ผู้จัดการรายวัน –ครม.ไฟเขียว ดัน”ข้าวถุงธงฟ้ามหาชน” ขายถูกกว่าตลาด 20 % คาดเริ่มขายได้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าขายแค่สิ้นปีนี้ ”หมัก”แจงเหตุกลับลำทำข้าวถุงขายเพราะเป็นการถ่วงน้ำหนักขายให้ถูกกว่าแล้วเอาเงินที่ได้ไปซื้อขายใหม่มาเก็บในสต็อก จับตามั่วข้าวโกดังที่หายไปจับมือใครดมไม่ได้ หวั่นชาวนาแห่ปลูกข้าวเจ็บหนักหลังข้าวฤดูกาลใหม่ออกสู่ตลาด คาดราคาอาจลดเหลือตันละ 7,000 บาท เตือนรัฐฯวางแผนพยุงราคาช่วยชาวนาที่แบกรับต้นทุนเพิ่มเท่าตัว ด้านนายกฯสมาคมโรงสี แฉวงการค้าข้าวปั่นราคาสูงเกินจริง 20% โดยผู้ค้าข้าวรายใหญ่ที่คุมตลาดภายในและต่างประเทศเป็นตัวการ
วานนี้ (29 เม.ย.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาวิกฤติข้าวในประเทศว่า ครม. อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ นำข้าวในสต็อกของรัฐบาล จำนวน 2.1 ล้านตัน ทำข้าวถุงราคาถูกจำหน่ายให้ประชาชน โดยอาจจะใช้ชื่อว่า “ธงฟ้ามหาชน” อย่างไรก็ตาม ล็อตแรกจะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งมีเครื่องมือบรรจุและถุงที่ชื่อว่าธงฟ้า ทำไปก่อนเพื่อจำหน่ายให้กับประชาชน โดยจะมีการหมุนเวียนซื้อ และจำหน่ายเพื่อนำเงินมาบริหารจัดการ โดยไม่ใช่งบประมาณของรัฐ ทั้งนี้จะมีทั้งข้าวหอมมะลิ และข้าวขาวทุกประเภท
นอกจากนี้ราคาข้าวถุงก็จะถูกกว่าท้องตลาด 20% โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและ ส.ส.ในพื้นที่ร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการจำหน่ายข้าวถุงของจังหวัดตัวเอง
"คาดว่าจะทำข้าวถุงธงฟ้า ขายไปถึงสินปี 51 แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของคณะกรรมการชุดพิเศษที่ ครม.ให้ตั้งขึ้นมา (คณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ) เพราะเราไม่ต้องการให้ข้าวถุงในตลาดสูง ขึ้นมากกว่าปัจจุบัน"
ทั้งนี้ รัฐบาลยังจะเดินหน้าส่งออกข้าว ให้ได้อีกประมาณ 9 ล้านตัน และจะเป็น 9 ล้านตันบวก ในอนาคต
ข้าวธงฟ้าขายถุงละ170 บาท
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าว ว่า ที่ประชุมครม.ได้ดำเนินการ เรื่องข้าว โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมาบอกว่าไม่อยากเอาข้าวมาใส่ถุงขาย เพื่อให้ราคาถูกเอาหน้ากับประชาชน ที่มีสต็อกข้าวไว้ 2.1 ล้าน วันนี้ครม.ได้ลงมติเห็นชอบว่าต้องทำข้าวหลายส่วน ข้าวหอมมะลิ ข้าว 5% ต้องมาใส่ถุงเป็นการถ่วงน้ำหนัก เขาขายกัน 200 เราขาย 170 แล้วเงินที่ขายได้ทั้งหมดจะไปซื้อข้าวใหม่ซึ่งราคาปกติแพงเข้าไปเก็บในสต็อก
ขณะที่ข้าวล๊อตแรกที่จะออกจำหน่ายจำนวนเท่าไร นั้น นายสมัคร กล่าวว่า เราอนุญาตทั้งหมด 2.1 ล้านตัน และเขาก็ทยอยทำ ทยอยซื้อมาเก็บและทยอยขายอีก 2 สัปดาห์เริ่มได้ ทั้งนี้ข้าวที่จะขายถุงละ 170 บาท ต่อถุง 5 กิโลกรัม เป็นข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ หากเป็นข้าวหอมมะลิก็จะแพงขึ้นนิดหนึ่ง ถ้าข้าว 25 เปอร์เซ็นต์ก็จะถูกลงไปอีก
