ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เหตุการณ์ช่างบังเอิญอะไรเช่นนี้!
13 เมษายน 2551 เป็นวันสงกรานต์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปราศรัยกับประชาชนที่มาต้อนรับความตอนหนึ่งว่า “วันนี้ผมคิดว่าปีใหม่มาถึงแล้ว และเขาบอกว่าวันที่ 17 เมษายนนี้ ราหูจะยกแล้ว เราหวังว่าเมฆหมอกมืดดำ คนที่คิดไม่ดีกับบ้านกับเมือง คนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย หวังว่าคงจะไปกับราหู”
ไม่มีใครทราบได้ว่าความเชื่อเรื่องราหูของ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังคิดว่าใครคือคนที่คิดไม่ดีกับบ้านเมือง และใครคือคนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย แต่พ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะปราศรัยเพื่อหมายถึงตัวเองเป็นแน่
17 เมษายน 2551 คนไทยจำนวนมากไปทำพิธีรับ-ส่งราหูกันยกใหญ่ แม้แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีก็ยังเข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย ราหูยกออกไปตามความเชื่อของคนไทยจำนวนหนึ่งไปเป็นที่เรียบร้อย
หลังจากราหูยก ปฏิบัติการหลายอย่างก็เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างไม่น่าเชื่อ!
18 เมษายน 2551 มีคนกลุ่มหนึ่งได้กระทำการเสมือนท้าทายพระราชอำนาจเข้าไปยื่นหนังสือถวายฎีกาต่อราชเลขาธิการ เพื่อคัดค้านพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นองคมนตรีว่ามีความไม่เหมาะสม ทั้งๆ เรื่องการแต่งตั้งองคมนตรีตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ซึ่งก็บังเอิญเหลือเกินที่แกนนำในการยื่นหนังสือในวันนั้นอยู่ใน “กลุ่มพลเมืองวิวัฒน์” โดยมีหัวหน้ากลุ่มเป็นอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ รุ่นที่ 2 (นปก.รุ่น 2)
21 เมษายน 2551 ก็บังเอิญคอลัมนิสต์คนหนึ่งใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้วิจารณ์รายการของ NBT ในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าได้ออกอากาศข่าวต่างประเทศในเรื่อง การเลือกตั้งและการล้มกษัตริย์ในเนปาล ตามมาด้วยสารคดีการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศส ในการปฏิวัติการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 การทำลายคุกบาสติลล์ วันที่ 14 กรกฎาคม และสารคดีการล้มล้างระบอบกษัตริย์อังกฤษ โดย โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งทำให้พระเจ้าจอห์นที่ 1 สิ้นอำนาจ
ความบังเอิญอยู่ตรงที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นเคยเป็น “แกนนำ นปก. รุ่น 1” ซึ่งเคยประกาศว่ารับไม่ได้กับศักดินา และอยากเห็นสงครามประชาชน!
22 เมษายน 2551 มีชายคนหนึ่งอายุ 27 ปี ได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ได้ออกแถลงการณ์ในสิทธิของตัวเองที่จะไม่ยืน เรียกร้องให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พร้อมกับใส่เสื้อยืดที่เขียนว่า “ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม” พร้อมกับเตรียมป้ายภาษาอังกฤษว่า “No Standing, Different Thinking is No Crime”
ตามมาด้วยการรณรงค์อย่างแข็งขันจากเว็บไซต์ที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประสานงานกับสื่อต่างประเทศในการทำข่าวชิ้นนี้อย่างกว้างขวาง
ซึ่งก็บังเอิญอีกเหมือนกันว่าชายคนดังกล่าวเคยทำงานอยู่ในองค์กร “เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร” และแกนนำผู้ก่อตั้งองค์กรนี้ก็เป็นแกนนำ “นปก.รุ่น 2” ในเวลาต่อมา
