นม-เหล็ก ยื่นขอปรับราคา ยกเหตุผลต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น "ยรรยง" ขอดูข้อเท็จจริงก่อนไฟเขียวหรือไม่ ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ จะขอความร่วมมือตรึงราคาไปก่อน เตรียมจัดสารพัดธงฟ้า ช่วยพยุงค่าครองชีพ ทั้งชุดนักเรียน อาหาร สินค้าจำเป็น ราคาถูก
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสินค้าที่ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาเข้ามายังกรมฯเพิ่มเติมอีก 2 รายการ คือสินค้าเหล็ก และผลิตภัณฑ์นม โดยผู้ผลิตระบุเหตุผลวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งกรมฯจะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำสินค้าทั้ง 2 รายการ พิจารณาต้นทุนว่า จะให้ปรับขึ้นราคาหรือไม่ โดยดูข้อเท็จจริงเป็นเกณฑ์ ซึ่งหากจำเป็นต้องให้ปรับขึ้นราคา ก็ต้องให้ปรับ แต่จะไม่ใช่ในเร็วๆ เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังไม่เหมาะสม
ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก หรือสามารถจัดหาวัตถุดิบอื่นในราคาที่ถูกกว่ามาทดแทนได้ และมีการขอปรับราคาเข้ามา เช่น น้ำมันพืช กรมฯ จะขอความร่วมมือผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าไว้ก่อน
"การขอปรับขึ้นราคาสินค้า กรมฯยังยึดหลักเดิม คือสมเหตุสมผล ราคาเป็นธรรม และปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยได้แบ่งกลุ่มการดูแลออกเป็น 3 กลุ่ม ตามนโยบายของรมว.พาณิชย์ โดยกลุ่มแรก หรือสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น แบตเตอรี่ เหล็ก ปุ๋ยเคมี จะวิเคราะห์ต้นทุนเป็นพิเศษ เพื่อให้การปรับราคาเป็นธรรม ส่วน 2 กลุ่มหลัง คือใช้วัตถุดิบในประเทศ และใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ จะขอความร่วมมือตรึงราคาไว้ก่อน"
นายยรรยงกล่าวด้วยว่า มาตรการดูแลภาวะค่าครองชีพให้กับประชาชน กรมฯ จะใช้โครงการธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูก ออกมาช่วยเหลือประชาชน โดยขณะนี้ได้ขอความร่วมมือห้างค้าปลีก จัดมุมธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูกภายในห้างอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการ แบ็ค ทู สคูล ที่จำหน่ายชุดนักเรียน และอุปกรณ์นักเรียนในราคาพิเศษ ในช่วงใกล้เปิดเทอม
ส่วนของการดูแลอาหารสำเร็จรูป ได้มีการเพิ่มปริมาณร้านค้าภายใต้โครงการมิตรธงฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วทั่วประเทศ 3,200 แห่ง ส่วนร้างอาหารธงฟ้าดั้งเดิม ขณะนี้มีอยู่ 1,600 แห่ง และรถเข็นธงฟ้า มี 1,000 แห่ง คาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน นอกจากนี้ จะมีการจัดงานมหกรรมธงฟ้า ตามชุมชนที่มีผู้มีรายได้ต่ำในจังหวัดต่างๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเดือนพ.ค.นี้จะมีการจัดงานมหกรรมธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูกมากถึง 20 จังหวัด เพื่อช่วยเหลือภาระค่าครองชีพของประชาชน
สำหรับราคาหมู ขณะนี้ราคาลูกหมูได้ปรับลดลงมาแล้วอยู่ที่ตัวละ1,600 บาท จากเดิมตัวละ 1,800 บาท ทำให้ราคาหมูเป็นอยู่ที่กก.ละ 56-57 บาท ซึ่งมีผลต่อเนื้อหมูชำแหละให้ลดลงเหลือ 105-115 บาท และมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่านี้ หลังจากที่ประชาชนหันไปกินโปรตีนชนิดอื่นแทน เนื่องจากจากราคาหมูที่ปรับสูงขึ้นช่วงที่ผ่านมา
