นายสุเมธ อุปนิสากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งสำนวนการยุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ให้อัยการสูงสุด ว่า หลังจาก กกต.มีมติไปแล้ว จากนี้ก็ขึ้นกับฝ่ายกิจการพรรคการเมือง ที่จะรวบรวมหลักฐานและสำนวนทั้งหมด ก่อนส่งให้ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ลงนามและส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา ส่วนตัวคาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพราะถ้าเป็นตนทำเพียงสัปดาห์เดียวก็เสร็จแล้ว
นายสุเมธ ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่า ขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ไขอย่างไร ถ้าหากรัฐบาลตัดเรื่องยุบพรรคทิ้งไป เรื่องทั้งหมดก็ต้องยุติ อัยการสูงสุดก็ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนจะมีผลกระทบต่อการทำงานของ กกต. หรือไม่นั้น คงตอบไม่ได้ เพราะเมื่อกฎหมายเขียนมาอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตาม ไม่มีปัญหา สำหรับคดีที่ กกต.มีมติไปแล้วจำเป็นต้องเขียนยกเว้นไว้ในบทเฉพาะกาลหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้แก้ว่าจะพิจารณาอย่างไร
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยกล่าวถึง กรณีที่ทางพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยจะอ้างตนเป็นพยานในคดี ยุบพรรคว่า เป็นที่สิทธิที่ทั้ง 2พรรคจะอ้างได้ แต่ก็ต้องขึ้นกับว่าทางศาลจะอนุญาตให้เป็นพยานหรือไม่ เพราะในส่วนคำวินิจฉัยของตนเป็นส่วนของความเห็น ทางกฎหมายที่ปกติศาลสามารถจะวินิจฉัยได้อยู่แล้ว ซึ่งการจะเรียกพยานน่าจะอ้างถึงกรรมการการสืบสวนที่ระบุว่าทั้งสองพรรคไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำดังกล่าวมากกว่า อย่างไรก็ตามหากศาลมีหมายเรียกมาเราก็ต้องไป และศาลอาจจะให้ชี้แจงเป็นเอกสารแทนการไปให้การในศาลก็ได้
นายสมชัย กล่าวว่าตนมองว่ากรณีนี้อัยการสูงสุดอาจจะไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคก็ได้ เพราะตามกฎหมาย ม. 95 ของกฎหมาย พรรคการเมืองบัญญัติไว้ว่าการจะเสนอเรื่อง กกต. ต้องเสนอทั้งความเห็นและรวบรวมหลักฐานส่งใหอัยการสูงสุด แต่กรณีนี้หลักฐานที่ส่งไปเป็นรายงานของคณะกรรมการสืบสวนชุดที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน และระบุว่าจากพยานหลักฐานไม่พบว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อีกทั้ง 1 ในคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนที่เป็นผู้เขียนรายงานผลสรุปการสอบสวนดังกล่าว ก็จะเป็นหนึ่งในคณะทำงานอัยการสูงสุดที่จะพิจารณาเรื่อง จึงไม่แน่ใจว่าเมื่ออัยการรับและพิจารณาแล้วจะต้องตั้งกรรมการร่วมระหว่าง กกต. และ อสส. หรือไม่
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรมนูญ ที่ออกมาจะตอบว่าสิ่งที่ตนคิดผิดหรือถูก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาเอาชนะหรือมีคนแพ้คนชนะ เพราะกฎหมายสามารถมีมุมมองที่ต่างกันได้ ขนาดใน มหาวิทยาลัยเท่าที่รู้อาจารย์นิติศาสตร์ก็ยังมีความเห็นที่ต่างกัน ในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งส่วนตัวมองว่า กกต. น่าจะเป็นองค์กรที่มีหลัก และสิ่งที่วินิจฉัยก็น่าจะตอบปัญหาสังคมได้ โดยจากคำวินิจฉัยของตนที่ได้เผยแพร่ไป ก็มีหลายคนก็บอกว่าสามารถยอมรับเหตุผลที่ตนเสนอได้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารเลือกตั้ง เชื่อว่าการที่มีข่าวว่า ส.