คลิก! อ่าน การฟื้นฟูบูรณะประเทศ หลังวิกฤตการณ์รุนแรง (ตอนที่ 1)
(4) ความเข้มแข็งของระบบศาลและเสรีภาพของสื่อมวลชน ความเข้มแข็งของระบบศาล และเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสาหลักของประชาธิปไตย เผด็จการจะคุกคามขัดขวางอำนาจของตุลาการและเสรีภาพของสื่อมวลชนเสมอ ความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองจะช่วยปกป้องศาลและสื่อมวลชนจากการคุกคามของการเมือง
(5) ระบบการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ ประชาธิปไตยคือการเปิดพื้นที่ เผด็จการคือการปิดพื้นที่ ที่แล้วมาการสื่อสารเป็นเครื่องมือของรัฐและธุรกิจ แต่ปิดพื้นที่สำหรับประชาชน ต่อไปต้องมีระบบการสื่อสารที่ประชาชนทั้งประเทศใช้สื่อสารได้ทั้งโดยวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต
วันหนึ่งๆ จะมีประชาชนสื่อสารเป็นแสนๆ ชิ้น อาจเป็นเรื่องร้องทุกข์เจ้าหน้าที่รัฐ เรื่องการทำมาหากิน เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือเรื่องข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านเมือง ควรมีระบบการสังเคราะห์จัดหมวดหมู่เรื่องที่ประชาชนสื่อสาร และนำไปใช้งานอย่างเหมาะสมต่อไป การที่ประชาชนสามารถสื่อสารกันได้ทั้งประเทศ จะเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตย ความชั่วจะลดลงความดีจะเพิ่มขึ้น บ้านเมืองจะเจริญอย่างรวดเร็ว การเมืองภาคพลเมืองควรจะเข้ามาดูแลผลักดันให้เกิดระบบการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ
(6) ลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบททำให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่ไม่มีทางออกอย่างที่ผ่านมา กล่าวคือชาวชนบทเลือกผู้แทนราษฎรอย่างหนึ่ง ชาวเมืองเลือกอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากชนบทมีผู้แทนราษฎรมากกว่า ชนบทจึงเป็นผู้ตั้งรัฐบาล แต่ชาวเมืองเป็นผู้ล้มรัฐบาลแบบที่ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เรียกว่า “สองนัคราประชาธิปไตย” ความขัดแย้งทางการเมืองคือความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท ต้องระวังมิให้การเมืองมาทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างเมืองกับชนบทรุนแรงขึ้น ชาวเมืองจะต้องสนใจในการลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทอย่างจริงจัง ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การเปิดพื้นที่การสื่อสารดังกล่าวข้างบน เป็นการทำให้ชนบทเข้มแข็ง ถ้าระบบเศรษฐกิจมหภาคไปเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนอย่างเกื้อกูลกันจะลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทลง ถ้าระบบการศึกษาทั้งหมดหันมาสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นจะเข้มแข็งโดยรวดเร็ว ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทจะลดลงและหายไป
การลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทคือการพัฒนาการเมือง
(7) ปรับระบบการศึกษาให้ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นพลเมือง ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ระบบการศึกษามีผลอย่างมากต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ถ้าความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นก็ดี ความเป็นพลเมืองก็ดี ความเป็นประชาสังคมก็ดี การเมืองภาคพลเมืองก็ดี หรือการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนก็ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตย ถ้าระบบการศึกษาผละจากการลอยตัว (Non-engaged) มาเป็นระบบการศึกษาที่กัมมันตะ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างความเป็นพลเมือง ความเป็นประชาสังคม การเมืองภาคพลเมือง และเป็นปากเป็นเสียงให้กับการเปิดพื้นที่การสื่อสารให้ประชาชน จะเป็นคุณต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยิ่ง การเมืองภาคพลเมืองและภาคธุรกิจน่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ระบบการศึกษาสามารถปรับตัวดังกล่าวได้