2 สัปดาห์ข้าวถึงมือประชาชน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ครม.ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ เพื่อทำข้าวถุงราคาถูกจำหน่ายให้ประชาชน โดยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และพิจารณาว่า จะนำข้าวจำนวนเท่าใดมาจำหน่ายเป็นล็อตแรก และราคาเท่าใด รวมทั้งพิจารณาการซื้อข้าวคืนจากเกษตรกร เพื่อคงสต็อกของรัฐบาลไว้
โดยการจำหน่าย จะจำหน่ายผ่านช่องทางของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ถึงมือประชาชน ซึ่งจะไม่ให้จำหน่ายผ่านช่องทางการค้าปกติ ป้องกันการเก็งกำไร อย่างไรก็ตาม ภายใน 2 สัปดาห์ เชื่อว่าข้าวจะถึงมือประชาชน
หวั่นมั่วข้าวในสต็อกที่หายไป
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการข้าว กล่าวถึงว่าการที่รัฐพยายามผลักดันข้าวถุงราคาถูกออกมาจำหน่าย เนื่องจากปัญหาที่ของกระทรวงพาณิชย์นั้นเดิมมีปัญหาข้าวในสต็อกโกดังได้มีการสุญหายไปจำนวนมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ถึงกับใช้ทหารไปเฝ้าโกดังข้าวและมายุคนี้ก็มีปัญหาข้าวหายเช่นกัน และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้าวที่หายไป แต่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเป็นอดีตอธิบดีกรมการค้าภายในที่เข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าว่าข้าวหายไปไหน จำนวนเท่าไร ที่แน่นอนจึงไม่มีตัวเลขข้าวที่หายไปในสต็อกว่าหายไปเท่าไร หากมีการนำข้าวในสต็อกของรัฐออกมาจำหน่าย ก็ยิ่งทำให้ตัวเลขข้าวในสต็อกเกิดความสับสน และไม่สามารถแยกแยะข้าวที่หายไปได้ ที่สำคัญยังไม่สามารถจับมือใครดมได้ว่า ข้าวหายไปไหน
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องทำการควบคุมอย่างใกล้ชิด อย่าให้มีการรั่วไหล หรือมีพ่อค้าคนกลางที่ส่งออกหรือผู้ผลิตข้าวถุงมีการหมุนเวียนมาซื้อข้าวราคาถูกไปกักตุนหรือจำหน่ายอีกทอด ขณะที่ข้าวในตลาดทั่วไปและข้าวถุงที่จำหน่ายในห้างโมเดิรน์เทรด มีความแตกต่างกัน และยังไม่สามารถหาซื้อข้าวถุงตามราคาที่รัฐกำหนดได้ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ห้างโมเดิรน์เทรดกำหนดไว้ เช่น การส่งข้าวให้ครบตามจำนวนแล้วจะผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระเงินให้เร็วขึ้น นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ประกอบข้าวในสต็อกของรัฐมีการสูญหายไปไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงต้องมีการผลักดันการทำข้าวถุงในราคาถูกออกมาจำหน่าย
แฉตัวการปั่นราคา - ชาวนาเสี่ยงเจ๊ง
