ธอส.กัดฟันรับนโยบายรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า เตรียมระดมทุนหมื่นล้าน รองรับปล่อยกู้ผู้มีรายได้น้อยซื้อบ้านหลังแรก เน้นผู้มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท กู้ไม่เกิน 6 แสนบาท เดินหน้าโครงการบ้าน ธอส.-กบข. พร้อมขอแยกบัญชีสินเชื่อตามนโยบายรัฐ หากขาดทุนรัฐต้องรับผิดชอบ "หมอเลี้ยบ" ระบุไม่อุดหนุนดอกเบี้ย ค้ำแค่พันธบัตรหมื่นล้าน ปล่อยกู้ซื้อบ้าน 4% คงที่ 7 ปี
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตนเอง นอกเหนือจากโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง โดยให้ ธอส.เป็นผู้ปล่อยปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ คงที่ระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท
สำหรับคุณสมบัติของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน ให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาท จุดประสงค์เพื่อซื้อบ้านหรือปลูกสร้างบ้าน แต่ต้องเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้ทันที ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติ ในเบื้องต้นธอส.ได้เตรียมที่จะหาเม็ดเงินสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าว 10,000 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตร ระยะเวลาอย่างน้อย 7 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรจะต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง
ขอคลังแยกบัญชีสินเชื่อตามนโยบายรัฐ
นายขรรค์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาธอส.ได้เสนอขอกระทรวงการคลัง เพื่อทำการแยกบัญชีสินเชื่อที่ปล่อยตามนโยบายของรัฐบาล และสินเชื่อปกติของธนาคาร ปัจจุบันได้แก่ โครงการบ้านธอส.-กบข. เพื่อข้าราชการ, โครงการบ้านเอื้ออาทรและโครงการบ้านมั่นคง รวมถึงโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น หากธอส.ประสบปัญหาขาดทุนจากโครงการดังกล่าว จะขอให้กระทรวงการคลังช่วยเหลือด้วยการคืนเงินหรือวิธีอื่น
“ตอนนี้ก็รอว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติหรือไม่ แต่ไม่ใช่ว่าธอส.จะไม่รับผิดชอบ ธอส.จะต้องปล่อยสินเชื่อตามเกณฑ์ของธนาคารอยู่แล้ว แต่เนื่องจากคุณสมบัติผู้กู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย หรือขาดทุน รัฐบาลก็ควรเข้ามาช่วยเหลือธอส.บ้าง ถ้าไม่ขาดทุนก็ไม่เป็นไร”
จับมือ กบข.ปล่อยกู้ครั้งที่ 5
ล่าสุด ธอส.ได้ลงนามร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เพื่อจัดทำโครงการโครงการธอส.-กบข. รุ่นที่ 5 ซึ่งจากความร่วมมือตั้งแต่ปี 2544 ในการจัดทำโครงการธอส.-กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ รุ่นที่1-4โดยนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และที่ผ่านมามีสมาชิกกบข. ประมาณ 10% จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มี 1,718,000 ราย เข้ามาใช้สิทธิ์จำนวน 181,546 ราย เป็นวงเงิน 118,642 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นกู้อีกกว่า 242,000 ราย วงเงิน 168,000 ราย หรือประมาณ 80% จึงทำให้ธอส.ได้จัดทำโครงการต่อเนื่อง
สำหรับสิทธิ์พิเศษในโครงการดังกล่าว ได้แก่ วงเงินกู้สูงสุด 110% ของราคาประเมินที่ดิน โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 65 เท่าของเงินเดือน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ คือ อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 MRR-2.25% ,ปีที่ 2 MRR-1.50% และปีที่ 3 MRR-1.25% ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถปล่อยกู้ได้ในจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2551 และจะสามารถทำนิติกรรมแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคมปีหน้า
คลังค้ำเฉพาะพันธบัตร ธอส.หมื่นล้าน
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ทางธอส.จะมีการของบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท โดยกำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% นาน 7 ปี และปีที่ 8 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.5% จนหมดอายุสัญญากู้ ส่วนอัตราการผ่อนชำระดอกเบี้ย 10 ปี ที่ 4.5% ขณะที่อัตราปีที่ 11 ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร
"วงเงินงบประมาณหมื่นล้านของธอส.คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาครม.ในสัปดาห์หน้า โดยทางกระทรวงการคลังจะเข้ามาค้ำประกันการออกพันธบัตรของธอส.วงเงิน 10,000 ล้านบาท ส่วนเงินอุดหนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนั้น คงเป็นหน้าที่ของธอส.ในการบริหารจัดการ "
อนึ่ง ปัจจุบัน ธอส.มีต้นทุนดอกเบี้ยกว่า 3% และต้นทุนดำเนินงานอีกประมาณ 1.5% รวมแล้วประมาณ 5%
ออมสินหว่าน 5,000 ล้านให้แม่ค้า
