พักนี้กำลังมีคนลำพอง พอได้ครองอำนาจในส่วนราชการไหนขึ้นมาก็มักจะพูดว่าฟ้ากำลังเปลี่ยนสี ดังเช่นการเปลี่ยนแปลงอำนาจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พูดว่าฟ้าเปลี่ยนสีในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว
มันซ่อนความหมายบางอย่างอยู่ไม่ใช่หรือว่ามีคนตีตนเสมอฟ้า แล้วตีขรุมเอาว่าเป็นฟ้าอีกสีหนึ่งที่ไม่ใช่สีเหลืองหรือสีน้ำเงิน
คนพวกนี้ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้ฟ้าสูง ดินต่ำ ไม่รู้จักฟ้า และก็ไม่รู้จักดิน จึงกำเริบเสิบสานตีตนเสมอฟ้า เพราะถึงแม้จะใช้สติปัญญาตีขรุมบังควันประการใดก็ย่อมมีคนรู้เท่าทันอยู่เสมอ
ฟ้านั้นสุดจะหยั่งคาด ผืนพิภพใบนี้ที่ว่าใหญ่นักหนาแล้ว แท้จริงก็น้อยนิด เมื่อเทียบกับระบบสุริยจักรวาลอันยิ่งใหญ่ และสุริยจักรวาลที่ว่าใหญ่โตมโหฬารเหลือประมาณแล้วนั้น แท้จริงก็น้อยนิดเมื่อเทียบกับความเวิ้งว้างกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตแห่งฟ้า
เพราะบนฟ้าอันหาขอบเขตมิได้นั้นยังมีระบบสุริยะอื่นๆ นอกเหนือจากระบบสุริยะของเรานี้อีกนับหมื่นนับแสน แล้วใครเล่าจะรู้แจ้งกระจ่างถึงฟ้า
เพราะฟ้ายิ่งใหญ่ไร้ขอบเขตและประมาณมิได้ฉะนี้ บางทีจึงมีคนเข้าใจผิดคิดดูแคลนว่าฟ้าไม่มีหัว ไม่มีเท้า ไม่มีหู ไม่มีตา กระทั่งไม่มีชื่อแซ่ แท้จริงแล้วคนที่เข้าใจผิดชนิดนี้ก็คือคนโง่บัดซบจำพวกหนึ่งเท่านั้น
ในยุคปลายสามก๊ก หลังจากพระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์แล้ว ขงเบ้งมหาอุปราชแห่งแคว้นฉู่ส์มุ่งฟื้นฟูสัมพันธไมตรีสองก๊กระหว่างก๊กฉู่ส์กับก๊กหวู่อีกครั้งหนึ่ง จึงส่งเต็งจี๋เป็นราชทูตไปกัง ตั๋ง และประสบความสำเร็จ
ขากลับซุนกวนส่งราชทูตอาวุโสนามเตียวอุ๋นมาเจริญสัมพันธไมตรีกับแคว้นฉู่ส์เป็นการตอบแทน ซึ่งแคว้นฉู่ส์ก็ได้ให้การต้อนรับขับสู้อย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ แม้ในการส่งราชทูตกลับกังตั๋ง ขงเบ้งก็กระทำพิธีส่งแขกอย่างยิ่งใหญ่ และออกไปส่งแขกถึงหน้าเมืองด้วยตนเอง
แล้วยังตั้งพลับพลาชั่วคราวจัดงานเลี้ยงส่งมื้อสุดท้ายที่นอกเมืองอีก ธงทิวปลิวไสวดุจดั่งทิวคลื่นในพระมหาสมุทร จนราชทูตอาวุโสแห่งกังตั๋งครึ้มอกครึ้มใจแล้วสำคัญผิดคิดว่าชาวเมืองเสฉวนเกรงกลัวชาวเมืองกังตั๋ง จึงยอมอ่อนน้อมถึงเพียงนี้
ขงเบ้งเห็นท่าทีเหมาะเจาะแล้ว จึงสั่งให้ขุนนางหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ในสังกัดสำนักราชเลขาธิการและมีวัย 30 ปีเศษเข้าไปคำนับขอดื่มสุราด้วยราชทูตอาวุโสแห่งกังตั๋ง
เตียวอุ๋นรับคำนับดื่มสุราตามธรรมเนียมแล้วก็นึกดูแคลนขุนนางหนุ่ม จึงถามว่าท่านนี้อายุน้อยนัก มีระดับการศึกษาเล่าเรียนประการใด
เตียวอุ๋นหวังจะได้ยินคำตอบที่อ่อนน้อมยอมสยบ แต่กลับได้คำตอบว่า “บรรดาวิชาการทั้งปวงข้าพเจ้าได้ร่ำเรียนจนจบสิ้น การภาคพื้นดินได้ร่ำเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์จนจะแจ้ง การบนอากาศเล่าก็ได้ร่ำเรียนวิชาดาราศาสตร์ แลวิถีโคจรแห่งดวงดาวทั้งปวง รู้แจ้งซึ่งฤดูกาลอันผันแปรมิได้คลาดเคลื่อน วิชาปรัชญา ศาสนาที่มีมาในแผ่นดินก็ร่ำเรียนจนจบสิ้นทุกสิ่ง แม้วิชาการสงครามก็แจ้งจบช่ำชองเฉกเช่นเดียวกับชาวเมืองเสฉวนทั้งปวง”
