ผู้จัดการรายวัน - วิปรัฐบาลส่งร่างแก้ไข รธน.ฉบับตัดแปะให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณา ขีดเส้นส่งกลับ พปช.ภายในสัปดาห์หน้า หวังนำเข้ารัฐสภาก่อนปิดสมัยประชุม เผยบทเฉพาะกาล หั่นอายุ ป.ป.ช. ,กกต. เพิ่มตุลาการศาล รธน.จาก 9 เป็น 15 บีบอัยการกลับกระทรวงยุติธรรม “สมัคร” ไม่สนอัยการค้าน ด้าน “ชัยเกษม” ไม่ร้อนใจอ้างอยู่ในก็เป็นอิสระเพราะมี กม.รองรับ ปชป. เตือนอย่าตกหลุมพราง ระบุใช้ รธน.ปี40 เป็นตัวตั้งเท่ากับหนีคดียุบพรรค ปลดพันธนาการคดี “ทักษิณ” ลั่นแก้ทั้งฉบับขัด รธน. เตรียมเสนอร่าง รธน.แก้ไข ม.291 ประกบ เชื่อมีวาระซ้อนเร้นหวังความวุ่นวายเพื่อสร้างวีรบุรุษ ฉีกฉบับปี 50 ให้บางคนกลับคืนสู่อำนาจ รักษาทรัพย์สิน วอนสังคมร่วมต้าน “จักรภพ” โวยมีคนระดับผู้ใหญ่ของประเทศ พยายามให้ร้ายรัฐบาล
ที่รัฐสภา วานนี้ (23 เม.ย.) คณะอนุกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) มีการประชุมถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยใช้เวลาประชุมเพึยง 10 นาที
นายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล แถลงว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชน ได้มอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค ไปพิจารณาศึกษาแล้ว โดยเป็นไปตามร่างเดิม คือ หมวด 1 และ หมวด 2 คงตามรัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนที่เหลือลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2540
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังกำหนดให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งความเห็นกลับมาที่ พรรคพลังประชาชนภายในสัปดาห์หน้าด้วย ซึ่งพรรคตั้งใจว่า จะยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 19 พ.ค.
ส่วนในบทเฉพาะกาลจะลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง(กกต.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ให้เหลือ 180 วันหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้หรือไม่นั้น นายสามารถ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบทเฉพาะกาลนั้นเป็นไปตามร่างแก้ไขฯเดิม ตามแนวคิดของพรรคพลังประชาชน โดยมีประมาณ 20 มาตรา เนื้อหาสำคัญ เช่น ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ แต่ต้องมีการสรรหาใหม่เพิ่มจาก 9 คน เป็น 15 คน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินให้เปลี่ยนชื่อเป็น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันอยู่จนครบวาระ ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุด ให้กลับไปอยู่ใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม สำหรับ กกต. และ ป.ป.ช.นั้นให้มีการสรรหาใหม่ภายใน 180 วันหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ขณะที่มาตรา 309 ให้ตัดทิ้ง
“สมัคร” ไม่สนอัยการค้าน
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวสั้นๆ ถึงกรณีที่อัยการสูงสุดคัดค้านการจัดโครงสร้างให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาลว่า ปล่อยให้เขาคัดค้านกันไป ไม่มีปัญหา
ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ตนไม่รู้ว่าใครจุดประเด็นว่าอัยการสูงสุดจะกลับมาอยู่ภายใต้รัฐบาล แม้เมื่อนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเป็นตัวตั้งในการแก้ไข ซึ่งจะทำให้อัยการสูงสุดมีโครงสร้าง ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไปตัดประเด็นนี้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลารัฐสภาพิจารณา ถ้ากรรมาธิการมีความเห็นว่า เนื้อหารัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นดีแล้ว ในการให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ การตั้งอัยการสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน ก็สามารถแปรญัตติเข้าไปได้
“ชูศักดิ์” ให้ไปแปรญัตติในขั้น กมธ.
“อย่าไปตีความว่า เราจะตัดหรือไม่ตัดองค์กรต่างๆ เพราะผมบอกแล้วว่า ทางที่ดีที่สุดคือเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้ง ส่วนในชั้นกรรมาธิการก็สามารถ แปรญัตติประเด็นต่างๆได้ แต่อย่าไปตั้งธงอย่างที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่าสงสัยรัฐบาลต้องการจะต่อรองช่วยเหลือทางคดี”
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เช่นเดียวกับกรณีของศาลที่เดิมรัฐธรรมนูญปี 2540 ระบุให้เป็น 4-4-4 แต่รัฐธรรมนูญปี 2550 มาแก้ไขเป็น 6-4-2 แต่ถ้าตุลาการเห็นว่าระบบใหม่คือ 6-4-2 นั้นดี ก็ว่ากันไปในชั้นแปรญัตติ แต่ยืนยันว่าพรรคพลังประชาชน จะไม่มีธงว่าควรจะเป็นอย่างไร และไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดีที่สุดคือให้เป็นหน้าที่ ของอนุกรรมาธิการรับฟังคิดเห็นไปดำเนินการ ซึ่งก็ต้องมีการถามความเห็นจากทั้งสำนักงานอัยการสูงสุดและศาลด้วย
“ที่รัฐธรรมนูญ 2550 เขียนในแง่ให้อัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ มีการเขียนให้คล้ายว่า เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เราก็ไม่ว่าอะไร เขียนเอาไว้อย่างนี้ก็ดี แต่ว่าโดยส่วนตัวผมก็เห็นแปลกอยู่ว่า ทำไมการตั้งอัยการสูงสุด ต้องไปขอความเห็นชอบจากวุฒิสภา แต่ผมก็ไม่ได้เห็นว่า เป็นเรื่องไม่ดี ที่จะบรรจุองค์กรอัยการไว้ตามรัฐธรรมนูญ”
ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียง ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล ที่จะลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีปัญหาหรือไม่ เพราะล่าสุดพรรคมัชฌิมาธิปไตยก็ระบุให้เป็นอิสระฟรีโหวตของ ส.ส.เนื่องจากกลัวเรื่องการถูกถอดถอน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็แล้วแต่หัวหน้าพรรคจะไปคุยกันในวันที่ 25 เม.ย.นี้ ส่วนจะให้ลงชื่อกันอย่างไรก็ว่ากันไป ในส่วนของพรรคพลังประชาชนก็จะให้ประธานวิปเป็นผู้จัดการ ซึ่งก็เป็นดุลพินิจอิสระของแต่ละพรรค
