เช้าวันที่ 2 เมษายน 2551 หนังสือพิมพ์ที่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้อ่านไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรนักกับข่าวที่ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา (ที่ 5730/2550) ยกฟ้องคดีที่นายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลยที่ 1 และสื่อมวลชนอีกจำนวนหนึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 2,562 ล้านบาท กรณีที่นายสุเทพ (ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น) อภิปรายในญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 โดยโจมตีเรื่องการลดค่าเงินบาท โดยนายสุเทพกล่าวว่า สงสัยว่านายโภคินจะนำความลับเรื่องการลดค่าเงินบาทไปบอก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้บริษัทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับประโยชน์จากการล่วงรู้ความลับดังกล่าว
ครั้งนั้น นายสุเทพกล่าวอภิปรายว่า ในการประชุมตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท (หรืออีกนัยหนึ่ง “การลดค่าเงินบาท”) ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 29 มิถุนายน 2540 ซึ่งโดยตามประเพณีปฏิบัติจะมีบุคคลที่เข้าประชุมได้เพียง 3 คน คือ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น คือ พล.อ.ชวลิต) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง (นายทนง พิทยะ) และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายเริงชัย มะระกานนท์) กลับมีบุคคลที่ 4 เข้าร่วมรับรู้ด้วย โดย “บุคคลที่ 4” นั่นคือ นายโภคิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว โดยนายสุเทพตั้งข้อสงสัยว่านายโภคินนำความลับในที่ประชุมไปบอกกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อันทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว
ทั้งนี้แม้ตัวนายโภคินจะปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่ในที่ประชุมตัดสินใจประกาศลดค่าเงินบาทด้วย โดยอ้างอิงคำพูดของ พล.อ.ชวลิต เป็นหลักฐาน แต่พยานอีกสองคนคือ นายทนง และ นายเริงชัย กลับยืนยันว่านายโภคินอยู่ในที่ประชุมจริง แม้ว่าในเวลานั้นนายเริงชัยจะทักท้วงต่อ พล.อ.ชวลิตแล้วว่า นายโภคินไม่ควรร่วมประชุมอยู่ด้วย แต่ พล.อ.ชวลิตกลับอนุญาตให้อยู่ร่วมได้
(กรณีข้างต้นแสดงว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้การอันเป็นเท็จไม่ ฝ่ายพล.อ.ชวลิต ก็ ฝ่ายนายทนงกับนายเริงชัย)
นอกจากเนื้อหาของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินให้มีการยกฟ้องคดี ทำให้นายสุเทพไม่มีความผิดแล้ว ในเนื้อหาของคำพิพากษายังระบุถึงมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่มีความเห็นประกอบด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจการค้ารายใหญ่ ไม่ได้รับผลกระทบเสียหายรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอย่างผู้ประกอบธุรกิจการค้าใหญ่รายอื่นที่มีหนี้สินเป็นเงินตราต่างประเทศที่ต่างประสบความเสียหายอย่างรุนแรง ดังนี้ ย่อมเป็นมูลเหตุเพียงพอที่จะทำให้จำเลยที่ 1 (นายสุเทพ) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตั้งข้อสงสัยโจทก์ (นายโภคิน) ได้
มากกว่านั้นมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังเห็นด้วยว่า ในการอภิปรายครั้งดังกล่าวเมื่อปี 2540 นายสุเทพ เพียงแต่ตั้งข้อสงสัยว่า นายโภคินเป็นผู้นำเอาความลับที่สุดดังกล่าวที่รู้มาโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่ควรจะรู้ไปบอก พ.ต.ท. ทักษิณนั้น มีมูลเหตุเพียงพอที่จะให้ตั้งข้อสงสัยเช่นนั้นได้ ไม่ได้ตั้งข้อสงสัยอย่างเลื่อนลอย อันจะทำให้เห็นเจตนาร้ายของนายโภคิน ที่จงใจฉวยโอกาสในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ฝ่ายค้านให้ร้ายแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร และ การอภิปรายของนายสุเทพที่พาดพิงถึงนายโภคินนั้นอยู่ในขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ฝ่ายค้านในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน จึงไม่เข้าข่ายการแพร่หลายข้อความอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริง
............................