22 เมษายน 2551 (ตอนกลางคืน) บังเอิญอีกแล้วที่มีสุภาพสตรีคนหนึ่งใส่เสื้อยืด “ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม” ถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
บังเอิญตรงที่ว่าสุภาพสตรีที่ว่านี้เคยเป็นตัวแทนขององค์กรที่ประกาศเป็นแนวร่วมกับ นปก.ในการต่อต้าน คมช.รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ และยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตแกนนำ “นปก.รุ่น 2” อีกด้วย
บังเอิญซ้ำซากอีกครั้งหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นอดีตแกนนำ “นปก.รุ่น 1”
25 เมษายน 2551 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงในโอกาสไปปาฐกถาในงานสัมมนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศหัวข้อ “ยุทธศาสตร์กู้ชาติและเข็มทิศใหม่เพื่อผ่าทางตันทางการเมือง” ที่ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตว่า “มีกระบวนการล้มปืน ล้มทุน ล้มเจ้า”
29 เมษายน 2551 บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน เขียนในหัวข้อว่า “ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว” ซึ่งพูดถึงเนื้อหาภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับขึ้นหน้าหนึ่งด้วยภาพตัวอักษร “Thaksin” ปรากฏบนธงชาติไทยอย่างไม่เหมาะสมในการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกในการแข่งขันฟุตบอลของสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานสโมสรฯ วันถัดมาหนังสือพิมพ์ข่าวสดลงภาพธงชาติไทยพร้อมด้วยตัวอักษร “Welcome Thaksin” ซึ่งปรากฏอยู่ในนิตยสารของสโมสรแห่งนี้อีกด้วย
ธงไตรรงค์ที่ไปปรากฎที่สนามฟุตบอลในวันนั้นหมายถึง “สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และทักษิณ” ที่ประกาศก้องไปทั่วโลกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากจะไม่เอ่ยคำ “ขอโทษ” แล้ว ยังไปอ้างว่าแฟนบอลเป็นผู้ทำขึ้นและแฟนบอลขอแสดงความเสียใจ และอ้างอีกว่าตัวเองนั้นสนใจแต่การแข่งขันฟุตบอลจึงไม่ได้คิดจะไปปลด “ธงไตรรงค์ทักษิณ” ออกในขณะแข่งขัน ทั้งๆ ที่มีภาพยืนยันที่แสดงให้เห็นมากมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ใกล้กับ “ธงไตรรงค์ทักษิณ” ก่อนหน้านี้หลายครั้ง
คิดดูเอาเถิดว่าหนังสือพิมพ์ซันเดย์มิร์เรอร์ในอังกฤษลงข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บังคับให้นักเตะสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี แต่ละคนซึ่งเป็นฝรั่งโค้งคำนับตัวเขาเองตามแบบฉบับประเพณีอันงดงามของไทยที่ผู้น้อยต้องโค้งคำนับผู้ใหญ่ ก่อนที่เกมการแข่งขันแต่ละนัดจะเริ่มต้นขึ้นนั้น สะท้อนจิตใต้สำนึกในความบ้าอำนาจและหลงตัวเองขนาดไหน?
พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนกลับมาประเทศไทยคราวนี้ก็ยังคงแสดงความยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ด้วยรถขบวนติดตามยาวเหยียดนับหลาย 10 คัน พร้อมด้วยตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบที่มีรายได้จากภาษีของประชาชนคอยอารักขากว่า 100 นาย ได้รับการดูแลเอาใจใส่ยิ่งกว่า “ผู้ต้องหา” คนใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ในขณะที่นายวีระ สมความคิด ที่ทำงานองค์กรภาคเอกชนคอยตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันมากมาย ถูกขู่ฆ่าหลายต่อหลายครั้ง ไม่มีตำรวจติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแม้แต่คนเดียว
เหตุการณ์ทั้งหมดบางคนอาจจะเรียกว่าบังเอิญ แต่ความบังเอิญเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง และมีการจัดวางเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ย่อมมีคนสงสัยได้ว่าเป็นขบวนการหรือไม่?