เตียวอุ๋นได้ยินดังนั้นก็นึกหมั่นไส้ขุนนางหนุ่มแห่งเมืองเสฉวน รำพึงในใจเชิงปรามาสว่าต่อหน้าเราเทพเจ้าองค์จริง ไฉนเจ้าจึงมาจุดธูปปลอม พลางยิ้มอย่างเย้ยหยันที่มุมปาก แล้วชำเลืองมองขงเบ้งก็เห็นนั่งอมยิ้มอยู่ จึงถามขุนนางหนุ่มว่าเมื่อท่านร่ำเรียนสรรพวิชาถึงปานนี้ จะกล้าตอบคำถามเราหรือไม่
ขุนนางหนุ่มกลับตอบมาว่า ท่านใคร่รู้สิ่งใดก็เชิญท่านถามตามที่ต้องการเถิด
เตียวอุ๋นจึงลั่นคำถามแรกออกไปว่า “เราขอถามท่านประการแรกว่าฟ้านั้นมีศีรษะหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “โบราณว่าก่อนฝนตกมีฟ้าคำราม เมฆคำรน ฟ้าคำรามก็เนื่องเพราะฟ้ามีศีรษะ”
เตียวอุ๋นจึงถามคำถามที่สองว่า “เมื่อท่านว่าฟ้ามีศีรษะ แล้วศีรษะฟ้าอยู่เบื้องทิศไหนเล่า”
ขุนนางหนุ่มตอบอย่างช้าๆ ว่า “มีคัมภีร์แต่โบราณระบุว่าให้หันศีรษะผู้ตายไปทางเดียวกับฟ้า ดังนั้นฟ้าจึงมีศีรษะอยู่ทางทิศตะวันตก”
เตียวอุ๋นพยักหน้าแล้วถามคำถามที่สามว่า “ฟ้ามีหูหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “โบราณมีวลีว่าฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ นกกระเรียนของเซียนผู้วิเศษร้องอยู่ที่บึงกว้างลึก เสียงได้ยินไปถึงฟ้า ดังนั้นหากฟ้าไม่มีหูแล้ว ไฉนจะได้ยินเสียงนกกระเรียนเล่า ข้าพเจ้าจึงขอตอบว่าฟ้ามีหู”
เตียวอุ๋นพยักหน้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วถามว่า “เมื่อฟ้ามีหู ฟ้าจะมีเท้าด้วยหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “มีคำโบราณว่าหนทางสวรรค์เดินได้ยากลำบากยิ่ง หนทางนรกสิกลับเดินง่ายดายสะดวกนัก ฉะนั้นหากฟ้าไม่มีเท้าแล้วจะเดินได้ไฉนเล่า เหตุนี้จึงตอบว่าฟ้าย่อมมีเท้า”
เตียวอุ๋นตกตะลึงในความรู้อันกว้างขวางของขุนนางหนุ่ม ก็ให้พรั่นใจ แต่คงข่มใจถามต่อไปว่า “ก็แลท่านว่าฟ้ามีศีรษะ มีหู มีเท้าฉะนี้แล้ว ฟ้ามีตระกูลแซ่หรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบไปในทันใดว่า “ฟ้าย่อมมีตระกูลแซ่อย่างแน่นอน”
แล้วแซ่อันใดเล่า ราชทูตอาวุโสถามต่อ ขุนนางหนุ่มยิ้มอย่างเบิกบานแล้วตอบอย่างยียวนกวนประสาทว่า “ฟ้าย่อมมีแซ่เล่า ท่านอย่าได้สงสัยเลย”
เตียวอุ๋นแม้เจนจบในอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตลอดจนวรรณคดีต่างๆ แต่ไม่เคยพานพบว่าฟ้ามีแซ่เล่า จึงถามว่าท่านมีหลักฐานอันใดอ้างอิง ขุนนางหนุ่มจึงว่า “พระเจ้าฮั่นโกโจปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นทรงเป็นที่ยอมรับกล่าวขานทั้งแผ่นดินว่าทรงเป็นจักรพรรดิและทรงเป็นโอรสแห่งสวรรค์หรือโอรสแห่งฟ้า พระเจ้าฮั่นโกโจนั่นแซ่เล่ามิใช่หรือ”
แล้วย้ำต่อไปว่า “เมื่อโอรสสวรรค์มีแซ่เล่า ฟ้าซึ่งเป็นบิดาสวรรค์ก็ย่อมมีแซ่เล่าด้วย”
