ในฐานะที่สนใจประวัติศาสตร์จึงต้องยอมรับว่า สัจธรรมวลี “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองไทยนัยเชิงปรัชญาอาจจะมีประเด็นคำถามว่า ทำไมประวัติศาสตร์จึงซ้ำรอย คำตอบคือ สังคมอยู่ในภาวะวังน้ำวนของกิเลส 10 หรือสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมองไม่สามารถปลงตกได้ว่า กรรมมีจริง ยิ่งดิ้นรนก็ยิ่งยุ่งเหยิง ยิ่งจมดิ่งลึกลงสู่อเวจีมากขึ้นเร็วขึ้นเท่านั้น และมีหลายกรณีในประวัติศาสตร์การเมืองไทยแจ้งไว้แน่ชัดในเรื่องของกรรม หากอยากจะอ่านเรื่องกรรมของนักการเมืองก็ต้องหาอ่าน “พลิกประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ 10 ยุค โดย ปรเมศวร์ วัชรปาณ พ.ศ. 2535”
กิเลส 10 คือ ความอยากได้ ความคิดประทุษร้าย ความหลงโง่เขลา ความถือตัวว่าใหญ่ยิ่ง ความเห็นผิด ความสงสัยเคลือบแคลง ความหดหู่ท้อแท้ ความฟุ้งซ่าน ความไม่ละอายต่อบาป และความไม่เกรงกลัวต่อบาป
จากภาวะวิกฤตโลกที่ประดังประเดกันเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาน้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกมาให้สัมภาษณ์ว่า อาจจะขึ้นถึงบาร์เรลละ 200 เหรียญสหรัฐ ในช่วงปลายปี หรือปริมาณอาหารในตลาดโลกไม่สมดุลจนเกิดความวิตกจริตกลัวอดตายขั้นรุนแรงขึ้นในโลก ทำให้มีการกักตุนอาหารและธัญพืชชนิดต่างๆ ทั้งเพื่อบริโภคและนำไปทำไบโอดีเซลรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกของไทยมีกำลังซื้อน้อยลง หรือมีการทำสงครามราคาระหว่างผู้ส่งออกทั่วโลกซึ่งผู้ได้เปรียบได้แก่ผู้ที่มีสายป่านยาวได้แก่ จีน
รัฐบาลหุ่นของระบอบทักษิณกลับมุ่งที่แก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของคนไทยทั้งชาติ แต่กระทบเฉพาะกับกลุ่มนักการเมืองที่ส่วนใหญ่อยู่ในวัฏจักรของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มุ่งแต่เฉพาะเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ตน และพรรคพวกเป็นหลัก และที่สำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญคือหวังที่จะล้มกระบวนการยุติธรรมของ คตส.หรือ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการฟ้องร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว แทนประชาชนชาวไทยในหลายข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐทุจริตคอร์รัปชันในลักษณะต่างๆ ที่พัฒนาแก้ไขจากความผิดพลาดของนักการเมืองทุจริตในอดีตให้เป็นแม่แบบหรือวิธีการเลี่ยงกฎหมาย จึงมีความละเอียดอ่อนทั้งในเชิงนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ทำให้หลักตุลาการภิวัตน์เป็นปรัชญาเดียวที่คนไทยสามารถยึดถือได้ขณะนี้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นขณะนี้ไม่ต่างกับวิกฤตหลังเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่เสถียรภาพรัฐบาลอ่อนแอในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการชิงอำนาจโดยวิธีบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ใจ จึงจำเป็นต้องแยกแยะเขียนตามลำดับความสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ากระทบกระเทือนต่อภาวะจิตใจของคนไทยมากที่สุดทั้งในเชิงศักดิ์ศรี อันเป็นเรื่องนามธรรมหรือรูปธรรมคือความต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศ หรือการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนที่มีตัวแปรมากมายที่ต้องการคลังสมองของคนทั้งชาติ