“ชัยเกษม” บอกอยู่ไหนก็อิสระ
นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์ วานนี้ (23 เม.ย.) ถึงการแก้รัฐธรรมนูญ ในประเด็นให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กลับไปอยู่ภายใต้โครงสร้าง กำกับของรัฐบาลว่า ขณะนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดยังไม่ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ผลกระทบจากการแก้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่หากพบว่าการแก้ไขครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดก็จะได้ทำความเห็นเสนอรัฐบาลต่อไปว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว คิดว่าอัยการควรจะยังคงเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระหรือไม่ นายชัยเกษม กล่าวว่า ทุกอย่างต้องพูดกันด้วยเหตุผล การที่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดให้อัยการเป็นองค์กรที่มีความอิสระก็เพื่อไม่ให้ใครเข้ามาก้าวล่วงในดุลพินิจ ดังนั้นคนที่คิดจะแก้กลับไป คงต้องคิดเรื่องนี้ให้ดีว่าสังคมจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของอัยการเท่านั้น เป็นเรื่องของประชาชนด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไม่สนใจหากอัยการจะคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ นายชัยเกษม ย้อนถามว่า "ใครไปบอกนายกฯ ว่าผมจะค้าน" ผู้สื่อข่าวถามว่าอัยการเคยแถลงว่าอัยการพอใจกับรัฐธรรมนูญปี 50 นายชัยเกษม ตอบว่า "เดิมทีเรื่องความเป็นอิสระของอัยการมีกฎหมายรับรองอยู่แล้ว คือ พ.ร.บ.ข้าราชการอัยการ เมื่ออัยการสั่งคดี นายกฯ ก็เข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่เป็นกฎหมายธรรมดา แต่เมื่อมีการยกฐานะอัยการไปอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ทำให้ประชาชนเข้าใจขึ้นว่าการอิสระการสั่งคดีของอัยการได้รับการยอมรับ หากจะต้องกลับไปใช้รัฐธรรมนูญเดิม อัยการก็มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีเหมือนเดิมเพราะมีกฎหมายรองรับ ส่วนจะมีการแก้ไขเรื่องการเกษียณอายุ ราชการของอัยการหรือไม่นั้นก็คงต้องดู เพราะต้องเทียบเคียงกับศาลยุติธรรม"
“จุรินทร์” เตือนอย่าตกหลุมพราง พปช.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคพลังประชาชน จะตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ว่า ต้องยอมรับว่าการใช้สื่อ ไม่เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ฝ่ายที่ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โอกาสที่จะออกสื่อภาครัฐค่อนข้างยาก จะเห็นว่าเป็นสื่อด้านเดียวทั้งหมด จึงอยากให้สื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ได้แสดง ความเห็น ให้เหมือนกับที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอว่า ให้จัดเวทีสาธารณะที่เกี่ยว ข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ข้อมูล และสามารถตัดสินใจ ได้อย่างรอบด้าน โดยให้ฝ่ายเป็นกลาง เช่นสถาบันพระปกเกล้ามาเป็นเจ้าภาพจัด
นายจุรินทร์ กล่าวว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ พูดชัดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบังคับใช้ก่อน ว่ามีส่วนใดที่ทำให้เกิดปัญหากับส่วนรวม หรือประเทศบ้าง แล้วค่อยมากำหนดว่าจะนำมาสู่การแก้ไขในประเด็นใดบ้าง แต่ขณะนี้ไม่ได้มีการศึกษาเลยว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหากับประเทศส่วนใดบ้าง เพียงแต่มีปัญหาส่วนตัวกับนักการเมืองบางคน และบางพรรคเท่านั้น ก็สรุปแล้วว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตรงนี้จึงเป็นที่มาของการต่อต้าน เพราะเป็นการข้ามขั้นตอน
ล่าสุดความคิดที่บอกว่า จะแก้รัฐธรรมนูญโดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้ง ซึ่งดูเหมือนว่า รัฐบาลถอยแล้วแต่ความจริงไม่ได้ถอย ประชาชนอย่าไปตก หลุมพราง เพราะเป็นการตบตามากกว่า ความจริงถ้าจะเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้งก็คือเปลี่ยนวิธีการเท่านั้นเอง แต่เป้าหมายยังเหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะรัฐธรรมปี 2540 ไม่มีมาตรา 237 และมาตรา 309 ดังนั้นในมาตรา 237 การทำผิดเรื่อง คดียุบพรรค ก็สามารถอาศัยช่องว่างตรงนี้หนีรอดพ้นไปได้ และหากไม่มีมาตรา 309 ก็อาจจะใช้ช่องว่างของมาตรานี้ ช่วยเหลือคดีทุจริตในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ให้คนบางคน บางกลุ่ม รวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีด้วย
นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 จะมีประเด็นที่เรียกว่าบันไดขั้นที่ 3 คือ ถอยกลับไปใช้วิธีสรรหาองค์กรอิสระในรูปแบบเก่า ซึ่งตัวแทนพรรคการเมืองสามารถ เข้าไปเป็นกรรมการสรรหาได้ และเมื่อลดวาระ ป.ป.ช. , กกต. แล้วไปเลือกศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเข้ามา ซึ่งพรรครัฐบาลมี 6 เสียง แต่ฝ่ายค้านมี 1 เสียง รัฐบาลคงหวังว่าใช้ 6 เสียงนี้ ชี้เป็นตายว่าจะเอาใครมาเป็น กกต. ,ป.ป.ช. หรือเอาใครมาเป็นศาลรัฐธรรมนูญเพิ่ม เพื่อที่จะเอามาผสมกับศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังเลือกอยู่ในปัจจุบัน โดยหวังว่าเอาพวกตัวเองที่สั่งได้ หรืออยู่ในโอวาทเข้ามาช่วยเหลือคดียุบพรรคและคดีทุจริตที่อยู่ในคตส.ทำความผิดให้กลายเป็นถูก ดังนั้นประชาชนอย่าไปหลงกล