นางกิมอั้ง พงษ์นารายณ์ ชาวนาข้าวนาปรัง จงชัยนาท เปิดเผยในเวที “ข้าวแพง ชาวนาได้ประโยชน์จริงหรือ” จัดโดยมูลนิธิผู้บริโภคและเครือข่าย เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ชาวนาในเขตภาคกลางที่เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวปรังเพราะเห็นว่าราคาข้าวแพง ต่างหวั่นเกรงว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวราคาข้าวอาจจะลดต่ำลงมาเพราะเป็นช่วงใกล้เคียงกันกับที่ข้าวนาปีจะออกสู่ตลาด หากราคาข้าวเหลือตันละ 7,000 – 8,000 บาท จะส่งผลให้ชาวนาซึ่งมีต้นทุนในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเสี่ยงต่อการขาดทุน
"ชาวนามีแต่ความเสี่ยงทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งโรคระบาดและศัตรูพืช แต่หนี้ธ.ก.ส.ที่กู้มาต้องชำระตามนัดทุกๆ 4 เดือน ไม่มีโอกาสเก็บข้าวไว้เพื่อรอราคา ถ้าข้าวราคาไม่ดีหรือผลผลิตไม่ได้ ก็ต้องขายที่นาชำระหนี้"นางกิมอั้ง กล่าว
ชาวนาปรังจากจ.ชัยนาท กล่าวถึงต้นทุนการทำนาที่เพิ่มขึ้นว่า จากเดิมต้นทุนการทำนาโดยรวมเฉลี่ยตกไร่ละประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อไร่ ขณะที่ราคาข้าวตกตันละประมาณ 5,000 บาท แต่เวลานี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่านาจากไร่ละ 500 บาท ปรับเพิ่มเป็น 2,000 บาท/ไร่/ครั้ง ปีหนึ่งๆ ทำนา 3 ครั้ง เฉพาะค่าเช่าตกเฉลี่ยไร่ละ 6,000 บาท เพราะเจ้าของที่ดินเห็นว่าข้าวมีราคาแพง
นายวิโรจน์ เหล่าประภัสสร กรรมการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า นับจากนี้อีก 2 – 3 ปีราคาข้าวจะตกต่ำเหมือนในอดีตคงจะยาก แต่เมื่อราคาข้าวไต่ระดับสูงขึ้นไปมาก การสั่งซื้อก็จะชะลอตัวลงตามกลไกตลาด ขณะนี้วงการส่งออกข้าว ประเมินกันภายในว่า ตัวเลขส่งออกข้าวจะลดต่ำลงจากเดือนละ 1 ล้านตันเหลือ ประมาณ 7 แสนตัน แต่เรื่องที่น่าห่วงคือในช่วงเดือน ต.ค.ไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งข้าวนาปีจะออกสู่ตลาดจะกดราคาลดต่ำลงจึงต้องมีจิตวิทยารักษาระดับราคาให้อยู่ที่ 10,000 – 11,000 บาทต่อตัน เพื่อให้ชาวนาอยู่ได้จากปัจจัยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐฯสามารถทำได้โดยเก็บสต็อกข้าวเป็นข้าวเปลือก และทำสัญญากับคู่ค้าล่วงหน้า
ทางด้านนายปราโมทย์ วานิชชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า วงการค้าข้าวทั้งผู้ส่งออกและโรงสี ประเมินกันว่าฤดูข้าวใหม่ที่จะออกมาในรอบหน้าถ้าผลผลิตดีในทุกประเทศผู้ผลิตข้าวทั้งไทย เวียดนาม อินเดีย อาจทำให้ราคาข้าวลดต่ำลงมาเหลือประมาณ 7,000 – 8,000 บาท/ตัน ดังนั้นรัฐบาล ต้องเปิดเกมรุกวางแผนล่วงหน้าเพื่อพยุงราคาข้าวในฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาด้วย
นายปราโมทย์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากข้าวที่ซื้อมาจากชาวนาในราคาตันละ 6,000 – 7,000 บาทในช่วงต้นปีเพิ่มพรวดขึ้นเป็น 13,000 บาท/ตันในเวลานี้ มีผู้ได้ประโยชน์เต็มๆ คือ พ่อค้าข้าวในประเทศและผู้ส่งออกข้าว โดยเฉพาะผู้ค้าข้าวรายใหญ่ในตลาดที่คุมตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งสามารถเล่นราคาในสองตลาดได้ ทำให้ผู้บริโภคข้าวภายในประเทศต้องซื้อข้าแพงกว่าข้าวที่ส่งออก การทำข้าวถุงธงฟ้าของรัฐบาลจะช่วยสกัดการเก็งกำไร
