงก็คงไม่ลดลง
“หากราคาแนฟธาอยู่ที่ตันละ 1,000เหรียญสหรัฐ และราคาเม็ดพลาสติกอยู่ที่ระดับ1,000 เหรียญเศษ เชื่อว่าโรงแนฟธาแครกเกอร์คงอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตของโรงงานดังกล่าวอยู่ที่ 200-300 เหรียญสหรัฐ/ตัน สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลง โดยโรงงานแนฟธาแครกเกอร์นี้ส่วนใหญ่อยู่ที่ยุโรป และเอเชีย แต่จะส่งผลดีต่อโรงโอเลฟินส์ที่ใช้ก๊าซฯเป็นวัตถุดิบ เช่นโรงงานโอเลฟินส์ในไทยและมาเลเซีย ”
จากราคาแนฟธาที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากนี้ ทำให้ส่วนต่างราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับวัตุถดิบคือแนฟธา (สเปรด)อยู่ที่ 668-670 เหรียญสหรัฐ/ตัน ดีกว่าที่คาดว่าไว้เดิมที่ 666 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่สเปรดเอ็มอีจีกับแนฟธาน่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 360 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิมที่เคยคาดว่าอยู่ที่ 438 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากโรงงานเอ็มอีจีที่ซาอุดิอาระเบียได้กลับมาผลิตได้เต็มที่อีกครั้ง
นอกจากนี้ธุรกิจโอลีโอเคมีพบว่ามีมาร์จินดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากราคาวัตถุดิบคือน้ำมันปาล์มดิบ (CPO)ได้ปรับลดลงแล้ว 20%จากต้นปีนี้ และคาดว่าผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในไทยจะสูงกว่าเมื่อ 2ปีก่อน และราคาเมทิลเอสเตอร์ที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล(บี100) ก็มีราคาที่ดีด้วย ส่วนโครงการผลิตแฟตตี้ แอลกอฮอล์ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองผลิต แม้ว่ามาร์จินไม่ค่อยดี เนื่องจากมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามามาก
สำหรับแผนการลงทุนของปตท.เคมิคอลใน 5ปีนี้(2551-2555) จะใช้เงินลงทุนรวม 6.45 หมื่นล้านบาท โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 3.66 หมื่นล้านบาท โดยปลายปีนี้บริษัทฯมีแผนที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท แล้วสว็อปเป็นดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการลงทุน โดยไม่มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีเงินสดในมือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2551 บริษัทฯมีรายได้รวม 2.11 หมื่นล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 69% และกำไรสุทธิ 5.71 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 114% โดยไตรมาส 1 นี้ บริษัทฯใช้ก๊าซฯเป็นวัตถุดิบในการผลิตถึง 82% และเมื่อโครงการโอเลฟินส์แครกเกอร์ 1 ล้านตันแล้วเสร็จในปลายปี 2552