สาเหตุที่ผมยกเอาคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ขึ้นมากล่าวถึงอีกครั้ง อย่างยืดยาวนั้นก็เพราะใน พ.ศ.นี้ที่สถานการณ์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมกำลังประสบปัญหาข้าวยาก หมากแพง พลังงานขึ้นราคาอย่างไม่หยุดยั้งและสถานะของการเมืองไทยกำลังดำดิ่งอยู่ในห้วงเหวของวิกฤตที่สุดในโลกนั้น ทุกอย่างมีที่มาที่ไป และความจริงหลายประการที่เคยถูกปิดบังเอาไว้ก็ค่อยๆ ทยอยถูกเผยโฉมออกมา
จริงๆ แล้ว นับตั้งแต่ปี 2540 (หรือก่อนหน้านั้น) จนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้ตกอยู่ในห้วงของวิกฤตมาตลอด เริ่มจากวิกฤตการณ์ทางเงินแห่งเอเชีย (Asian Financial Crisis) ในปี 2539-2540 ที่คนไทยหลายคนรู้จักว่าคือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” นั้น โดยในครั้งนั้นบุคคลชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือว่าเป็นเพียงหนึ่งในรากฝอยของระบบเศรษฐกิจไทยที่รอดพ้นผลกระทบจากวิกฤตมาได้ด้วย “ความเป็นอัจฉริยะ” ดังที่เขาเคยกล่าวไว้หลายครั้งว่า เพราะเขาคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น รัฐบาลไทยอาจประกาศลดค่าเงินบาท เขาจึงสั่งผู้บริหารองค์กรธุรกิจของเขาให้เตรียมมาตรการป้องกัน ด้วยการประกันความเสี่ยงของค่าเงินไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทว่า น่าเสียดายที่นักธุรกิจไทยร้อยละ 99.99 ในเวลานั้น ขาด “ความเป็นอัจฉริยะ” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณเป็น ทำให้พวกเขาไม่สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นมาได้พร้อมกับเงินดอลลาร์ที่ตุงอยู่เต็มกระเป๋า!
น่าเสียดายที่นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักมักจี่กับคนอย่าง นายโภคิน พลกุล, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, นายทนง พิทยะ หรือถ้ารู้จักก็อาจจะรู้จักคนเหล่านี้โดยผิวเผินเกินไป หรือ รู้จักคนเหล่านี้ช้าเกินไป
หลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 แน่นอนว่า หากใครมีเงินดอลลาร์อยู่ตุงกระเป๋า หรือ หากพ่อค้าไทยคนใดทำการประกันความเสี่ยงเงินดอลลาร์ไว้ล่วงหน้าก็ย่อมจะได้เปรียบพ่อค้าคนอื่นอยู่มหาศาล เพราะ หลังจากวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่รัฐบาลไทยประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ค่าเงินบาทจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็อ่อนค่าลงทันทีเป็น 29.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และอ่อนถึงที่สุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2541 เหลือเพียง 55.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ไม่น่าแปลกที่ในเวลาต่อมา “อัจฉริยะ” ผู้ที่มีเงินดอลลาร์ตุงกระเป๋าอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ จะสามารถพากลุ่มธุรกิจชินคอร์ปของตนให้ผงาดขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เพราะ ทางหนึ่งนอกจากตัวเองจะได้เปรียบคนอื่นเนื่องจากได้รับผลกระทบน้อยมากจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว อีกทางหนึ่งคู่แข่งทางธุรกิจที่เคยขับเคี่ยวกันมาต่างก็ต้องยอมศิโรราบ เพราะต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้จากสถานะของ “รากฝอย” ทางเศรษฐกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ และ ชินคอร์ปของเขาจึงค่อยๆ ดูดเอาความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินไทย จนใหญ่ขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “รากแก้ว” ที่ค้ำจุนระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ทั้งนั้นคนไทยทั้งหลายมิอาจจะลืมเลือนไปได้เลยว่า ครั้งหนึ่งชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่วันนี้พะป้ายเจ้าของว่าคือ “เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สิงคโปร์” (แต่ถึงวันนี้ในทางพฤตินัยก็ยังไม่มีความแน่ชัดว่าจริงๆ แล้วเจ้าของนั้นคือเทมาเส็กจริงหรือไม่นั้น) เคยกุมธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศไว้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ผู้กุมสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เจ้าใหญ่ที่สุดในประเทศ, ผู้กุมสัมปทานดาวเทียม, ผู้กุมสัมปทานฟรีทีวี ยังไม่รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโฆษณา, ธุรกิจอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจการเงิน, ธุรกิจพลังงาน ฯลฯ ที่เครือญาติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่างสยายปีกเข้าไปถือหุ้นและกุมอำนาจบริหารอีกนับไม่ถ้วน และที่สำคัญจากปัจจัยเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจนี้เองที่เป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาเพื่อแสวงหาหนทางในการกุมอำนาจรัฐและปกครองประเทศ ......
ดังนั้นในเมื่อคำพิพากษาศาลฎีกา (ที่ 5730/2550) ออกมาเป็นเช่นนี้แล้ว คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินเลยไปนักหากผมจะจินตนาการต่อไปว่า หากไม่มี “ข้อมูลลับสุดยอด” ที่รั่วออกไปจากทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2540 และวิ่งไปเข้าหู “ใครบางคน” วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ก็อาจจะไม่แพร่ขยายกลายเป็นวิกฤตที่สุดในโลกใน พ.ศ. 2551 ก็เป็นได้
สิ่งที่น่าเสียดายอีกประการหนึ่งก็คือ ด้วยขั้นตอนอันโปร่งใสของกระบวนการยุติธรรม ทำให้กว่าที่คำพิพากษาศาลฎีกาเพื่อพิสูจน์ความจริงจะปรากฏสู่สาธารณชนก็ต้องใช้เวลาถึงเกือบ 11 ปี
ครั้งนั้น นายสุเทพกล่าวอภิปรายว่า ในการประชุมตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท (หรืออีกนัยหนึ่ง “การลดค่าเงินบาท”) ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 29 มิถุนายน 2540 ซึ่งโดยตามประเพณีปฏิบัติจะมีบุคคลที่เข้าประชุมได้เพียง 3 คน คือ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น คือ พล.อ.ชวลิต) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง (นายทนง พิทยะ) และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายเริงชัย มะระกานนท์) กลับมีบุคคลที่ 4 เข้าร่วมรับรู้ด้วย โดย “บุคคลที่ 4” นั่นคือ นายโภคิน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว โดยนายสุเทพตั้งข้อสงสัยว่านายโภคินนำความลับในที่ประชุมไปบอกกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อันทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว
ทั้งนี้แม้ตัวนายโภคินจะปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่ในที่ประชุมตัดสินใจประกาศลดค่าเงินบาทด้วย โดยอ้างอิงคำพูดของ พล.อ.ชวลิต เป็นหลักฐาน แต่พยานอีกสองคนคือ นายทนง และ นายเริงชัย กลับยืนยันว่านายโภคินอยู่ในที่ประชุมจริง แม้ว่าในเวลานั้นนายเริงชัยจะทักท้วงต่อ พล.อ.ชวลิตแล้วว่า นายโภคินไม่ควรร่วมประชุมอยู่ด้วย แต่ พล.อ.ชวลิตกลับอนุญาตให้อยู่ร่วมได้