เตียวอุ๋นแม้รู้สึกนับถือในใจในภูมิปัญญาขุนนางหนุ่ม แต่ก็เห็นเป็นทีที่จะเอาชนะในเชิงชั้นวาทศิลป์ จึงลั่นคำถามอันเป็นไม้ตายว่า “ตัวท่านทราบมิใช่หรือว่าพระสุริยันยาตราเยื้องย่างแต่เบื้องฟากฟ้าบูรพาทิศ”
คำถามที่ไม่มีที่ไปที่มาจากคัมภีร์ตำราเล่มใด แต่ขุนนางหนุ่มปฏิภาณไวเข้าใจได้ถ่องแท้ว่าคำถามนี้มุ่งหมายจะให้ได้คำตอบว่าฟ้าเบื้องบูรพาทิศให้กำเนิดดวงตะวัน แลทิศบูรพานั้นเป็นที่ตั้งแห่งแดนกังตั๋ง ย่อมนำไปสู่คำถามต่อไปว่าเมื่อแดนกังตั๋งเป็นต้นกำเนิดฟ้า ฟ้าย่อมมีแซ่ซุน หาใช่แซ่เล่าไม่
ขุนนางหนุ่มรู้แจ้งดังนั้นจึงตอบว่า “พระอาทิตย์เบิกฟ้าเบื้องบูรพาทิศนั้นจริงแล้ว แต่ใช่ว่าจะสถิตเป็นนิรันดรก็หาไม่ ย่อมยาตราไปลับสนิทนิทรา ณ เบื้องฟ้าฟากประจิมทุกวันไม่เคยบิดผันเลย”
ที่ตอบดังนี้ก็เพราะว่าแคว้นฉู่ส์อันมีเมืองเสฉวนเป็นเมืองหลวงนั้นอยู่ทางฟากฟ้าเบื้องประจิม เตียวอุ๋นได้ฟังคำดังนั้นก็รู้ว่าความปรารถนาในใจถูกอีกฝ่ายหนึ่งรู้เท่าทัน จึงจำนนต่อถ้อยคำมิรู้ที่จะถามประการใด
เมื่อฟ้ามีหู ฟ้าย่อมได้ยินสรรพสำเนียง ดังนั้นใครที่บนบานศาลกล่าวหรือท้าทายอะไรไว้ ก็จงมั่นใจเถิดว่าฟ้าย่อมได้ยิน โดยเฉพาะใครที่เคยท้าอะไรไว้ถึงขนาดถ้าอย่างนี้แล้วหิมะก็ต้องตกในกรุงเทพฯ
ฟ้ารับคำท้าแล้วไง และกำลังจะสั่งสอนอย่างสาสมให้ยิ่งกว่าหิมะตกในกรุงเทพฯ เสียอีก นั่นคือการบันดาลให้เกิดลูกเห็บตกในกรุงเทพฯ โดยเน้นที่พื้นที่ฝั่งธนบุรีให้เห็นกันจะจะแจ้งๆ แล้วคอยดูสิว่าที่ท้าทายไว้นั้นลงท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร
เพราะฟ้ามีตา ใครทำดีทำชั่วประการใดย่อมไม่อาจรอดพ้นไปจากสายตาแห่งฟ้าได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว อย่าได้พักสงสัยเลย
คำสอนของศาสดาทั้งหลายล้วนมีมาอย่างนี้ และที่นี่เป็นเมืองพระพุทธศาสนา พระตถาคตเจ้าได้ตรัสสอนนักหนาตลอดพระชนม์ชีพว่าคนเรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ทำกรรมใดไว้ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่มีวันที่จะหลีกลี้หนีกรรมไปได้เลย
บางคนปากกล้าขาสั่น ปากพูดว่าไม่เกรงฟ้าไม่กลัวดิน บ้างก็พูดว่าไม่เชื่อถือในสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ยำเกรงในสิ่งที่จับต้องไม่ได้
แต่พอเอาเข้าจริงกลับขี้ขลาดตาขาว แค่ดาวพระราหูย้ายราศีจากราศีกุมภ์ไปสู่ราศีมังกร ก็ตื่นตระหนกตกใจ ครองสติไม่ได้ จนต้องไปพึ่งพาพิธีไสย รับพระราหู ส่งพระราหู ด้วยหวังให้ราหูอุ้มชูให้รอดพ้นจากเคราะห์โศกโรคภัยแล้วให้ได้นั่งกอดเก้าอี้ไปนานๆ
อันจักรวาลที่จำแนกเป็น 12 ราศี และมี 27 กลุ่มดาวฤกษ์แวดล้อมนั้น เชิงมุมที่เล็งกันของทุกราศีหากบวกเข้าด้วยกันแล้วจะได้เลข 9 เสมอไป เลข 9 นี้จึงยิ่งใหญ่เป็นสัญลักษณ์แห่งฟ้า มีอานุภาพฤทธาเหนือความดีความชั่วทั้งปวง และยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องอำนาจ เรื่องวาสนา เรื่องเงินตรา หรือเรื่องข้าทาสบริวารใดๆ
เบื้องฟากฟ้าข้างทิศราศีกุมภ์ ในทางตรงกันข้ามก็คือราศีสิงห์ เป็นแดนครองของพระราหูและพระอาทิตย์