หรือการก่อรัฐประหารรอบใหม่แต่คิดว่ากองทัพคงฉลาดพอที่จะไม่คิดการใดๆ อันเป็นผลเสียกับสถาบันทหาร และสร้างเงื่อนไขให้กับประเทศชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาสำคัญได้แก่การเลือกคณะรัฐมนตรีที่จะเข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้าอาสาเข้ามาเป็นรัฐบาลในขณะนี้ หรือการคิดร้ายต่อพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ผู้ซึ่งทำความดีให้ชาติบ้านเมืองมากกว่าคนวิจารณ์ทั้งหลาย ทั้งไม่หยาบคายและหยาบคาย ทั้งเป็นคำกล่าวหรือเป็นหนังสือด้วยหวังจะกระทบระบบสถาบันชาติในรูปแบบต่างๆ
แต่อยากจะเขียนเรื่องของธงชาติไทย และความศักดิ์สิทธิ์ตามนัยแห่งธงชัยเฉลิมพลของกองทัพอันเป็นสากล และเหตุการณ์ที่สนามซิตี ออฟ แมนเชสเตอร์ ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของและประธานสโมสรเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551 ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเจ้าบ้านแมนเชสเตอร์ ซิตี กับทีมสโมสรฟูแล่มซึ่งโมฮัมเม็ด อัล ฟายัด ชาวอียิปต์เป็นเจ้าของ
เกิดมีเหตุการณ์อุบาทว์แฟนฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี จะเป็นสัญชาติใดก็ตาม บ้าพอที่จะกางธงไตรรงค์บรรจุข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า Thaksin ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประธานสโมสรนั่งชมฟุตบอลอยู่ แต่ตลอดเวลา พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ใช้อำนาจเจ้าของและประธานสโมสรดำเนินการใดๆ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ เพราะต้องมีคนไทยเห็นและสามารถบอกเขาได้อย่างแน่นอน ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีถึงกับตะลึ่งและให้สัมภาษณ์เชิงตกอกตกใจว่า “โอ๊ยเรื่องนี้เขาต้องทักท้วง คุณทักษิณต้องถูกทักท้วงแน่นอน แล้วที่สำคัญที่สุดเขาก็ต้องบอกว่า ก็ต้องแก้ตัวว่าไอ้ฝรั่งมันทำ” “สำคัญที่สุดก็คือว่า คนเห็นแล้วทันที ก็ต้องเอาออกทันที เป็นไปไม่ได้เรื่องนี้”
เรื่องนี้ผิดกฎหมายไทยแน่นอนตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อธงตามมาตรา 5 หรือมาตรา 6 (ธงสำหรับพระมหากษัตริย์) ดังต่อไปนี้ (1) ประดิษฐ์รูปตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นใดในผืนธงรูปจำลองของธง หรือในแถบสีธงนอกจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (2) ใช้อีกหรือแสดงธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีอันมีลักษณะตามข้อ 1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ
นัยสำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอดีตนายตำรวจที่เคยเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและวางแผน และประมวลข่าวสารรวมถึงการเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะต้องเข้าใจเรื่องความสำคัญของธงเป็นอย่างดี เพราะต้องเคารพธงชาติทุกครั้งในพิธีทางราชการตำรวจ เช่น การรับพระราชทานแต่งตั้งยศใหม่และในฐานะอดีตผู้รักษากฎหมายย่อมต้องรู้ พ.ร.บ.ธง เพราะความที่ต่างชาติมักจะขาดความรู้เรื่องกฎหมายไทยโดยเฉพาะ พ.ร.บ.ธงของไทย อาจจะไม่เคารพธงชาติไทยในแผ่นดินไทยหรือในสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำต่างประเทศ อาจารย์สามพรานจบนอกย่อมต้องรู้และสอนนักเรียนนายร้อยตำรวจในเชิงตัวอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่ฝรั่งมักจะทำผิดกฎหมายไทย