(8) ลดอำนาจเงินทางการเมืองหรือธนาธิปไตย การที่มีการใช้เงินขนาดใหญ่เข้ามาช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดธนกิจการเมือง (Money Politics) เป็นต้นตอให้การเมืองด้อยคุณภาพ ด้อยจริยธรรม นำไปสู่ความขัดแย้งและอาจเกิดความรุนแรง หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงคราวนี้ต้องร่วมกันหาทางวางระบบเพื่อลดอำนาจเงินทางการเมือง เช่น
ให้สมัคร ส.ส. ได้โดยไม่สังกัดพรรค เพื่อความเป็นอิสระจากนายทุนเจ้าของพรรค
พรรคการเมืองต้องเป็นองค์กรมหาชนไม่ใช่มีเจ้าของพรรค พรรคการเมืองต้องเกิดจากการรวมตัวของคนที่มีอุดมการณ์ที่จะทำเพื่อบ้านเมือง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งมีเงินมากแล้วมาเป็นเจ้าของพรรคควบคุมกินรวบได้เบ็ดเสร็จ นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตย พรรคการเมืองต้องมีโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตย ได้รับเงินอุดหนุนจากสมาชิกไม่ใช่ไปแจกเงินซื้อเสียง ที่แล้วมามีความพยายามที่จะขจัดการซื้อเสียงด้วยการมีองค์กรอิสระและการบัญญัติโทษที่แรง แต่ก็ยังไม่ได้ผล การเมืองภาคพลเมืองต้องเข้ามาช่วยหาทางลดอิทธิพลของเงินในทางการเมือง
มาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง นักการเมืองต้องมีจริยธรรมสูงกว่าคนทั่วไป ถ้านักการเมืองมีจริยธรรมต่ำบ้านเมืองจะวิกฤต ในสหรัฐอเมริกาเอ็ดเวิร์ดเคเนดีไม่มีทางได้เป็นประธานาธิบดีเพราะพาผู้หญิงไปจมน้ำตายแล้วไม่รีบแจ้งความ แกรีฮาร์ทต้องออกจากการแข่งขันเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะหนังสือพิมพ์ลงรูปเขาเอาผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยามานั่งตัก บิลล์ คลินตันไม่สามารถตั้งผู้หญิงคนหนึ่งเป็นรัฐมนตรีได้เพราะเธอมีคนใช้ที่บ้านที่เป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ที่อังกฤษจอห์นโปรูฟโมต้องออกจากรัฐมนตรีเพราะไปนอนกับโสเภณี เหล่านี้แสดงถึงมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองที่ต้องสูงกว่าคนทั่วไป ถ้าเราเอามาตรฐานระดับนี้เข้าจับจะเหลือรัฐมนตรีสักกี่คน ทุกฝ่ายต้องเข้ามาวางมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง และสังคมเข้ามาติดตามตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะนักการเมืองขาดจริยธรรมนำไปสู่วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
(9) ภาคธุรกิจกับการส่งเสริมความถูกต้องในบ้านเมือง ภาคธุรกิจเป็นภาคที่มีกำลังมาก ควรจะรวมตัวกันทำสิ่งดีๆ ในบ้านเมือง ช่วยกันปรับเปลี่ยนการ “โกงแล้วรวย” ไปสู่ “ดีแล้วรวย” ป้องกันธนกิจการเมือง สนับสนุนทิศทางประชาธิปไตยตามที่กล่าวถึงในข้อ 1-8 ข้างบน เมื่อประชาธิปไตยลงตัว ธุรกิจก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงร่วมกับสังคมไทย
(10) ปรับวิถีคิด นี่เป็นส่วนที่ลึกที่สุดและสำคัญที่สุด เพราะสังคมย่อมเป็นไปตามวิถีคิด แม้แต่อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ยังกล่าวว่า “เราต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้”
ทางพระมีคำเรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” ได้แก่การเข้าไปยึดติดกับความเชื่อและการปฏิบัติผิดๆหรือไม่ได้ผล อันจะนำไปสู่ความติดขัด ความรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคน
สังคมไทยมีวิถีคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน ไม่ใช่วิถีคิดแบบพุทธที่เน้นความเป็นเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องอย่างเป็นพลวัต วิถีคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน ทำให้ขาดวิจารณญาณ เข้าไม่ถึงความจริง ไม่สามารถจัดความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างตนเองกับผู้อื่นและสิ่งอื่น จึงอ่อนแอทางจริยธรรมและศีลธรรม ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย แบ่งเป็นข้างเป็นขั้วตายตัวไม่สามารถเรียนรู้ให้เข้าใจความซับซ้อนของความเป็นจริงในปัจจุบัน มีความขัดแย้งสูง และไม่เข้าใจ “กระบวนการ”ออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เพราะชอบคำตอบสำเร็จรูปมากกว่า “กระบวนการ”
การคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน คือการคิดเชิงอำนาจ
การคิดเชิงกระบวนการ คือการคิดเชิงปัญญา
การเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่สุดคือการปรับวัฒนธรรมการคิดเชิงอำนาจไปสู่วัฒนธรรมการคิดเชิงปัญญา ควรจะมีกลุ่มที่สนใจวัฒนธรรมการคิด สนใจศึกษาอย่างจริงจัง และผลักดันการปรับเปลี่ยนวิถีคิดเชิงอำนาจไปสู่วิถีคิดเชิงปัญญา ผ่านระบบการเรียนรู้ทุกประเภท
ถ้ากระบวนการฟื้นฟูบูรณะประเทศมีความเข้มแข็ง ก็จะใช้วิกฤตการณ์ความรุนแรงเป็นโอกาสที่จะฟื้นฟูบูรณะประเทศให้ไปสู่ความเจริญอย่างแท้จริงได้ หรือแม้ป้องกันมิคสัญญีกลียุคก็ได้ด้วย
ที่จริงมหาวิทยาลัยควรจะเป็นหัวรถจักรทางปัญญาที่พาสังคมไทยออกจากวิกฤต ในขณะที่ผู้บริหารมีภารกิจติดอยู่กับการบริหารกฎระเบียบ คณาจารย์ควรจะมีอิสระที่จะรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ
ทุกภาคส่วนในสังคมควรถือวิกฤตเป็นโอกาสที่จะชะล้างความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้บ้านเมืองวิกฤต เปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวางให้ประชาชนปรับเปลี่ยนเป็นพลเมืองที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีส่วนในกิจการบ้านเมืองให้มากที่สุด ประเทศจึงจะอยู่รอดปลอดภัยและเกิดศานติสุข.
(4) ความเข้มแข็งของระบบศาลและเสรีภาพของสื่อมวลชน ความเข้มแข็งของระบบศาล และเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสาหลักของประชาธิปไตย เผด็จการจะคุกคามขัดขวางอำนาจของตุลาการและเสรีภาพของสื่อมวลชนเสมอ ความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองจะช่วยปกป้องศาลและสื่อมวลชนจากการคุกคามของการเมือง
(5) ระบบการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ ประชาธิปไตยคือการเปิดพื้นที่ เผด็จการคือการปิดพื้นที่ ที่แล้วมาการสื่อสารเป็นเครื่องมือของรัฐและธุรกิจ แต่ปิดพื้นที่สำหรับประชาชน ต่อไปต้องมีระบบการสื่อสารที่ประชาชนทั้งประเทศใช้สื่อสารได้ทั้งโดยวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต
วันหนึ่งๆ จะมีประชาชนสื่อสารเป็นแสนๆ ชิ้น อาจเป็นเรื่องร้องทุกข์เจ้าหน้าที่รัฐ เรื่องการทำมาหากิน เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือเรื่องข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านเมือง ควรมีระบบการสังเคราะห์จัดหมวดหมู่เรื่องที่ประชาชนสื่อสาร และนำไปใช้งานอย่างเหมาะสมต่อไป การที่ประชาชนสามารถสื่อสารกันได้ทั้งประเทศ จะเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตย ความชั่วจะลดลงความดีจะเพิ่มขึ้น บ้านเมืองจะเจริญอย่างรวดเร็ว การเมืองภาคพลเมืองควรจะเข้ามาดูแลผลักดันให้เกิดระบบการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ
(6) ลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบททำให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่ไม่มีทางออกอย่างที่ผ่านมา กล่าวคือชาวชนบทเลือกผู้แทนราษฎรอย่างหนึ่ง ชาวเมืองเลือกอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากชนบทมีผู้แทนราษฎรมากกว่า ชนบทจึงเป็นผู้ตั้งรัฐบาล แต่ชาวเมืองเป็นผู้ล้มรัฐบาลแบบที่ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เรียกว่า “สองนัคราประชาธิปไตย” ความขัดแย้งทางการเมืองคือความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท ต้องระวังมิให้การเมืองมาทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างเมืองกับชนบทรุนแรงขึ้น ชาวเมืองจะต้องสนใจในการลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทอย่างจริงจัง ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การเปิดพื้นที่การสื่อสารดังกล่าวข้างบน เป็นการทำให้ชนบทเข้มแข็ง ถ้าระบบเศรษฐกิจมหภาคไปเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนอย่างเกื้อกูลกันจะลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทลง ถ้าระบบการศึกษาทั้งหมดหันมาสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นจะเข้มแข็งโดยรวดเร็ว ช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทจะลดลงและหายไป
การลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทคือการพัฒนาการเมือง
(7) ปรับระบบการศึกษาให้ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นพลเมือง ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ระบบการศึกษามีผลอย่างมากต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ถ้าความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นก็ดี ความเป็นพลเมืองก็ดี ความเป็นประชาสังคมก็ดี การเมืองภาคพลเมืองก็ดี หรือการสื่อสารที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนก็ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตย ถ้าระบบการศึกษาผละจากการลอยตัว (Non-engaged) มาเป็นระบบการศึกษาที่กัมมันตะ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างความเป็นพลเมือง ความเป็นประชาสังคม การเมืองภาคพลเมือง และเป็นปากเป็นเสียงให้กับการเปิดพื้นที่การสื่อสารให้ประชาชน จะเป็นคุณต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยิ่ง การเมืองภาคพลเมืองและภาคธุรกิจน่าจะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ระบบการศึกษาสามารถปรับตัวดังกล่าวได้
(8) ลดอำนาจเงินทางการเมืองหรือธนาธิปไตย การที่มีการใช้เงินขนาดใหญ่เข้ามาช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดธนกิจการเมือง (Money Politics) เป็นต้นตอให้การเมืองด้อยคุณภาพ ด้อยจริยธรรม นำไปสู่ความขัดแย้งและอาจเกิดความรุนแรง หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงคราวนี้ต้องร่วมกันหาทางวางระบบเพื่อลดอำนาจเงินทางการเมือง เช่น
ให้สมัคร ส.ส. ได้โดยไม่สังกัดพรรค เพื่อความเป็นอิสระจากนายทุนเจ้าของพรรค
พรรคการเมืองต้องเป็นองค์กรมหาชนไม่ใช่มีเจ้าของพรรค พรรคการเมืองต้องเกิดจากการรวมตัวของคนที่มีอุดมการณ์ที่จะทำเพื่อบ้านเมือง ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งมีเงินมากแล้วมาเป็นเจ้าของพรรคควบคุมกินรวบได้เบ็ดเสร็จ นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตย พรรคการเมืองต้องมีโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตย ได้รับเงินอุดหนุนจากสมาชิกไม่ใช่ไปแจกเงินซื้อเสียง ที่แล้วมามีความพยายามที่จะขจัดการซื้อเสียงด้วยการมีองค์กรอิสระและการบัญญัติโทษที่แรง แต่ก็ยังไม่ได้ผล การเมืองภาคพลเมืองต้องเข้ามาช่วยหาทางลดอิทธิพลของเงินในทางการเมือง
มาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง นักการเมืองต้องมีจริยธรรมสูงกว่าคนทั่วไป ถ้านักการเมืองมีจริยธรรมต่ำบ้านเมืองจะวิกฤต ในสหรัฐอเมริกาเอ็ดเวิร์ดเคเนดีไม่มีทางได้เป็นประธานาธิบดีเพราะพาผู้หญิงไปจมน้ำตายแล้วไม่รีบแจ้งความ แกรีฮาร์ทต้องออกจากการแข่งขันเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะหนังสือพิมพ์ลงรูปเขาเอาผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยามานั่งตัก บิลล์ คลินตันไม่สามารถตั้งผู้หญิงคนหนึ่งเป็นรัฐมนตรีได้เพราะเธอมีคนใช้ที่บ้านที่เป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ที่อังกฤษจอห์นโปรูฟโมต้องออกจากรัฐมนตรีเพราะไปนอนกับโสเภณี เหล่านี้แสดงถึงมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองที่ต้องสูงกว่าคนทั่วไป ถ้าเราเอามาตรฐานระดับนี้เข้าจับจะเหลือรัฐมนตรีสักกี่คน ทุกฝ่ายต้องเข้ามาวางมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมือง และสังคมเข้ามาติดตามตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะนักการเมืองขาดจริยธรรมนำไปสู่วิกฤตการณ์ของบ้านเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
(9) ภาคธุรกิจกับการส่งเสริมความถูกต้องในบ้านเมือง ภาคธุรกิจเป็นภาคที่มีกำลังมาก ควรจะรวมตัวกันทำสิ่งดีๆ ในบ้านเมือง ช่วยกันปรับเปลี่ยนการ “โกงแล้วรวย” ไปสู่ “ดีแล้วรวย” ป้องกันธนกิจการเมือง สนับสนุนทิศทางประชาธิปไตยตามที่กล่าวถึงในข้อ 1-8 ข้างบน เมื่อประชาธิปไตยลงตัว ธุรกิจก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงร่วมกับสังคมไทย
(10) ปรับวิถีคิด นี่เป็นส่วนที่ลึกที่สุดและสำคัญที่สุด เพราะสังคมย่อมเป็นไปตามวิถีคิด แม้แต่อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ยังกล่าวว่า “เราต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้”
ทางพระมีคำเรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” ได้แก่การเข้าไปยึดติดกับความเชื่อและการปฏิบัติผิดๆหรือไม่ได้ผล อันจะนำไปสู่ความติดขัด ความรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคน
สังคมไทยมีวิถีคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน ไม่ใช่วิถีคิดแบบพุทธที่เน้นความเป็นเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องอย่างเป็นพลวัต วิถีคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน ทำให้ขาดวิจารณญาณ เข้าไม่ถึงความจริง ไม่สามารถจัดความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างตนเองกับผู้อื่นและสิ่งอื่น จึงอ่อนแอทางจริยธรรมและศีลธรรม ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย แบ่งเป็นข้างเป็นขั้วตายตัวไม่สามารถเรียนรู้ให้เข้าใจความซับซ้อนของความเป็นจริงในปัจจุบัน มีความขัดแย้งสูง และไม่เข้าใจ “กระบวนการ”ออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เพราะชอบคำตอบสำเร็จรูปมากกว่า “กระบวนการ”
การคิดแบบสำเร็จรูป ตายตัว แยกส่วน คือการคิดเชิงอำนาจ
การคิดเชิงกระบวนการ คือการคิดเชิงปัญญา
การเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่สุดคือการปรับวัฒนธรรมการคิดเชิงอำนาจไปสู่วัฒนธรรมการคิดเชิงปัญญา ควรจะมีกลุ่มที่สนใจวัฒนธรรมการคิด สนใจศึกษาอย่างจริงจัง และผลักดันการปรับเปลี่ยนวิถีคิดเชิงอำนาจไปสู่วิถีคิดเชิงปัญญา ผ่านระบบการเรียนรู้ทุกประเภท
ถ้ากระบวนการฟื้นฟูบูรณะประเทศมีความเข้มแข็ง ก็จะใช้วิกฤตการณ์ความรุนแรงเป็นโอกาสที่จะฟื้นฟูบูรณะประเทศให้ไปสู่ความเจริญอย่างแท้จริงได้ หรือแม้ป้องกันมิคสัญญีกลียุคก็ได้ด้วย
ที่จริงมหาวิทยาลัยควรจะเป็นหัวรถจักรทางปัญญาที่พาสังคมไทยออกจากวิกฤต ในขณะที่ผู้บริหารมีภารกิจติดอยู่กับการบริหารกฎระเบียบ คณาจารย์ควรจะมีอิสระที่จะรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ
ทุกภาคส่วนในสังคมควรถือวิกฤตเป็นโอกาสที่จะชะล้างความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้บ้านเมืองวิกฤต เปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวางให้ประชาชนปรับเปลี่ยนเป็นพลเมืองที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีส่วนในกิจการบ้านเมืองให้มากที่สุด ประเทศจึงจะอยู่รอดปลอดภัยและเกิดศานติสุข.