พระอาทิตย์เป็นบ่อเกิดแห่งพลังงานและสรรพชีวิต ในขณะที่ราหูก็เป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมสลายและความตายหรือความดับไปของชีวิต รวมกันแล้วก็คือฟ้า ก็คือธรรมชาติ ก็คือธรรม ที่ไม่มีวันเป็นศัตรูคู่อาฆาตหรือเป็นมิตรกับผู้ใด มีแต่ความเป็นไปอันเที่ยงธรรมประการเดียวเท่านั้น
พระราหูจะไป พระราหูจะมา จึงเป็นไปตามวิถีโคจรแห่งนพเคราะห์บนนภากาศที่เป็นไปโดยธรรมชาติแห่งจักรวาล ไม่ได้ส่งผลทำร้ายใคร และไม่ได้ส่งผลเกื้อกูลใคร ดังนั้นการรับส่งราหูจึงเป็นพิธีการอันเหลวไหลไร้สาระของคนไร้สัจจะและปากกล้าขาสั่นเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
พระราหูนั้นไม่ใช่มาร ไม่ใช่ผี ไม่ใช่ปีศาจ แต่เป็นเทพประเภทหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าสุรินทราหูหรือสุเรนทราหู เป็นเทพที่มีหน้าที่อันเที่ยงตรงในการทำลายสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฎแห่งพระไตรลักษณ์ที่ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่และดับไป พระราหูมีหน้าที่ตรงนี้จึงเป็นเทพเพราะต้องทำหน้าที่ที่มีความเที่ยงตรง
แต่เทพแบบราหูก็หาได้สิ้นกิเลสไม่ ยังมัวเมาอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ หรือโลภโกรธหลงแบบเดียวกับคนเรานี่เอง และมีความขลาดกลัวประจำตัวอยู่เหมือนกัน ดังนั้นพระราหูจึงกลัวตายเหมือนกับสัตว์ทั้งหลาย
เพราะความกลัวตายนี้จึงไปขโมยน้ำทิพย์ที่บรรดาเทวดาช่วยกันทำขึ้น ทำให้มีชีวิตเป็นอมตะ แล้วเกิดเหลิงระเริงเหมือนกับคนมีอำนาจวาสนาบางคนเหลิงระเริงแล้วก็บ้า ในที่สุดก็ไปข่มเหงรังแกเทวดาทั้งหลาย จนในที่สุดก็ถูกพระนารายณ์ไปปราบ
ราหูสุรินทร์ฤทธิ์ ธ สฤษดิ์พลังตน แม้ได้รับผลจากน้ำอมฤทธิ์ที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ แต่เมื่อต้องจักรพระนารายณ์แล้วก็ตัวขาดเป็นสองท่อน เหลือแต่ท่อนหัวดังที่รู้ๆ กันอยู่
และตั้งแต่วันสงกรานต์มานี้ นางสงกรานต์ก็ทรงจักรพระนารายณ์ ครานี้ถึงพระราหูไม่ตายก็คงคางเหลืองไปหลายกัป
ใครที่คิดพลิกดิน คว่ำฟ้า ถึงแม้ว่าจะตั้งขบวนการใหญ่โตโจ๋งครึ่มฮึกเหิมลำพองสักเพียงใด ในที่สุดแล้วเห็นจะไม่ต่างอันใดกับอึ่งอ่างที่คิดพองตัวแข่งกับวัวแล้วท้องแตกตายเสียเป็นแน่!
เบื้องบนอันไกลโพ้นฟ้าย่อมเป็นสีน้ำเงิน เบื้องหน้าที่ใกล้กับนัยน์ตาที่สุดฟ้าย่อมมีสีเหลือง ฟ้าย่อมมีหู มีตา และมีทุกสิ่งที่พร้อมจะบันดาลให้สรรพสิ่งเป็นไปตามกรรม
คนเราคิดอะไรก็คิดได้ วางแผนให้เลิศหรูดูเพริศแพร้วประการใดก็ย่อมได้ แม้ว่าการทั้งปวงจะตระเตรียมให้สมบูรณ์พร้อมขนาดไหนก็ย่อมได้ แต่ทว่าความสำเร็จจะบังเกิดขึ้นดังใจปรารถนาหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะถึงอย่างไรก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่นอกเหนือความคิดอ่านการวางแผนและการเตรียมการทั้งปวง นั่นคือความผันแปร ซึ่งหาความแน่นอนอันใดมิได้
แลความผันแปรนั่นแล้วคือภารกิจแห่งฟ้าและเป็นอำนาจแห่งฟ้าที่จะบันดาลให้เป็นไป ดังนี้ไซร้โบราณจึงว่าสวรรค์นั้นทรงความยุติธรรมเสมอ!