ทำไม พ.ต.ท.ทักษิณจึงไม่แสดงความเป็นไทยที่จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่สนามฟุตบอลในอาณัติของตนเองเอาธงไตรรงค์ที่เขียนชื่อตัวเองลง เพราะรูปจำลองธงไตรรงค์ผืนนั้นใหญ่มากซึ่งต้องมีคนไทยมองเห็น แม้กระทั่งจากจอโทรทัศน์ในอังกฤษ เพราะมีการถ่ายทอดก็น่าจะใช้โทรศัพท์บอกกล่าวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการตั้งสมมติฐานว่า ทำไมพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างใดเลย
ผิดกับการที่ครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณถูกสหประชาชาติวิจารณ์ในเชิงลบ และแนะนำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นดำเนินการตามคำแนะนำ แต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับตอบโต้ว่า “UN ไม่ใช่พ่อ” เป็นวลีที่กล่าวขวัญกันทั่วโลกเพราะว่าขัดต่อความรู้สึกส่วนตัวของตนที่คิดว่าทุกอย่างที่ทำนั้นถูกเสมอ จนเข้าลักษณะหลงตัวเองจนเมื่อมีใครวิจารณ์ก็ตอบโต้อย่างประชดประชันเสมอ เช่น เรียกดร.ธีรยุทธ บุญมี ว่า “ขาประจำ”
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในเหตุการณ์นั้นทั้งด้วยศักยภาพ และประสบการณ์ในฐานะอดีตข้าราชการตำรวจควรถูกเข้าข่ายพิจารณาว่า “เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดหรือไม่” มีหลายคดีซึ่งผู้ต้องหาที่อยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาชญากรรมจะถูกกล่าวหาโดยพนักงานตำรวจว่า “เป็นผู้สมรู้ร่วมคิด”
ข้อคิดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ อย่างน้อยอีก 2 สโมสรฟุตบอลในอังกฤษที่มีเจ้าของ และประธานสโมสรเป็นเศรษฐีต่างชาติ เช่น ฟูแล่มเจ้าของเป็นคนชาติอียิปต์ แต่ยังไม่เคยเห็นแฟนฟุตบอลฟูแล่มกางธงชาติอียิปต์ หรือกรณีสโมสรฟุตบอลเชลซีที่เจ้าของคือ โรมัน อับราฮิมโมวิค คนชาติรัสเซียแต่ประธานสโมสรคือ บรูซ บัค ชาวอเมริกันก็ยังไม่เคยมีเรื่องราวของแฟนเชลซีกางธงชาติสหรัฐฯ ควบคู่กับธงชาติรัสเซียเลย หรือเคยมีมาแล้วใครช่วยตอบที
แต่หากว่าจะวิเคราะห์กรณีมีแฟนฟูแล่มกางธงอียิปต์ในสนามฟุตบอลกราเวน คอตเตจ ในกรุงลอนดอนก็อาจจะเป็นประเด็นการเมืองขั้นเลวร้ายสูงสุดก็ได้ เพราะอาจเป็นเรื่องของการแสดงศักยภาพและศักดาของกลุ่มก่อการร้ายอียิปต์ในกรุงลอนดอนก็ได้ หรือหากแฟนเชลซีกางธงสหรัฐฯ และรัสเซียประกบกันก็จะเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียในกรุงลอนดอนก็ได้ หรือเกิดการแสดงความครอบงำอังกฤษโดยสหรัฐฯ และรัสเซียก็ได้
ธงมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องแสดงตัว หากมีกฎหมายหรือกฎรองรับ ธงเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นชาติเมื่อถูกชักขึ้นยอดเสาธงที่ใดย่อมมีความหมาย มีความศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจในการชี้นำและเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งชาติ