ปชป.ขู่รัฐแก้ รธน.จะส่งศาลตีความ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งฝ่ายค้านติดตามดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งร่างหรือไม่ ซึ่งมีนักกฎหมายหลายคน เสนอความเห็นผ่านทางวิปฝ่ายค้านว่า หากทำเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และอาจจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากรัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเข้าสู่สภา ทางพรรคประชาธิปัตย์จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าประกบ แต่ทั้งนี้คงต้องดูตัวร่างของรัฐบาลด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
“ผมไม่เข้าใจว่าการทำร่างใหม่ทั้งฉบับ พรรคพลังประชาชนไม่รู้หรืออย่างไรว่า จะเกิดกระแสต่อต้านจากสังคมสูงมาก ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรง โดยรัฐบาลก็ดื้อที่จะเดินหน้าต่อไป หรือว่าจงใจที่จะสร้างประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคมแล้วฉกฉวยโอกาสจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในสองเรื่อง คือ การสร้างเหตุการณ์รุนแรงเพื่อให้เกิดวีรบุรุษจนได้อำนาจมาแบบไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้งเปลี่ยนกติกาใหม่ ซึ่งถือว่าน่ากลัวที่สุด เพราะบางคนอาจห่วงว่าเมื่อถึงเวลาเข้าตาจน ก็จะทำทุกอย่างเพิ่อให้ได้อำนาจ และรักษาทรัพย์สินของตัวเองเอาไว้ โดยไม่คำนึงว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร หรือเป็นเพราะเจ้าของอำนาจที่แท้จริงขัดแย้งกับคนที่เป็นนอมินีอยู่ในขณะนี้ จึงต้องการบีบนอมินีปัจจุบันให้ถอยออกจากอำนาจ นำไปสู่การเลือกตั้ง แล้วหานอมินีใหม่ที่ควบคุมได้ เพราะมั่นใจว่าจะได้กลับเข้าสู่สภาอีก”
ประธานวิปฝ่ายค้าน ยังแสดงความกังวลด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกินกำลังที่ฝ่ายค้านจะต้านทานได้ แต่ต้องผนึกกำลังจากทั้งสังคมเพื่อต่อสู้กับความ ไม่ถูกต้อง เพราะขณะนี้รัฐบาลหัวดื้อกำลังทำให้ประเทศไปถึงทางตันจนทุกฝ่ายแทบจะหมดทางเลือกในการต่อสู้ เนื่องจากคนในรัฐบาลมีแต่สายเหยี่ยวไม่เหลือสายพิราบ อยู่เลย จึงน่าเป็นห่วงว่าเราจะป้องกันบ้านเมืองกันได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อแต่ละฝ่ายไม่มีทางเลือก การเผชิญหน้าก็จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่คัดค้านเรื่องนี้ ก็เลือกวิธีการชุมนุมกดดัน ซึ่งหลายฝ่ายก็กังวลว่าจะนำไปสู่ความวุ่นวาย แต่พันธมิตรฯเขาก็ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ เพราะไม่ว่าอย่างไรรัฐบาลก็ไม่ยอมถอย
นายสาทิตย์ กล่าวว่าฝ่ายค้านจะเปิดเวทีทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มเวทีแรกที่สภาในต้นเดือนหน้า และจะตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงกระบวนการที่ถูกต้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด
“ที่น่าห่วงคือ พรรคพลังประชาชนไม่มีใครเป็นหลัก การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีเอกภาพ ขาดความชัดเจน ไม่มีใครที่เข้าใจถึงสภาพสังคม ปัญหาทางกฎหมายที่แท้จริง แต่คนเหล่านั้นกำลังเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะกลายเป็นว่าประเด็นในการแก้ไขไม่ได้พิจารณาตามปัญหาของสังคม แต่ใช้วิธีพวกมากลากไป ซึ่งประเด็นนี้ผมคิดว่าไม่เพียงแต่ฝ่ายค้าน ที่เป็นห่วง แม้แต่ ส.ว.หลายคนก็แสดงความกังวลเช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ ส.ส. และ ส.ว.จะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดจุดยืน ช่วยยับยั้งวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศอีกทางหนึ่ง”
ชี้หากคดียุบถึงศาลไม่มีผลย้อนหลัง
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า หากมีการเสนอร่างแก้ไขเข้ามาก็ต้องมีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาว่าจะรับหลักการหรือไม่ ซึ่งหากรับหลักการก็จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ ขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้ในส่วนของ ส.ว. ก็จะชี้แจงผลดี ผลเสียในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งรับฟังเสียงประชาชน แต่โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะทำประชามติถามประชาชน เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและ เวลา
ส่วนที่นักวิชาการออกมาระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการตัดตอนอำนาจ ตุลาการในฐานะเป็นอดีตผู้พิพากษา มองเรื่องนี้อย่างไร นายประสพสุขกล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งตนมองว่า กฎหมายไม่มีผล ย้อนหลัง ส่วนการพิจารณาคดียุบพรรคหากเสร็จในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับใช้ก็ต้องยึดตามนั้น แต่ถ้ากระบวนการพิจารณายุบพรรคยังไม่เสร็จ แล้วแก้กฎหมายเสร็จก่อน ก็ต้องมาถกเถียงกันอีกในเรื่องข้อกฎหมาย เมื่อถามย้ำว่า หากเรื่องการยุบพรรค เข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตรงนี้กฎหมายจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ไม่มีผลย้อนหลัง
กกต.ไม่กดดันลดวาระตำแหน่ง
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.กล่าวถึงการปรับลดวาระกกต. ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตนอยากทำงานให้ได้ดีที่สุด เพียงแต่มีเค้าว่าระยะเวลาสั้นลง ก็อยากทำให้มากที่สุด ดีที่สุด เรื่องตำแหน่ง กกต.ทุกคนไม่ได้ยึดติดและถือว่า เข้ามาทำหน้าที่เพื่อชาติ และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาสำนวนต่างๆ ที่เหลืออยู่เพราะยังมีเวลาอีกมากในการพิจารณา ซึ่งกระบวนการต่างๆ น่าจะใช้เวลา เต็มที่อีกประมาณ 1 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าขณะนี้การเมืองเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระอย่างกกต.หรือยัง นายอภิชาต กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปเห็นอยู่ ส่วนช่วงเวลาที่เหลืออยู่ กกต.พยายามจะทำทุกอย่างตรงไปตรงมา เชื่อว่าทุกคนคงรับทราบ และตอนนี้เราดีใจที่ได้ปูพื้นฐาน ต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งตนก็ไม่รู้สึกหนักใจ หรือกดดัน พยายามทำตรงไปตรงมา ที่สุด และประชาชนก็เข้าใจการทำงานและให้การสนับสนุน