ส.อ.ท.เล็งเคาะต้นทุนจ่อขึ้นสินค้า
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ ส.อ.ท. อยู่ระหว่างทำตัวเลขต้นทุนการผลิตโดยรวม จากราคาวัตถุดิบต่างๆที่ปรับสูงขึ้น น้ำมัน น้ำตาลทราย และค่าจ้างแรง ว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนเท่าใด เพื่อเสนอรัฐบาลให้เป็นข้อมูลในการเสนอขอปรับราคสินค้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยไม่เห็นด้วยหากรัฐจะใช้นโยบายการตรึงราคา ขณะที่ต้นทุนภาคการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เว้นแต่การตรึงสินค้าที่มีการผูกขาดและตลาดไม่เกิดการแข่งขันเท่านั้นที่รัฐควรจะดูแล
โอดรัฐช่วยหลังน้ำตาลขึ้น
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่ราคาน้ำตาลทรายปรับขึ้นอีก 5 บาท ต่อกก. ผู้ประกอบการไม่ได้คาดคิดมาก่อนขณะที่มีการรับคำสั่งซื้อตั้งแต่ต้นปีทำให้ไม่ได้บวกต้นทุนนี้เข้าไป ประกอบกับต้นทุนอย่างอื่นก็ได้ปรับขึ้นแล้ว เช่น ค่าขนส่ง น้ำมัน วัตถุดิบ โดยเฉพาะกระป๋อง ที่คิดเป็นต้นทุนถึง 40% แถมยังจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่แรงงานเรียกร้อง จึงถือว่าเป็นภาวะลำบากสำหรับผู้ส่งออก ดังนั้นทางผู้ประกอบการกำลังจะเสนอขอให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยนำน้ำตาลโควต้า ค. มาช่วยบรรเทาผลกระทบ
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เสนอขอซื้อน้ำตาลทรายโควตา ค. หรือน้ำตาลทรายส่งออกมาผลิตอาหารว่า ภาครัฐได้ช่วยเหลืออยู่แล้ว ปกติแต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาการแจ้งไม่ชัดเจนว่า นำไปใช้ผลิตเพื่อการส่งออกอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาแนวทางที่จะตรวจสอบให้ชัดเจน และแก้ไขปัญหาของผู้ส่งออก
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสินค้าที่ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาเข้ามายังกรมฯเพิ่มเติมอีก 2 รายการ คือสินค้าเหล็ก และผลิตภัณฑ์นม โดยผู้ผลิตระบุเหตุผลวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งกรมฯจะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำสินค้าทั้ง 2 รายการ พิจารณาต้นทุนว่า จะให้ปรับขึ้นราคาหรือไม่ โดยดูข้อเท็จจริงเป็นเกณฑ์ ซึ่งหากจำเป็นต้องให้ปรับขึ้นราคา ก็ต้องให้ปรับ แต่จะไม่ใช่ในเร็วๆ เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังไม่เหมาะสม
ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก หรือสามารถจัดหาวัตถุดิบอื่นในราคาที่ถูกกว่ามาทดแทนได้ และมีการขอปรับราคาเข้ามา เช่น น้ำมันพืช กรมฯ จะขอความร่วมมือผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าไว้ก่อน
"การขอปรับขึ้นราคาสินค้า กรมฯยังยึดหลักเดิม คือสมเหตุสมผล ราคาเป็นธรรม และปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยได้แบ่งกลุ่มการดูแลออกเป็น 3 กลุ่ม ตามนโยบายของรมว.พาณิชย์ โดยกลุ่มแรก หรือสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น แบตเตอรี่ เหล็ก ปุ๋ยเคมี จะวิเคราะห์ต้นทุนเป็นพิเศษ เพื่อให้การปรับราคาเป็นธรรม ส่วน 2 กลุ่มหลัง คือใช้วัตถุดิบในประเทศ และใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ จะขอความร่วมมือตรึงราคาไว้ก่อน"