ส. พรรคชาติไทย บางส่วนเตรียมย้ายเข้าไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเพียงการพูด ล้อเล่นมากกว่า ขณะนี้ยังไม่มีเหตุของการย้ายพรรค ซึ่งการย้ายพรรคของ ส.ส.จะต้องมีเหตุ ไม่ใช่ทำได้ตามใจชอบ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุของการย้ายพรรคเอาไว้ เช่น ถ้าพรรคถูกยุบ ส.ส.ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็สามารถย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ภายใน 60 วัน หรือ ถูกพรรคที่สังกัดอยู่มีมติขับออกจากพรรค ก็สามารถย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ได้ แต่กรณีนี้ถ้ามีการย้ายพรรคจริงก็จะขาดการเป็นสมาชิกพรรค และทำให้การเป็น ส.ส.สิ้นสุดลงทันที
“ที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อไม่ให้ ส.ส.ทำอะไรตามใจชอบ เพราะต้องการให้ พรรคการเมืองเป็นสถาบัน ถ้าอยู่ๆ ลาออก ก็ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรค และขาดการเป็น ส.ส.ไปด้วย เรื่องนี้ไม่ใช่ทำอะไรได้ตามใจชอบ คิดว่าเป็นการพูดเล่น มากกว่า ถ้าอ้างเหตุของการยุบพรรคขั้นตอนก็ยังอีกนาน ใช้เวลาพอสมควรกว่าอัยการจะส่งศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้เวลาอีก 30 วัน ถ้าอัยการไม่ส่งก็ต้องมาตั้งคณะกรรมการร่วม หรือแม้แต่ส่งศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ศาลก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ถ้าไม่มีเหตุร้ายแรงศาลก็อาจไม่สั่งยุบพรรคก็ได้”
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 นั้นผู้มีอำนาจสามารถการแก้ไข ได้อยู่แล้ว แต่จะต้องดูเหตุผลว่าสมควรจะแก้ไขในประเด็นใด ส่วนการแก้ไขเรื่อง ยุบพรรคภายหลัง กกต.มีมติไปแล้วจะเป็นการแก้ไขเพื่อตนเองหรือไม่ ก็แล้วแต่คนจะคิด แต่ในส่วนของ กกต. เมื่อกฎหมายว่าอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามไปตามนั้น
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกอัยการสูงสูด กล่าวว่าหาก กกต.ส่งสำนวน มาก็ต้องพิจารณาในรายละเอียด ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยอัยการสูงสูดสามารถเชิญตัวแทนทั้งสองพรรคมาชี้แจงได้
นายสุเมธ ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่า ขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ไขอย่างไร ถ้าหากรัฐบาลตัดเรื่องยุบพรรคทิ้งไป เรื่องทั้งหมดก็ต้องยุติ อัยการสูงสุดก็ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนจะมีผลกระทบต่อการทำงานของ กกต. หรือไม่นั้น คงตอบไม่ได้ เพราะเมื่อกฎหมายเขียนมาอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตาม ไม่มีปัญหา สำหรับคดีที่ กกต.มีมติไปแล้วจำเป็นต้องเขียนยกเว้นไว้ในบทเฉพาะกาลหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้แก้ว่าจะพิจารณาอย่างไร
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยกล่าวถึง กรณีที่ทางพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยจะอ้างตนเป็นพยานในคดี ยุบพรรคว่า เป็นที่สิทธิที่ทั้ง 2พรรคจะอ้างได้ แต่ก็ต้องขึ้นกับว่าทางศาลจะอนุญาตให้เป็นพยานหรือไม่ เพราะในส่วนคำวินิจฉัยของตนเป็นส่วนของความเห็น ทางกฎหมายที่ปกติศาลสามารถจะวินิจฉัยได้อยู่แล้ว ซึ่งการจะเรียกพยานน่าจะอ้างถึงกรรมการการสืบสวนที่ระบุว่าทั้งสองพรรคไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำดังกล่าวมากกว่า อย่างไรก็ตามหากศาลมีหมายเรียกมาเราก็ต้องไป และศาลอาจจะให้ชี้แจงเป็นเอกสารแทนการไปให้การในศาลก็ได้