"วงการค้าข้าวมีการปั่นราคากันจริง ผู้ส่งออกยอมรับว่า ราคาข้าวสูงเกินจริงถึง 20% มีผู้ค้าข้าวที่อยู่ในกระบวนการเก็งกำไร ปั่นราคาจากการค้าข้าว ร่ำรวยเป็นพันล้านในช่วงเวลาเพียง 4 เดือน" นายปราโมทย์ กล่าว
วานนี้ (29 เม.ย.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาวิกฤติข้าวในประเทศว่า ครม. อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ นำข้าวในสต็อกของรัฐบาล จำนวน 2.1 ล้านตัน ทำข้าวถุงราคาถูกจำหน่ายให้ประชาชน โดยอาจจะใช้ชื่อว่า “ธงฟ้ามหาชน” อย่างไรก็ตาม ล็อตแรกจะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งมีเครื่องมือบรรจุและถุงที่ชื่อว่าธงฟ้า ทำไปก่อนเพื่อจำหน่ายให้กับประชาชน โดยจะมีการหมุนเวียนซื้อ และจำหน่ายเพื่อนำเงินมาบริหารจัดการ โดยไม่ใช่งบประมาณของรัฐ ทั้งนี้จะมีทั้งข้าวหอมมะลิ และข้าวขาวทุกประเภท
นอกจากนี้ราคาข้าวถุงก็จะถูกกว่าท้องตลาด 20% โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและ ส.ส.ในพื้นที่ร่วมรับผิดชอบในการบริหารจัดการจำหน่ายข้าวถุงของจังหวัดตัวเอง
"คาดว่าจะทำข้าวถุงธงฟ้า ขายไปถึงสินปี 51 แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของคณะกรรมการชุดพิเศษที่ ครม.ให้ตั้งขึ้นมา (คณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ) เพราะเราไม่ต้องการให้ข้าวถุงในตลาดสูง ขึ้นมากกว่าปัจจุบัน"
ทั้งนี้ รัฐบาลยังจะเดินหน้าส่งออกข้าว ให้ได้อีกประมาณ 9 ล้านตัน และจะเป็น 9 ล้านตันบวก ในอนาคต
ข้าวธงฟ้าขายถุงละ170 บาท
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าว ว่า ที่ประชุมครม.ได้ดำเนินการ เรื่องข้าว โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมาบอกว่าไม่อยากเอาข้าวมาใส่ถุงขาย เพื่อให้ราคาถูกเอาหน้ากับประชาชน ที่มีสต็อกข้าวไว้ 2.1 ล้าน วันนี้ครม.ได้ลงมติเห็นชอบว่าต้องทำข้าวหลายส่วน ข้าวหอมมะลิ ข้าว 5% ต้องมาใส่ถุงเป็นการถ่วงน้ำหนัก เขาขายกัน 200 เราขาย 170 แล้วเงินที่ขายได้ทั้งหมดจะไปซื้อข้าวใหม่ซึ่งราคาปกติแพงเข้าไปเก็บในสต็อก
ขณะที่ข้าวล๊อตแรกที่จะออกจำหน่ายจำนวนเท่าไร นั้น นายสมัคร กล่าวว่า เราอนุญาตทั้งหมด 2.1 ล้านตัน และเขาก็ทยอยทำ ทยอยซื้อมาเก็บและทยอยขายอีก 2 สัปดาห์เริ่มได้ ทั้งนี้ข้าวที่จะขายถุงละ 170 บาท ต่อถุง 5 กิโลกรัม เป็นข้าว 5 เปอร์เซ็นต์ หากเป็นข้าวหอมมะลิก็จะแพงขึ้นนิดหนึ่ง ถ้าข้าว 25 เปอร์เซ็นต์ก็จะถูกลงไปอีก
2 สัปดาห์ข้าวถึงมือประชาชน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ครม.ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ เพื่อทำข้าวถุงราคาถูกจำหน่ายให้ประชาชน โดยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และพิจารณาว่า จะนำข้าวจำนวนเท่าใดมาจำหน่ายเป็นล็อตแรก และราคาเท่าใด รวมทั้งพิจารณาการซื้อข้าวคืนจากเกษตรกร เพื่อคงสต็อกของรัฐบาลไว้