นายยรรยงกล่าวด้วยว่า มาตรการดูแลภาวะค่าครองชีพให้กับประชาชน กรมฯ จะใช้โครงการธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูก ออกมาช่วยเหลือประชาชน โดยขณะนี้ได้ขอความร่วมมือห้างค้าปลีก จัดมุมธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูกภายในห้างอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการ แบ็ค ทู สคูล ที่จำหน่ายชุดนักเรียน และอุปกรณ์นักเรียนในราคาพิเศษ ในช่วงใกล้เปิดเทอม
ส่วนของการดูแลอาหารสำเร็จรูป ได้มีการเพิ่มปริมาณร้านค้าภายใต้โครงการมิตรธงฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วทั่วประเทศ 3,200 แห่ง ส่วนร้างอาหารธงฟ้าดั้งเดิม ขณะนี้มีอยู่ 1,600 แห่ง และรถเข็นธงฟ้า มี 1,000 แห่ง คาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน นอกจากนี้ จะมีการจัดงานมหกรรมธงฟ้า ตามชุมชนที่มีผู้มีรายได้ต่ำในจังหวัดต่างๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเดือนพ.ค.นี้จะมีการจัดงานมหกรรมธงฟ้าจำหน่ายสินค้าราคาถูกมากถึง 20 จังหวัด เพื่อช่วยเหลือภาระค่าครองชีพของประชาชน
สำหรับราคาหมู ขณะนี้ราคาลูกหมูได้ปรับลดลงมาแล้วอยู่ที่ตัวละ1,600 บาท จากเดิมตัวละ 1,800 บาท ทำให้ราคาหมูเป็นอยู่ที่กก.ละ 56-57 บาท ซึ่งมีผลต่อเนื้อหมูชำแหละให้ลดลงเหลือ 105-115 บาท และมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่านี้ หลังจากที่ประชาชนหันไปกินโปรตีนชนิดอื่นแทน เนื่องจากจากราคาหมูที่ปรับสูงขึ้นช่วงที่ผ่านมา
ส.อ.ท.เล็งเคาะต้นทุนจ่อขึ้นสินค้า
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ ส.อ.ท. อยู่ระหว่างทำตัวเลขต้นทุนการผลิตโดยรวม จากราคาวัตถุดิบต่างๆที่ปรับสูงขึ้น น้ำมัน น้ำตาลทราย และค่าจ้างแรง ว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนเท่าใด เพื่อเสนอรัฐบาลให้เป็นข้อมูลในการเสนอขอปรับราคสินค้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยไม่เห็นด้วยหากรัฐจะใช้นโยบายการตรึงราคา ขณะที่ต้นทุนภาคการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เว้นแต่การตรึงสินค้าที่มีการผูกขาดและตลาดไม่เกิดการแข่งขันเท่านั้นที่รัฐควรจะดูแล
โอดรัฐช่วยหลังน้ำตาลขึ้น
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่ราคาน้ำตาลทรายปรับขึ้นอีก 5 บาท ต่อกก. ผู้ประกอบการไม่ได้คาดคิดมาก่อนขณะที่มีการรับคำสั่งซื้อตั้งแต่ต้นปีทำให้ไม่ได้บวกต้นทุนนี้เข้าไป ประกอบกับต้นทุนอย่างอื่นก็ได้ปรับขึ้นแล้ว เช่น ค่าขนส่ง น้ำมัน วัตถุดิบ โดยเฉพาะกระป๋อง ที่คิดเป็นต้นทุนถึง 40% แถมยังจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่แรงงานเรียกร้อง จึงถือว่าเป็นภาวะลำบากสำหรับผู้ส่งออก ดังนั้นทางผู้ประกอบการกำลังจะเสนอขอให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยนำน้ำตาลโควต้า ค. มาช่วยบรรเทาผลกระทบ
นายดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า กรณีที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เสนอขอซื้อน้ำตาลทรายโควตา ค. หรือน้ำตาลทรายส่งออกมาผลิตอาหารว่า ภาครัฐได้ช่วยเหลืออยู่แล้ว ปกติแต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาการแจ้งไม่ชัดเจนว่า นำไปใช้ผลิตเพื่อการส่งออกอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาแนวทางที่จะตรวจสอบให้ชัดเจน และแก้ไขปัญหาของผู้ส่งออก