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ยังมีโครงการธนาคารประชาชน ซึ่งธนาคารออมสิน จะของบประมาณปี 2550 จำนวน 5,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนจำนวน 250,000 ครัวเรือนหรือ 1 ล้านคน ซึ่งจะเป็นเงินที่ประชาชนสามารถขอสินเชื่อเพื่อไปประกอบอาชีพ โดยมีสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย ขอสินเชื่อระยะเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ขอสินเชื่อระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรกที่ 1% ต่อเดือน ปีที่สองอัตราดอกเบี้ย0.75 %ต่อเดือน ขอสินเชื่อ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแรก 1 % ต่อเดือน ปีที่สองอัตราดอกเบี้ย 0.25 % และปีที่สามอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อเดือน
ลูกค้าชะลอกู้รอมาตรการอสังหาฯ
นายขรรค์ กล่าวเสริมว่า การที่รัฐบาลประกาศนโยบายกระตุ้นอสังหาฯออกมาแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น ทำให้ประชาชนชะลอการโอนบ้าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการ ทั้งนี้ในช่วง 3 เดือนแรก ยอดขอสินเชื่อของธนาคารต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนพอสมควร โดย 2 เดือนแรก มีผู้ขออนุมัติสินเชื่อ 20,000 ราย แต่มาทำนิติกรรมเพียง 50% เท่านั้น คิดเป็นเงินกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท คาดว่าตลอดเดือน มี.ค.จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียง 5,000-6,000 ล้านบาท จากเดิม 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งทางธอส.ยังไม่มั่นใจว่า เมื่อสิ้นปีจะปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และธนาคารเองก็กำลังปรับปรุงระบบCall Bank ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ จึงทำให้การทำธุรกรรมช่วงต้นปีล่าช้าออกไป แต่เชื่อว่าเมื่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯออกมาแล้ว จะทำให้ตลาดอสังหาฯกลับมาคึกคักยิ่งขึ้น
“ภาวะดังกล่าว อาจทำให้ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ ไม่สามารถทำยอดขายไตรมาสแรกได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะรายที่ประสบปัญหายอดขายต่ำ อาจส่งผลต่อราคาหุ้นได้ บางรายใช้วิธีออกเงินค่าโอนให้ แต่ในรายที่ไม่จำเป็นต้องเร่งสร้างยอดขาย ก็เชื่อไม่มีปัญหาเพราะการโอนภายหลังมาตรการออกมาจะได้ประโยชน์กว่า”
นายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลรีบทำมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ จะทำให้ภาพรวมตลาดอสังหาฯดีขึ้น ซึ่งขณะนี้อาจจะมีลูกค้าชะลอการโอนที่อยู่อาศัย เพื่อรอประโยชน์จากมาตรการ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนยอมจ่ายให้ลูกค้า เพื่อเร่งการโอน ขณะที่บริษัทอสังหาฯบางแห่งอาจจะรอได้
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตนเอง นอกเหนือจากโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง โดยให้ ธอส.เป็นผู้ปล่อยปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ คงที่ระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท
สำหรับคุณสมบัติของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน ให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาท จุดประสงค์เพื่อซื้อบ้านหรือปลูกสร้างบ้าน แต่ต้องเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้ทันที ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติ ในเบื้องต้นธอส.ได้เตรียมที่จะหาเม็ดเงินสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าว 10,000 ล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตร ระยะเวลาอย่างน้อย 7 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรจะต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง
ขอคลังแยกบัญชีสินเชื่อตามนโยบายรัฐ
นายขรรค์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาธอส.ได้เสนอขอกระทรวงการคลัง เพื่อทำการแยกบัญชีสินเชื่อที่ปล่อยตามนโยบายของรัฐบาล และสินเชื่อปกติของธนาคาร ปัจจุบันได้แก่ โครงการบ้านธอส.-กบข. เพื่อข้าราชการ, โครงการบ้านเอื้ออาทรและโครงการบ้านมั่นคง รวมถึงโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น หากธอส.ประสบปัญหาขาดทุนจากโครงการดังกล่าว จะขอให้กระทรวงการคลังช่วยเหลือด้วยการคืนเงินหรือวิธีอื่น
“ตอนนี้ก็รอว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติหรือไม่ แต่ไม่ใช่ว่าธอส.จะไม่รับผิดชอบ ธอส.จะต้องปล่อยสินเชื่อตามเกณฑ์ของธนาคารอยู่แล้ว แต่เนื่องจากคุณสมบัติผู้กู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสีย หรือขาดทุน รัฐบาลก็ควรเข้ามาช่วยเหลือธอส.บ้าง ถ้าไม่ขาดทุนก็ไม่เป็นไร”
จับมือ กบข.ปล่อยกู้ครั้งที่ 5