โดยการจำหน่าย จะจำหน่ายผ่านช่องทางของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ถึงมือประชาชน ซึ่งจะไม่ให้จำหน่ายผ่านช่องทางการค้าปกติ ป้องกันการเก็งกำไร อย่างไรก็ตาม ภายใน 2 สัปดาห์ เชื่อว่าข้าวจะถึงมือประชาชน
หวั่นมั่วข้าวในสต็อกที่หายไป
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการข้าว กล่าวถึงว่าการที่รัฐพยายามผลักดันข้าวถุงราคาถูกออกมาจำหน่าย เนื่องจากปัญหาที่ของกระทรวงพาณิชย์นั้นเดิมมีปัญหาข้าวในสต็อกโกดังได้มีการสุญหายไปจำนวนมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ถึงกับใช้ทหารไปเฝ้าโกดังข้าวและมายุคนี้ก็มีปัญหาข้าวหายเช่นกัน และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้าวที่หายไป แต่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเป็นอดีตอธิบดีกรมการค้าภายในที่เข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าว่าข้าวหายไปไหน จำนวนเท่าไร ที่แน่นอนจึงไม่มีตัวเลขข้าวที่หายไปในสต็อกว่าหายไปเท่าไร หากมีการนำข้าวในสต็อกของรัฐออกมาจำหน่าย ก็ยิ่งทำให้ตัวเลขข้าวในสต็อกเกิดความสับสน และไม่สามารถแยกแยะข้าวที่หายไปได้ ที่สำคัญยังไม่สามารถจับมือใครดมได้ว่า ข้าวหายไปไหน
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะต้องทำการควบคุมอย่างใกล้ชิด อย่าให้มีการรั่วไหล หรือมีพ่อค้าคนกลางที่ส่งออกหรือผู้ผลิตข้าวถุงมีการหมุนเวียนมาซื้อข้าวราคาถูกไปกักตุนหรือจำหน่ายอีกทอด ขณะที่ข้าวในตลาดทั่วไปและข้าวถุงที่จำหน่ายในห้างโมเดิรน์เทรด มีความแตกต่างกัน และยังไม่สามารถหาซื้อข้าวถุงตามราคาที่รัฐกำหนดได้ เนื่องจากพ่อค้าคนกลางไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ห้างโมเดิรน์เทรดกำหนดไว้ เช่น การส่งข้าวให้ครบตามจำนวนแล้วจะผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระเงินให้เร็วขึ้น นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ประกอบข้าวในสต็อกของรัฐมีการสูญหายไปไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงต้องมีการผลักดันการทำข้าวถุงในราคาถูกออกมาจำหน่าย
แฉตัวการปั่นราคา - ชาวนาเสี่ยงเจ๊ง
นางกิมอั้ง พงษ์นารายณ์ ชาวนาข้าวนาปรัง จงชัยนาท เปิดเผยในเวที “ข้าวแพง ชาวนาได้ประโยชน์จริงหรือ” จัดโดยมูลนิธิผู้บริโภคและเครือข่าย เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ชาวนาในเขตภาคกลางที่เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวปรังเพราะเห็นว่าราคาข้าวแพง ต่างหวั่นเกรงว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวราคาข้าวอาจจะลดต่ำลงมาเพราะเป็นช่วงใกล้เคียงกันกับที่ข้าวนาปีจะออกสู่ตลาด หากราคาข้าวเหลือตันละ 7,000 – 8,000 บาท จะส่งผลให้ชาวนาซึ่งมีต้นทุนในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเสี่ยงต่อการขาดทุน