(กรณีข้างต้นแสดงว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้การอันเป็นเท็จไม่ ฝ่ายพล.อ.ชวลิต ก็ ฝ่ายนายทนงกับนายเริงชัย)
นอกจากเนื้อหาของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินให้มีการยกฟ้องคดี ทำให้นายสุเทพไม่มีความผิดแล้ว ในเนื้อหาของคำพิพากษายังระบุถึงมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่มีความเห็นประกอบด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจการค้ารายใหญ่ ไม่ได้รับผลกระทบเสียหายรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอย่างผู้ประกอบธุรกิจการค้าใหญ่รายอื่นที่มีหนี้สินเป็นเงินตราต่างประเทศที่ต่างประสบความเสียหายอย่างรุนแรง ดังนี้ ย่อมเป็นมูลเหตุเพียงพอที่จะทำให้จำเลยที่ 1 (นายสุเทพ) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตั้งข้อสงสัยโจทก์ (นายโภคิน) ได้
มากกว่านั้นมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังเห็นด้วยว่า ในการอภิปรายครั้งดังกล่าวเมื่อปี 2540 นายสุเทพ เพียงแต่ตั้งข้อสงสัยว่า นายโภคินเป็นผู้นำเอาความลับที่สุดดังกล่าวที่รู้มาโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่ควรจะรู้ไปบอก พ.ต.ท. ทักษิณนั้น มีมูลเหตุเพียงพอที่จะให้ตั้งข้อสงสัยเช่นนั้นได้ ไม่ได้ตั้งข้อสงสัยอย่างเลื่อนลอย อันจะทำให้เห็นเจตนาร้ายของนายโภคิน ที่จงใจฉวยโอกาสในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ส.ส.ฝ่ายค้านให้ร้ายแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร และ การอภิปรายของนายสุเทพที่พาดพิงถึงนายโภคินนั้นอยู่ในขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ฝ่ายค้านในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน จึงไม่เข้าข่ายการแพร่หลายข้อความอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริง
............................
สาเหตุที่ผมยกเอาคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ขึ้นมากล่าวถึงอีกครั้ง อย่างยืดยาวนั้นก็เพราะใน พ.ศ.นี้ที่สถานการณ์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมกำลังประสบปัญหาข้าวยาก หมากแพง พลังงานขึ้นราคาอย่างไม่หยุดยั้งและสถานะของการเมืองไทยกำลังดำดิ่งอยู่ในห้วงเหวของวิกฤตที่สุดในโลกนั้น ทุกอย่างมีที่มาที่ไป และความจริงหลายประการที่เคยถูกปิดบังเอาไว้ก็ค่อยๆ ทยอยถูกเผยโฉมออกมา
จริงๆ แล้ว นับตั้งแต่ปี 2540 (หรือก่อนหน้านั้น) จนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้ตกอยู่ในห้วงของวิกฤตมาตลอด เริ่มจากวิกฤตการณ์ทางเงินแห่งเอเชีย (Asian Financial Crisis) ในปี 2539-2540 ที่คนไทยหลายคนรู้จักว่าคือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” นั้น โดยในครั้งนั้นบุคคลชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือว่าเป็นเพียงหนึ่งในรากฝอยของระบบเศรษฐกิจไทยที่รอดพ้นผลกระทบจากวิกฤตมาได้ด้วย “ความเป็นอัจฉริยะ” ดังที่เขาเคยกล่าวไว้หลายครั้งว่า เพราะเขาคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น รัฐบาลไทยอาจประกาศลดค่าเงินบาท เขาจึงสั่งผู้บริหารองค์กรธุรกิจของเขาให้เตรียมมาตรการป้องกัน ด้วยการประกันความเสี่ยงของค่าเงินไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทว่า น่าเสียดายที่นักธุรกิจไทยร้อยละ 99.99 ในเวลานั้น ขาด “ความเป็นอัจฉริยะ” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณเป็น ทำให้พวกเขาไม่สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นมาได้พร้อมกับเงินดอลลาร์ที่ตุงอยู่เต็มกระเป๋า!
