เอเอฟพี - บรรดาผู้ผลิตนอกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)เวลานี้ ไม่มีความสามารถที่จะสูบน้ำมันขึ้นมาได้มากเพียงพอจนช่วยดึงให้ราคาน้ำมันดิบลดต่ำลงได้ สืบเนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มทวีขึ้น, การลงทุนที่ทำกันน้อยมาก, ตลอดจนแหล่งน้ำมันก็ถูกขุดเจาะขึ้นมาใช้กันอย่างหนักหน่วงแล้ว ทั้งนี้เป็นความเห็นของเหล่านักวิเคราะห์
ในระยะสั้นแล้ว "ไม่มีผู้ผลิตนอกโอเปกรายได้กำลังอยู่ในฐานะที่จะผลิตเพิ่มได้" เป็นทัศนะของ ฟรานซิส เปอแรง แห่ง วารสาร เปโตรล เอต์ กาซ์ อาระเบ "พวกเขากำลังขายน้ำมันทั้งหมดที่พวกเขาจะขุดเจาะขึ้นมาได้อยู่แล้ว"
ในทางตรงกันข้าม พวกประเทศสมาชิกโอเปก กลับยังมีน้ำมันสำรองในปริมาณเท่ากับ 2.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยที่ส่วนสำคัญจะอยู่ในความครอบครองของซาอุดีอาระเบีย
จนกระทั่งมาถึงระยะใกล้ๆ นี้เอง ตลาดเคยมีความคาดหวังว่าพวกผู้ผลิตนอกโอเปกจะสามารถสูบน้ำมันส่งมาขายในตลาดได้เพิ่มมากขึ้น แต่เวลานี้เหล่านักวิเคราะห์กำลังทบทวบลดตัวเลขคาดการณ์เรื่องนี้ลงมา สืบเนื่องจากผลประกอบการอันน่าผิดหวังทั้งของ เม็กซิโก, รัสเซีย, และบราซิล ไมก์ วิตต์เนอร์ แห่งธนาคาร โซซิเยเต้ เจเนราล บอก
ขณะที่ในระยะยาวแล้ว คาซัคสถาน, บราซิล, และแคนาดา อาจจะสามารถผลผลิตได้ ทว่า "มันก็ยากที่จะมาชดเชยการลดน้อยถอยลง" ของปริมาณน้ำมันที่อังกฤษและนอร์เวย์ขุดเจาะขึ้นมาได้จากแหล่งน้ำมันในทะเลเหนือ เปอแรงชี้
เขากล่าวต่อไปว่า สำหรับในสหรัฐฯนั้น "การพัฒนาแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งในอ่าวเม็กซิโก จะไม่เพียงพอที่จะชดเชยพวกแหล่งน้ำมันเก่าๆ ซึ่งกำลังขุดเจาะได้ลดน้อยลง"
ในบางประเทศ ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดการลงทุน ตัวอย่างเช่น เม็กซิโก กลุ่มบริษัทน้ำมันแห่งชาติ "เปเม็กซ์" ต้องส่งผลกำไรทั้งหมดให้แก่รัฐ ทำให้บริษัทไม่มีทุนที่จะใช้เสาะหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ
ส่วนในชาติผู้ผลิตนอกโอเปกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาซัคสถาน การผลิตก็ประสบอุปสรรคจากเรื่องความยากลำบากของภูมิประเทศ อย่างเช่นแหล่งน้ำมันที่พบอยู่ในระดับที่ลึกมากๆ
สำหรับแหล่งทรายน้ำมันในแคนาดา ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งที่มีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ทว่าการสกัดเอาน้ำมันดิบชนิดที่หนักมากเป็นพิเศษออกมา ยังคงมีอุปสรรคทางเทคนิคที่ซับซ้อนยากเย็นยิ่ง
ทางด้านรัสเซีย ซึ่งเวลานี้สามารถผลิตน้ำมันดิบได้ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกำลังท้าทายซาอุดีอาระเบียในตำแหน่งผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกนั้น เปอแรงก็มองว่ายังคงมี "เครื่องหมายคำถามอันโตๆ"
"การลงทุนยังมีไม่เพียงพอ และมันไม่ได้เป็นสถานที่น่าดึงดูใจสำหรับพวกบริษัทต่างชาติเลย" เขาแจกแจง "ยังมีพื้นที่จำนวนมากที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ โดยเฉพาะทางไซบีเรียตะวันออก ทว่าพื้นที่นั้นก็กว้างใหญ่และยากแก่การขุดเจาะสำรวจ"
