เอเอฟพี/รอยเตอร์ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ทั้งด้านพนักงานและสิทธิการลงมติของประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งตอบสนองต่อปัญหาของสมาชิกได้ดีขึ้น
ด้านการพนักงานนั้น ไอเอ็มเอฟได้เสนอแผนเกษียณก่อนกำหนดอายุสำหรับพนักงานขึ้น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาปัญหาด้านการเงินขององค์กร ปรากฏว่ามีพนักงานราว 591 คนจากทั้งหมด 2,900 คนสมัครเข้าแผนดังกล่าว ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่จะลดพนักงานเพียงราว 380 ตำแหน่ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารลง 13.5% ในช่วงสามปีข้างหน้า
โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟกล่าวว่า จำนวนพนักงานที่สมัครในแผนเกษียณอายุก่อนกำหนดนี้ ทำให้เห็นว่าข้อเสนอที่ไอเอ็มเอฟให้นั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้มีแหล่งข่าวรายหนึ่งเผยกับเอเอฟพีว่า พนักงานจะได้รับเงินชดเชยคิดเป็นเงินเดือนหนึ่งปีครึ่ง
ไอเอ็มเอฟเองแถลงว่า จากจำนวนผู้สมัครใจออก 591 คน มีราว 100-125 คนที่เป็นพนักงานระดับกลาง ซึ่งจะไม่ได้รับอนุมัติให้เข้าโครงการนี้ สำหรับพนักงานอาวุโสที่สมัครใจและจะได้รับอนุมัตินั้น มีที่เป็นระดับผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ รวม 6 คน รวมทั้ง เดวิด เบอร์ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิก
ขณะที่สเตราส์-คาห์นแจกแจงเพิ่มเติมว่า การที่มีผู้สมัครใจออกมากกว่าที่คาด จะทำให้ไอเอ็มเอฟสามารถเริ่มว่าจ้างพนักงานใหม่ๆ โดยเฉพาะพวกผู้เชี่ยวชาญตลาดการเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการสร้างองค์กรให้เข้มแข็งในด้านนี้ อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า มีปัญหานิดหน่อยเรื่องที่จำนวนนักเศรษฐศาสตร์ระดับกลางที่สมัครใจลาออกมีมากกว่าที่คาดไว้
นอกเหนือจากด้านการพนักงาน ไอเอ็มเอฟแถลงในวันอังคาร(29)ว่า บรรดาประเทศสมาชิกของไอเอ็มเอฟ ได้ลงคะแนนเห็นชอบให้มีการปฎิรูประบบการออกเสียงและระบบโควตาเสียใหม่ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจใหม่ มีสิทธิ์มีเสียงเพิ่มขึ้น
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่ามีประเทศสมาชิก 175 แห่งจากทั้งหมด 185 แห่ง ออกเสียงอนุมัติการปฏิรูปครั้งนี้ และรวมแล้วถือเป็น 92.86% ของสิทธิการออกเสียง ทั้งนี้สมาชิกไอเอ็มเอฟมีสิทธิในการออกเสียงไม่เท่ากัน โดยอิงอยู่กับจำนวนเงินค่าบำรุงที่จ่ายให้องค์กร และ ตามระเบียบของไอเอ็มเอฟ การเปลี่ยนแปลงอย่างเรื่องการปฏิรูปเช่นนี้ จะต้องได้เสียงมากกว่า 85%
การปฏิรูปจะทำให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วยกสิทธิในการออกเสียงให้กับประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ราวประเทศละ 1.6% กระนั้น บรรดานักวิเคราะห์ก็วิจารณ์ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น้อยเกินไป และไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นธรรมในหมู่สมาชิกที่จะมีส่วนในการตัดสินใจของไอเอ็มเอฟมากขึ้นแต่อย่างใด
ด้านการพนักงานนั้น ไอเอ็มเอฟได้เสนอแผนเกษียณก่อนกำหนดอายุสำหรับพนักงานขึ้น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาปัญหาด้านการเงินขององค์กร ปรากฏว่ามีพนักงานราว 591 คนจากทั้งหมด 2,900 คนสมัครเข้าแผนดังกล่าว ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่จะลดพนักงานเพียงราว 380 ตำแหน่ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารลง 13.5% ในช่วงสามปีข้างหน้า
โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟกล่าวว่า จำนวนพนักงานที่สมัครในแผนเกษียณอายุก่อนกำหนดนี้ ทำให้เห็นว่าข้อเสนอที่ไอเอ็มเอฟให้นั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้มีแหล่งข่าวรายหนึ่งเผยกับเอเอฟพีว่า พนักงานจะได้รับเงินชดเชยคิดเป็นเงินเดือนหนึ่งปีครึ่ง
ไอเอ็มเอฟเองแถลงว่า จากจำนวนผู้สมัครใจออก 591 คน มีราว 100-125 คนที่เป็นพนักงานระดับกลาง ซึ่งจะไม่ได้รับอนุมัติให้เข้าโครงการนี้ สำหรับพนักงานอาวุโสที่สมัครใจและจะได้รับอนุมัตินั้น มีที่เป็นระดับผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ รวม 6 คน รวมทั้ง เดวิด เบอร์ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิก
ขณะที่สเตราส์-คาห์นแจกแจงเพิ่มเติมว่า การที่มีผู้สมัครใจออกมากกว่าที่คาด จะทำให้ไอเอ็มเอฟสามารถเริ่มว่าจ้างพนักงานใหม่ๆ โดยเฉพาะพวกผู้เชี่ยวชาญตลาดการเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการสร้างองค์กรให้เข้มแข็งในด้านนี้ อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า มีปัญหานิดหน่อยเรื่องที่จำนวนนักเศรษฐศาสตร์ระดับกลางที่สมัครใจลาออกมีมากกว่าที่คาดไว้
นอกเหนือจากด้านการพนักงาน ไอเอ็มเอฟแถลงในวันอังคาร(29)ว่า บรรดาประเทศสมาชิกของไอเอ็มเอฟ ได้ลงคะแนนเห็นชอบให้มีการปฎิรูประบบการออกเสียงและระบบโควตาเสียใหม่ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจใหม่ มีสิทธิ์มีเสียงเพิ่มขึ้น
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่ามีประเทศสมาชิก 175 แห่งจากทั้งหมด 185 แห่ง ออกเสียงอนุมัติการปฏิรูปครั้งนี้ และรวมแล้วถือเป็น 92.86% ของสิทธิการออกเสียง ทั้งนี้สมาชิกไอเอ็มเอฟมีสิทธิในการออกเสียงไม่เท่ากัน โดยอิงอยู่กับจำนวนเงินค่าบำรุงที่จ่ายให้องค์กร และ ตามระเบียบของไอเอ็มเอฟ การเปลี่ยนแปลงอย่างเรื่องการปฏิรูปเช่นนี้ จะต้องได้เสียงมากกว่า 85%
การปฏิรูปจะทำให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วยกสิทธิในการออกเสียงให้กับประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ราวประเทศละ 1.6% กระนั้น บรรดานักวิเคราะห์ก็วิจารณ์ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น้อยเกินไป และไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นธรรมในหมู่สมาชิกที่จะมีส่วนในการตัดสินใจของไอเอ็มเอฟมากขึ้นแต่อย่างใด