"ชาวนามีแต่ความเสี่ยงทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งโรคระบาดและศัตรูพืช แต่หนี้ธ.ก.ส.ที่กู้มาต้องชำระตามนัดทุกๆ 4 เดือน ไม่มีโอกาสเก็บข้าวไว้เพื่อรอราคา ถ้าข้าวราคาไม่ดีหรือผลผลิตไม่ได้ ก็ต้องขายที่นาชำระหนี้"นางกิมอั้ง กล่าว
ชาวนาปรังจากจ.ชัยนาท กล่าวถึงต้นทุนการทำนาที่เพิ่มขึ้นว่า จากเดิมต้นทุนการทำนาโดยรวมเฉลี่ยตกไร่ละประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อไร่ ขณะที่ราคาข้าวตกตันละประมาณ 5,000 บาท แต่เวลานี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่านาจากไร่ละ 500 บาท ปรับเพิ่มเป็น 2,000 บาท/ไร่/ครั้ง ปีหนึ่งๆ ทำนา 3 ครั้ง เฉพาะค่าเช่าตกเฉลี่ยไร่ละ 6,000 บาท เพราะเจ้าของที่ดินเห็นว่าข้าวมีราคาแพง
นายวิโรจน์ เหล่าประภัสสร กรรมการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า นับจากนี้อีก 2 – 3 ปีราคาข้าวจะตกต่ำเหมือนในอดีตคงจะยาก แต่เมื่อราคาข้าวไต่ระดับสูงขึ้นไปมาก การสั่งซื้อก็จะชะลอตัวลงตามกลไกตลาด ขณะนี้วงการส่งออกข้าว ประเมินกันภายในว่า ตัวเลขส่งออกข้าวจะลดต่ำลงจากเดือนละ 1 ล้านตันเหลือ ประมาณ 7 แสนตัน แต่เรื่องที่น่าห่วงคือในช่วงเดือน ต.ค.ไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งข้าวนาปีจะออกสู่ตลาดจะกดราคาลดต่ำลงจึงต้องมีจิตวิทยารักษาระดับราคาให้อยู่ที่ 10,000 – 11,000 บาทต่อตัน เพื่อให้ชาวนาอยู่ได้จากปัจจัยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐฯสามารถทำได้โดยเก็บสต็อกข้าวเป็นข้าวเปลือก และทำสัญญากับคู่ค้าล่วงหน้า
ทางด้านนายปราโมทย์ วานิชชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า วงการค้าข้าวทั้งผู้ส่งออกและโรงสี ประเมินกันว่าฤดูข้าวใหม่ที่จะออกมาในรอบหน้าถ้าผลผลิตดีในทุกประเทศผู้ผลิตข้าวทั้งไทย เวียดนาม อินเดีย อาจทำให้ราคาข้าวลดต่ำลงมาเหลือประมาณ 7,000 – 8,000 บาท/ตัน ดังนั้นรัฐบาล ต้องเปิดเกมรุกวางแผนล่วงหน้าเพื่อพยุงราคาข้าวในฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาด้วย
นายปราโมทย์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากข้าวที่ซื้อมาจากชาวนาในราคาตันละ 6,000 – 7,000 บาทในช่วงต้นปีเพิ่มพรวดขึ้นเป็น 13,000 บาท/ตันในเวลานี้ มีผู้ได้ประโยชน์เต็มๆ คือ พ่อค้าข้าวในประเทศและผู้ส่งออกข้าว โดยเฉพาะผู้ค้าข้าวรายใหญ่ในตลาดที่คุมตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งสามารถเล่นราคาในสองตลาดได้ ทำให้ผู้บริโภคข้าวภายในประเทศต้องซื้อข้าแพงกว่าข้าวที่ส่งออก การทำข้าวถุงธงฟ้าของรัฐบาลจะช่วยสกัดการเก็งกำไร
"วงการค้าข้าวมีการปั่นราคากันจริง ผู้ส่งออกยอมรับว่า ราคาข้าวสูงเกินจริงถึง 20% มีผู้ค้าข้าวที่อยู่ในกระบวนการเก็งกำไร ปั่นราคาจากการค้าข้าว ร่ำรวยเป็นพันล้านในช่วงเวลาเพียง 4 เดือน" นายปราโมทย์ กล่าว