เคยคิดกันบ้างหรือเปล่าว่า การทำโพลในบ้านเมืองของเรานั้น น่าจะต้องหาทางคิดกันให้นอกกรอบ ออกจากความจำเจกันบ้าง
เพราะที่ผ่านมานั้น จากข้อสังเกตของกระผม มีความเห็นอยู่สองสามประเด็นว่า การทำโพลของเรานั้น ถ้าเป็นเรื่องการเมืองแล้วละก็ มักจะตั้งคำถามเดิมๆ และซ้ำซาก ทำให้น่าเบื่อหน่าย เช่น เรื่องอยากให้ใครเป็นนายกฯ ซึ่งตัวเลือกก็มีน้อยอยู่แล้ว เท่ากับเป็นการบังคับตอบ
ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ การเมืองนั้น มักเป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงกันเร็วแบบสุดขั้ว
โพลจึงได้คำตอบแบบ “เฉพาะกาลเวลาเดียว” ไม่คลุมระยะที่มีผลยาวนาน
อีกประการหนึ่ง คือการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งคลุมเครือเรื่องประชากรไม่ดูสัดส่วน ระหว่างคนส่วนใหญ่และพื้นที่คนในต่างจังหวัดกับคนในย่านชุมชนเมือง
สองชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การมองโลกต่างกันไป ความนึกคิดทางการเมืองไม่เหมือนกัน และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส.ก็ไม่ตรงกัน
ดังนั้น ผลของโพลจึงไม่ตรงกับความจริง
ข้อสังเกตที่ผมอยากพูดในประการสุดท้าย และเป็นเรื่องที่ผมอยากเห็นผู้ทำโพลลองทำกัน คืออยากให้ทำโพลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทย, พฤติกรรมการบริโภคหรือแม้แต่รสนิยมและการใช้ชีวิต เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้เป็นมิติทางสังคม ซึ่งจะสะท้อนยุคสมัยและจะเป็นประวัติทางสังคมได้
นี่คือการพลิกโฉมกับการทำโพลได้
ทดลองทำดูนะครับ
พูดถึงเรื่องนี้ ก็มีตัวอย่างให้ดูเหมือนกัน เป็นตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำไว้หลายเรื่องพอสมควร
เรื่องแรก เขาถามว่า “อะไรเป็นสิ่งที่ชีวิตคุณจะขาดไม่ได้”
ลำดับแรก(ตอบมากที่สุด) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล74.6%
สอง (ตอบมากที่สุด) คือ ตู้เย็นพร้อมตู้แช่แข็ง59.6%
สาม (ตอบมากที่สุด) คือ รถยนต์46.2%
สี่ (ตอบมากที่สุด) คือ ไมโครเวฟ44.8%
ห้า(ตอบมากที่สุด) คือ เครื่องปรับอากาศ41.8%
หก (ตอบมากที่สุด) คือ ผลิตภัณฑ์เสริมสวย22.5%
เจ็ด (ตอบมากที่สุด) คือ อาหารปรุงล่วงหน้า19.1%
แปด(ตอบมากที่สุด) คือ อาหารถุงต้มกินได้/อาหารแช่แข็ง 14.7%
เก้า (ตอบมากที่สุด) คือ บุหรี่12.7%
สิบ (ตอบมากที่สุด) คือ นาฬิกาข้อมือ11.6%
ข้อน่าสังเกตคือลำดับแรกมีความสำคัญ เพราะมันคือยุคสมัยของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ในบ้านเชื่อมต่อกับโลกกว้างได้ง่าย
แต่อีก 6 อย่าง เป็นของใช้ในบ้าน คือ ตู้เย็น, ไมโครเวฟ, เครื่องปรับอากาศ, ผลิตภัณฑ์เสริมสวย, อาหารปรุง, อาหารถุง เป็นต้น
สะท้อนภาพว่าของจำเป็นล้วนติดบ้าน ซึ่งให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน และมีวิถีชีวิตอยู่กับอาหารมากแค่ไหน รถยนต์, บุหรี่ และนาฬิกาข้อมือถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัวครับ
เรื่องที่สอง คุณได้ความคิดดีๆ เกิดขึ้นขณะทำอะไรและที่ไหน
1. ตอนนอนในเตียง29.7
2. นอนในอ่างน้ำ21.8
3. ไม่ทราบ/ไม่มีที่ไหน16.7
4.ในรถยนต์15.9
5. ในที่ทำงาน15.1
6. ในส้วม12.7
7. ในห้องนั่งเล่น11.6
8. ในรถไฟ11.3
9. ผมคิดของใหม่ได้เรื่อยๆ11.3
พอเห็นได้แล้วว่า ความคิดดีๆ เกิดขึ้น เมื่ออยู่คนเดียวในบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
เรื่องที่สาม อะไรคือลักษณะของคนที่มีความสามารถ
1. สามารถคบหาสมาคมมีเพื่อนทั้งแก่กว่าและอ่อนกว่าไปพร้อมๆ กันได้
2. สามารถจ่ายเงินไปเที่ยววันหยุดได้อย่างสม่ำเสมอที่ต้องการจะไป
3. ไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา
4. ต้องคิดถึงชีวิตส่วนตัวให้มากขึ้น
5. รู้จักแบ่งปันงานให้คนอื่นทำบ้าง
6. พูดให้ง่ายๆ ฟังได้ง่าย
7. มีคำพูดที่เป็นของตัวเอง (ไม่ใช่อ้างจากคนอื่น)
8. มีความสามารถที่จะมีข้อมูลที่ยังไม่ได้รวบรวมมากมาย
9. รู้จักนึกถึงหัวอกคนอื่นๆ
10. เป็นคนที่มีบุคลิกภาพและแต่งกายดูดี
ก็เห็นได้อีกว่าคนญี่ปุ่น อยากเห็นคนที่มีความสามารถ “มีน้ำใจ” นั่นเอง และเป็นคนที่ง่าย อีกทั้งยังต้อง “ดูดี” ด้วยครับ
เรื่องสุดท้าย ถามถึงภาพยนตร์ที่ดูล่าสุด พบว่าดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นถึง 5 เรื่องใน 10 เรื่อง
ภาพยนตร์ต่างประเทศที่ดูคือ อลิซาเบธ (The Golden Age) Mr.Magorium’s Wonder Emporium, Earth, American Ganster, The Demon Barber of Fleet Street
ครับ... โพลหรือการสำรวจบ้านเรา นานๆ ทำแบบนี้ดูบ้าง ก็ไม่น่าเกลียดอะไรนะ.
เพราะที่ผ่านมานั้น จากข้อสังเกตของกระผม มีความเห็นอยู่สองสามประเด็นว่า การทำโพลของเรานั้น ถ้าเป็นเรื่องการเมืองแล้วละก็ มักจะตั้งคำถามเดิมๆ และซ้ำซาก ทำให้น่าเบื่อหน่าย เช่น เรื่องอยากให้ใครเป็นนายกฯ ซึ่งตัวเลือกก็มีน้อยอยู่แล้ว เท่ากับเป็นการบังคับตอบ
ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ การเมืองนั้น มักเป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงกันเร็วแบบสุดขั้ว
โพลจึงได้คำตอบแบบ “เฉพาะกาลเวลาเดียว” ไม่คลุมระยะที่มีผลยาวนาน
อีกประการหนึ่ง คือการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งคลุมเครือเรื่องประชากรไม่ดูสัดส่วน ระหว่างคนส่วนใหญ่และพื้นที่คนในต่างจังหวัดกับคนในย่านชุมชนเมือง
สองชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การมองโลกต่างกันไป ความนึกคิดทางการเมืองไม่เหมือนกัน และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส.ก็ไม่ตรงกัน
ดังนั้น ผลของโพลจึงไม่ตรงกับความจริง
ข้อสังเกตที่ผมอยากพูดในประการสุดท้าย และเป็นเรื่องที่ผมอยากเห็นผู้ทำโพลลองทำกัน คืออยากให้ทำโพลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทย, พฤติกรรมการบริโภคหรือแม้แต่รสนิยมและการใช้ชีวิต เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้เป็นมิติทางสังคม ซึ่งจะสะท้อนยุคสมัยและจะเป็นประวัติทางสังคมได้