ศาสตราจารย์ ฌอง-มารี เชวาลิเยร์ ยอมรับว่า "เรากำลังจะต้องพึ่งพาอาศัยโอเปกมากยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในอดีตด้วยซ้ำ"
ในระยะสั้นแล้ว "ไม่มีผู้ผลิตนอกโอเปกรายได้กำลังอยู่ในฐานะที่จะผลิตเพิ่มได้" เป็นทัศนะของ ฟรานซิส เปอแรง แห่ง วารสาร เปโตรล เอต์ กาซ์ อาระเบ "พวกเขากำลังขายน้ำมันทั้งหมดที่พวกเขาจะขุดเจาะขึ้นมาได้อยู่แล้ว"
ในทางตรงกันข้าม พวกประเทศสมาชิกโอเปก กลับยังมีน้ำมันสำรองในปริมาณเท่ากับ 2.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยที่ส่วนสำคัญจะอยู่ในความครอบครองของซาอุดีอาระเบีย
จนกระทั่งมาถึงระยะใกล้ๆ นี้เอง ตลาดเคยมีความคาดหวังว่าพวกผู้ผลิตนอกโอเปกจะสามารถสูบน้ำมันส่งมาขายในตลาดได้เพิ่มมากขึ้น แต่เวลานี้เหล่านักวิเคราะห์กำลังทบทวบลดตัวเลขคาดการณ์เรื่องนี้ลงมา สืบเนื่องจากผลประกอบการอันน่าผิดหวังทั้งของ เม็กซิโก, รัสเซีย, และบราซิล ไมก์ วิตต์เนอร์ แห่งธนาคาร โซซิเยเต้ เจเนราล บอก
ขณะที่ในระยะยาวแล้ว คาซัคสถาน, บราซิล, และแคนาดา อาจจะสามารถผลผลิตได้ ทว่า "มันก็ยากที่จะมาชดเชยการลดน้อยถอยลง" ของปริมาณน้ำมันที่อังกฤษและนอร์เวย์ขุดเจาะขึ้นมาได้จากแหล่งน้ำมันในทะเลเหนือ เปอแรงชี้
เขากล่าวต่อไปว่า สำหรับในสหรัฐฯนั้น "การพัฒนาแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งในอ่าวเม็กซิโก จะไม่เพียงพอที่จะชดเชยพวกแหล่งน้ำมันเก่าๆ ซึ่งกำลังขุดเจาะได้ลดน้อยลง"
ในบางประเทศ ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดการลงทุน ตัวอย่างเช่น เม็กซิโก กลุ่มบริษัทน้ำมันแห่งชาติ "เปเม็กซ์" ต้องส่งผลกำไรทั้งหมดให้แก่รัฐ ทำให้บริษัทไม่มีทุนที่จะใช้เสาะหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ
ส่วนในชาติผู้ผลิตนอกโอเปกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาซัคสถาน การผลิตก็ประสบอุปสรรคจากเรื่องความยากลำบากของภูมิประเทศ อย่างเช่นแหล่งน้ำมันที่พบอยู่ในระดับที่ลึกมากๆ
สำหรับแหล่งทรายน้ำมันในแคนาดา ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งที่มีน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ทว่าการสกัดเอาน้ำมันดิบชนิดที่หนักมากเป็นพิเศษออกมา ยังคงมีอุปสรรคทางเทคนิคที่ซับซ้อนยากเย็นยิ่ง
ทางด้านรัสเซีย ซึ่งเวลานี้สามารถผลิตน้ำมันดิบได้ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกำลังท้าทายซาอุดีอาระเบียในตำแหน่งผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกนั้น เปอแรงก็มองว่ายังคงมี "เครื่องหมายคำถามอันโตๆ"
"การลงทุนยังมีไม่เพียงพอ และมันไม่ได้เป็นสถานที่น่าดึงดูใจสำหรับพวกบริษัทต่างชาติเลย" เขาแจกแจง "ยังมีพื้นที่จำนวนมากที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ โดยเฉพาะทางไซบีเรียตะวันออก ทว่าพื้นที่นั้นก็กว้างใหญ่และยากแก่การขุดเจาะสำรวจ"
ศาสตราจารย์ ฌอง-มารี เชวาลิเยร์ ยอมรับว่า "เรากำลังจะต้องพึ่งพาอาศัยโอเปกมากยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในอดีตด้วยซ้ำ"