“ประดิษฐ์” ยันคลังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นบ้านมือสองเข้า ครม.วันที่ 22 เม.ย.นี้ พร้อมให้คำตอบแบงก์รัฐว่าจะเพิ่มทุนให้เท่าไหร่ ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า หลังเทศกาลสงกรานต์กระทรวงการคลังเตรียมที่จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับบ้านมือ 2 เข้า ครม.ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ เพื่ออนุมัติต่อไป โดยขณะนี้กำลังรอเรื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอรายละเอียดกลับมา ทั้งนี้เห็นว่า มาตรการที่กระทรวงการคลังออกไปก่อนหน้านี้ 3 มาตรการหลักๆ นั้น ถือว่าครบแล้วในการกระตุ้นเศรษฐกิจพอสมควร แต่อาจมีบ้างที่ยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง พร้อมกันนี้จะหารือกับ รมว.คลัง เพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐ และรัฐวิสากิจที่อยู่ในความดูแลของตน เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะเริ่มออกไปมอบนโยบายให้หน่วยงานเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ออกไปนั้น สำหรับผู้ต้องการซื้อบ้านหลังแรก ดังนั้นจึงจะออกมาตรการสำหรับบ้านมือ 2 ตามมาด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการลดค่าจดจำนอง ลดค่าธรรมเนียมการโอน ซึ่งต้องรอรายละเอียดจากกรมที่ดิน ของกระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันเข้า ครม.สัปดาห์ถัดไป
สำหรับโครงการบ้าน ธอส.เพื่ออยู่อาศัยหลังแรกของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) นั้น คาดว่าภายในเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ กระทรวงการคลังน่าจะออกพันธบัตร 10,000 ล้านบาทได้ เพื่อให้ ธอส.เริ่มดำเนินโครงการได้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ แม้จะมีหลายฝ่ายเห็นว่าเงินที่ให้กู้นั้นน้อยเกินไปอาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ แต่คลังเห็นว่าราคาบ้านที่ลดลง 1 ใน 4 นั้นช่วยกระตุ้นให้คนที่อยากซื้อบ้านและมีเงินออมอยู่ ก็สามารถนำเงินที่ออมไว้นั้นมารวมกับการกู้ในโครงการได้
“ผมเห็นว่ามาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ได้ช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากทั้งนักลงทุนต่างชาติ และประชาชนในประเทศกลับคืนมาได้บ้างแล้ว มีการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ทำให้เริ่มหวังผลได้แล้วว่ามาตรการที่ออกไปนั้นได้ผลที่ดี และจากนี้ไปจะเน้นหนักไปที่โครงการเมกกะโปรเจ็ทค์ ที่ยืนยันว่าเดินหน้า 100% เพราะได้ลงนามในสัญญาเงินกู้แล้ว กระทรวงคมนาคมคงเร่งให้มีการประมูลและก่อสร้างโดยเร็ว ส่วนกระทรวงการคลังจะมีมาตรการออกมาอีกต่อเนื่อง แม้ว่าเรื่องความเชื่อมั่นอาจมีสะดุดลงบ้างจากปัญหาทางการเมืองเท่านั้น แต่ขอฝากถึงประชาชนว่าอย่ากังวลกับการเมืองมากนัก เพราะมองว่าเป็นช่วงของการปรับเปลี่ยน ต้องการให้คนไทยในฐานะเจ้าของประเทศพิจารณาและเฝ้าดูว่า ควรจะปรับเปลี่ยนอย่างไรถึงจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่อง ไม่ใช่เปลี่ยนแล้ว ถอยหลังลงคลอง ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้เห็นการปรับเปลี่ยนมาแล้วหลายระบบ ขอให้ตัดสินใจให้ดี”
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ตนจะหารือร่วมกับ รมว.คลัง เพื่อพิจารณาเรื่องการให้เงินเพิ่มทุนแก่ธนาคารรัฐที่ขอเงินเพิ่มทุนเข้ามา โดยขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กำลังพิจารณารายละเอียดอยู่ คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้จะแล้วเสร็จ จากนั้น ตนจะให้คำตอบแก่หน่วยงานที่ขอเงินเพิ่มทุนเข้ามาทุกแห่ง พร้อมทั้งมอบนโยบายให้ด้วย ซึ่งโดยหลักการแล้ว เห็นว่า ธนาคารเหล่านี้ เป็นเครื่องมือของรัฐในการลงไปช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อย ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพียงแต่ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการใหม่ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเห็นว่าปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ดี
“ผมไม่ได้นำแบงก์รัฐเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับแบงก์เอกชน เพราะรู้วัตถุประสงค์ของการตั้งแบงก์รัฐเหล่านี้เพื่อมาช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว แต่ประเมินจากผลลัพธ์ของการดำเนินงานของเขาเองว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ นอกจากจะต้องปรับปรุงการบริหารจัดการแล้ว อาจต้องจัดการภายในควบคู่ไปด้วยทั้งเรื่ององค์กร และตัวบุคคลเพื่อให้ดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุด”