นายสมชัย กล่าวว่าตนมองว่ากรณีนี้อัยการสูงสุดอาจจะไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคก็ได้ เพราะตามกฎหมาย ม. 95 ของกฎหมาย พรรคการเมืองบัญญัติไว้ว่าการจะเสนอเรื่อง กกต. ต้องเสนอทั้งความเห็นและรวบรวมหลักฐานส่งใหอัยการสูงสุด แต่กรณีนี้หลักฐานที่ส่งไปเป็นรายงานของคณะกรรมการสืบสวนชุดที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน และระบุว่าจากพยานหลักฐานไม่พบว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อีกทั้ง 1 ในคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนที่เป็นผู้เขียนรายงานผลสรุปการสอบสวนดังกล่าว ก็จะเป็นหนึ่งในคณะทำงานอัยการสูงสุดที่จะพิจารณาเรื่อง จึงไม่แน่ใจว่าเมื่ออัยการรับและพิจารณาแล้วจะต้องตั้งกรรมการร่วมระหว่าง กกต. และ อสส. หรือไม่
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรมนูญ ที่ออกมาจะตอบว่าสิ่งที่ตนคิดผิดหรือถูก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาเอาชนะหรือมีคนแพ้คนชนะ เพราะกฎหมายสามารถมีมุมมองที่ต่างกันได้ ขนาดใน มหาวิทยาลัยเท่าที่รู้อาจารย์นิติศาสตร์ก็ยังมีความเห็นที่ต่างกัน ในประเด็นข้อกฎหมาย ซึ่งส่วนตัวมองว่า กกต. น่าจะเป็นองค์กรที่มีหลัก และสิ่งที่วินิจฉัยก็น่าจะตอบปัญหาสังคมได้ โดยจากคำวินิจฉัยของตนที่ได้เผยแพร่ไป ก็มีหลายคนก็บอกว่าสามารถยอมรับเหตุผลที่ตนเสนอได้
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารเลือกตั้ง เชื่อว่าการที่มีข่าวว่า ส.ส. พรรคชาติไทย บางส่วนเตรียมย้ายเข้าไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเพียงการพูด ล้อเล่นมากกว่า ขณะนี้ยังไม่มีเหตุของการย้ายพรรค ซึ่งการย้ายพรรคของ ส.ส.จะต้องมีเหตุ ไม่ใช่ทำได้ตามใจชอบ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุของการย้ายพรรคเอาไว้ เช่น ถ้าพรรคถูกยุบ ส.ส.ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็สามารถย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ภายใน 60 วัน หรือ ถูกพรรคที่สังกัดอยู่มีมติขับออกจากพรรค ก็สามารถย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ได้ แต่กรณีนี้ถ้ามีการย้ายพรรคจริงก็จะขาดการเป็นสมาชิกพรรค และทำให้การเป็น ส.ส.สิ้นสุดลงทันที
“ที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อไม่ให้ ส.ส.ทำอะไรตามใจชอบ เพราะต้องการให้ พรรคการเมืองเป็นสถาบัน ถ้าอยู่ๆ ลาออก ก็ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรค และขาดการเป็น ส.ส.ไปด้วย เรื่องนี้ไม่ใช่ทำอะไรได้ตามใจชอบ คิดว่าเป็นการพูดเล่น มากกว่า ถ้าอ้างเหตุของการยุบพรรคขั้นตอนก็ยังอีกนาน ใช้เวลาพอสมควรกว่าอัยการจะส่งศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้เวลาอีก 30 วัน ถ้าอัยการไม่ส่งก็ต้องมาตั้งคณะกรรมการร่วม หรือแม้แต่ส่งศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ศาลก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ถ้าไม่มีเหตุร้ายแรงศาลก็อาจไม่สั่งยุบพรรคก็ได้”
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 นั้นผู้มีอำนาจสามารถการแก้ไข ได้อยู่แล้ว แต่จะต้องดูเหตุผลว่าสมควรจะแก้ไขในประเด็นใด ส่วนการแก้ไขเรื่อง ยุบพรรคภายหลัง กกต.มีมติไปแล้วจะเป็นการแก้ไขเพื่อตนเองหรือไม่ ก็แล้วแต่คนจะคิด แต่ในส่วนของ กกต. เมื่อกฎหมายว่าอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามไปตามนั้น
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกอัยการสูงสูด กล่าวว่าหาก กกต.ส่งสำนวน มาก็ต้องพิจารณาในรายละเอียด ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยอัยการสูงสูดสามารถเชิญตัวแทนทั้งสองพรรคมาชี้แจงได้