ประเด็นสำคัญยิ่งคือ คนที่รู้เห็นเป็นใจกรณีธงไทยเขียน THAKSIN ที่สนามฟุตบอลฟูแล่มที่เป็นคนไทยต้องอย่างน้อยรับโทษทางสังคม เพราะคนอังกฤษเขารู้ดีเกี่ยวกับธง เพราะทุกปีคนอังกฤษจะเฝ้าดูพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 เรียกว่า Trooping The Colours ถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีเป็นประเพณีมาตั้งแต่ 1805 Colour หมายถึง ธงประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ คนอังกฤษจึงรู้ดีว่าธงมีความหมายอย่างไรในเชิงเกียรติยศ และความศักดิ์สิทธิ์ แต่กรณีธงไตรรงค์ที่แมนเชสเตอร์ ซิตี นั้น อาจจะสรุปได้ว่า แฟนแมนเชสเตอร์ ซิตีอังกฤษ ไม่ให้เกียรติคนไทยหากเป็นคนกางธงเองโดยไม่มีคนไทยร่วมมือ
กิเลส 10 คือ ความอยากได้ ความคิดประทุษร้าย ความหลงโง่เขลา ความถือตัวว่าใหญ่ยิ่ง ความเห็นผิด ความสงสัยเคลือบแคลง ความหดหู่ท้อแท้ ความฟุ้งซ่าน ความไม่ละอายต่อบาป และความไม่เกรงกลัวต่อบาป
จากภาวะวิกฤตโลกที่ประดังประเดกันเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาน้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกมาให้สัมภาษณ์ว่า อาจจะขึ้นถึงบาร์เรลละ 200 เหรียญสหรัฐ ในช่วงปลายปี หรือปริมาณอาหารในตลาดโลกไม่สมดุลจนเกิดความวิตกจริตกลัวอดตายขั้นรุนแรงขึ้นในโลก ทำให้มีการกักตุนอาหารและธัญพืชชนิดต่างๆ ทั้งเพื่อบริโภคและนำไปทำไบโอดีเซลรวมทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกของไทยมีกำลังซื้อน้อยลง หรือมีการทำสงครามราคาระหว่างผู้ส่งออกทั่วโลกซึ่งผู้ได้เปรียบได้แก่ผู้ที่มีสายป่านยาวได้แก่ จีน
รัฐบาลหุ่นของระบอบทักษิณกลับมุ่งที่แก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของคนไทยทั้งชาติ แต่กระทบเฉพาะกับกลุ่มนักการเมืองที่ส่วนใหญ่อยู่ในวัฏจักรของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มุ่งแต่เฉพาะเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ตน และพรรคพวกเป็นหลัก และที่สำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญคือหวังที่จะล้มกระบวนการยุติธรรมของ คตส.หรือ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการฟ้องร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว แทนประชาชนชาวไทยในหลายข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐทุจริตคอร์รัปชันในลักษณะต่างๆ ที่พัฒนาแก้ไขจากความผิดพลาดของนักการเมืองทุจริตในอดีตให้เป็นแม่แบบหรือวิธีการเลี่ยงกฎหมาย จึงมีความละเอียดอ่อนทั้งในเชิงนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ทำให้หลักตุลาการภิวัตน์เป็นปรัชญาเดียวที่คนไทยสามารถยึดถือได้ขณะนี้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นขณะนี้ไม่ต่างกับวิกฤตหลังเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่เสถียรภาพรัฐบาลอ่อนแอในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการชิงอำนาจโดยวิธีบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ใจ จึงจำเป็นต้องแยกแยะเขียนตามลำดับความสำคัญที่ผู้เขียนเห็นว่ากระทบกระเทือนต่อภาวะจิตใจของคนไทยมากที่สุดทั้งในเชิงศักดิ์ศรี อันเป็นเรื่องนามธรรมหรือรูปธรรมคือความต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศ หรือการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนที่มีตัวแปรมากมายที่ต้องการคลังสมองของคนทั้งชาติ