“จักรภพ” จวกผู้ใหญ่ของ ปท.ให้ร้าย
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตแกนนำ นปก. กล่าวถึงการจัดเสวนาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ว่า เราต้อนรับการตรวจสอบการทำงานของรัรฐบาลอย่างถูกต้อง เวลานี้ระบบรัฐสภามีอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หายไปไหน หากจะมีกลุ่มพันธมิตรฯ ขึ้นมาเป็นอีกพรรค หรืออีกหน่วยงานหนึ่งก็ว่ากันไป เพียงแต่จะต้องรู้ขอบเขตว่า ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครมีมากกว่าใคร การออกมาเรียกร้องต่างๆ เราก็หวังว่า จะสื่อสารออกมาในทางที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข รัฐบาลทำงานมาตลอด 2 เดือน การโต้ตอบกันก็มีบ้าง แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่คนที่พยายามจะให้ร้ายสังคมมีอยู่เสมอ บางครั้งก็เป็นคนระดับผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสังคมโดยรวม คงจะช่วยทำให้เกิดความเรียบร้อยด้วยการไม่สะท้อนเสียงที่สร้างความแตกแยกให้ขยายกว้างเกินไป
“ใครมีสื่อของตนเอง ก็ประโคมในสื่อของตนเองไป ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประหลาดอีกแล้ว อยู่ที่ว่าสังคมเขาจะเชื่อตามที่ตัวประโคมหรือไม่ ผมขอบคุณสื่อมวลชน กระแสหลัก เพราะในช่วงหลังเห็นได้ชัดว่า ช่วยเลือก และแยกแยะให้ บางครั้งเป็นการจุดประเด็นของคนกลุ่มหนึ่ง สื่อกระแสหลักก็เสนอข่าวตามปกติ แต่ไม่ได้ให้น้ำหนักจนเกินควร จนกลายเป็นปัญหาในสังคม ขณะนี้สื่อ นักวิชาการ ข้าราชการ ที่เป็นกระแสหลักกำลังค่อย ๆ ช่วยกันนำประเทศกลับคืนสู่ความสมดุล แต่ไม่ได้แปลว่าจะวิจารณ์รัฐบาลไม่ได้ เพียงแต่ควรจะทำให้ขอบเขตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเวลานี้หลายอย่างเริ่มจะดีขึ้นแล้ว”
“เฉลิม” ไม่ให้ราคาพันธมิตรฯ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะชุมนุมก็เชิญ เพราะไม่อยากให้ราคา เพราะไม่มีราคาอยู่แล้ว ขอให้พันธมิตรฯ โชคดี ให้มีคนฟังเยอะๆ แต่ใครก็ตามที่ไปขนคนมา หรือทำให้ประเทศชาติปั่นป่วน ทำให้การลงทุนชะงัก ขอสาปแช่งให้คนกลุ่มนั้นวิบัติ
“สนธิ (ลิ้มทองกุล) เพื่อนรักให้รถบีเอ็มราคาสิบล้านกับดวงเฉลิม ส่วนอาจหาญ ให้รถปอร์เชสีแดง ทุกอย่างของลุงธิหลานๆ ยังเก็บไว้ครบทุกชิ้น แม้กระทั่งหัวใจดวงน้อยๆ ถ้าอยู่ใกล้ๆ ผมจะตุ๊ยพุงสักที แล้วมาบอกว่าไม่รู้จักผม ก่อนหน้านี้สนธิยังเคยเชียร์ผมเป็นนายกฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ผมยังบอกว่าหาเรื่องตายให้หรือ ผมเป็นทุกอย่างได้ ยกเว้นตำแหน่งนายกฯ”
บช.น.วางกำลังดูแลกลุ่มพันธมิตรฯ
พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. กล่าวถึงการรักษาความเรียบร้อยในการ เสวนาของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจนครบาล 1 ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจของ กทม. และฝ่ายข่าวของกองทัพ ร่วมกันดูแลและประสานกับกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ปิดประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยฝั่งสนามหลวง โดยจะนำรถบรรทุกขยายเสียงของ บชน.มาปิดกั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อลดการเผชิญหน้ากัน ส่วนผู้ที่จะออกมาคัดค้านการเสวนาเชื่อว่าจะมีส่วนน้อย ตำรวจจะดูแลให้อยู่เฉพาะบริเวณทางเท้าไม่ให้ลงมากีดขวางพื้นผิวการจราจร
พล.ต.ท.อัศวิน ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกแล้ว อาจจะทำให้มีการขนคนมาประท้วงการชุมนุมนั้นว่า ตนเชื่อว่าไม่มี เพราะจิตวิญญาณ ความเป็นคนไทยมีสิทธิที่จะคิด เชื่อว่าความคิดเห็นที่แตกต่างจะไม่เป็นชนวน ก่อให้เกิดความเสียงแตก แต่ถ้าหากมีการใช้กำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีมาตรการรองรับโดยจะจัดการขั้นเด็ดขาด หากเห็นว่าการกระทำนั้นเข้าลักษณะความผิดอาญา
“ตำรวจมีเกราะป้องกันให้กลุ่มพันธมิตรฯ อยู่แต่เฉพาะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนกลุ่มต่อต้านจะกันให้อยู่ฝั่งสนามหลวง โดยอยากจะวิงวอนประชาชนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นหรือกลุ่มที่ต่อต้านขอให้ชุมนุมอยู่ภายใน กรอบและระเบียบเพราะคนไทยเป็นพี่น้องกันทั้งนั้น แม้จะคิดกันคนละอย่างก็ค่อยๆ คิดกันไป แต่อย่าใช้กำลังตัดสินกัน เชื่อว่าไม่มีใครแฝงตัวเข้าไปก่อความวุ่นวาย เพราะถ้าถูกจับได้ผมว่าตายก่อน”
ที่รัฐสภา วานนี้ (23 เม.ย.) คณะอนุกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) มีการประชุมถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยใช้เวลาประชุมเพึยง 10 นาที
นายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล แถลงว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชน ได้มอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค ไปพิจารณาศึกษาแล้ว โดยเป็นไปตามร่างเดิม คือ หมวด 1 และ หมวด 2 คงตามรัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนที่เหลือลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2540
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังกำหนดให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งความเห็นกลับมาที่ พรรคพลังประชาชนภายในสัปดาห์หน้าด้วย ซึ่งพรรคตั้งใจว่า จะยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 19 พ.ค.
ส่วนในบทเฉพาะกาลจะลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง(กกต.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ให้เหลือ 180 วันหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้หรือไม่นั้น นายสามารถ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบทเฉพาะกาลนั้นเป็นไปตามร่างแก้ไขฯเดิม ตามแนวคิดของพรรคพลังประชาชน โดยมีประมาณ 20 มาตรา เนื้อหาสำคัญ เช่น ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ แต่ต้องมีการสรรหาใหม่เพิ่มจาก 9 คน เป็น 15 คน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินให้เปลี่ยนชื่อเป็น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันอยู่จนครบวาระ ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุด ให้กลับไปอยู่ใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม สำหรับ กกต. และ ป.ป.ช.นั้นให้มีการสรรหาใหม่ภายใน 180 วันหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ขณะที่มาตรา 309 ให้ตัดทิ้ง
“สมัคร” ไม่สนอัยการค้าน
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวสั้นๆ ถึงกรณีที่อัยการสูงสุดคัดค้านการจัดโครงสร้างให้สำนักงานอัยการสูงสุดไปอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาลว่า ปล่อยให้เขาคัดค้านกันไป ไม่มีปัญหา
ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ตนไม่รู้ว่าใครจุดประเด็นว่าอัยการสูงสุดจะกลับมาอยู่ภายใต้รัฐบาล แม้เมื่อนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเป็นตัวตั้งในการแก้ไข ซึ่งจะทำให้อัยการสูงสุดมีโครงสร้าง ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไปตัดประเด็นนี้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลารัฐสภาพิจารณา ถ้ากรรมาธิการมีความเห็นว่า เนื้อหารัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นดีแล้ว ในการให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ การตั้งอัยการสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน ก็สามารถแปรญัตติเข้าไปได้
“ชูศักดิ์” ให้ไปแปรญัตติในขั้น กมธ.
“อย่าไปตีความว่า เราจะตัดหรือไม่ตัดองค์กรต่างๆ เพราะผมบอกแล้วว่า ทางที่ดีที่สุดคือเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้ง ส่วนในชั้นกรรมาธิการก็สามารถ แปรญัตติประเด็นต่างๆได้ แต่อย่าไปตั้งธงอย่างที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่าสงสัยรัฐบาลต้องการจะต่อรองช่วยเหลือทางคดี”
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เช่นเดียวกับกรณีของศาลที่เดิมรัฐธรรมนูญปี 2540 ระบุให้เป็น 4-4-4 แต่รัฐธรรมนูญปี 2550 มาแก้ไขเป็น 6-4-2 แต่ถ้าตุลาการเห็นว่าระบบใหม่คือ 6-4-2 นั้นดี ก็ว่ากันไปในชั้นแปรญัตติ แต่ยืนยันว่าพรรคพลังประชาชน จะไม่มีธงว่าควรจะเป็นอย่างไร และไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดีที่สุดคือให้เป็นหน้าที่ ของอนุกรรมาธิการรับฟังคิดเห็นไปดำเนินการ ซึ่งก็ต้องมีการถามความเห็นจากทั้งสำนักงานอัยการสูงสุดและศาลด้วย
“ที่รัฐธรรมนูญ 2550 เขียนในแง่ให้อัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ มีการเขียนให้คล้ายว่า เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เราก็ไม่ว่าอะไร เขียนเอาไว้อย่างนี้ก็ดี แต่ว่าโดยส่วนตัวผมก็เห็นแปลกอยู่ว่า ทำไมการตั้งอัยการสูงสุด ต้องไปขอความเห็นชอบจากวุฒิสภา แต่ผมก็ไม่ได้เห็นว่า เป็นเรื่องไม่ดี ที่จะบรรจุองค์กรอัยการไว้ตามรัฐธรรมนูญ”
ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียง ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล ที่จะลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีปัญหาหรือไม่ เพราะล่าสุดพรรคมัชฌิมาธิปไตยก็ระบุให้เป็นอิสระฟรีโหวตของ ส.ส.เนื่องจากกลัวเรื่องการถูกถอดถอน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็แล้วแต่หัวหน้าพรรคจะไปคุยกันในวันที่ 25 เม.ย.นี้ ส่วนจะให้ลงชื่อกันอย่างไรก็ว่ากันไป ในส่วนของพรรคพลังประชาชนก็จะให้ประธานวิปเป็นผู้จัดการ ซึ่งก็เป็นดุลพินิจอิสระของแต่ละพรรค
“ชัยเกษม” บอกอยู่ไหนก็อิสระ
นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์ วานนี้ (23 เม.ย.) ถึงการแก้รัฐธรรมนูญ ในประเด็นให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กลับไปอยู่ภายใต้โครงสร้าง กำกับของรัฐบาลว่า ขณะนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดยังไม่ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ผลกระทบจากการแก้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่หากพบว่าการแก้ไขครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดก็จะได้ทำความเห็นเสนอรัฐบาลต่อไปว่าจะเห็นด้วยหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว คิดว่าอัยการควรจะยังคงเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระหรือไม่ นายชัยเกษม กล่าวว่า ทุกอย่างต้องพูดกันด้วยเหตุผล การที่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 กำหนดให้อัยการเป็นองค์กรที่มีความอิสระก็เพื่อไม่ให้ใครเข้ามาก้าวล่วงในดุลพินิจ ดังนั้นคนที่คิดจะแก้กลับไป คงต้องคิดเรื่องนี้ให้ดีว่าสังคมจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของอัยการเท่านั้น เป็นเรื่องของประชาชนด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไม่สนใจหากอัยการจะคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ นายชัยเกษม ย้อนถามว่า "ใครไปบอกนายกฯ ว่าผมจะค้าน" ผู้สื่อข่าวถามว่าอัยการเคยแถลงว่าอัยการพอใจกับรัฐธรรมนูญปี 50 นายชัยเกษม ตอบว่า "เดิมทีเรื่องความเป็นอิสระของอัยการมีกฎหมายรับรองอยู่แล้ว คือ พ.