มันซ่อนความหมายบางอย่างอยู่ไม่ใช่หรือว่ามีคนตีตนเสมอฟ้า แล้วตีขรุมเอาว่าเป็นฟ้าอีกสีหนึ่งที่ไม่ใช่สีเหลืองหรือสีน้ำเงิน
คนพวกนี้ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้ฟ้าสูง ดินต่ำ ไม่รู้จักฟ้า และก็ไม่รู้จักดิน จึงกำเริบเสิบสานตีตนเสมอฟ้า เพราะถึงแม้จะใช้สติปัญญาตีขรุมบังควันประการใดก็ย่อมมีคนรู้เท่าทันอยู่เสมอ
ฟ้านั้นสุดจะหยั่งคาด ผืนพิภพใบนี้ที่ว่าใหญ่นักหนาแล้ว แท้จริงก็น้อยนิด เมื่อเทียบกับระบบสุริยจักรวาลอันยิ่งใหญ่ และสุริยจักรวาลที่ว่าใหญ่โตมโหฬารเหลือประมาณแล้วนั้น แท้จริงก็น้อยนิดเมื่อเทียบกับความเวิ้งว้างกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตแห่งฟ้า
เพราะบนฟ้าอันหาขอบเขตมิได้นั้นยังมีระบบสุริยะอื่นๆ นอกเหนือจากระบบสุริยะของเรานี้อีกนับหมื่นนับแสน แล้วใครเล่าจะรู้แจ้งกระจ่างถึงฟ้า
เพราะฟ้ายิ่งใหญ่ไร้ขอบเขตและประมาณมิได้ฉะนี้ บางทีจึงมีคนเข้าใจผิดคิดดูแคลนว่าฟ้าไม่มีหัว ไม่มีเท้า ไม่มีหู ไม่มีตา กระทั่งไม่มีชื่อแซ่ แท้จริงแล้วคนที่เข้าใจผิดชนิดนี้ก็คือคนโง่บัดซบจำพวกหนึ่งเท่านั้น
ในยุคปลายสามก๊ก หลังจากพระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์แล้ว ขงเบ้งมหาอุปราชแห่งแคว้นฉู่ส์มุ่งฟื้นฟูสัมพันธไมตรีสองก๊กระหว่างก๊กฉู่ส์กับก๊กหวู่อีกครั้งหนึ่ง จึงส่งเต็งจี๋เป็นราชทูตไปกัง ตั๋ง และประสบความสำเร็จ
ขากลับซุนกวนส่งราชทูตอาวุโสนามเตียวอุ๋นมาเจริญสัมพันธไมตรีกับแคว้นฉู่ส์เป็นการตอบแทน ซึ่งแคว้นฉู่ส์ก็ได้ให้การต้อนรับขับสู้อย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ แม้ในการส่งราชทูตกลับกังตั๋ง ขงเบ้งก็กระทำพิธีส่งแขกอย่างยิ่งใหญ่ และออกไปส่งแขกถึงหน้าเมืองด้วยตนเอง
แล้วยังตั้งพลับพลาชั่วคราวจัดงานเลี้ยงส่งมื้อสุดท้ายที่นอกเมืองอีก ธงทิวปลิวไสวดุจดั่งทิวคลื่นในพระมหาสมุทร จนราชทูตอาวุโสแห่งกังตั๋งครึ้มอกครึ้มใจแล้วสำคัญผิดคิดว่าชาวเมืองเสฉวนเกรงกลัวชาวเมืองกังตั๋ง จึงยอมอ่อนน้อมถึงเพียงนี้
ขงเบ้งเห็นท่าทีเหมาะเจาะแล้ว จึงสั่งให้ขุนนางหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ในสังกัดสำนักราชเลขาธิการและมีวัย 30 ปีเศษเข้าไปคำนับขอดื่มสุราด้วยราชทูตอาวุโสแห่งกังตั๋ง
เตียวอุ๋นรับคำนับดื่มสุราตามธรรมเนียมแล้วก็นึกดูแคลนขุนนางหนุ่ม จึงถามว่าท่านนี้อายุน้อยนัก มีระดับการศึกษาเล่าเรียนประการใด
เตียวอุ๋นหวังจะได้ยินคำตอบที่อ่อนน้อมยอมสยบ แต่กลับได้คำตอบว่า “บรรดาวิชาการทั้งปวงข้าพเจ้าได้ร่ำเรียนจนจบสิ้น การภาคพื้นดินได้ร่ำเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์จนจะแจ้ง การบนอากาศเล่าก็ได้ร่ำเรียนวิชาดาราศาสตร์ แลวิถีโคจรแห่งดวงดาวทั้งปวง รู้แจ้งซึ่งฤดูกาลอันผันแปรมิได้คลาดเคลื่อน วิชาปรัชญา ศาสนาที่มีมาในแผ่นดินก็ร่ำเรียนจนจบสิ้นทุกสิ่ง แม้วิชาการสงครามก็แจ้งจบช่ำชองเฉกเช่นเดียวกับชาวเมืองเสฉวนทั้งปวง”