น่าเสียดายที่นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักมักจี่กับคนอย่าง นายโภคิน พลกุล, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, นายทนง พิทยะ หรือถ้ารู้จักก็อาจจะรู้จักคนเหล่านี้โดยผิวเผินเกินไป หรือ รู้จักคนเหล่านี้ช้าเกินไป
หลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 แน่นอนว่า หากใครมีเงินดอลลาร์อยู่ตุงกระเป๋า หรือ หากพ่อค้าไทยคนใดทำการประกันความเสี่ยงเงินดอลลาร์ไว้ล่วงหน้าก็ย่อมจะได้เปรียบพ่อค้าคนอื่นอยู่มหาศาล เพราะ หลังจากวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่รัฐบาลไทยประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท ค่าเงินบาทจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็อ่อนค่าลงทันทีเป็น 29.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และอ่อนถึงที่สุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2541 เหลือเพียง 55.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ไม่น่าแปลกที่ในเวลาต่อมา “อัจฉริยะ” ผู้ที่มีเงินดอลลาร์ตุงกระเป๋าอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ จะสามารถพากลุ่มธุรกิจชินคอร์ปของตนให้ผงาดขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เพราะ ทางหนึ่งนอกจากตัวเองจะได้เปรียบคนอื่นเนื่องจากได้รับผลกระทบน้อยมากจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว อีกทางหนึ่งคู่แข่งทางธุรกิจที่เคยขับเคี่ยวกันมาต่างก็ต้องยอมศิโรราบ เพราะต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้จากสถานะของ “รากฝอย” ทางเศรษฐกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ และ ชินคอร์ปของเขาจึงค่อยๆ ดูดเอาความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินไทย จนใหญ่ขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “รากแก้ว” ที่ค้ำจุนระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ทั้งนั้นคนไทยทั้งหลายมิอาจจะลืมเลือนไปได้เลยว่า ครั้งหนึ่งชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่วันนี้พะป้ายเจ้าของว่าคือ “เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ สิงคโปร์” (แต่ถึงวันนี้ในทางพฤตินัยก็ยังไม่มีความแน่ชัดว่าจริงๆ แล้วเจ้าของนั้นคือเทมาเส็กจริงหรือไม่นั้น) เคยกุมธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศไว้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ผู้กุมสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เจ้าใหญ่ที่สุดในประเทศ, ผู้กุมสัมปทานดาวเทียม, ผู้กุมสัมปทานฟรีทีวี ยังไม่รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโฆษณา, ธุรกิจอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจการเงิน, ธุรกิจพลังงาน ฯลฯ ที่เครือญาติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่างสยายปีกเข้าไปถือหุ้นและกุมอำนาจบริหารอีกนับไม่ถ้วน และที่สำคัญจากปัจจัยเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจนี้เองที่เป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาเพื่อแสวงหาหนทางในการกุมอำนาจรัฐและปกครองประเทศ ......
ดังนั้นในเมื่อคำพิพากษาศาลฎีกา (ที่ 5730/2550) ออกมาเป็นเช่นนี้แล้ว คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินเลยไปนักหากผมจะจินตนาการต่อไปว่า หากไม่มี “ข้อมูลลับสุดยอด” ที่รั่วออกไปจากทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2540 และวิ่งไปเข้าหู “ใครบางคน” วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ก็อาจจะไม่แพร่ขยายกลายเป็นวิกฤตที่สุดในโลกใน พ.ศ. 2551 ก็เป็นได้
สิ่งที่น่าเสียดายอีกประการหนึ่งก็คือ ด้วยขั้นตอนอันโปร่งใสของกระบวนการยุติธรรม ทำให้กว่าที่คำพิพากษาศาลฎีกาเพื่อพิสูจน์ความจริงจะปรากฏสู่สาธารณชนก็ต้องใช้เวลาถึงเกือบ 11 ปี