นักวิจัยแนะดื่มกาแฟวันละถ้วยช่วยปกป้องสมองจากอันตรายของคลอเรสเตอรอลที่เกี่ยวพันกับโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น หากรู้วิธีชะลอหรือระงับก่อนที่โรคจะก่อตัวขึ้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทดาโกตา สหรัฐฯ ได้ศึกษาผลของคาเฟอีนที่มีต่อบริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมอง (blood-brain barrier - BBB) หรือกลไกธรรมชาติที่ช่วยป้องกันสารอันตรายไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่สมอง
ผลศึกษาก่อนหน้านี้หลายฉบับบ่งชี้ว่า ระดับคลอเรสเตอรอลสูงที่อยู่ในอาหารอุดมไขมัน ทำให้ทำนบนี้เกิดการรั่วซึม เซลล์สมองจึงถูกทำลายซึ่งเป็นสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ในการศึกษาล่าสุด นักวิจัยให้กระต่ายในห้องทดลองกินอาหารอคลอเรสเตอรอลสูง และคาเฟอีน 3 กรัมต่อวัน หรือเท่ากับกาแฟวันละถ้วยสำหรับคนปกติ
หลังจาก 12 สัปดาห์ การทำการทดสอบซ้ำหลายครั้งพบว่า บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองของกระต่ายที่ได้รับคาเฟอีนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์โจนาธาน ไกเกอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่าดูเหมือนคาเฟอีนจะไปช่วยสกัดผลร้ายหลายอย่างจากคลอเรสเตอรอลที่ทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองรั่ว
“นี่เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า การกินกาแฟเป็นประจำช่วยปกป้องทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองจากการเจาะทะลวงของคลอเรสเตอรอล”
รายงานในวารสารนิวโรอินฟลามเมชัน ยังระบุว่ามีแนวโน้มที่คาเฟอีนจะช่วยรักษาระดับโปรตีน ซึ่งทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองแข็งแรง
งานศึกษานี้ตอกย้ำงานศึกษาชิ้นก่อนๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนช่วยปกป้องความจำของผู้สูงวัย เท่ากับว่าสารชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการบำบัดความผิดปกติของระบบประสาท
ด้านมูลนิธิอัลไซเมอร์ส โซไซตี้กล่าวว่า รายงานล่าสุดของนอร์ทดาโกตาช่วยอธิบายว่า เหตุใดงานวิจัยในอดีตจึงแสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้
ผู้อำนวยการแผนกวิจัยของมูลนิธิฯ ดร.ซูซาน ซอเรนเซน เสริมว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า กาแฟมีผลแบบเดียวกันนี้กับคนหรือไม่
นอกจากจะมีประโยชน์ในการปกป้องความจำแล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คาเฟอีนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหอบหืด และปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
คอกาแฟยังมีความเสี่ยงน้อยลงในการเป็นมะเร็งบางชนิด รวมถึงโรคพาร์คินสัน และเบาหวานประเภท 2
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น หากรู้วิธีชะลอหรือระงับก่อนที่โรคจะก่อตัวขึ้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทดาโกตา สหรัฐฯ ได้ศึกษาผลของคาเฟอีนที่มีต่อบริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมอง (blood-brain barrier - BBB) หรือกลไกธรรมชาติที่ช่วยป้องกันสารอันตรายไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่สมอง
ผลศึกษาก่อนหน้านี้หลายฉบับบ่งชี้ว่า ระดับคลอเรสเตอรอลสูงที่อยู่ในอาหารอุดมไขมัน ทำให้ทำนบนี้เกิดการรั่วซึม เซลล์สมองจึงถูกทำลายซึ่งเป็นสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ในการศึกษาล่าสุด นักวิจัยให้กระต่ายในห้องทดลองกินอาหารอคลอเรสเตอรอลสูง และคาเฟอีน 3 กรัมต่อวัน หรือเท่ากับกาแฟวันละถ้วยสำหรับคนปกติ
หลังจาก 12 สัปดาห์ การทำการทดสอบซ้ำหลายครั้งพบว่า บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองของกระต่ายที่ได้รับคาเฟอีนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์โจนาธาน ไกเกอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่าดูเหมือนคาเฟอีนจะไปช่วยสกัดผลร้ายหลายอย่างจากคลอเรสเตอรอลที่ทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองรั่ว
“นี่เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า การกินกาแฟเป็นประจำช่วยปกป้องทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองจากการเจาะทะลวงของคลอเรสเตอรอล”
รายงานในวารสารนิวโรอินฟลามเมชัน ยังระบุว่ามีแนวโน้มที่คาเฟอีนจะช่วยรักษาระดับโปรตีน ซึ่งทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองแข็งแรง
งานศึกษานี้ตอกย้ำงานศึกษาชิ้นก่อนๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนช่วยปกป้องความจำของผู้สูงวัย เท่ากับว่าสารชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการบำบัดความผิดปกติของระบบประสาท
ด้านมูลนิธิอัลไซเมอร์ส โซไซตี้กล่าวว่า รายงานล่าสุดของนอร์ทดาโกตาช่วยอธิบายว่า เหตุใดงานวิจัยในอดีตจึงแสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้
ผู้อำนวยการแผนกวิจัยของมูลนิธิฯ ดร.ซูซาน ซอเรนเซน เสริมว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า กาแฟมีผลแบบเดียวกันนี้กับคนหรือไม่
นอกจากจะมีประโยชน์ในการปกป้องความจำแล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คาเฟอีนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหอบหืด และปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
คอกาแฟยังมีความเสี่ยงน้อยลงในการเป็นมะเร็งบางชนิด รวมถึงโรคพาร์คินสัน และเบาหวานประเภท 2