หรือการก่อรัฐประหารรอบใหม่แต่คิดว่ากองทัพคงฉลาดพอที่จะไม่คิดการใดๆ อันเป็นผลเสียกับสถาบันทหาร และสร้างเงื่อนไขให้กับประเทศชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาสำคัญได้แก่การเลือกคณะรัฐมนตรีที่จะเข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว เพราะไม่คิดว่าจะมีใครกล้าอาสาเข้ามาเป็นรัฐบาลในขณะนี้ หรือการคิดร้ายต่อพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ผู้ซึ่งทำความดีให้ชาติบ้านเมืองมากกว่าคนวิจารณ์ทั้งหลาย ทั้งไม่หยาบคายและหยาบคาย ทั้งเป็นคำกล่าวหรือเป็นหนังสือด้วยหวังจะกระทบระบบสถาบันชาติในรูปแบบต่างๆ
แต่อยากจะเขียนเรื่องของธงชาติไทย และความศักดิ์สิทธิ์ตามนัยแห่งธงชัยเฉลิมพลของกองทัพอันเป็นสากล และเหตุการณ์ที่สนามซิตี ออฟ แมนเชสเตอร์ ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของและประธานสโมสรเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551 ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเจ้าบ้านแมนเชสเตอร์ ซิตี กับทีมสโมสรฟูแล่มซึ่งโมฮัมเม็ด อัล ฟายัด ชาวอียิปต์เป็นเจ้าของ
เกิดมีเหตุการณ์อุบาทว์แฟนฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี จะเป็นสัญชาติใดก็ตาม บ้าพอที่จะกางธงไตรรงค์บรรจุข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า Thaksin ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประธานสโมสรนั่งชมฟุตบอลอยู่ แต่ตลอดเวลา พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ใช้อำนาจเจ้าของและประธานสโมสรดำเนินการใดๆ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ เพราะต้องมีคนไทยเห็นและสามารถบอกเขาได้อย่างแน่นอน ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีถึงกับตะลึ่งและให้สัมภาษณ์เชิงตกอกตกใจว่า “โอ๊ยเรื่องนี้เขาต้องทักท้วง คุณทักษิณต้องถูกทักท้วงแน่นอน แล้วที่สำคัญที่สุดเขาก็ต้องบอกว่า ก็ต้องแก้ตัวว่าไอ้ฝรั่งมันทำ” “สำคัญที่สุดก็คือว่า คนเห็นแล้วทันที ก็ต้องเอาออกทันที เป็นไปไม่ได้เรื่องนี้”
เรื่องนี้ผิดกฎหมายไทยแน่นอนตาม พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อธงตามมาตรา 5 หรือมาตรา 6 (ธงสำหรับพระมหากษัตริย์) ดังต่อไปนี้ (1) ประดิษฐ์รูปตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นใดในผืนธงรูปจำลองของธง หรือในแถบสีธงนอกจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (2) ใช้อีกหรือแสดงธงรูปจำลองของธง หรือแถบสีอันมีลักษณะตามข้อ 1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำ
นัยสำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอดีตนายตำรวจที่เคยเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและวางแผน และประมวลข่าวสารรวมถึงการเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะต้องเข้าใจเรื่องความสำคัญของธงเป็นอย่างดี เพราะต้องเคารพธงชาติทุกครั้งในพิธีทางราชการตำรวจ เช่น การรับพระราชทานแต่งตั้งยศใหม่และในฐานะอดีตผู้รักษากฎหมายย่อมต้องรู้ พ.ร.บ.ธง เพราะความที่ต่างชาติมักจะขาดความรู้เรื่องกฎหมายไทยโดยเฉพาะ พ.ร.บ.ธงของไทย อาจจะไม่เคารพธงชาติไทยในแผ่นดินไทยหรือในสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำต่างประเทศ อาจารย์สามพรานจบนอกย่อมต้องรู้และสอนนักเรียนนายร้อยตำรวจในเชิงตัวอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่ฝรั่งมักจะทำผิดกฎหมายไทย
ทำไม พ.ต.ท.ทักษิณจึงไม่แสดงความเป็นไทยที่จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่สนามฟุตบอลในอาณัติของตนเองเอาธงไตรรงค์ที่เขียนชื่อตัวเองลง เพราะรูปจำลองธงไตรรงค์ผืนนั้นใหญ่มากซึ่งต้องมีคนไทยมองเห็น แม้กระทั่งจากจอโทรทัศน์ในอังกฤษ เพราะมีการถ่ายทอดก็น่าจะใช้โทรศัพท์บอกกล่าวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการตั้งสมมติฐานว่า ทำไมพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างใดเลย
ผิดกับการที่ครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณถูกสหประชาชาติวิจารณ์ในเชิงลบ และแนะนำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นดำเนินการตามคำแนะนำ แต่พ.ต.ท.ทักษิณกลับตอบโต้ว่า “UN ไม่ใช่พ่อ” เป็นวลีที่กล่าวขวัญกันทั่วโลกเพราะว่าขัดต่อความรู้สึกส่วนตัวของตนที่คิดว่าทุกอย่างที่ทำนั้นถูกเสมอ จนเข้าลักษณะหลงตัวเองจนเมื่อมีใครวิจารณ์ก็ตอบโต้อย่างประชดประชันเสมอ เช่น เรียกดร.ธีรยุทธ บุญมี ว่า “ขาประจำ”
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในเหตุการณ์นั้นทั้งด้วยศักยภาพ และประสบการณ์ในฐานะอดีตข้าราชการตำรวจควรถูกเข้าข่ายพิจารณาว่า “เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดหรือไม่” มีหลายคดีซึ่งผู้ต้องหาที่อยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาชญากรรมจะถูกกล่าวหาโดยพนักงานตำรวจว่า “เป็นผู้สมรู้ร่วมคิด”
ข้อคิดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ อย่างน้อยอีก 2 สโมสรฟุตบอลในอังกฤษที่มีเจ้าของ และประธานสโมสรเป็นเศรษฐีต่างชาติ เช่น ฟูแล่มเจ้าของเป็นคนชาติอียิปต์ แต่ยังไม่เคยเห็นแฟนฟุตบอลฟูแล่มกางธงชาติอียิปต์ หรือกรณีสโมสรฟุตบอลเชลซีที่เจ้าของคือ โรมัน อับราฮิมโมวิค คนชาติรัสเซียแต่ประธานสโมสรคือ บรูซ บัค ชาวอเมริกันก็ยังไม่เคยมีเรื่องราวของแฟนเชลซีกางธงชาติสหรัฐฯ ควบคู่กับธงชาติรัสเซียเลย หรือเคยมีมาแล้วใครช่วยตอบที
แต่หากว่าจะวิเคราะห์กรณีมีแฟนฟูแล่มกางธงอียิปต์ในสนามฟุตบอลกราเวน คอตเตจ ในกรุงลอนดอนก็อาจจะเป็นประเด็นการเมืองขั้นเลวร้ายสูงสุดก็ได้ เพราะอาจเป็นเรื่องของการแสดงศักยภาพและศักดาของกลุ่มก่อการร้ายอียิปต์ในกรุงลอนดอนก็ได้ หรือหากแฟนเชลซีกางธงสหรัฐฯ และรัสเซียประกบกันก็จะเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียในกรุงลอนดอนก็ได้ หรือเกิดการแสดงความครอบงำอังกฤษโดยสหรัฐฯ และรัสเซียก็ได้
ธงมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องแสดงตัว หากมีกฎหมายหรือกฎรองรับ ธงเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นชาติเมื่อถูกชักขึ้นยอดเสาธงที่ใดย่อมมีความหมาย มีความศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจในการชี้นำและเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งชาติ
ประเด็นสำคัญยิ่งคือ คนที่รู้เห็นเป็นใจกรณีธงไทยเขียน THAKSIN ที่สนามฟุตบอลฟูแล่มที่เป็นคนไทยต้องอย่างน้อยรับโทษทางสังคม เพราะคนอังกฤษเขารู้ดีเกี่ยวกับธง เพราะทุกปีคนอังกฤษจะเฝ้าดูพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 เรียกว่า Trooping The Colours ถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีเป็นประเพณีมาตั้งแต่ 1805 Colour หมายถึง ธงประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ คนอังกฤษจึงรู้ดีว่าธงมีความหมายอย่างไรในเชิงเกียรติยศ และความศักดิ์สิทธิ์ แต่กรณีธงไตรรงค์ที่แมนเชสเตอร์ ซิตี นั้น อาจจะสรุปได้ว่า แฟนแมนเชสเตอร์ ซิตีอังกฤษ ไม่ให้เกียรติคนไทยหากเป็นคนกางธงเองโดยไม่มีคนไทยร่วมมือ