เตียวอุ๋นได้ยินดังนั้นก็นึกหมั่นไส้ขุนนางหนุ่มแห่งเมืองเสฉวน รำพึงในใจเชิงปรามาสว่าต่อหน้าเราเทพเจ้าองค์จริง ไฉนเจ้าจึงมาจุดธูปปลอม พลางยิ้มอย่างเย้ยหยันที่มุมปาก แล้วชำเลืองมองขงเบ้งก็เห็นนั่งอมยิ้มอยู่ จึงถามขุนนางหนุ่มว่าเมื่อท่านร่ำเรียนสรรพวิชาถึงปานนี้ จะกล้าตอบคำถามเราหรือไม่
ขุนนางหนุ่มกลับตอบมาว่า ท่านใคร่รู้สิ่งใดก็เชิญท่านถามตามที่ต้องการเถิด
เตียวอุ๋นจึงลั่นคำถามแรกออกไปว่า “เราขอถามท่านประการแรกว่าฟ้านั้นมีศีรษะหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “โบราณว่าก่อนฝนตกมีฟ้าคำราม เมฆคำรน ฟ้าคำรามก็เนื่องเพราะฟ้ามีศีรษะ”
เตียวอุ๋นจึงถามคำถามที่สองว่า “เมื่อท่านว่าฟ้ามีศีรษะ แล้วศีรษะฟ้าอยู่เบื้องทิศไหนเล่า”
ขุนนางหนุ่มตอบอย่างช้าๆ ว่า “มีคัมภีร์แต่โบราณระบุว่าให้หันศีรษะผู้ตายไปทางเดียวกับฟ้า ดังนั้นฟ้าจึงมีศีรษะอยู่ทางทิศตะวันตก”
เตียวอุ๋นพยักหน้าแล้วถามคำถามที่สามว่า “ฟ้ามีหูหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “โบราณมีวลีว่าฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ นกกระเรียนของเซียนผู้วิเศษร้องอยู่ที่บึงกว้างลึก เสียงได้ยินไปถึงฟ้า ดังนั้นหากฟ้าไม่มีหูแล้ว ไฉนจะได้ยินเสียงนกกระเรียนเล่า ข้าพเจ้าจึงขอตอบว่าฟ้ามีหู”
เตียวอุ๋นพยักหน้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วถามว่า “เมื่อฟ้ามีหู ฟ้าจะมีเท้าด้วยหรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบว่า “มีคำโบราณว่าหนทางสวรรค์เดินได้ยากลำบากยิ่ง หนทางนรกสิกลับเดินง่ายดายสะดวกนัก ฉะนั้นหากฟ้าไม่มีเท้าแล้วจะเดินได้ไฉนเล่า เหตุนี้จึงตอบว่าฟ้าย่อมมีเท้า”
เตียวอุ๋นตกตะลึงในความรู้อันกว้างขวางของขุนนางหนุ่ม ก็ให้พรั่นใจ แต่คงข่มใจถามต่อไปว่า “ก็แลท่านว่าฟ้ามีศีรษะ มีหู มีเท้าฉะนี้แล้ว ฟ้ามีตระกูลแซ่หรือไม่”
ขุนนางหนุ่มตอบไปในทันใดว่า “ฟ้าย่อมมีตระกูลแซ่อย่างแน่นอน”
แล้วแซ่อันใดเล่า ราชทูตอาวุโสถามต่อ ขุนนางหนุ่มยิ้มอย่างเบิกบานแล้วตอบอย่างยียวนกวนประสาทว่า “ฟ้าย่อมมีแซ่เล่า ท่านอย่าได้สงสัยเลย”
เตียวอุ๋นแม้เจนจบในอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตลอดจนวรรณคดีต่างๆ แต่ไม่เคยพานพบว่าฟ้ามีแซ่เล่า จึงถามว่าท่านมีหลักฐานอันใดอ้างอิง ขุนนางหนุ่มจึงว่า “พระเจ้าฮั่นโกโจปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นทรงเป็นที่ยอมรับกล่าวขานทั้งแผ่นดินว่าทรงเป็นจักรพรรดิและทรงเป็นโอรสแห่งสวรรค์หรือโอรสแห่งฟ้า พระเจ้าฮั่นโกโจนั่นแซ่เล่ามิใช่หรือ”
แล้วย้ำต่อไปว่า “เมื่อโอรสสวรรค์มีแซ่เล่า ฟ้าซึ่งเป็นบิดาสวรรค์ก็ย่อมมีแซ่เล่าด้วย”
เตียวอุ๋นแม้รู้สึกนับถือในใจในภูมิปัญญาขุนนางหนุ่ม แต่ก็เห็นเป็นทีที่จะเอาชนะในเชิงชั้นวาทศิลป์ จึงลั่นคำถามอันเป็นไม้ตายว่า “ตัวท่านทราบมิใช่หรือว่าพระสุริยันยาตราเยื้องย่างแต่เบื้องฟากฟ้าบูรพาทิศ”