ร.บ.ข้าราชการอัยการ เมื่ออัยการสั่งคดี นายกฯ ก็เข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่เป็นกฎหมายธรรมดา แต่เมื่อมีการยกฐานะอัยการไปอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ทำให้ประชาชนเข้าใจขึ้นว่าการอิสระการสั่งคดีของอัยการได้รับการยอมรับ หากจะต้องกลับไปใช้รัฐธรรมนูญเดิม อัยการก็มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีเหมือนเดิมเพราะมีกฎหมายรองรับ ส่วนจะมีการแก้ไขเรื่องการเกษียณอายุ ราชการของอัยการหรือไม่นั้นก็คงต้องดู เพราะต้องเทียบเคียงกับศาลยุติธรรม"
“จุรินทร์” เตือนอย่าตกหลุมพราง พปช.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคพลังประชาชน จะตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ว่า ต้องยอมรับว่าการใช้สื่อ ไม่เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ฝ่ายที่ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โอกาสที่จะออกสื่อภาครัฐค่อนข้างยาก จะเห็นว่าเป็นสื่อด้านเดียวทั้งหมด จึงอยากให้สื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ได้แสดง ความเห็น ให้เหมือนกับที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอว่า ให้จัดเวทีสาธารณะที่เกี่ยว ข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ข้อมูล และสามารถตัดสินใจ ได้อย่างรอบด้าน โดยให้ฝ่ายเป็นกลาง เช่นสถาบันพระปกเกล้ามาเป็นเจ้าภาพจัด
นายจุรินทร์ กล่าวว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ พูดชัดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบังคับใช้ก่อน ว่ามีส่วนใดที่ทำให้เกิดปัญหากับส่วนรวม หรือประเทศบ้าง แล้วค่อยมากำหนดว่าจะนำมาสู่การแก้ไขในประเด็นใดบ้าง แต่ขณะนี้ไม่ได้มีการศึกษาเลยว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหากับประเทศส่วนใดบ้าง เพียงแต่มีปัญหาส่วนตัวกับนักการเมืองบางคน และบางพรรคเท่านั้น ก็สรุปแล้วว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตรงนี้จึงเป็นที่มาของการต่อต้าน เพราะเป็นการข้ามขั้นตอน
ล่าสุดความคิดที่บอกว่า จะแก้รัฐธรรมนูญโดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้ง ซึ่งดูเหมือนว่า รัฐบาลถอยแล้วแต่ความจริงไม่ได้ถอย ประชาชนอย่าไปตก หลุมพราง เพราะเป็นการตบตามากกว่า ความจริงถ้าจะเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นตัวตั้งก็คือเปลี่ยนวิธีการเท่านั้นเอง แต่เป้าหมายยังเหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะรัฐธรรมปี 2540 ไม่มีมาตรา 237 และมาตรา 309 ดังนั้นในมาตรา 237 การทำผิดเรื่อง คดียุบพรรค ก็สามารถอาศัยช่องว่างตรงนี้หนีรอดพ้นไปได้ และหากไม่มีมาตรา 309 ก็อาจจะใช้ช่องว่างของมาตรานี้ ช่วยเหลือคดีทุจริตในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ให้คนบางคน บางกลุ่ม รวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีด้วย
นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 จะมีประเด็นที่เรียกว่าบันไดขั้นที่ 3 คือ ถอยกลับไปใช้วิธีสรรหาองค์กรอิสระในรูปแบบเก่า ซึ่งตัวแทนพรรคการเมืองสามารถ เข้าไปเป็นกรรมการสรรหาได้ และเมื่อลดวาระ ป.ป.ช. , กกต. แล้วไปเลือกศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเข้ามา ซึ่งพรรครัฐบาลมี 6 เสียง แต่ฝ่ายค้านมี 1 เสียง รัฐบาลคงหวังว่าใช้ 6 เสียงนี้ ชี้เป็นตายว่าจะเอาใครมาเป็น กกต. ,ป.ป.ช. หรือเอาใครมาเป็นศาลรัฐธรรมนูญเพิ่ม เพื่อที่จะเอามาผสมกับศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังเลือกอยู่ในปัจจุบัน โดยหวังว่าเอาพวกตัวเองที่สั่งได้ หรืออยู่ในโอวาทเข้ามาช่วยเหลือคดียุบพรรคและคดีทุจริตที่อยู่ในคตส.ทำความผิดให้กลายเป็นถูก ดังนั้นประชาชนอย่าไปหลงกล
ปชป.ขู่รัฐแก้ รธน.จะส่งศาลตีความ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งฝ่ายค้านติดตามดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งร่างหรือไม่ ซึ่งมีนักกฎหมายหลายคน เสนอความเห็นผ่านทางวิปฝ่ายค้านว่า หากทำเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และอาจจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากรัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเข้าสู่สภา ทางพรรคประชาธิปัตย์จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าประกบ แต่ทั้งนี้คงต้องดูตัวร่างของรัฐบาลด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