นี่คือการพลิกโฉมกับการทำโพลได้
ทดลองทำดูนะครับ
พูดถึงเรื่องนี้ ก็มีตัวอย่างให้ดูเหมือนกัน เป็นตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำไว้หลายเรื่องพอสมควร
เรื่องแรก เขาถามว่า “อะไรเป็นสิ่งที่ชีวิตคุณจะขาดไม่ได้”
ลำดับแรก(ตอบมากที่สุด) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล74.6%
สอง (ตอบมากที่สุด) คือ ตู้เย็นพร้อมตู้แช่แข็ง59.6%
สาม (ตอบมากที่สุด) คือ รถยนต์46.2%
สี่ (ตอบมากที่สุด) คือ ไมโครเวฟ44.8%
ห้า(ตอบมากที่สุด) คือ เครื่องปรับอากาศ41.8%
หก (ตอบมากที่สุด) คือ ผลิตภัณฑ์เสริมสวย22.5%
เจ็ด (ตอบมากที่สุด) คือ อาหารปรุงล่วงหน้า19.1%
แปด(ตอบมากที่สุด) คือ อาหารถุงต้มกินได้/อาหารแช่แข็ง 14.7%
เก้า (ตอบมากที่สุด) คือ บุหรี่12.7%
สิบ (ตอบมากที่สุด) คือ นาฬิกาข้อมือ11.6%
ข้อน่าสังเกตคือลำดับแรกมีความสำคัญ เพราะมันคือยุคสมัยของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ในบ้านเชื่อมต่อกับโลกกว้างได้ง่าย
แต่อีก 6 อย่าง เป็นของใช้ในบ้าน คือ ตู้เย็น, ไมโครเวฟ, เครื่องปรับอากาศ, ผลิตภัณฑ์เสริมสวย, อาหารปรุง, อาหารถุง เป็นต้น
สะท้อนภาพว่าของจำเป็นล้วนติดบ้าน ซึ่งให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน และมีวิถีชีวิตอยู่กับอาหารมากแค่ไหน รถยนต์, บุหรี่ และนาฬิกาข้อมือถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัวครับ
เรื่องที่สอง คุณได้ความคิดดีๆ เกิดขึ้นขณะทำอะไรและที่ไหน
1. ตอนนอนในเตียง29.7
2. นอนในอ่างน้ำ21.8
3. ไม่ทราบ/ไม่มีที่ไหน16.7
4.ในรถยนต์15.9
5. ในที่ทำงาน15.1
6. ในส้วม12.7
7. ในห้องนั่งเล่น11.6
8. ในรถไฟ11.3
9. ผมคิดของใหม่ได้เรื่อยๆ11.3
พอเห็นได้แล้วว่า ความคิดดีๆ เกิดขึ้น เมื่ออยู่คนเดียวในบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
เรื่องที่สาม อะไรคือลักษณะของคนที่มีความสามารถ
1. สามารถคบหาสมาคมมีเพื่อนทั้งแก่กว่าและอ่อนกว่าไปพร้อมๆ กันได้
2. สามารถจ่ายเงินไปเที่ยววันหยุดได้อย่างสม่ำเสมอที่ต้องการจะไป
3. ไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา
4. ต้องคิดถึงชีวิตส่วนตัวให้มากขึ้น
5. รู้จักแบ่งปันงานให้คนอื่นทำบ้าง
6. พูดให้ง่ายๆ ฟังได้ง่าย
7. มีคำพูดที่เป็นของตัวเอง (ไม่ใช่อ้างจากคนอื่น)
8. มีความสามารถที่จะมีข้อมูลที่ยังไม่ได้รวบรวมมากมาย
9. รู้จักนึกถึงหัวอกคนอื่นๆ
10. เป็นคนที่มีบุคลิกภาพและแต่งกายดูดี
ก็เห็นได้อีกว่าคนญี่ปุ่น อยากเห็นคนที่มีความสามารถ “มีน้ำใจ” นั่นเอง และเป็นคนที่ง่าย อีกทั้งยังต้อง “ดูดี” ด้วยครับ
เรื่องสุดท้าย ถามถึงภาพยนตร์ที่ดูล่าสุด พบว่าดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นถึง 5 เรื่องใน 10 เรื่อง
ภาพยนตร์ต่างประเทศที่ดูคือ อลิซาเบธ (The Golden Age) Mr.Magorium’s Wonder Emporium, Earth, American Ganster, The Demon Barber of Fleet Street
ครับ... โพลหรือการสำรวจบ้านเรา นานๆ ทำแบบนี้ดูบ้าง ก็ไม่น่าเกลียดอะไรนะ.