คำถามที่ไม่มีที่ไปที่มาจากคัมภีร์ตำราเล่มใด แต่ขุนนางหนุ่มปฏิภาณไวเข้าใจได้ถ่องแท้ว่าคำถามนี้มุ่งหมายจะให้ได้คำตอบว่าฟ้าเบื้องบูรพาทิศให้กำเนิดดวงตะวัน แลทิศบูรพานั้นเป็นที่ตั้งแห่งแดนกังตั๋ง ย่อมนำไปสู่คำถามต่อไปว่าเมื่อแดนกังตั๋งเป็นต้นกำเนิดฟ้า ฟ้าย่อมมีแซ่ซุน หาใช่แซ่เล่าไม่
ขุนนางหนุ่มรู้แจ้งดังนั้นจึงตอบว่า “พระอาทิตย์เบิกฟ้าเบื้องบูรพาทิศนั้นจริงแล้ว แต่ใช่ว่าจะสถิตเป็นนิรันดรก็หาไม่ ย่อมยาตราไปลับสนิทนิทรา ณ เบื้องฟ้าฟากประจิมทุกวันไม่เคยบิดผันเลย”
ที่ตอบดังนี้ก็เพราะว่าแคว้นฉู่ส์อันมีเมืองเสฉวนเป็นเมืองหลวงนั้นอยู่ทางฟากฟ้าเบื้องประจิม เตียวอุ๋นได้ฟังคำดังนั้นก็รู้ว่าความปรารถนาในใจถูกอีกฝ่ายหนึ่งรู้เท่าทัน จึงจำนนต่อถ้อยคำมิรู้ที่จะถามประการใด
เมื่อฟ้ามีหู ฟ้าย่อมได้ยินสรรพสำเนียง ดังนั้นใครที่บนบานศาลกล่าวหรือท้าทายอะไรไว้ ก็จงมั่นใจเถิดว่าฟ้าย่อมได้ยิน โดยเฉพาะใครที่เคยท้าอะไรไว้ถึงขนาดถ้าอย่างนี้แล้วหิมะก็ต้องตกในกรุงเทพฯ
ฟ้ารับคำท้าแล้วไง และกำลังจะสั่งสอนอย่างสาสมให้ยิ่งกว่าหิมะตกในกรุงเทพฯ เสียอีก นั่นคือการบันดาลให้เกิดลูกเห็บตกในกรุงเทพฯ โดยเน้นที่พื้นที่ฝั่งธนบุรีให้เห็นกันจะจะแจ้งๆ แล้วคอยดูสิว่าที่ท้าทายไว้นั้นลงท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร
เพราะฟ้ามีตา ใครทำดีทำชั่วประการใดย่อมไม่อาจรอดพ้นไปจากสายตาแห่งฟ้าได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว อย่าได้พักสงสัยเลย
คำสอนของศาสดาทั้งหลายล้วนมีมาอย่างนี้ และที่นี่เป็นเมืองพระพุทธศาสนา พระตถาคตเจ้าได้ตรัสสอนนักหนาตลอดพระชนม์ชีพว่าคนเรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ทำกรรมใดไว้ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่มีวันที่จะหลีกลี้หนีกรรมไปได้เลย
บางคนปากกล้าขาสั่น ปากพูดว่าไม่เกรงฟ้าไม่กลัวดิน บ้างก็พูดว่าไม่เชื่อถือในสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ยำเกรงในสิ่งที่จับต้องไม่ได้
แต่พอเอาเข้าจริงกลับขี้ขลาดตาขาว แค่ดาวพระราหูย้ายราศีจากราศีกุมภ์ไปสู่ราศีมังกร ก็ตื่นตระหนกตกใจ ครองสติไม่ได้ จนต้องไปพึ่งพาพิธีไสย รับพระราหู ส่งพระราหู ด้วยหวังให้ราหูอุ้มชูให้รอดพ้นจากเคราะห์โศกโรคภัยแล้วให้ได้นั่งกอดเก้าอี้ไปนานๆ
อันจักรวาลที่จำแนกเป็น 12 ราศี และมี 27 กลุ่มดาวฤกษ์แวดล้อมนั้น เชิงมุมที่เล็งกันของทุกราศีหากบวกเข้าด้วยกันแล้วจะได้เลข 9 เสมอไป เลข 9 นี้จึงยิ่งใหญ่เป็นสัญลักษณ์แห่งฟ้า มีอานุภาพฤทธาเหนือความดีความชั่วทั้งปวง และยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องอำนาจ เรื่องวาสนา เรื่องเงินตรา หรือเรื่องข้าทาสบริวารใดๆ
เบื้องฟากฟ้าข้างทิศราศีกุมภ์ ในทางตรงกันข้ามก็คือราศีสิงห์ เป็นแดนครองของพระราหูและพระอาทิตย์