“ผมไม่เข้าใจว่าการทำร่างใหม่ทั้งฉบับ พรรคพลังประชาชนไม่รู้หรืออย่างไรว่า จะเกิดกระแสต่อต้านจากสังคมสูงมาก ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรง โดยรัฐบาลก็ดื้อที่จะเดินหน้าต่อไป หรือว่าจงใจที่จะสร้างประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคมแล้วฉกฉวยโอกาสจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในสองเรื่อง คือ การสร้างเหตุการณ์รุนแรงเพื่อให้เกิดวีรบุรุษจนได้อำนาจมาแบบไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้งเปลี่ยนกติกาใหม่ ซึ่งถือว่าน่ากลัวที่สุด เพราะบางคนอาจห่วงว่าเมื่อถึงเวลาเข้าตาจน ก็จะทำทุกอย่างเพิ่อให้ได้อำนาจ และรักษาทรัพย์สินของตัวเองเอาไว้ โดยไม่คำนึงว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร หรือเป็นเพราะเจ้าของอำนาจที่แท้จริงขัดแย้งกับคนที่เป็นนอมินีอยู่ในขณะนี้ จึงต้องการบีบนอมินีปัจจุบันให้ถอยออกจากอำนาจ นำไปสู่การเลือกตั้ง แล้วหานอมินีใหม่ที่ควบคุมได้ เพราะมั่นใจว่าจะได้กลับเข้าสู่สภาอีก”
ประธานวิปฝ่ายค้าน ยังแสดงความกังวลด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกินกำลังที่ฝ่ายค้านจะต้านทานได้ แต่ต้องผนึกกำลังจากทั้งสังคมเพื่อต่อสู้กับความ ไม่ถูกต้อง เพราะขณะนี้รัฐบาลหัวดื้อกำลังทำให้ประเทศไปถึงทางตันจนทุกฝ่ายแทบจะหมดทางเลือกในการต่อสู้ เนื่องจากคนในรัฐบาลมีแต่สายเหยี่ยวไม่เหลือสายพิราบ อยู่เลย จึงน่าเป็นห่วงว่าเราจะป้องกันบ้านเมืองกันได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อแต่ละฝ่ายไม่มีทางเลือก การเผชิญหน้าก็จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่คัดค้านเรื่องนี้ ก็เลือกวิธีการชุมนุมกดดัน ซึ่งหลายฝ่ายก็กังวลว่าจะนำไปสู่ความวุ่นวาย แต่พันธมิตรฯเขาก็ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ เพราะไม่ว่าอย่างไรรัฐบาลก็ไม่ยอมถอย
นายสาทิตย์ กล่าวว่าฝ่ายค้านจะเปิดเวทีทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มเวทีแรกที่สภาในต้นเดือนหน้า และจะตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงกระบวนการที่ถูกต้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด
“ที่น่าห่วงคือ พรรคพลังประชาชนไม่มีใครเป็นหลัก การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีเอกภาพ ขาดความชัดเจน ไม่มีใครที่เข้าใจถึงสภาพสังคม ปัญหาทางกฎหมายที่แท้จริง แต่คนเหล่านั้นกำลังเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะกลายเป็นว่าประเด็นในการแก้ไขไม่ได้พิจารณาตามปัญหาของสังคม แต่ใช้วิธีพวกมากลากไป ซึ่งประเด็นนี้ผมคิดว่าไม่เพียงแต่ฝ่ายค้าน ที่เป็นห่วง แม้แต่ ส.ว.หลายคนก็แสดงความกังวลเช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่ ส.ส. และ ส.ว.จะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดจุดยืน ช่วยยับยั้งวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศอีกทางหนึ่ง”
ชี้หากคดียุบถึงศาลไม่มีผลย้อนหลัง
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า หากมีการเสนอร่างแก้ไขเข้ามาก็ต้องมีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาว่าจะรับหลักการหรือไม่ ซึ่งหากรับหลักการก็จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ ขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้ในส่วนของ ส.ว. ก็จะชี้แจงผลดี ผลเสียในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งรับฟังเสียงประชาชน แต่โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะทำประชามติถามประชาชน เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและ เวลา
ส่วนที่นักวิชาการออกมาระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการตัดตอนอำนาจ ตุลาการในฐานะเป็นอดีตผู้พิพากษา มองเรื่องนี้อย่างไร นายประสพสุขกล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งตนมองว่า กฎหมายไม่มีผล ย้อนหลัง ส่วนการพิจารณาคดียุบพรรคหากเสร็จในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับใช้ก็ต้องยึดตามนั้น แต่ถ้ากระบวนการพิจารณายุบพรรคยังไม่เสร็จ แล้วแก้กฎหมายเสร็จก่อน ก็ต้องมาถกเถียงกันอีกในเรื่องข้อกฎหมาย เมื่อถามย้ำว่า หากเรื่องการยุบพรรค เข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตรงนี้กฎหมายจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ไม่มีผลย้อนหลัง
กกต.ไม่กดดันลดวาระตำแหน่ง