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า หลังเทศกาลสงกรานต์กระทรวงการคลังเตรียมที่จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับบ้านมือ 2 เข้า ครม.ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ เพื่ออนุมัติต่อไป โดยขณะนี้กำลังรอเรื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอรายละเอียดกลับมา ทั้งนี้เห็นว่า มาตรการที่กระทรวงการคลังออกไปก่อนหน้านี้ 3 มาตรการหลักๆ นั้น ถือว่าครบแล้วในการกระตุ้นเศรษฐกิจพอสมควร แต่อาจมีบ้างที่ยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง พร้อมกันนี้จะหารือกับ รมว.คลัง เพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐ และรัฐวิสากิจที่อยู่ในความดูแลของตน เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะเริ่มออกไปมอบนโยบายให้หน่วยงานเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ออกไปนั้น สำหรับผู้ต้องการซื้อบ้านหลังแรก ดังนั้นจึงจะออกมาตรการสำหรับบ้านมือ 2 ตามมาด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการลดค่าจดจำนอง ลดค่าธรรมเนียมการโอน ซึ่งต้องรอรายละเอียดจากกรมที่ดิน ของกระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันเข้า ครม.สัปดาห์ถัดไป
สำหรับโครงการบ้าน ธอส.เพื่ออยู่อาศัยหลังแรกของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) นั้น คาดว่าภายในเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ กระทรวงการคลังน่าจะออกพันธบัตร 10,000 ล้านบาทได้ เพื่อให้ ธอส.เริ่มดำเนินโครงการได้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ แม้จะมีหลายฝ่ายเห็นว่าเงินที่ให้กู้นั้นน้อยเกินไปอาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาฯ แต่คลังเห็นว่าราคาบ้านที่ลดลง 1 ใน 4 นั้นช่วยกระตุ้นให้คนที่อยากซื้อบ้านและมีเงินออมอยู่ ก็สามารถนำเงินที่ออมไว้นั้นมารวมกับการกู้ในโครงการได้
“ผมเห็นว่ามาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้ได้ช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากทั้งนักลงทุนต่างชาติ และประชาชนในประเทศกลับคืนมาได้บ้างแล้ว มีการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ทำให้เริ่มหวังผลได้แล้วว่ามาตรการที่ออกไปนั้นได้ผลที่ดี และจากนี้ไปจะเน้นหนักไปที่โครงการเมกกะโปรเจ็ทค์ ที่ยืนยันว่าเดินหน้า 100% เพราะได้ลงนามในสัญญาเงินกู้แล้ว กระทรวงคมนาคมคงเร่งให้มีการประมูลและก่อสร้างโดยเร็ว ส่วนกระทรวงการคลังจะมีมาตรการออกมาอีกต่อเนื่อง แม้ว่าเรื่องความเชื่อมั่นอาจมีสะดุดลงบ้างจากปัญหาทางการเมืองเท่านั้น แต่ขอฝากถึงประชาชนว่าอย่ากังวลกับการเมืองมากนัก เพราะมองว่าเป็นช่วงของการปรับเปลี่ยน ต้องการให้คนไทยในฐานะเจ้าของประเทศพิจารณาและเฝ้าดูว่า ควรจะปรับเปลี่ยนอย่างไรถึงจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่อง ไม่ใช่เปลี่ยนแล้ว ถอยหลังลงคลอง ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้เห็นการปรับเปลี่ยนมาแล้วหลายระบบ ขอให้ตัดสินใจให้ดี”
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า พร้อมกันนี้ ตนจะหารือร่วมกับ รมว.คลัง เพื่อพิจารณาเรื่องการให้เงินเพิ่มทุนแก่ธนาคารรัฐที่ขอเงินเพิ่มทุนเข้ามา โดยขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)กำลังพิจารณารายละเอียดอยู่ คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้จะแล้วเสร็จ จากนั้น ตนจะให้คำตอบแก่หน่วยงานที่ขอเงินเพิ่มทุนเข้ามาทุกแห่ง พร้อมทั้งมอบนโยบายให้ด้วย ซึ่งโดยหลักการแล้ว เห็นว่า ธนาคารเหล่านี้ เป็นเครื่องมือของรัฐในการลงไปช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรายย่อย ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพียงแต่ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการใหม่ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเห็นว่าปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ดี
“ผมไม่ได้นำแบงก์รัฐเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับแบงก์เอกชน เพราะรู้วัตถุประสงค์ของการตั้งแบงก์รัฐเหล่านี้เพื่อมาช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว แต่ประเมินจากผลลัพธ์ของการดำเนินงานของเขาเองว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ นอกจากจะต้องปรับปรุงการบริหารจัดการแล้ว อาจต้องจัดการภายในควบคู่ไปด้วยทั้งเรื่ององค์กร และตัวบุคคลเพื่อให้ดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุด”