ระนอง - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แนะแนวการลงทุนในสหภาพพม่าตอนใต้ให้นักลงทุนในระนอง ชี้ 3 อุตสาหกรรมหลักที่น่าลงทุนและมีศักยภาพสูง คือ ประมง ไม้ยางพารา และการท่องเที่ยว
วานนี้(9 เม.ย.)ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสระนอง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ )ได้จัดสัมมนาเรื่อง “โอกาสและลู่ทางการลงทุนของไทยในสหภาพพม่าตอนใต้” ให้แก่นักธุรกิจจังหวัดระนอง โดยมี นางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนา เพื่อให้ข้อมูลและรับฟังปัญหาด้านการลงทุนแก่นักธุรกิจในจังหวัดระนองที่จะเข้าไปลงทุนในสหภาพพม่าตอนใต้ ในเขตมณฑลตะนาวศรี ตามเส้นทางย่างกุ้ง-ทวาย มะริด เกาะสอง-ระนอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่บีโอไอได้ให้ความสนใจเข้ามาส่งเสริมและให้ข้อมูลด้านการลงทุนแก่นักธุรกิจจังหวัดระนอง เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่นักธุรกิจจังหวัดระนองจะเข้าไปลงทุนเองในประเทศพม่า
นอกจากนี้ จังหวัดระนองมีท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ที่รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 ตัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาใช้บริการ แต่หากบีโอไอเข้ามาส่งเสริมการลงทุนให้นักธุรกิจระนองเข้าไปลงทุนในประเทศพม่ามากขึ้นก็จะส่งผลดีต่อท่าเทียบเรือระนองในการขนส่งสินค้าด้วย
ด้าน นางสิศิรักษ์ บุษยรัตน์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบีโอไอ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งของบีโอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และแรงงานจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีโอกาสที่นักธุรกิจและนักลงทุนไทยในแถบจังหวัดชายแดนไทย-พม่า ในภาคใต้ของไทยและจังหวัดใกล้เคียง มี 3 อุตสาหกรรม คือ 1.ประมง ห้องเย็นและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงงานปลากระป๋องพม่าต้องการให้นักลงทุนไทยเข้าไปมากที่สุด 2.ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา 3.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
“ถ้าเราดึงการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้านได้ ปัญหาแรงงานต่างด้าวอพยพที่อยู่ในประเทศไทยจำนวนมากก็จะคลี่คลายลงด้วย เพราะแรงงานจะกลับไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมในประเทศของตน แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่นักลงทุนวิตกกังวลคือรัฐบาลของพม่า ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนเท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าในระยะอันใกล้นี้รัฐบาลพม่าจะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น”นางสิศิรักษ์ กล่าว
นายปริญญา ศิริสารการ ประธานคณะทำงานศึกษาพื้นที่เชิงลึก ของประเทศบนแนวเขตตะนาวศรี ฝั่งอันดามัน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า นักลงทุนของไทยที่เข้าไปขออย่าขัดแย้งกันเอง อย่าแย่งกันเอง ในอดีตเรือประมงไทยได้รับสัมปทาน 1 ลำ แต่ไปปลอมแปลงเอกสารและเรือเป็น 5 ลำ ซึ่งปัจจุบันพม่าไม่โง่แล้ว ถ้าการเมืองพม่านิ่งเมื่อไหร่ไทยแพ้เมื่อนั้น
วานนี้(9 เม.ย.)ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสระนอง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ )ได้จัดสัมมนาเรื่อง “โอกาสและลู่ทางการลงทุนของไทยในสหภาพพม่าตอนใต้” ให้แก่นักธุรกิจจังหวัดระนอง โดยมี นางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนา เพื่อให้ข้อมูลและรับฟังปัญหาด้านการลงทุนแก่นักธุรกิจในจังหวัดระนองที่จะเข้าไปลงทุนในสหภาพพม่าตอนใต้ ในเขตมณฑลตะนาวศรี ตามเส้นทางย่างกุ้ง-ทวาย มะริด เกาะสอง-ระนอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่บีโอไอได้ให้ความสนใจเข้ามาส่งเสริมและให้ข้อมูลด้านการลงทุนแก่นักธุรกิจจังหวัดระนอง เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่นักธุรกิจจังหวัดระนองจะเข้าไปลงทุนเองในประเทศพม่า
นอกจากนี้ จังหวัดระนองมีท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ที่รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 ตัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาใช้บริการ แต่หากบีโอไอเข้ามาส่งเสริมการลงทุนให้นักธุรกิจระนองเข้าไปลงทุนในประเทศพม่ามากขึ้นก็จะส่งผลดีต่อท่าเทียบเรือระนองในการขนส่งสินค้าด้วย
ด้าน นางสิศิรักษ์ บุษยรัตน์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุนบีโอไอ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งของบีโอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และแรงงานจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีโอกาสที่นักธุรกิจและนักลงทุนไทยในแถบจังหวัดชายแดนไทย-พม่า ในภาคใต้ของไทยและจังหวัดใกล้เคียง มี 3 อุตสาหกรรม คือ 1.ประมง ห้องเย็นและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงงานปลากระป๋องพม่าต้องการให้นักลงทุนไทยเข้าไปมากที่สุด 2.ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา 3.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
“ถ้าเราดึงการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้านได้ ปัญหาแรงงานต่างด้าวอพยพที่อยู่ในประเทศไทยจำนวนมากก็จะคลี่คลายลงด้วย เพราะแรงงานจะกลับไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมในประเทศของตน แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่นักลงทุนวิตกกังวลคือรัฐบาลของพม่า ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนเท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าในระยะอันใกล้นี้รัฐบาลพม่าจะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น”นางสิศิรักษ์ กล่าว
นายปริญญา ศิริสารการ ประธานคณะทำงานศึกษาพื้นที่เชิงลึก ของประเทศบนแนวเขตตะนาวศรี ฝั่งอันดามัน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า นักลงทุนของไทยที่เข้าไปขออย่าขัดแย้งกันเอง อย่าแย่งกันเอง ในอดีตเรือประมงไทยได้รับสัมปทาน 1 ลำ แต่ไปปลอมแปลงเอกสารและเรือเป็น 5 ลำ ซึ่งปัจจุบันพม่าไม่โง่แล้ว ถ้าการเมืองพม่านิ่งเมื่อไหร่ไทยแพ้เมื่อนั้น