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.กล่าวถึงการปรับลดวาระกกต. ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตนอยากทำงานให้ได้ดีที่สุด เพียงแต่มีเค้าว่าระยะเวลาสั้นลง ก็อยากทำให้มากที่สุด ดีที่สุด เรื่องตำแหน่ง กกต.ทุกคนไม่ได้ยึดติดและถือว่า เข้ามาทำหน้าที่เพื่อชาติ และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาสำนวนต่างๆ ที่เหลืออยู่เพราะยังมีเวลาอีกมากในการพิจารณา ซึ่งกระบวนการต่างๆ น่าจะใช้เวลา เต็มที่อีกประมาณ 1 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าขณะนี้การเมืองเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระอย่างกกต.หรือยัง นายอภิชาต กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปเห็นอยู่ ส่วนช่วงเวลาที่เหลืออยู่ กกต.พยายามจะทำทุกอย่างตรงไปตรงมา เชื่อว่าทุกคนคงรับทราบ และตอนนี้เราดีใจที่ได้ปูพื้นฐาน ต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งตนก็ไม่รู้สึกหนักใจ หรือกดดัน พยายามทำตรงไปตรงมา ที่สุด และประชาชนก็เข้าใจการทำงานและให้การสนับสนุน
“จักรภพ” จวกผู้ใหญ่ของ ปท.ให้ร้าย
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตแกนนำ นปก. กล่าวถึงการจัดเสวนาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 25 เม.ย.นี้ว่า เราต้อนรับการตรวจสอบการทำงานของรัรฐบาลอย่างถูกต้อง เวลานี้ระบบรัฐสภามีอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หายไปไหน หากจะมีกลุ่มพันธมิตรฯ ขึ้นมาเป็นอีกพรรค หรืออีกหน่วยงานหนึ่งก็ว่ากันไป เพียงแต่จะต้องรู้ขอบเขตว่า ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครมีมากกว่าใคร การออกมาเรียกร้องต่างๆ เราก็หวังว่า จะสื่อสารออกมาในทางที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข รัฐบาลทำงานมาตลอด 2 เดือน การโต้ตอบกันก็มีบ้าง แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความวุ่นวาย แต่คนที่พยายามจะให้ร้ายสังคมมีอยู่เสมอ บางครั้งก็เป็นคนระดับผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสังคมโดยรวม คงจะช่วยทำให้เกิดความเรียบร้อยด้วยการไม่สะท้อนเสียงที่สร้างความแตกแยกให้ขยายกว้างเกินไป
“ใครมีสื่อของตนเอง ก็ประโคมในสื่อของตนเองไป ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประหลาดอีกแล้ว อยู่ที่ว่าสังคมเขาจะเชื่อตามที่ตัวประโคมหรือไม่ ผมขอบคุณสื่อมวลชน กระแสหลัก เพราะในช่วงหลังเห็นได้ชัดว่า ช่วยเลือก และแยกแยะให้ บางครั้งเป็นการจุดประเด็นของคนกลุ่มหนึ่ง สื่อกระแสหลักก็เสนอข่าวตามปกติ แต่ไม่ได้ให้น้ำหนักจนเกินควร จนกลายเป็นปัญหาในสังคม ขณะนี้สื่อ นักวิชาการ ข้าราชการ ที่เป็นกระแสหลักกำลังค่อย ๆ ช่วยกันนำประเทศกลับคืนสู่ความสมดุล แต่ไม่ได้แปลว่าจะวิจารณ์รัฐบาลไม่ได้ เพียงแต่ควรจะทำให้ขอบเขตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเวลานี้หลายอย่างเริ่มจะดีขึ้นแล้ว”
“เฉลิม” ไม่ให้ราคาพันธมิตรฯ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะชุมนุมก็เชิญ เพราะไม่อยากให้ราคา เพราะไม่มีราคาอยู่แล้ว ขอให้พันธมิตรฯ โชคดี ให้มีคนฟังเยอะๆ แต่ใครก็ตามที่ไปขนคนมา หรือทำให้ประเทศชาติปั่นป่วน ทำให้การลงทุนชะงัก ขอสาปแช่งให้คนกลุ่มนั้นวิบัติ
“สนธิ (ลิ้มทองกุล) เพื่อนรักให้รถบีเอ็มราคาสิบล้านกับดวงเฉลิม ส่วนอาจหาญ ให้รถปอร์เชสีแดง ทุกอย่างของลุงธิหลานๆ ยังเก็บไว้ครบทุกชิ้น แม้กระทั่งหัวใจดวงน้อยๆ ถ้าอยู่ใกล้ๆ ผมจะตุ๊ยพุงสักที แล้วมาบอกว่าไม่รู้จักผม ก่อนหน้านี้สนธิยังเคยเชียร์ผมเป็นนายกฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ผมยังบอกว่าหาเรื่องตายให้หรือ ผมเป็นทุกอย่างได้ ยกเว้นตำแหน่งนายกฯ”
บช.น.วางกำลังดูแลกลุ่มพันธมิตรฯ
พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. กล่าวถึงการรักษาความเรียบร้อยในการ เสวนาของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจนครบาล 1 ทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจของ กทม. และฝ่ายข่าวของกองทัพ ร่วมกันดูแลและประสานกับกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ปิดประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยฝั่งสนามหลวง โดยจะนำรถบรรทุกขยายเสียงของ บชน.มาปิดกั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อลดการเผชิญหน้ากัน ส่วนผู้ที่จะออกมาคัดค้านการเสวนาเชื่อว่าจะมีส่วนน้อย ตำรวจจะดูแลให้อยู่เฉพาะบริเวณทางเท้าไม่ให้ลงมากีดขวางพื้นผิวการจราจร
พล.ต.ท.อัศวิน ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกแล้ว อาจจะทำให้มีการขนคนมาประท้วงการชุมนุมนั้นว่า ตนเชื่อว่าไม่มี เพราะจิตวิญญาณ ความเป็นคนไทยมีสิทธิที่จะคิด เชื่อว่าความคิดเห็นที่แตกต่างจะไม่เป็นชนวน ก่อให้เกิดความเสียงแตก แต่ถ้าหากมีการใช้กำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีมาตรการรองรับโดยจะจัดการขั้นเด็ดขาด หากเห็นว่าการกระทำนั้นเข้าลักษณะความผิดอาญา
“ตำรวจมีเกราะป้องกันให้กลุ่มพันธมิตรฯ อยู่แต่เฉพาะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนกลุ่มต่อต้านจะกันให้อยู่ฝั่งสนามหลวง โดยอยากจะวิงวอนประชาชนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นหรือกลุ่มที่ต่อต้านขอให้ชุมนุมอยู่ภายใน กรอบและระเบียบเพราะคนไทยเป็นพี่น้องกันทั้งนั้น แม้จะคิดกันคนละอย่างก็ค่อยๆ คิดกันไป แต่อย่าใช้กำลังตัดสินกัน เชื่อว่าไม่มีใครแฝงตัวเข้าไปก่อความวุ่นวาย เพราะถ้าถูกจับได้ผมว่าตายก่อน”