พระอาทิตย์เป็นบ่อเกิดแห่งพลังงานและสรรพชีวิต ในขณะที่ราหูก็เป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมสลายและความตายหรือความดับไปของชีวิต รวมกันแล้วก็คือฟ้า ก็คือธรรมชาติ ก็คือธรรม ที่ไม่มีวันเป็นศัตรูคู่อาฆาตหรือเป็นมิตรกับผู้ใด มีแต่ความเป็นไปอันเที่ยงธรรมประการเดียวเท่านั้น
พระราหูจะไป พระราหูจะมา จึงเป็นไปตามวิถีโคจรแห่งนพเคราะห์บนนภากาศที่เป็นไปโดยธรรมชาติแห่งจักรวาล ไม่ได้ส่งผลทำร้ายใคร และไม่ได้ส่งผลเกื้อกูลใคร ดังนั้นการรับส่งราหูจึงเป็นพิธีการอันเหลวไหลไร้สาระของคนไร้สัจจะและปากกล้าขาสั่นเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
พระราหูนั้นไม่ใช่มาร ไม่ใช่ผี ไม่ใช่ปีศาจ แต่เป็นเทพประเภทหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าสุรินทราหูหรือสุเรนทราหู เป็นเทพที่มีหน้าที่อันเที่ยงตรงในการทำลายสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฎแห่งพระไตรลักษณ์ที่ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตั้งอยู่และดับไป พระราหูมีหน้าที่ตรงนี้จึงเป็นเทพเพราะต้องทำหน้าที่ที่มีความเที่ยงตรง
แต่เทพแบบราหูก็หาได้สิ้นกิเลสไม่ ยังมัวเมาอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ หรือโลภโกรธหลงแบบเดียวกับคนเรานี่เอง และมีความขลาดกลัวประจำตัวอยู่เหมือนกัน ดังนั้นพระราหูจึงกลัวตายเหมือนกับสัตว์ทั้งหลาย
เพราะความกลัวตายนี้จึงไปขโมยน้ำทิพย์ที่บรรดาเทวดาช่วยกันทำขึ้น ทำให้มีชีวิตเป็นอมตะ แล้วเกิดเหลิงระเริงเหมือนกับคนมีอำนาจวาสนาบางคนเหลิงระเริงแล้วก็บ้า ในที่สุดก็ไปข่มเหงรังแกเทวดาทั้งหลาย จนในที่สุดก็ถูกพระนารายณ์ไปปราบ
ราหูสุรินทร์ฤทธิ์ ธ สฤษดิ์พลังตน แม้ได้รับผลจากน้ำอมฤทธิ์ที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ แต่เมื่อต้องจักรพระนารายณ์แล้วก็ตัวขาดเป็นสองท่อน เหลือแต่ท่อนหัวดังที่รู้ๆ กันอยู่
และตั้งแต่วันสงกรานต์มานี้ นางสงกรานต์ก็ทรงจักรพระนารายณ์ ครานี้ถึงพระราหูไม่ตายก็คงคางเหลืองไปหลายกัป
ใครที่คิดพลิกดิน คว่ำฟ้า ถึงแม้ว่าจะตั้งขบวนการใหญ่โตโจ๋งครึ่มฮึกเหิมลำพองสักเพียงใด ในที่สุดแล้วเห็นจะไม่ต่างอันใดกับอึ่งอ่างที่คิดพองตัวแข่งกับวัวแล้วท้องแตกตายเสียเป็นแน่!
เบื้องบนอันไกลโพ้นฟ้าย่อมเป็นสีน้ำเงิน เบื้องหน้าที่ใกล้กับนัยน์ตาที่สุดฟ้าย่อมมีสีเหลือง ฟ้าย่อมมีหู มีตา และมีทุกสิ่งที่พร้อมจะบันดาลให้สรรพสิ่งเป็นไปตามกรรม
คนเราคิดอะไรก็คิดได้ วางแผนให้เลิศหรูดูเพริศแพร้วประการใดก็ย่อมได้ แม้ว่าการทั้งปวงจะตระเตรียมให้สมบูรณ์พร้อมขนาดไหนก็ย่อมได้ แต่ทว่าความสำเร็จจะบังเกิดขึ้นดังใจปรารถนาหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะถึงอย่างไรก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่นอกเหนือความคิดอ่านการวางแผนและการเตรียมการทั้งปวง นั่นคือความผันแปร ซึ่งหาความแน่นอนอันใดมิได้
แลความผันแปรนั่นแล้วคือภารกิจแห่งฟ้าและเป็นอำนาจแห่งฟ้าที่จะบันดาลให้เป็นไป ดังนี้ไซร้โบราณจึงว่าสวรรค์นั้นทรงความยุติธรรมเสมอ!