ล่าสุด ธอส.ได้ลงนามร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) เพื่อจัดทำโครงการโครงการธอส.-กบข. รุ่นที่ 5 ซึ่งจากความร่วมมือตั้งแต่ปี 2544 ในการจัดทำโครงการธอส.-กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ รุ่นที่1-4โดยนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และที่ผ่านมามีสมาชิกกบข. ประมาณ 10% จากจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มี 1,718,000 ราย เข้ามาใช้สิทธิ์จำนวน 181,546 ราย เป็นวงเงิน 118,642 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นกู้อีกกว่า 242,000 ราย วงเงิน 168,000 ราย หรือประมาณ 80% จึงทำให้ธอส.ได้จัดทำโครงการต่อเนื่อง
สำหรับสิทธิ์พิเศษในโครงการดังกล่าว ได้แก่ วงเงินกู้สูงสุด 110% ของราคาประเมินที่ดิน โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 65 เท่าของเงินเดือน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ คือ อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 MRR-2.25% ,ปีที่ 2 MRR-1.50% และปีที่ 3 MRR-1.25% ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถปล่อยกู้ได้ในจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2551 และจะสามารถทำนิติกรรมแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคมปีหน้า
คลังค้ำเฉพาะพันธบัตร ธอส.หมื่นล้าน
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ทางธอส.จะมีการของบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท โดยกำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% นาน 7 ปี และปีที่ 8 อัตราดอกเบี้ย MRR-0.5% จนหมดอายุสัญญากู้ ส่วนอัตราการผ่อนชำระดอกเบี้ย 10 ปี ที่ 4.5% ขณะที่อัตราปีที่ 11 ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร
"วงเงินงบประมาณหมื่นล้านของธอส.คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาครม.ในสัปดาห์หน้า โดยทางกระทรวงการคลังจะเข้ามาค้ำประกันการออกพันธบัตรของธอส.วงเงิน 10,000 ล้านบาท ส่วนเงินอุดหนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนั้น คงเป็นหน้าที่ของธอส.ในการบริหารจัดการ "
อนึ่ง ปัจจุบัน ธอส.มีต้นทุนดอกเบี้ยกว่า 3% และต้นทุนดำเนินงานอีกประมาณ 1.5% รวมแล้วประมาณ 5%
ออมสินหว่าน 5,000 ล้านให้แม่ค้า
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ยังมีโครงการธนาคารประชาชน ซึ่งธนาคารออมสิน จะของบประมาณปี 2550 จำนวน 5,000 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนจำนวน 250,000 ครัวเรือนหรือ 1 ล้านคน ซึ่งจะเป็นเงินที่ประชาชนสามารถขอสินเชื่อเพื่อไปประกอบอาชีพ โดยมีสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย ขอสินเชื่อระยะเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน ขอสินเชื่อระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรกที่ 1% ต่อเดือน ปีที่สองอัตราดอกเบี้ย0.75 %ต่อเดือน ขอสินเชื่อ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแรก 1 % ต่อเดือน ปีที่สองอัตราดอกเบี้ย 0.25 % และปีที่สามอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อเดือน
ลูกค้าชะลอกู้รอมาตรการอสังหาฯ
นายขรรค์ กล่าวเสริมว่า การที่รัฐบาลประกาศนโยบายกระตุ้นอสังหาฯออกมาแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น ทำให้ประชาชนชะลอการโอนบ้าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการ ทั้งนี้ในช่วง 3 เดือนแรก ยอดขอสินเชื่อของธนาคารต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนพอสมควร โดย 2 เดือนแรก มีผู้ขออนุมัติสินเชื่อ 20,000 ราย แต่มาทำนิติกรรมเพียง 50% เท่านั้น คิดเป็นเงินกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท คาดว่าตลอดเดือน มี.ค.จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพียง 5,000-6,000 ล้านบาท จากเดิม 7,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งทางธอส.ยังไม่มั่นใจว่า เมื่อสิ้นปีจะปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และธนาคารเองก็กำลังปรับปรุงระบบCall Bank ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ จึงทำให้การทำธุรกรรมช่วงต้นปีล่าช้าออกไป แต่เชื่อว่าเมื่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯออกมาแล้ว จะทำให้ตลาดอสังหาฯกลับมาคึกคักยิ่งขึ้น
“ภาวะดังกล่าว อาจทำให้ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ ไม่สามารถทำยอดขายไตรมาสแรกได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะรายที่ประสบปัญหายอดขายต่ำ อาจส่งผลต่อราคาหุ้นได้ บางรายใช้วิธีออกเงินค่าโอนให้ แต่ในรายที่ไม่จำเป็นต้องเร่งสร้างยอดขาย ก็เชื่อไม่มีปัญหาเพราะการโอนภายหลังมาตรการออกมาจะได้ประโยชน์กว่า”
นายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลรีบทำมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ จะทำให้ภาพรวมตลาดอสังหาฯดีขึ้น ซึ่งขณะนี้อาจจะมีลูกค้าชะลอการโอนที่อยู่อาศัย เพื่อรอประโยชน์จากมาตรการ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนยอมจ่ายให้ลูกค้า เพื่อเร่งการโอน ขณะที่บริษัทอสังหาฯบางแห่งอาจจะรอได้