ในเวลานี้หลายคนเริ่มเป็นห่วงมากไปกว่าข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือความผิดว่าด้วยเรื่องพระราชบัญญัติธง หรือความยิ่งใหญ่ของพ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว
เพราะดูเหมือนว่าสื่อสารมวลชนจำนวนมากได้เล็งเห็นเป้าหมายในการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนกลุ่มหนึ่งที่มีเครือข่ายเติบโตเป็นขบวนการมากขึ้น และดำเนินการเชิงรุกตามลำดับ ที่สำคัญแหล่งที่มาของข้อมูลเกือบทั้งหมดเริ่มต้นมาจาก “สื่อสารมวลชนค่ายอื่นที่ไม่ใช่เครือผู้จัดการ”
การต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ครั้งนี้มีองค์ประกอบไปด้วย ทุนสามานย์ที่อยากอยู่ในอำนาจให้นาน จับมือทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อสมประโยชน์ในเป้าหมายเดียวกันกับฝ่ายซ้ายในอดีตให้มาเป็นแนวร่วมทางวิชาการ สร้างแนวร่วมคนรุ่นใหม่ ขยายความเชื่อเหล่านี้ไปยังชนชั้นเกษตรกรและกรรมาชีพที่ยากจน
แม้จะมีคนบางกลุ่มที่ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ประกาศว่าไม่ได้เอาด้วยกับระบอบทักษิณเพราะยังมีความละอายอยู่ หากแต่เป้าหมายที่ทำไปนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับระบอบทักษิณทั้งสิ้นอยู่ดี ทั้งการเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้ม คมช. และรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์, รณรงค์ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านประชามติ, ต่อต้าน พล.อ.เปรม, ลดความน่าเชื่อถือในสถาบันพระมหากษัตริย์, รณรงค์ให้การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
ที่น่าจับตาที่สุด เห็นจะเป็นนายสมัคร สุนทรเวช ไม่รู้ว่าถูกเป่าหูโดยใครหรือไม่? จึงเที่ยวออกมาปกป้องคนนั้นคนนี้ พอรู้ว่าข่าวที่ปรากฏนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากผู้จัดการ ก็ไปหลงเชื่อคนอื่น ว่าเป็นฝีมือการประชาสัมพันธ์ของ “ไอ้หัวเถิก”
ทั้งๆ ที่เหตุแห่งปัญหาที่เกิดจากการกระทำที่ผ่านมานั้น กลับไม่มีใครดำเนินการใดๆ !?
สิ่งที่ต้องจับตาให้ดีคือ นายสมัคร สุนทรเวช จะถูกต้มจนเลือดสีน้ำเงินเจือจาง หรือแท้ที่จริงแล้วนายสมัครแกล้งโง่เพียงเพื่อรักษาเก้าอี้ตัวเองหรือไม่?
เปิดตัวชัดเจนเช่นนี้ก็ดี เพราะคนที่คิดไม่ดีกับบ้านกับเมือง คนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย หวังว่าคงจะไปกับราหูคราวนี้เป็นแน่ !!
เหตุการณ์ช่างบังเอิญอะไรเช่นนี้!
13 เมษายน 2551 เป็นวันสงกรานต์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปราศรัยกับประชาชนที่มาต้อนรับความตอนหนึ่งว่า “วันนี้ผมคิดว่าปีใหม่มาถึงแล้ว และเขาบอกว่าวันที่ 17 เมษายนนี้ ราหูจะยกแล้ว เราหวังว่าเมฆหมอกมืดดำ คนที่คิดไม่ดีกับบ้านกับเมือง คนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย หวังว่าคงจะไปกับราหู”
ไม่มีใครทราบได้ว่าความเชื่อเรื่องราหูของ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังคิดว่าใครคือคนที่คิดไม่ดีกับบ้านเมือง และใครคือคนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย แต่พ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะปราศรัยเพื่อหมายถึงตัวเองเป็นแน่
17 เมษายน 2551 คนไทยจำนวนมากไปทำพิธีรับ-ส่งราหูกันยกใหญ่ แม้แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีก็ยังเข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย ราหูยกออกไปตามความเชื่อของคนไทยจำนวนหนึ่งไปเป็นที่เรียบร้อย
หลังจากราหูยก ปฏิบัติการหลายอย่างก็เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างไม่น่าเชื่อ!
18 เมษายน 2551 มีคนกลุ่มหนึ่งได้กระทำการเสมือนท้าทายพระราชอำนาจเข้าไปยื่นหนังสือถวายฎีกาต่อราชเลขาธิการ เพื่อคัดค้านพระบรมราชโองการแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นองคมนตรีว่ามีความไม่เหมาะสม ทั้งๆ เรื่องการแต่งตั้งองคมนตรีตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ซึ่งก็บังเอิญเหลือเกินที่แกนนำในการยื่นหนังสือในวันนั้นอยู่ใน “กลุ่มพลเมืองวิวัฒน์” โดยมีหัวหน้ากลุ่มเป็นอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ รุ่นที่ 2 (นปก.รุ่น 2)
21 เมษายน 2551 ก็บังเอิญคอลัมนิสต์คนหนึ่งใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้วิจารณ์รายการของ NBT ในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าได้ออกอากาศข่าวต่างประเทศในเรื่อง การเลือกตั้งและการล้มกษัตริย์ในเนปาล ตามมาด้วยสารคดีการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศส ในการปฏิวัติการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 การทำลายคุกบาสติลล์ วันที่ 14 กรกฎาคม และสารคดีการล้มล้างระบอบกษัตริย์อังกฤษ โดย โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งทำให้พระเจ้าจอห์นที่ 1 สิ้นอำนาจ
ความบังเอิญอยู่ตรงที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นเคยเป็น “แกนนำ นปก. รุ่น 1” ซึ่งเคยประกาศว่ารับไม่ได้กับศักดินา และอยากเห็นสงครามประชาชน!
22 เมษายน 2551 มีชายคนหนึ่งอายุ 27 ปี ได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ได้ออกแถลงการณ์ในสิทธิของตัวเองที่จะไม่ยืน เรียกร้องให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พร้อมกับใส่เสื้อยืดที่เขียนว่า “ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม” พร้อมกับเตรียมป้ายภาษาอังกฤษว่า “No Standing, Different Thinking is No Crime”
ตามมาด้วยการรณรงค์อย่างแข็งขันจากเว็บไซต์ที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประสานงานกับสื่อต่างประเทศในการทำข่าวชิ้นนี้อย่างกว้างขวาง
ซึ่งก็บังเอิญอีกเหมือนกันว่าชายคนดังกล่าวเคยทำงานอยู่ในองค์กร “เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร” และแกนนำผู้ก่อตั้งองค์กรนี้ก็เป็นแกนนำ “นปก.รุ่น 2” ในเวลาต่อมา
22 เมษายน 2551 (ตอนกลางคืน) บังเอิญอีกแล้วที่มีสุภาพสตรีคนหนึ่งใส่เสื้อยืด “ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม” ถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
บังเอิญตรงที่ว่าสุภาพสตรีที่ว่านี้เคยเป็นตัวแทนขององค์กรที่ประกาศเป็นแนวร่วมกับ นปก.ในการต่อต้าน คมช.รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ และยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตแกนนำ “นปก.รุ่น 2” อีกด้วย
บังเอิญซ้ำซากอีกครั้งหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นอดีตแกนนำ “นปก.รุ่น 1”
25 เมษายน 2551 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงในโอกาสไปปาฐกถาในงานสัมมนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศหัวข้อ “ยุทธศาสตร์กู้ชาติและเข็มทิศใหม่เพื่อผ่าทางตันทางการเมือง” ที่ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตว่า “มีกระบวนการล้มปืน ล้มทุน ล้มเจ้า”
29 เมษายน 2551 บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน เขียนในหัวข้อว่า “ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว” ซึ่งพูดถึงเนื้อหาภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับขึ้นหน้าหนึ่งด้วยภาพตัวอักษร “Thaksin” ปรากฏบนธงชาติไทยอย่างไม่เหมาะสมในการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกในการแข่งขันฟุตบอลของสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานสโมสรฯ วันถัดมาหนังสือพิมพ์ข่าวสดลงภาพธงชาติไทยพร้อมด้วยตัวอักษร “Welcome Thaksin” ซึ่งปรากฏอยู่ในนิตยสารของสโมสรแห่งนี้อีกด้วย
ธงไตรรงค์ที่ไปปรากฎที่สนามฟุตบอลในวันนั้นหมายถึง “สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และทักษิณ” ที่ประกาศก้องไปทั่วโลกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากจะไม่เอ่ยคำ “ขอโทษ” แล้ว ยังไปอ้างว่าแฟนบอลเป็นผู้ทำขึ้นและแฟนบอลขอแสดงความเสียใจ และอ้างอีกว่าตัวเองนั้นสนใจแต่การแข่งขันฟุตบอลจึงไม่ได้คิดจะไปปลด “ธงไตรรงค์ทักษิณ” ออกในขณะแข่งขัน ทั้งๆ ที่มีภาพยืนยันที่แสดงให้เห็นมากมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ใกล้กับ “ธงไตรรงค์ทักษิณ” ก่อนหน้านี้หลายครั้ง
คิดดูเอาเถิดว่าหนังสือพิมพ์ซันเดย์มิร์เรอร์ในอังกฤษลงข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บังคับให้นักเตะสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี แต่ละคนซึ่งเป็นฝรั่งโค้งคำนับตัวเขาเองตามแบบฉบับประเพณีอันงดงามของไทยที่ผู้น้อยต้องโค้งคำนับผู้ใหญ่ ก่อนที่เกมการแข่งขันแต่ละนัดจะเริ่มต้นขึ้นนั้น สะท้อนจิตใต้สำนึกในความบ้าอำนาจและหลงตัวเองขนาดไหน?
พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนกลับมาประเทศไทยคราวนี้ก็ยังคงแสดงความยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ด้วยรถขบวนติดตามยาวเหยียดนับหลาย 10 คัน พร้อมด้วยตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบที่มีรายได้จากภาษีของประชาชนคอยอารักขากว่า 100 นาย ได้รับการดูแลเอาใจใส่ยิ่งกว่า “ผู้ต้องหา” คนใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ในขณะที่นายวีระ สมความคิด ที่ทำงานองค์กรภาคเอกชนคอยตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันมากมาย ถูกขู่ฆ่าหลายต่อหลายครั้ง ไม่มีตำรวจติดตามเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแม้แต่คนเดียว
เหตุการณ์ทั้งหมดบางคนอาจจะเรียกว่าบังเอิญ แต่ความบังเอิญเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง และมีการจัดวางเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ย่อมมีคนสงสัยได้ว่าเป็นขบวนการหรือไม่?
ในเวลานี้หลายคนเริ่มเป็นห่วงมากไปกว่าข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือความผิดว่าด้วยเรื่องพระราชบัญญัติธง หรือความยิ่งใหญ่ของพ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว
เพราะดูเหมือนว่าสื่อสารมวลชนจำนวนมากได้เล็งเห็นเป้าหมายในการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนกลุ่มหนึ่งที่มีเครือข่ายเติบโตเป็นขบวนการมากขึ้น และดำเนินการเชิงรุกตามลำดับ ที่สำคัญแหล่งที่มาของข้อมูลเกือบทั้งหมดเริ่มต้นมาจาก “สื่อสารมวลชนค่ายอื่นที่ไม่ใช่เครือผู้จัดการ”
การต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ครั้งนี้มีองค์ประกอบไปด้วย ทุนสามานย์ที่อยากอยู่ในอำนาจให้นาน จับมือทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อสมประโยชน์ในเป้าหมายเดียวกันกับฝ่ายซ้ายในอดีตให้มาเป็นแนวร่วมทางวิชาการ สร้างแนวร่วมคนรุ่นใหม่ ขยายความเชื่อเหล่านี้ไปยังชนชั้นเกษตรกรและกรรมาชีพที่ยากจน
แม้จะมีคนบางกลุ่มที่ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ประกาศว่าไม่ได้เอาด้วยกับระบอบทักษิณเพราะยังมีความละอายอยู่ หากแต่เป้าหมายที่ทำไปนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับระบอบทักษิณทั้งสิ้นอยู่ดี ทั้งการเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้ม คมช. และรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์, รณรงค์ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านประชามติ, ต่อต้าน พล.อ.เปรม, ลดความน่าเชื่อถือในสถาบันพระมหากษัตริย์, รณรงค์ให้การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น
ที่น่าจับตาที่สุด เห็นจะเป็นนายสมัคร สุนทรเวช ไม่รู้ว่าถูกเป่าหูโดยใครหรือไม่? จึงเที่ยวออกมาปกป้องคนนั้นคนนี้ พอรู้ว่าข่าวที่ปรากฏนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากผู้จัดการ ก็ไปหลงเชื่อคนอื่น ว่าเป็นฝีมือการประชาสัมพันธ์ของ “ไอ้หัวเถิก”
ทั้งๆ ที่เหตุแห่งปัญหาที่เกิดจากการกระทำที่ผ่านมานั้น กลับไม่มีใครดำเนินการใดๆ !?
สิ่งที่ต้องจับตาให้ดีคือ นายสมัคร สุนทรเวช จะถูกต้มจนเลือดสีน้ำเงินเจือจาง หรือแท้ที่จริงแล้วนายสมัครแกล้งโง่เพียงเพื่อรักษาเก้าอี้ตัวเองหรือไม่?
เปิดตัวชัดเจนเช่นนี้ก็ดี เพราะคนที่คิดไม่ดีกับบ้านกับเมือง คนที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย หวังว่าคงจะไปกับราหูคราวนี้เป็นแน่ !!